ลำพู
ลำพู
ชื่อไทย : ลำพู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sonneratia caseolaris
อาณาจักร : Plantae
ชื่อวงศ์ : Lythraceae
- ต้น มีรากอากาศโผล่จากผิวน้ำ เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทาและแตกร่อน
- ใบ เดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปรี รูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับกว้าง 1 – 2 เซนติเมตร ยาว 2 – 5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน แผ่นใบหนา
- ดอก ดอกเดี่ยวออกที่ปลายกิ่ง ดอกบานกลางคืน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 – 8 เซนติเมตร โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยหนาและแข็ง ปลายแยกเป็น 6 – 8 แฉก กลีบดอกสีแดง 6 – 8 กลีบ เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก สีขาว เห็นเด่นชัด ออกดอกเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม
- ผล ติดผลช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม ผลสดทรงกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 – 7.5 เซนติเมตร เมื่อสุกมีเนื้อนุ่ม ภายในมีเมล็ดรูปเกือกม้า
สรรพคุณของลำพู
- รากลำพู รสเค็มเย็น ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว
- เปลือกต้นลำพู รสเค็มเย็น แก้โรคผิวหนัง แก้แผลเปื่อยพุพอง ทำน้ำกระสายยาแก้โรคป่วง
ประโยชน์ของลำพ
- ผลสุก มีรสเปรี้ยว กินแก้ท้องผูก ผลที่ยังไม่สุก มีรสฝาด ตำคั้นนํ้ารับประทานขับพยาธิ ขับเสมหะ ตำเป็นยาพอกแก้ปวด แก้บวม แก้เคล็ด ตำคั้นน้ำ หมัก แล้วใช้ทาแผล ห้ามเลือด