• หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับโครงการ
    • ความเป็นมา
    • วัตถุประสงค์
    • แนวทางการดำเนินงาน
  • ข่าวสาร
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • ข่าวฝึกอบรม
  • งานอบรม
    • หลักสูตรฝึกอบรม
    • ตารางกิจกรรม
    • คลังวีดีโอ
    • คลังรูปภาพ
  • บริการสถานที่
    • บริการจัดเลี้ยง
    • พิธีหมั้น
    • ประชุม / สัมมนา
  • ร้านค้า
    • สินค้าและโปรโมชั่น
  • ห้องสมุด
    • ประวัติความเป็นมา
    • บริการห้องสมุด
    • นิทรรศการถาวร พิพิธชัยพัฒนา
  • เกร็ดความรู้
    • เกร็ดความรู้ทั่วไป
    • ศูนย์การเรียนรู้อุทยาน พรรณไม้
  • ติดต่อ
  • แผนผังเว็บไซต์

อุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม

ทองนพเก้า

ทองนพเก้า

Sab08659ebdba44f0807d947b25987dcf8

ชื่อภาษาไทย : ทองนพเก้า, ชะแมบทอง

ชื่อภาษาอังกฤษ : Horse Bush

ชื่อวิทยาศาสตร์ : unbellatum aurea, Dendrolobium umbellatum (L.) Benth. “cultv. aurea”

ชื่อวงศ์ : FABACEAE (Deciduous Trees)

ชื่อสกุล : Desmodium

 ความเชื่อความมงคล

นพเก้า ตามความหมายดั้งเดิมแต่โบราณคือ อัญมณี 9 ประการที่ใครได้ครอบครองก็จะถือว่าเป็นมงคล ดังนั้นคนไทยโบราณจึงตั้งชื่อทองนพเก้าตามลักษณะและสีทองอร่ามของต้นนี้ โดยเชื่อกันว่าหากใครปลูกต้นทองนพเก้า หรือ ชะแมบ ทองไว้ในบ้านหรือประตูรั้วนั้น ก็จะทำให้ชีวิตมีแต่ความรุ่งเรือง ชีวิตมีแต่ความสว่างไสว ทำอะไรก็จะมีแต่ความประสบความสำเร็จ และเชื่อว่า คนในบ้านจะได้โชคลาภด้านทอง หรือทำธุรกิจเกี่ยวกับทอง ดังชื่อของต้นไม้ชนิดนี้ที่ชื่อว่า “ทองนพเก้า” ทองเนื้อดี สีเหลืองทองอร่ามเหมือนกับสีของใบ

 แหล่งกำเนิด

สำหรับความเป็นมาของต้นทองนพเก้าหรืออีกชื่อ คือ ต้นชะแมบทอง เดิมทีเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศวานูอาตู ซึ่งเป็นประเทศหมู่เกาะอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ จากนั้นก็มากระจายพันธุ์เป็นวงกว้างตามชายหาดและริมฝั่งน้ำ จากแอฟริกาตะวันออก อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย เป็นต้นไม้ที่มักจะขึ้นมากตามชายฝั่งจึงทำให้มีความสามารถในการทนความแห้งแล้งหรือทนลมทะเลได้ดี ความโดดเด่นของต้นนี้คือใบสีเหลืองทองงดงามตลอดปี ด้วยความงดงามนี้ทำให้ต้นชะแมบทองจึงถูกเลือกนำมาใช้ในราชพิธีของในหลวงรัชกาลที่ 9 และนำปลูกข้างตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบา

 ลักษณะทั่วไปของทองนพเก้า
  • ลำต้น

ลำต้นตรงยาว เนื้อไม้เรียบ สีของไม้ออกสีเทาน้ำตาลจัดเป็นไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นไม้พุ่มถึงยืนต้น สูงได้ประมาณ 1-10 เมตร 

  • ใบ

ใบเป็นใบประกอบแบบมีใบย่อย 3 ใบ สีเหลืองทอง หลังใบมีขน ขอบใบมนโค้ง แผ่นใบเรียบและอ่อน

  • ดอก

ดอกของต้นชะแมบทองจะมีสีขาวออกตามซอกใบเป็นช่อสั้นๆ คล้ายดอกถั่ว ออกดอกเยอะในช่วง กรกฎาคม – ตุลาคม หรือในบางพื้นที่ก็จะมีดอกถึง 3 ครั้ง ใน 1 ปี

  • ผลและเมล็ด

ผลเป็นฝักลักษณะแบนคอดและโค้งงอขึ้น ขนาดความยาวของฝักประมาณ 3 ซม. ไม่ใหญ่มากนัก

ad9d2987d07f6325e27af3756442a084

การขยายพันธุ์

ต้นทองนพเก้าในปัจจุบันนิยมการขยายพันธุ์แบบ ทั้งเพาะเมล็ด และปักชำ ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้ ก็ไม่ได้ถูกนำไปใช้ว่าด้านไหนดีกว่ากัน แต่ขึ้นอยุ่กับว่าในช่วงนั้น ต้นทองนพเก้าหรือชะแมบทองนั้นจะออกเมล็ดให้เก็บเกี่ยวกันรึเปล่า

แต่ข้อดีอีกอย่างของพันธุ์ไม้ชนิดนี้คือ “ขยันแตกยอดใหม่” ตลอดทั้งปี ทำให้ในช่วงที่ไม่มีดอก ชาวสวนก็สามารถนำกิ่งเหล่านั้นมาปักชำ โดยที่ต้นแม่พันะุ์ก็สามารถสร้างกิ่งใหม่มาทดแทนได้ตลอดเวลา

1753

อุทยานการอาชีพชัยพัฒนา 
ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000
โทรศัพท์:  034-109682 

implemented Website by ColorPack Creations Co., Ltd.
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับโครงการ
    • ความเป็นมา
    • วัตถุประสงค์
    • แนวทางการดำเนินงาน
  • ข่าวสาร
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • ข่าวฝึกอบรม
  • งานอบรม
    • หลักสูตรฝึกอบรม
    • ตารางกิจกรรม
    • คลังวีดีโอ
    • คลังรูปภาพ
  • บริการสถานที่
    • บริการจัดเลี้ยง
    • พิธีหมั้น
    • ประชุม / สัมมนา
  • ร้านค้า
    • สินค้าและโปรโมชั่น
  • ห้องสมุด
    • ประวัติความเป็นมา
    • บริการห้องสมุด
    • นิทรรศการถาวร พิพิธชัยพัฒนา
  • เกร็ดความรู้
    • เกร็ดความรู้ทั่วไป
    • ศูนย์การเรียนรู้อุทยาน พรรณไม้
  • ติดต่อ
  • แผนผังเว็บไซต์