ขานาง
ขานาง
ขานาง
ชื่ออื่นๆ : ขานาง (ภาคกลาง เชียงใหม่ จันทบุรี) ขางนาง, คะนาง (ภาคกลาง) ค่านางโคด (ระยอง) ช้างเผือกหลวง (เชียงใหม่) แซพลู้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ปะหง่าง (ราชบุรี) เปลือย (กาญจนบุรี) เปื๋อยคะนาง, เปื๋อยนาง (อุตรดิตถ์) เปื๋อยค่างไห้ (ลำปาง) ลิงง้อ (นครราชสีมา)
ต้นกำเนิด : พบทุกภาคในประเทศไทย
ชื่อสามัญ : Moulmein lancewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Homalium tomentosum (Vent.) Benth
ชื่อวงศ์ : FLACOURTIACEAE
ลักษณะของขานาง
ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูง 15 – 30 เมตร เปลือกต้นสีขาวนวล เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ เปลือย เปลือกต้นเรียบ บาง สีเทาแกมขาว กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลนุ่ม
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่กลับถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ โคนใบรูปลิ่มขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ปลายใบมนกลมหรือมีติ่งหนาม
ดอก ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน ช่อสีเหลืองแกมเขียว ออกเป็นช่อยาวแบบ ช่อเชิงลด ห้อยลง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย มีขน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปแถบ มีขนยาว