
ต้นกระแซะ
กระแซะ
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ต้นแซะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Callerya atropurpurea Benth ; ชื่ออื่น: กะแซะ (สุราษฏร์ธานี), ยีนิเก๊ะ (มลายู-นราธิวาส), แซะ (ทั่วไป)) เป็นไม้ต้นผลัดใบในวงศฺ LEGUMINOSAE เป็นไม้ยืนต้นสูง 20–30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ เปลือกลำต้นเรียบ ผิวสีน้ำตาลหรือเทา มีพูพอน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยออกตรงกันข้าม มีใบย่อยปลายก้านอีก 1 ใบ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ ทรงดอกถั่ว กลีบเลี้ยงสีเขียว เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอกสีแดงแกมม่วงทึบ เกสรตัวผู้สีเหลืองอยู่กลางดอก กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ผลเป็นผลเดี่ยว ผลอ่อนแบน เมื่อผลแก่ เมล็ดขยายใหญ่จนเกือบเป็นทรงกระบอก มี 1-3 เมล็ด
แซะขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด เหมาะสมกับสภาพดินทุกชนิด แสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ถิ่นกำเนิดอยู่ตามชายป่าดิบชื้นภาคใต้ของไทย
ชื่อทั่วไป - แซะ
ชื่อสามัญ - Catechu Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ - Callerya atropurpurea (Wall.) Schot [Milledtia atropurpurea(Wall.)Bebtg
วงศ์ - Leguminosae
ชื่ออื่นๆ - กระแซะ พุงหมู,กะแซะ ยีนิเก๊ะ , แซะ
ถิ่นกำเนิด - พบตามชายป่าดิบชื้นภาคใต้ สูงจากระดับน้ำทะเล 10-50 เมตร
ประเภท - ไม้ยืนต้น
รูปร่างลักษณะ
- ไม้ต้น สูง 20-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม ทึบ เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ดล่อนเป็นแผ่น
- ใบ ประกอบแบบขนนกปลายเดี่ยว ใบย่อยออกตรงกันข้าม 3-5 คู่ แผ่น
ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 3-8 เซนติเมตร ยาว 8-18 เซนติเมตร
- ดอก รูปดอกถั่ว ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร สีแดงแกมม่วงทึบ กลิ่นหอม ออกดอกเดือนมกราคม - เมษายน
- ผล เป็นฝัก กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 5-10 เซนติเมตร เมล็ด มี 1-3 เมล็ด สีน้ำตาล กลมรี กว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 5 เซนติเมตรไม้ต้น สูง 20-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม ทึบ เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ดล่อนเป็นแผ่น ผลแก่หลังจากออกดอกประมาณ 2 เดือน
การขยายพันธุ์ - ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม - สภาพดินทุกชนิด แสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง พบตามชายป่าดิบชื้นภาคใต้ สูงจากระดับน้ำทะเล 10-50 เมตร
ประโยชน์ - เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้างทั่วไป แต่ไม่ได้รับความนิยม เพราะเนื้อไม้เป็นที่ชอบของมอดและแมลง โดยมากมักใช้ทำฝืนและถ่าน ยอดอ่อนนิยมรับประทานเป็นผักสด