พญาว่าน
พญาว่าน
ชื่อ : พญาว่าน
พญาว่านถือเป็นสุดยอดของว่านทั้งปวง ทางพฤษกศาสตร์ จัดให้พญาว่านอยู่ในวงศ์ขิง ซึ่งเมืองไทยเรานี้มีอยู่ 11 สกุล และ 46 พันธุ์ด้วยกัน หัวของพญาว่านนั้นมีลักษณะเหมือนขิง การแตกแขนงแทงหน่อขยายพันธุ์ของพญาว่านก็เหมือนกับขิง
พญาว่านถือเป็นสุดยอดของว่านทั้งปวง ทางพฤษกศาสตร์ จัดให้พญาว่านอยู่ในวงศ์ขิง ซึ่งเมืองไทยเรานี้มีอยู่ 11 สกุล และ 46 พันธุ์ด้วยกัน หัวของพญาว่านนั้นมีลักษณะเหมือนขิง การแตกแขนงแทงหน่อขยายพันธุ์ของพญาว่านก็เหมือนกับขิง
ลักษณะ :ลำต้นสีแดง ลักษณะลำต้นและใบเหมือนขมิ้นมาก แต่ขนาดลำต้นของพญาว่านจะสูงใหญ่กว่าขิง กระดูกใบ ตลอดไปถึงส่วนยอดของใบสีแดง ส่วนพื้นหน้า-หลังของใบนั้นสีเขียว สีเนื้อในหัวมีสีเหลืองขมิ้น และมีรสขม ดอกสีขาว คล้ายกับดอกกระเจียว พญาว่านจะแทงช่อดอกออกมากลางลำต้น
ประโยชน์ : สรรพคุณของพญาว่าน เป็นว่านที่สูงด้วยคุณค่า สามารถใช้ได้ทั้งกันและแก้ พญาว่านนี้สามารถป้องกันควบคุมอิทธิฤทธิ์ของบรรดาว่านทั้งปวงทุกชนิดมิให้เสื่อมสรรพคุณ และสามารถใช้แก้เมื่อกินว่านที่เบื่อเมาเข้าไป หรือถูกพิษภัยของบรรดาไม้มีพิษต่างๆ พญาว่านจะใช้รักษาได้ชงัด หากกินว่านมีพิษเข้าไปหรือถูกภัยของไม้มีพิษ ให้นำหัวพญาว่านมาฝนกับน้ำซาวข้าวทา หรือโขลกละเอียดคั้นน้ำผสมสุราโรงกินอาการจะหายทันที และพญาว่านนี้เมื่อนำไปปลูกรวมกับว่านอื่นๆในกระถางเดียวกันบรรดาว่านอื่นๆ นั้นจะกลายเป็นพญาว่านไปด้วย แต่ถ้าหากว่าปลูกพญาว่านไว้เดี่ยวในกระถางเดียว แล้วนำไปตั้งในท่ามกลางหมู่ว่านอื่นทุกชนิด อิทธิฤทธิ์ของพญาว่านนี้จะคุ้มครองสรรพคุณของว่านทั้งหลายนั้นให้คงสภาพเดิม มีคุณค่าในสรรพคุณไม่เสื่อมคลาย
สำหรับรายที่ปลูกว่านเป็นแปลงใหญ่เพื่อการค้า พญาว่านนี้นิยมกันนำไปปลูกเป็นประธานในแปลงหัวแถวอยู่เสมอ และยังจะสามารถคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้เป็นเจ้าของว่านนั้นอีกด้วย
วิธีปลูก : ดินร่วนปนทรายเหมาะสำหรับที่จะปลูกพญาว่านนี้ แต่ควรเป็นดินที่สำอาดจากกลางแจ้งนำมาเผาไฟแล้วทุบให้ละเอียดผึ่งตากน้ำค้างไว้สักคืนจะดียิ่ง ปุ๋ยต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์เท่านั้น ดินที่ใช้ปลูกควรคลุกเคล้ากับมูลวัวมูลควายตากแห้งสนิท หรือใบพืชตระกูลถั่วทุกชนิดที่ผุพังจะทำให้ว่านเจริญงอกงามดี
ในการปลูกว่านหัวใจสำคัญคือต้องปลูกให้ “หัวว่านโผล่” อย่ากลบดินจนมิดหัวว่านและอย่ากดดินจนแน่นเกินไป จะทำให้การระบายน้ำไม่ดี
ในการปลูกว่านหัวใจสำคัญคือต้องปลูกให้ “หัวว่านโผล่” อย่ากลบดินจนมิดหัวว่านและอย่ากดดินจนแน่นเกินไป จะทำให้การระบายน้ำไม่ดี
การรดน้ำ : ก็รดแต่เพียงชุ่มๆ อย่าให้โชกจนน้ำขัง รดน้ำว่านนั้นวันละ 2 เวลา เช้าเย็น และในตอนเย็นควรให้สิ้นแสงอาทิตย์เสียก่อน ประการสุดท้ายบรมครูแนะนำให้รดน้ำเสกด้วยคาถา “อิติปิโสภควา จนถึง ภควาติ” หนึ่งจบทุกครั้งไป ท่านให้ปลูกในเดือน 6 และวันพฤหัส เฉพาะข้างขึ้นเท่านั้น