มะยมแดง
มะยมแดง
มะยมแดง”หรือ”มะยมฝรั่ง”(เชอร์รี่สเปน) “surinam cherry” ผลมีสีแดงและรสชาติหวาน ดูผ่านๆเหมือนลูกเชอร์รี่ เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่มีหนาม ชอบแดดที่สำคัญคือปลูกง่าย ผลทานได้ รสเปรี้ยวจี๊ดจ๊าด เวลาผลออกเต็มต้น
มะยมแดงเป็นไม้ยืนต้น สูง 3-8 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรูปไข่ หรือรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน สีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีขาวอมชมพู มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เวลามีดอกจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมโชยเข้าจมูกตอนยืนใกล้ๆ เป็นที่ชื่นใจยิ่ง
ผล รูปทรงกลมแป้นคล้ายผลมะยม รอบผลแบ่งเป็นพูย่นๆ 7-8 พู ภายในมี 1 เมล็ด ผลดิบเป็นสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกเป็นสีเหลืองและแดงตามลำดับ ผลสุกรับประทานได้ รสชาติเปรี้ยวปนหวานชุ่มคออร่อยดี ส่วนใหญ่นิยมนำเอา ผลสุกไปแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม หรือ ปั่นใส่นํ้าเชื่อมนํ้าแข็งอร่อยมาก ติดผลอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เวลาติดผลจะดกเต็มต้นดูสวยงามยิ่งนัก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง
ชื่อท้องถิ่น: มะยมแดง มะยมหวาน หมักยม หมากยม ยม
ชื่อสามัญ: Star Gooseberry
ชื่อวิทยาศาสตร์: Phyllanthus acidus (L.) Skeels
ชื่อวงศ์: Euphorbiaceae
ลักษณะวิสัย/ประเภท: ไม้ยืนต้น
ลักษณะพืช: มะยมเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผล เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด
ปริมาณที่พบ: ปานกลาง
การขยายพันธุ์: ใช้เมล็ด
มะยมเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีทั้งที่แดดจัด หรือในที่ร่มรำไร ปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย มีความชื้นพอเหมาะ ขยายพันธุ์ด้วยการ
เพาะ
การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์: สรรพคุณทางยา
* ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ
* เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน
* ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
* ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา
* ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง
คติความเชื่อ ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง กล่าวว่ามะยมเป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) เพื่อป้องกันความถ่อย ถ้อยความ และผีร้ายมิให้มากล้ำกราย ในบางตำราก็ว่า เป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ปลูกแล้วผู้คนจะได้นิยมเหมือนมี นะเมตตามหานิยม
ประโยชน์
ด้านอาหาร
ชาวไทยภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน รู้จักรับประทานมะยมเป็นผัก ชาวภาคกลางใช้ยอดอ่อนเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ส้มตำ และนำมาชุบแป้งทอด รับประทานร่วมกับขนมจีนน้ำยา นอกจากนี้ยอดอ่อนยังนำมาแกงเลียง และผลแก่นำมาแกงคั่วได้ ชาวเหนือใช้ยอดมะยมเป็นผักแกล้มรับประทานกับลาบ ส่วนชาวอีสาน นำยอดอ่อน ใบอ่อน รับประทานกับส้มตำ ลาบ ก้อย ป่น และหมูสับ (แหนมสด) และนำผลแก่ไปปรุงเป็นส้มตำ สำหรับผลมะยมแก่ นอกจากทำแกงได้แล้ว ผลมะยมแก่ยังเป็นผลไม้ โดยรับประทานสดเป็นผลไม้ จิ้มกับเกลือ น้ำปลาหวาน และสามารถปรุงเป็นน้ำมะยม แยมมะยม มะยมดอง มะยมกวน มะยมเชื่อมได้อีกด้วย
แหล่งที่พบ: ตำบลวันยาว
ข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม: ตัวอย่างอาหาร
แกงคั่วเม็ดมะยม
เครื่องปรุง เป็ดย่าง ผลมะยมแก่ พริกแห้ง หัวหอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ ลูกผักชี รากผักชี พริกไทย มะพร้าว น้ำเคยดี ใบมะกรูด เกลือ
วิธีปรุง
1. สับเป็ดย่างเป็นชิ้นใหญ่ ๆ และขาให้คงอยู่ไม่ต้องสับ
2. นำผลมะยมแก่ซอยแช่น้ำเกลือ อย่าให้เค็มมาก พอถอนรสเปรี้ยวออกบ้าง แล้วสงขึ้นพอให้สะเด็ดน้ำ พักไว้
3. พริกแห้งล้างน้ำ หั่นหอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ รากผักชีทั้งหมด ตำไปพร้อมกับลูกผักชี พริกไทย เกลือ
4. ขูดมะพร้าวคั้นกะทิ ช้อนเอาหัวกะทิลงหม้อแกง ตั้งไฟเคี่ยวไปจนแตกมัน และนำน้ำพริกที่ตำละเอียดดีแล้ว ตักใส่หม้อแกง ผัดไปจนหอม แล้วใส่เนื้อเป็ดผัดไฟให้ทั่วกัน แล้วเทกะทิที่เหลืออยู่ลงไปพอควร อย่าให้น้ำแกงใส เหยาะน้ำเคยมีน้ำตาลลงไปพร้อมกับมะยมแล้วชิมดู เมื่อรสดีแล้วจึงหั่นใบมะกรูดให้เป็นฝอย ใส่ลงคนให้ทั่วกันยกลง
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ได้: ตลอดปี