กาแฟอาราบิก้า
กาแฟอาราบิก้า
ลักษณะดิน :ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ชั้นดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร มีความเป็นกรดด่าง 5.5 - 6.5 และระบายน้ำดี
สภาพภูมิอากาศ :มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 15 - 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 60 %
แหล่งน้ำ :
- อาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี
มีการกระจายของฝน 5 - 8 เดือน
- มีแหล่งน้ำสะอาดและมีปริมาณพอที่จะให้น้ำได้ตลอดช่วงฤดูแล้ง
++ พันธุ์ ++
พันธุ์ที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้
- เป็นพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคราสนิม
- มีลักษณะต้นเตี้ย ข้อสั้น ผลผลิตสูงสม่ำเสมอ
- เป็นพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกโดยกรมวิชาการเกษตร คือ สายพันธุ์ คาติมอร์ CIFC 7963
รับกล้าพันธุ์ดีได้ที่หน่วยงานกรมวิชาการเกษตรภาคเหนือ
- ศูนย์วิจัยเกษตรหลวง จ.เชียงใหม่
- ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเชียงราย(วาวี)
อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
สรรพคุณของ กาแฟอาราบิก้า การดื่มกาแฟเป็นประจำ จะทำให้เรารู้สึกสดชื่น กระชุ่มกระชวย และทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น กาแฟยังช่วยลดการเกิด oxidative stress ช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายและยังช่วยเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ในการกำจัดสารที่เป็นอันตราย
ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระในกาแฟ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยลดการเกิดเซลล์มะเร็ง และลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง การดื่มกาแฟยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคพาร์คินสัน โรคอัลไซเมอร์
มีงานวิจัยพบว่ากาแฟให้ผลป้องกันการอักเสบและอาจป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ผู้ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (ร่างกายต่อต้านอินซูลิน) และมีความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจต่ำกว่าผู้ไม่ดื่มถึง 53% คาเฟอีนในกาแฟปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยลดความหงุดหงิด อารมณ์ซึมเศร้าและความเครียดได้ อีกทั้งเนื้อกาแฟยังมีแร่ธาตุไนแทซเซียมและไนอาซีน ซึ่งเป็นวิตามินบี ชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์
เมล็ดมีคาเฟอีนเป็นยากระตุ้นหัวใจ ยากระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้นอนไม่หลับ พบสาร Theophylline มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จากการทดลองพบว่า การดื่มกาแฟทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เพราะมีสาร Theo bromine อาจทำให้มีอาการปวดแสบที่ลิ้นปี่ นอกจากนี้กาแฟ ยังลดการดูดซึมธาติเหล็กอีกด้วย จึงควรระวังในการดื่มกาแฟ โดยเฉพาะขณะท้องว่าง
กาแฟเป็นพืชในสกุล (Aenus) Coffea. ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด (Species) กาแฟที่ชาวโลกนิยมดื่มแพร่หลายอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากพืช 2 ชนิด คือ ชนิดแรกมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Coffea arabica Linn. ให้กาแฟที่เรียกว่า “อะราบีกา” และชนิดที่สองชื่อ Coffea canephora Linn. ให้กาแฟที่เรียกว่า “โรบัสตา”
กาแฟที่มีความสำคัญที่สุดในปัจจุบันคือกาแฟชนิด “อะราบีกา” ซึ่งถือว่าเป็นกาแฟชั้นเยี่ยม มีกลิ่นและรสชาติดีกว่ากาแฟชนิดอื่น จึงเป็นกาแฟที่ปลูกกันเป็นส่วนใหญ่ กาแฟชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศเอธิโอเปียและซูดาน มีผู้นำไปปลูกครั้งแรกที่ประเทศเยเมน ต่อมาจึงแพร่ขยายไปทั่วโลกในประเทศเขตร้อน (Tropical) ที่เหมาะสม ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย ชาวอาหรับเป็นกลุ่มแรกที่รู้จักนำกาแฟมาปรุงเป็นเครื่องดื่ม โดยเริ่มจากการใช้ใบมาชงน้ำร้อนดื่มก่อน ต่อมาจึงใช้เมล็ดกาแฟซึ่งมีกลิ่นและรสชาติดีกว่า ชาวอาหรับเรียกกาแฟว่า “กาแว” (Khawah) ซึ่งอาจจะกลายมาจากคำว่า “กาฟฟา” (Kaffa) ซึ่งเป็นชื่อมณฑลหนึ่งของเอธิโอเปียที่มีต้นกาแฟขึ้นเองตามธรรมชาติอยู่มาก
ในภาษาอังกฤษเรียกกาแฟว่า Coffee ส่วนชาวไทยในอดีตเรียกว่า “ข้าวแฟ” ดังปรากฏอยู่ในหนังสือสัพพะวัจนะภาษาไทยของบาทหลวงปาเลอกัว ฉบับพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2397 ต่อมาเรียกว่า “กาแฝ่” ดังปรากฏในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอบรัดเลย์ ฉบับพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2416 มีคำอธิบายว่า “กาแฝ่ ต้นไม้อย่างหนึ่ง มาแต่เมืองนอก เม็ดมันต้มน้ำร้อนกิน คล้ายกับใบชา” กาแฟเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่สูงประมาณ 6 เมตร ลักษณะเป็นไม้พุ่ม ใบเขียวเป็นมัน มีรูปไข่ปลายแหลม กว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตรโดยประมาณ ดอกสีขาวออกเป็นบริเวณรอยต่อระหว่างกิ่งกับใบ ผลมีขนาดเท่าผลลำไยขนาดเล็ก เมื่อผลสุกมีผิวสีแดง ปกติมีเมล็ดผลละ 2 เม็ด กาแฟชนิดอะราบีกาชอบขึ้นบนพื้นที่ระดับสูงจากน้ำทะเลระหว่าง 300-1,200 เมตร ในประเทศไทยปลูกได้ดีตามเขตภูเขาในภาคเหนือ เช่น พื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง เป็นต้น ส่วนกาแฟชนิดโรบัสตาขึ้นได้ดีในระดับต่ำกว่า จึงปลูกได้ดีในภาคใต้ เช่น บริเวณจังหวัดชุมพร
กาแฟอาราบิก้า ชื่อสามัญ Arabian coffee, Coffee, Kofi, Koffie, Brazillian coffee
กาแฟอาราบิก้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Coffea arabica L. จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)
ต้นกาแฟอาราบิก้า เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปแอฟริกา บริเวณประเทศเอธิโอเปีย แต่ชาวอาหรับเป็นชาติแรกที่นำกาแฟมาชงดื่ม จึงทำให้ชื่อภาษาละตินของกาแฟใช้คำว่า “อาราบิก้า” (arabica) ที่หมายถึงชาวอาหรับ โดยต้นกาแฟจัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ที่มีความสูงของต้นประมาณ 2-4 เมตร ในปัจจุบันเพาะปลูกกันมากในเขตร้อนชื้นและกึ่งเย็น
ใบกาแฟอาราบิก้า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบแหลมเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบเป็นมัน บางครั้งเป็นคลื่น มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ
ดอกกาแฟอาราบิก้า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีขาว ติดกันเป็นหลอด ดอกมีกลิ่นหอม
ผลกาแฟอาราบิก้า ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปไข่แกมรูปทรงกลม โดยผลอ่อนจะเป็นสีเขียว แต่เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดง
จุดเด่นของกาแฟอาราบิก้า คือ มีกลิ่นหอมและสารกาแฟสูง ทำให้เมื่อดื่มแล้วรู้สึกได้ถึงความกระปรี้กระเปร่า มีชีวิตชีวา โดยกาแฟชนิดนี้จะมีปริมาณของกาเฟอีนต่ำ เป็นกาแฟที่มีคุณภาพสูง มีความหอมไม่เป็นรองใคร เพียงแต่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เนื่องจากขาดการส่งเสริมและการประชาสัมพันธ์ที่ดี ในประเทศไทยมีการปลูกกาแฟชนิดนี้กันมากทางภาคเหนือบนดอยสูง
Arabica อราบิก้า คือ พันธุ์กาแฟที่ถูกค้นพบและมีการปลูกมาอย่างเก่าแก่มากๆ ลักษณะของเมล็ดจะเป็นเมล็ดที่ค่อนข้างเรียวและส่วนผ่าตรงกลางนั้นจะเป็นเหมือนรูปตัว S ในภาษาอังกฤษ พื้นที่ที่ใช้ปลูกอราบิก้าให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพควรจะเป็นที่สูง อากาศเย็น เพราะสายพันธุ์นี้เขาชอบและจะเจริญเติบโตได้ดี จึงจำเป็นต้องปลูกบนพื้นที่ที่อยู่เหนือขึ้นไปจากระดับของน้ำทะเลประมาณ 800 – 1,000 เมตร หรือให้ดีเลยก็ 1,000 เมตร ขึ้นไป จึงเป็นเหตุให้เราสามารถพบการปลูกอราบิก้ามากที่สุดในแถบจังหวัดภาคเหนือของไทย เช่น เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง เป็นต้น และด้วยเอกลักษณ์ของกลิ่นที่หอมอย่างพอดี พร้อมกับรสชาติที่ออกไปทางกลมกล่อมนุ่มนวล อีกทั้งยังมีปริมาณของคาเฟอีนที่ต่ำมากไม่ถึง 2% นี่เอง ที่ส่งผลให้สายพันธุ์กาแฟอราบิก้าเป็นที่นิยมและขายได้มากที่สุดในโลก เฉลี่ยถึง 80% กันเลยทีเดียว
ประโยชน์ของกาแฟ
- เมล็ดกาแฟถูกนำมาผลิตจนเป็นเครื่องดื่มที่แพร่หลายไปทั่วโลก ในประเทศไทยมีการผลิตกาแฟอาราบิก้าและกาแฟโรบัสต้าได้มากพอ ทำให้บางปีก็มีการส่งออกไปขายยังต่างประเทศด้วย แต่ยังต้องมีการนำเข้ากาแฟคุณภาพดีเข้ามาผสม เพื่อใช้ผลิตเป็นผงกาแฟสำเร็จรูปสำหรับการบริโภคในประเทศเช่นกัน
- กาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นตัวช่วยต้านสารพิษที่เกิดจากภายในและภายนอกร่างกาย
- ช่วยขับไล่ความแก่ชรา แม้ว่าร่างกายจะต้องการออกซิเจนมากก็จริง แต่ถ้ามีออกซิเจนมากเกินไปก็อาจทำให้มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งสูงและทำให้แก่ชราเร็ว โดยเฉพาะในกาแฟที่เข้มข้นจะทำให้ออกไซด์แตกตัวและลดการเกิดมะเร็งได้
- ปริมาณที่เหมาะสมของกาเฟอีนที่มีอยู่ในกาแฟสามารถช่วยกระตุ้นให้สมองเกิดการตื่นตัว ช่วยเร่งความเร็วในการประมวลผลข้อมูลในสมอง จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงานที่ต้องใช้สมาธิ ใช้เหตุผลและความจำ ส่วนกลิ่นหอมของกาแฟก็ช่วยกระตุ้นสมองให้ทำงานได้เร็ว มีสมาธิ และมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้นได้เช่นกัน (เนื่องจากกลิ่นของกาแฟสามารถทำให้เลือดไหลเวียนในสมองเพิ่มขึ้นได้)[3] ซึ่งงานวิจัยจากภาครังสีวิทยาของอเมริกาเหนือ ที่ได้พบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2 แก้ว จะสามารถช่วยพัฒนาความจำและปฏิกิริยาการโต้ตอบที่ดีขึ้นได้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่ระบุว่า ผู้หญิงที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เมื่อดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 3 แก้ว จะมีความจำที่ดีขึ้นกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มหรือดื่มกาแฟน้อยกว่านี้