
ศรีตรัง
ศรีตรัง
ชื่อไทย : ศรีตรัง
ชื่อสามัญ : Green ebony/ Jacaranda
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Jacaranda obtusifolia Humb. & Bonpl.
ชื่อวงศ์ :BIGNONIACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :เป็นไม้ยืนต้น วงศ์เดียวกับชมพูพันธุ์ทิพย์ สูงประมาณ 4-10 เมตร จากวิกีพีเดียบอกว่า เจ้าต้นศรีตรังนี้มี 2 ชนิดด้วยกัน คือ ชนิดที่มีช่อดอกที่ปลายยอด กับชนิดที่มีช่อดอกออกตามซอกใบตามกิ่งก้านและปลายยอด ซึ่งเป็นชนิดที่นิยมปลูกกันในบ้านเรา ทรงพุ่มค่อนข้างโปร่ง ถ้าจะปลูกไว้เป็นร่มเงาอาจจะพึ่งพาอะไรไม่ได้มากค่ะ เพราะเวลาที่เขาออกดอก เขาจะทิ้งใบทั้งต้นเหลือแต่ดอกไว้อย่างเดียว
ใบ :ประกอบแบบขนนกสองชั้น ปลายคี่ ก้านใบรวมยาว 40-50 ซม. ใบย่อยจำนวนมาก เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนานแกมรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด กว้าง 0.5-0.7 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน แผ่นใบทั้งสองด้านขนาดไม่เท่ากัน
ดอก :สีม่วง ออกดอกเป็นช่อแขนงขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง ช่อดอกรูปพีระมิด ยาว 5-9 ซม. ดอกย่อยจำนวนมาก เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 1.5-2.5 ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 2-4 ซม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ คล้ายรูประฆัง ดอกทยอยบาน และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ผล :เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2-2.5 ซม. เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก เมล็ด แบนขนาดเล็ก มีปีก
สภาพทางนิเวศวิทยา :นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิด เป็นไม้ท้องถิ่นของอเมริกาใต้ ตอนเหนือของอเมริกาใต้ เวเนซุเอลา การกระจายพันธุ์ การใช้งานด้านภูมิทัศน์
การปลูกและการขยายพันธุ์ : ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง โตช้า เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง ระบายน้ำดี ชอบอากาศเย็นและชื้น เช่น ทางภาคเหนือและภาคใต้ ต้นจะออกดอกสวยงามเหมาะจะปลูกในที่ที่มีฝนตกชุก โดยการเพาะเมล็ด ต้นมีอายุ 4-6 ปี จึงจะออกดอก
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : ไม่ได้ระบุรายละเอียดการใช้ประโยชน์
ประเภทของการใช้ประโยชน์ : ไม่ได้ระบุประเภทการใช้ประโยชน์