
มะริด
ต้นมะริด
ไม้มะริดมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Diospyros philippensis A. DC. ชื่อพ้อง D. discolour Willd. มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Butter fruit อยู่ในสกุลไม้มะเกลือ เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ และเป็นไม้ทรงพุ่มสุง ใบหนาทึบ มีดอกสวยอันสวยงาม และมีผลเหมือนลูกท้อ กลิ่นหอม กินได้ อร่อยด้วย
ลักษณะของเนื้อไม้
การขึ้นทรงพุ้มของต้นมะริดสวยงาม เปลือกต้นดำเป็นกระพี้ สวยเตะตา ครบสุตร..ครบสูตรครับ ขึ้นประปรายห่างๆ ในป่าดิบและป่าเบญจพรรณทางภาคใต้
- กะพี้เนื้อไม้ สีชมพูอ่อน หนาหรือลึกประมาณ 20 เมตร
- แก่นไม้ สีดำแกมน้ำตาล แถบสีน้ำตาลไหม้ หรือสีน้ำตาลแกมแดงผสม
- เนื้อไม้แข็ง ละเอียดเหนียว และหนักมาก
- เนื้อไม้ทนทาน เป็นไม้ที่ทนทาน ถ้าใช้เลื่อยไส เลื่อยต้องเรียกพี่เลยแหละ เพราะว่ามันแข็งเอามากๆ เลยครับ คนโบราณนิยมใช้ขวานและสิ่ว แทนเลื่อย ในการขึ้นรูปหรือตกแต่ง ถ้าใช้เลื่อยฟันเลื่อยจะเสียหายหมด
- เนื้อไม้ขัดเงา แต่ถ้านำมาขัดเงา จะมีความเงางามมาก
- ไม้ป่าโตช้า เป็นไม้โตช้าและเป็นสิ่งที่น่าชื่นใจในความเป็น ต้นไม้มะริด ที่เป็นไม้เนื้อดี อีกทั้งมีสีสัน และลวดลายงดงามวิจิตร ที่ธรรมชาติประทานให้เรามา
ต้นมะริด ไม้หายาก ไม้ในฝัน
ไม้ในฝันที่หายากมากที่สุดของช่างทำเครื่องดนตรีไทย คือ ไม้มะริด ใช้ทำเครื่องดนตรีที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์มีอิทธิฤทธิ์เหมือนชื่อ และก็เป็นที่มาของเสียงอันไพเราะของเครื่องดนตรี ถ้าเครื่องดนตรีชนิดใดที่ทำมาจากไม้มะริดแล้วละก็ จะมีราคาที่แพงริบริ่วเลยครับ เพราะเสียงจะใสและกังวาลมาก ฝรั่งนิยมาหาซื้อแถวโซนเอเซียตะวันออก ปัจจุบันเกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งสามารถทำเครื่องดนตรีได้หลายชนิด เช่น ซอด้วง ซออู้ ซอสามสาย กลอง โทน รำมะนา ระนาด ตะโพน กีต้า ไวโอริล ฯลฯ
ลักษณะผลมะริด เปลือกแดงเป็นกำมะหยี่
น่าดีใจใน ภูมิปัญญาความรู้ ของช่างดนตรีไทยในอดีต ทำให้ผมอยากรู้จังเลยว่า ท่านใดหนอ เป็นคนพบเจอสรรพคุณอันครบสูตรของไม้ต้นนี้ (คงต้องจุดธูปถาม) นอกจากความสวยของดอก ผลขนาดใหญ่ที่มีกลิ่นหอมและหวาน อร่อยแปลกทั้งสุกและดิบ ใครไม่รู้ต้องนึกว่าเป็น ผลท้อกินสดแน่ๆเชียว
ประโยชน์ ไม้มะริด
ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ชั้นดี ด้ามเครื่องมือ หีบบุหรี่ หีบประดับมุก กรอบรูป ด้ามปืน เครื่องดนตรี เครื่องลางของขลังฯลฯ