
ต้นเสลา
ต้นเสลา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia loudonii Teijsm. & Binn.
ชื่อวงศ์ LYTHRACEAE
ชื่ออื่น ตะเกรียบ ตะแบกขน เสลาใบใหญ่ อินทชิต
ลักษณะทางพฤษกศาสตร์
ไม้ต้น ผลัดใบขนาดกลาง สูง 10 - 20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่น ทึบสีเขียวเข้ม กิ่งมักย้อยห้อยลง
เปลือก สีเทาดำ มีรอยแตกระแหงเป็นทางยาวตลอดลำต้น
ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม แผ่นใบยาวแบบรูปขอบขนานกว้าง 6 - 10 เซนติเมตร ยาว 16 - 24 เซนติเมตร ปลายใบแหลมเป็นติ่งยาวเล็กน้อย โคนมน ผิวใบมี ขนปุยอ่อนนุ่ม ทั้ง 2 ด้าน
ดอก สีม่วงสดเวลาดอกบานช่อดอกจะแน่นเป็นรูปทรงกระบอกก้านช่อดอกและกลีบรองกลีบดอกมีขนนุ่ม สีเหลืองปกคลุมทั่วไป กลีบดอกมักมี 6,7 หรือ 8 กลีบที่ผิวนอกของกลีบรองกลีบดอกรูปถ้วยเมื่อ บาน มีขนาดกว้าง 6.8 -8.2 เซนติเมตร
ผล เกือบกลมผิวแข็ง ยาวประมาณ 1.5 - 2.1 เซนติเมตร ผลแห้งแตกตามยาว 5 - 6 พูเมล็ด จำนวนมาก มีปีก
ออกดอก มีนาคม - เมษายน ผลแก่ประมาณเดือน พฤศจิกายน เก็บเมล็ดเดือน ธันวาคม – กุมภาพันธ์
การใช้งานและอื่นๆ ปลูกในสวน ริมถนน ริมทางเดิน ระยะปลูกที่เหมาะสม 4 – 8 เมตร ทนแล้งและทนดินเค็ม นิยมนำเนื้อไม้มาแกะสลัก เป็นพรรณไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์
ข้อควรระวัง : ต้นเสลาเป็นไม้ยืนต้นสูง ทรงพุ่มแน่น เวลาที่ต้นทิ้งใบเตรียมออกดอก ใบจะร่วงเต็มโคนต้น หลังจากออกดอกแล้วดอกก็จะร่วงตามมาเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นใครที่อยากได้เสลาไปปลูกไว้ที่บ้านก็ต้องทำใจได้กับใบและดอกที่จะร่วงเต็มพื้น