มะกล่ำตาช้าง

ชื่อไทย มะกล่ำตาช้าง
ชื่อสามัญ Red Sandalwood Tree, Coralwood Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Adenanthera pavonina L.
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE
ชื่ออื่น มะกล่ำต้น มะกล่ำตาช้าง (ทั่วไป), มะแค้ก หมากแค้ก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), มะแดง มะหัวแดงมะโหดแดง (ภาคเหนือ) , บนซี (สตูล), ไพเงินกล่ำ (นครศรีธรรมราช), ไพ (มลายู-ภาคใต้), มะกล่ำตาไก่ (ภาคเหนือ)
- ใบมีรสฝาดเฝื่อน ใช้ต้มกินเป็นยาบำรุงกำลัง (ใบ)
- ใบใช้ต้มกินเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
- เมล็ดนำมาฝนกับน้ำทาแก้อาการปวดศีรษะ หรือจะใช้เนื้อไม้ฝนกับน้ำทาขมับก็แก้ปวดศีรษะได้เช่นกัน (เนื้อ,เมล็ด)
- รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนใน (ราก)
- เนื้อไม้มีรสเฝื่อน ใช้ฝนกับน้ำกินกับน้ำอุ่นทำให้อาเจียนส่วนอีกข้อมูลระบุว่าใช้เนื้อไม้ต้มหรือฝนกินเป็นยาแก้อาเจียน (เนื้อไม้)
- ช่วยแก้อาเจียน (ราก)
- รากมีรสเปรี้ยวขื่นเย็น ใช้เป็นยาขับเสมหะ แก้เสมหะ กัดเสมหะในคอ (ราก)
- ช่วยแก้หืดไอ แก้เสียงแหบแห้ง และแก้อาการสะอึก (ราก)
- ช่วยแก้ลมในท้อง (ราก)
- เมล็ดมีรสเฝื่อนเมา นำมาบดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดกิน แก้อาการจุกเสียด (เมล็ด)
- เนื้อในเมล็ดใช้ผสมกับยาอื่นเป็นยาระบายได้ (เนื้อในเมล็ด)
- ใบใช้ต้มกินเป็นยาแก้บิด แก้ท้องร่วง (ใบ)
- เนื้อในเมล็ด มีรสเมาเบื่อ นำมาบดเป็นผงแล้วปั้นเป็นมัด ใช้กินเป็นยาขับพยาธิไส้เดือน และพยาธิเส้นด้าย หรือจะใช้เมล็ดคั่วไฟเอาเปลือกหุ้มสีแดงออก แล้วนำมาบดเป็นผงผสมกับยาระบาย ใช้เป็นยาขับพยาธิ เบื่อพยาธิไส้เดือน หรือพยาธิตัวตืด (เมล็ด)
- เมล็ดนำมาบดผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นเม็ด ใช้กินเป็นยาแก้หนองใน (เมล็ด)
- เมล็ดและใบมีรสเฝื่อนเมา สรรพคุณเป็นยาแก้ริดสีดวงทวารหนัก (เมล็ดและใบ)
- ใช้เป็นยาฝาดสมาน (ใบ)
- เมล็ดนำมาบดให้เป็นผงใช้โรยใส่แผลฝีหนอง ช่วยดับพิษฝี ดับพิษบาดแผล (เมล็ด)
- เมล็ดนำมาฝนกับน้ำทาแก้อักเสบ (เมล็ด) ส่วนรากมีสรรพคุณช่วยถอนพิษฝี (ราก)
- ใบนำมาต้มกินแก้โรคปวดข้อ แก้ลมเข้าข้อ (ใบ)