
เพี๊ยฟาน
เพี้ยฟาน
ผักเพี้ยฟาน
วงศ์ : Rutaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clausena excavata Burm.f.
ชื่อไทย : สันโสก, เพี้ยฟาน
ชื่อท้องถิ่น : ระยอลร์(ขมุ), เส่เนอซี(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ขี้ฮอก(คนเมือง), เต็งละ(ม้ง), เหมือดหม่น,เฮือดหม่อน,เพี้ยฟาน(คนเมือง),หัสคุณเทศ สมัดน้อย สมัดขาว(อีสาน)
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์
- ไม้พุ่ม ขนาดเล็ก โดยทั่วไปสูง 2-4 เมตร แต่บางต้นอาจสูงได้ถึง 15 เมตร ลำต้นโตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ยาวได้ถึง 20 ซม. แตกกิ่งก้านสาขาไม่เป็นระเบียบ มีขนละเอียดอ่อนนุ่มคลุมใบ เป็นใบประกอบแบบขนนสองชั้นเรียงสลับช่อใบยาว 15-50 ซม. โคนช่อใบอาจมีช่อใบย่อยหลายช่อ ใบย่อย 15-31 ใบต่อช่อ ปลายช่อเป็นใบเดี่ยว ก้านใบย่อยสีเขียว ก้านใบปลายยาวกว่าก้านใบข้างมาก แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปใบหอก ขนาดกว้าง 1-7 ซม. ยาว 2-20 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบเบี้ยด้านหนึ่งสอบเป็นรูปลิ่ม อีกด้านโค้งมน ขอบใบเรียบหรืออาจเป็นซี่หยักเล็กๆ ผิวใบแก่ด้านบนเกลี้ยงไม่มีขน ด้านล่างมีขนละเอียดบาง ๆ ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ก้านดอกย่อยยาว 0.5-2.0 มม. วงกลีบเลี้ยงเล็กมาก กลีบดอก 4 กลีบ รูปไข่แกมขอบขนาน ยาว 3.5-5.0 มม. สีเขียวอ่อนถึงขาวอมเหลือง เกสรเพศผู้ 8 อัน ก้านชูอับเรณู ยาว 1.5-3.5 มม. โคนโต ก้านชูเกสร เพศเมีย รูปทรงกระบอก ปลายกว้าง ยาวได้ถึง 1.8 มม. รังไข่รูปไข่ มีขนละเอียดคลุมผล มีเนื้อนอก รูปไข่ยาว 1-2 ซม. เมื่อสุกสีชมพูอมแดง ผิวเกลี้ยงหรืออาจมีขนละเอียดบางๆ
- ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนสองชั้นเรียงสลับช่อใบยาว 15-50 ซม. โคนช่อใบอาจมีช่อใบย่อยหลายช่อ ใบย่อย 15-31 ใบต่อช่อ ปลายช่อเป็นใบเดี่ยว ก้านใบย่อยสีเขียว ก้านใบปลายยาวกว่าก้านใบข้างมาก แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปใบหอก ขนาดกว้าง 1-7 ซม. ยาว 2-20 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบเบี้ยด้านหนึ่งสอบเป็นรูปลิ่ม อีกด้านโค้งมน ขอบใบเรียบหรืออาจเป็นซี่หยักเล็กๆ ผิวใบแก่ด้านบนเกลี้ยงไม่มีขน ด้านล่างมีขนละเอียดบางๆ
- ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ก้านดอกย่อยยาว 0.5-2.0 มม. วงกลีบเลี้ยงเล็กมาก กลีบดอก 4 กลีบ รูปไข่แกมขอบขนาน ยาว 3.5-5.0 มม. สีเขียวอ่อนถึงขาวอมเหลือง เกสรเพศผู้ 8 อัน ก้านชูอับเรณู ยาว 1.5-3.5 มม. โคนโต ก้านชูเกสร เพศเมีย รูปทรงกระบอก ปลายกว้าง ยาวได้ถึง 1.8 มม. รังไข่รูปไข่ มีขนละเอียดคลุม
- ผล มีเนื้อนอก รูปไข่ยาว 1-2 ซม. เมื่อสุกสีชมพูอมแดง ผิวเกลี้ยงหรืออาจมีขนละเอียดบางๆ
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์
- ใบ รับประทานสดกับลาบ(ขมุ) ยอดอ่อน รับประทานสดจิ้มน้ำพริก มีรสขมเล็กน้อย(คนเมือง)
- ทั้งต้น ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน อาจใส่รวมกับแพพันชั้นก็ได้ (คนเมือง) ลำต้นและใบ ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้สรรพพิษ (คนเมือง) กิ่งและใบ ต้มน้ำอาบหรืออบตัวแก้ไข้ ไม่สบาย หลังจากคลอดลูก ใช้ต้มรวมกับเมโกล่บละ กล้วยตานี และกล้วยป่า (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ยอดอ่อน รับประทานเป็นยาแก้อาการท้องผูก (ม้ง)
- เปลือกต้น พบสารที่มีฤทธิ์ต้านสารพิษที่ทำลายตับ ต้านอาการปวดและอักเสบ ใบหรือทั้ง 5 แก้ไข้มาลาเรีย วัณโรค รักษาโรคผิวหนัง ห้ามเลือด ฆ่าเชื้อโรค
- ชาวเขาเผ่าลีซอใช้ใบต้มน้ำอาบให้ไก่เพื่อกำจัดไรไก่ หรือให้คนอาบเพื่อกำจัดเหาและไร หรือแก้แผลเปื่อย แผลอันเกิดจากอาการคันและเกา ชาวม้งใช้ใบตำและอาจจะผสมกับใบพืชอื่นๆ เช่น ส้มโอ เครือเขาดำ ท้อ ตำร่วมกัน ห่อผ้ารัดที่ข้อมือด้านหนึ่งและข้อเท้าอีกด้านหนึ่ง แก้ไข้มาลาเรีย กะเหรี่ยงใช้ทั้งต้นต้มอาบแก้อาการวิงเวียนศีรษะชาวเขาโดยทั่วไปใบตำพอกแก้อาการอักเสบ บวมอันเกิดจากไฟ น้ำร้อนลวกหรือสาเหตุอื่นๆ ไทยใหญ่ใช้รากต้มกินเป็นยาบำรุงกำลัง
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหวดหม่อน
- เปลือกต้นหวดหม่อนมีสาร clausine-D ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด wedelolactone และอนุพันธ์ของ coumentan ที่มีฤทธิ์ต้านสารพิษที่ทำลายตับ และต้านอาการปวดและอักเสบ
- สารสกัดด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อมาลาเรีย ในขณะที่สารสกัดคลอโรฟอร์มมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อวัณโรค ส่วนสารบริสุทธิ์ที่แยกออกมาได้จากการสกัดหยาบคลอโรฟอร์มและเอทานอลจากเหง้าและรากออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อวัณโรค เชื้อรา และเชื้อเอชไอวี-1
- จากการศึกษาฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ของน้ำสกัดและสารสกัดอัลกอฮอล์ของหวดหม่อน พบว่าสารสกัดดังกล่าวไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ เมื่อนำมาทดสอบกับ Salmonella typhimurium TA98 และ TA100
- จากการศึกษาความเป็นพิษ โดยทำการศึกษาผลของน้ำสกัดหวดหม่อน 5% w/v โดยให้ในหนูขาวทดลอง 2 กลุ่ม ในปริมาณ 0.5 และ 1 มล./วัน ตามลำดับ ติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน จากผลการทดสอบพบว่าได้สมรรถภาพของตับ ไต และค่าทางโลหิตวิทยาไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และเมื่อทดลองให้น้ำสกัดหวดหม่อนกับผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายจำนวน 8 ราย พบว่า ผู้ป่วยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของ complete blood count, platelet count และ performance status และจากการตรวจสอบหาค่า LD50 ของน้ำสกัดจากเนื้อไม้หวดหม่อนในหนูขาว โดยฉีดสารสกัดเข้าทางช่องท้อง พบว่าค่า LD50 เท่ากับ 1.6 ก./กก. แต่เมื่อป้อนสารสกัดนี้ให้กับหนูขาว ค่า LD50 มากกว่า 10 ก./กก. ซึ่งในกรณีนี้จะจัดสารสกัดหวดหม่อนให้อยู่ในระดับไม่เป็นพิษเชิงปฏิบัติ
- จากการศึกษาพิษต่อระบบสืบพันธุ์ โดยทำการทดลองให้น้ำสกัดหวดหม่อน ความเข้มข้น 4 มก./มล. ทุกวัน วันละ 2 มล. เป็นระยะเวลา 2 เดือน พบว่าสารสกัดนี้ไม่มีความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ของหนูขาวเพศผู้