• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

กาหลงขาว

กาหลงขาว สรรพคุณและประโยชน์ของต้นกาหลงขาว

กาหลง

กาหลงขาว ชื่อสามัญ Snowy orchid tree, Orchid tree

กาหลงขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia acuminata L. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

สมุนไพรกาหลง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เสี้ยวน้อย (เชียงใหม่), โยธิกา(นครศรีธรรมราช), กาแจ๊กูโด (มลายู-นราธิวาส), ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของกาหลงขาว

  • ต้นกาหลงขาว เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าเมืองร้อนของหลายประเทศตั้งแต่ไทย ลาว พม่า กัมพูชา มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ โดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม ส่วนกิ่งแก่ผิวค่อนข้างเกลี้ยงและไม่ค่อยมีขน ต้นกาหลงเป็นพันธุ์ไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตปานกลาง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นปานกลางและชอบแสงแดดแบบเต็มวัน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนและการเพาะเมล็ด หากปลูกจากเมล็ดจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2-4 ปีจึงจะออกดอกและติดฝัก

ต้นกาหลง

รูปกาหลง

ใบกาหลงขาว ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีกว้าง ปลายใบเว้าลึกเข้ามาเกือบครึ่งใบ ทำให้ปลายแฉกสองข้างแหลม แยกเป็น 2 พู โคนใบมนเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 9-13 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวอ่อน มีเส้นใบออกจากโคนใบประมาณ 9-10 เส้น ปลายเส้นกลางใบมีติ่งเล็กแหลม เส้นใบสีเขียวสด หลังใบเรียบเกลี้ยง ส่วนท้องใบมีขนละเอียดสีขาว ก้านใบยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ส่วนหูใบลักษณะเรียวแหลมยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ร่วงได้ง่าย และมีแท่งรยางค์เล็ก ๆ อยู่ระหว่างหูใบ[1],[3],[4] โดยปกติแล้วต้นกาหลงจะผลัดใบในช่วงฤดูหนาวและเริ่มแตกใบอ่อนในช่วงฤดูร้อน

ใบกาหลงดอกกาหลงขาว ออกดอกเป็นช่อกระจะแบบสั้น ๆ โดยจะออกบริเวณปลายกิ่งประมาณช่อละ 2-3 ดอก ก้านดอกยาวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ โคนก้านดอกมีใบประดับขนาดเล็กประมาณ 2-3 ใบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียวแหลม ส่วนดอกมีลักษณะตูมเป็นรูปกระสวย ยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-8 เซนติเมตร ดอกมีกลีบสีขาว 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน มีลักษณะเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่กลับ ปลายกลีบมน โคนสอบ กว้างประมาณ 2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียวมีกลีบ 5 กลีบติดกันคล้ายกาบ กว้างประมาณ 1-1.8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ปลายกลีบมีลักษณะเรียวแหลมและแยกเป็นพูเส้นสั้น ๆ 5 เส้น ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 ก้าน ก้านชูอับเรณูแต่ละก้านจะยาวไม่เท่ากัน มีขนาดตั้งแต่ 1.5-2.5 เซนติเมตร อับเรณูเป็นสีเหลืองสด ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตร และมีเกสรเพศเมียอยู่ระหว่างกลางอีก 1 ก้าน มีขนาดใหญ่และยาวกว่าเกสรเพศผู้ ก้านชูเกสรเพศเมียจะยาวประมาณ 1 เซนติเมตร รังไข่รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยอดเกสรเพศเมียมีลักษณะเป็นแผ่นกลม สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี

รูปดอกกาหลง

ดอกกาหลง

ผลกาหลงขาว ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน มีความกว้างของฝักประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตร ขอบฝักเป็นสันหนา ส่วนปลายฝักและโคนฝักสอบแหลม ปลายฝักมีติ่งแหลม ยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร ขอบของฝักเป็นสันหนา ฝักอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และในแต่ละฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 5-10 เมล็ด เมล็ดมีขนาดเล็กและแบนหรือเป็นรูปขอบขนาน โดยฝักจะแก่ในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม

ผลกาหลง

ฝักกาหลง

สรรพคุณของกาหลงขาว

  1. ดอกมีรสสุขุม ช่วยลดความดันโลหิต (ดอก)
  2. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ดอก, ราก)
  3. ใบใช้รักษาแผลในจมูก (ใบ)
  4. ดอกช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน (ดอก) บ้างก็ว่าในส่วนของต้นก็มีสรรพคุณแก้ลักปิดลักเปิดเช่นกัน (ต้น)
  5. ต้นและรากเป็นยาแก้เสมหะ (ต้น, ราก)
  6. ดอกช่วยแก้เสมหะพิการ (ดอก)
  7. ช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นเลือด (ดอก)
  8. รากใช้ต้มเป็นยาดื่มช่วยแก้อาการไอ (ราก)
  9. รากใช้เป็นยาแก้บิด (ราก)
  10. ต้นกาหลงเป็นยาแก้โรคสตรี (ต้น)

ประโยชน์ของกาหลงขาว

  • ดอกสามารถใช้รับประทานได้ และชาวเขาจะนิยมใช้ยอดอ่อนมารับประทาน
  • ต้นกาหลงนิยมนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้งในบริเวณอาคารบ้านเรือน และใช้ปลูกตามที่สาธารณะ อาจจะเป็นต้นแบบเดี่ยว ๆ หรือใช้ปลูกเป็นกลุ่ม ๆ มีดอกสีขาวสวยงามและมีกลิ่นหอม สามารถออกดอกได้ตลอดปี อีกทั้งรูปร่างของใบและทรงพุ่มก็งดงาม สามารถจัดแต่งทรงพุ่มได้ง่าย ปลูกเลี้ยงได้สบาย ไม่ต้องการปุ๋ยมาก และขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด เพราะสามารถจับปุ๋ยจากอากาศได้เอง แต่ควรปลูกไม้พุ่มเตี้ยด้านหน้าเพื่อใช้บังโคนต้นที่เปิดโล่งอยู่ของต้นกาหลง
  • ชาวจีนมักปลูกต้นกาหลงไว้เป็นไม้ประจำบ้าน ด้วยเชื่อว่าต้นกาหลงเป็นไม้ที่ให้คุณแก่เจ้าของบ้าน

ข้อควรระวังในการใช้

  • บริเวณใบและกิ่งของต้นกาหลง จะมีขนอ่อน ๆ ขึ้นอยู่ประปราย หากสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงจะทำให้ระคายเคืองผิวหนังได้ 

กาแฟอาราบิก้า

กาแฟอาราบิก้า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นกาแฟอาราบิก้า

ลักษณะดิน :ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ชั้นดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร มีความเป็นกรดด่าง 5.5 - 6.5 และระบายน้ำดี

สภาพภูมิอากาศ :มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 15 - 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 60 %

แหล่งน้ำ :

- อาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี
มีการกระจายของฝน 5 - 8 เดือน

- มีแหล่งน้ำสะอาดและมีปริมาณพอที่จะให้น้ำได้ตลอดช่วงฤดูแล้ง

++ พันธุ์ ++

พันธุ์ที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้

- เป็นพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคราสนิม

- มีลักษณะต้นเตี้ย ข้อสั้น ผลผลิตสูงสม่ำเสมอ

- เป็นพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกโดยกรมวิชาการเกษตร คือ สายพันธุ์ คาติมอร์ CIFC 7963
รับกล้าพันธุ์ดีได้ที่หน่วยงานกรมวิชาการเกษตรภาคเหนือ

- ศูนย์วิจัยเกษตรหลวง จ.เชียงใหม่

- ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเชียงราย(วาวี) 
อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

สรรพคุณของ กาแฟอาราบิก้า การดื่มกาแฟเป็นประจำ จะทำให้เรารู้สึกสดชื่น กระชุ่มกระชวย และทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น กาแฟยังช่วยลดการเกิด oxidative stress ช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายและยังช่วยเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ในการกำจัดสารที่เป็นอันตราย

ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระในกาแฟ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยลดการเกิดเซลล์มะเร็ง และลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง การดื่มกาแฟยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคพาร์คินสัน โรคอัลไซเมอร์

มีงานวิจัยพบว่ากาแฟให้ผลป้องกันการอักเสบและอาจป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ผู้ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (ร่างกายต่อต้านอินซูลิน) และมีความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจต่ำกว่าผู้ไม่ดื่มถึง 53% คาเฟอีนในกาแฟปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยลดความหงุดหงิด อารมณ์ซึมเศร้าและความเครียดได้ อีกทั้งเนื้อกาแฟยังมีแร่ธาตุไนแทซเซียมและไนอาซีน ซึ่งเป็นวิตามินบี ชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์

เมล็ดมีคาเฟอีนเป็นยากระตุ้นหัวใจ ยากระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้นอนไม่หลับ พบสาร Theophylline มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จากการทดลองพบว่า การดื่มกาแฟทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เพราะมีสาร Theo bromine อาจทำให้มีอาการปวดแสบที่ลิ้นปี่ นอกจากนี้กาแฟ ยังลดการดูดซึมธาติเหล็กอีกด้วย จึงควรระวังในการดื่มกาแฟ โดยเฉพาะขณะท้องว่าง

กาแฟเป็นพืชในสกุล (Aenus) Coffea. ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด (Species) กาแฟที่ชาวโลกนิยมดื่มแพร่หลายอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากพืช 2 ชนิด คือ ชนิดแรกมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Coffea arabica Linn. ให้กาแฟที่เรียกว่า “อะราบีกา” และชนิดที่สองชื่อ Coffea canephora Linn. ให้กาแฟที่เรียกว่า “โรบัสตา”

กาแฟที่มีความสำคัญที่สุดในปัจจุบันคือกาแฟชนิด “อะราบีกา” ซึ่งถือว่าเป็นกาแฟชั้นเยี่ยม มีกลิ่นและรสชาติดีกว่ากาแฟชนิดอื่น จึงเป็นกาแฟที่ปลูกกันเป็นส่วนใหญ่ กาแฟชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศเอธิโอเปียและซูดาน มีผู้นำไปปลูกครั้งแรกที่ประเทศเยเมน ต่อมาจึงแพร่ขยายไปทั่วโลกในประเทศเขตร้อน (Tropical) ที่เหมาะสม ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย ชาวอาหรับเป็นกลุ่มแรกที่รู้จักนำกาแฟมาปรุงเป็นเครื่องดื่ม โดยเริ่มจากการใช้ใบมาชงน้ำร้อนดื่มก่อน ต่อมาจึงใช้เมล็ดกาแฟซึ่งมีกลิ่นและรสชาติดีกว่า ชาวอาหรับเรียกกาแฟว่า “กาแว” (Khawah) ซึ่งอาจจะกลายมาจากคำว่า “กาฟฟา” (Kaffa) ซึ่งเป็นชื่อมณฑลหนึ่งของเอธิโอเปียที่มีต้นกาแฟขึ้นเองตามธรรมชาติอยู่มาก

ในภาษาอังกฤษเรียกกาแฟว่า Coffee ส่วนชาวไทยในอดีตเรียกว่า “ข้าวแฟ” ดังปรากฏอยู่ในหนังสือสัพพะวัจนะภาษาไทยของบาทหลวงปาเลอกัว ฉบับพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2397 ต่อมาเรียกว่า “กาแฝ่” ดังปรากฏในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอบรัดเลย์ ฉบับพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2416 มีคำอธิบายว่า “กาแฝ่ ต้นไม้อย่างหนึ่ง มาแต่เมืองนอก เม็ดมันต้มน้ำร้อนกิน คล้ายกับใบชา” กาแฟเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่สูงประมาณ 6 เมตร ลักษณะเป็นไม้พุ่ม ใบเขียวเป็นมัน มีรูปไข่ปลายแหลม กว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตรโดยประมาณ ดอกสีขาวออกเป็นบริเวณรอยต่อระหว่างกิ่งกับใบ ผลมีขนาดเท่าผลลำไยขนาดเล็ก เมื่อผลสุกมีผิวสีแดง ปกติมีเมล็ดผลละ 2 เม็ด กาแฟชนิดอะราบีกาชอบขึ้นบนพื้นที่ระดับสูงจากน้ำทะเลระหว่าง 300-1,200 เมตร ในประเทศไทยปลูกได้ดีตามเขตภูเขาในภาคเหนือ เช่น พื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง เป็นต้น ส่วนกาแฟชนิดโรบัสตาขึ้นได้ดีในระดับต่ำกว่า จึงปลูกได้ดีในภาคใต้ เช่น บริเวณจังหวัดชุมพร

กาแฟอาราบิก้า ชื่อสามัญ Arabian coffee, Coffee, Kofi, Koffie, Brazillian coffee

กาแฟอาราบิก้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Coffea arabica L. จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)

ต้นกาแฟอาราบิก้า เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปแอฟริกา บริเวณประเทศเอธิโอเปีย แต่ชาวอาหรับเป็นชาติแรกที่นำกาแฟมาชงดื่ม จึงทำให้ชื่อภาษาละตินของกาแฟใช้คำว่า “อาราบิก้า” (arabica) ที่หมายถึงชาวอาหรับ โดยต้นกาแฟจัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ที่มีความสูงของต้นประมาณ 2-4 เมตร ในปัจจุบันเพาะปลูกกันมากในเขตร้อนชื้นและกึ่งเย็น

ใบกาแฟอาราบิก้า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบแหลมเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบเป็นมัน บางครั้งเป็นคลื่น มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ

ดอกกาแฟอาราบิก้า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีขาว ติดกันเป็นหลอด ดอกมีกลิ่นหอม

ผลกาแฟอาราบิก้า ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปไข่แกมรูปทรงกลม โดยผลอ่อนจะเป็นสีเขียว แต่เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดง

จุดเด่นของกาแฟอาราบิก้า คือ มีกลิ่นหอมและสารกาแฟสูง ทำให้เมื่อดื่มแล้วรู้สึกได้ถึงความกระปรี้กระเปร่า มีชีวิตชีวา โดยกาแฟชนิดนี้จะมีปริมาณของกาเฟอีนต่ำ เป็นกาแฟที่มีคุณภาพสูง มีความหอมไม่เป็นรองใคร เพียงแต่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เนื่องจากขาดการส่งเสริมและการประชาสัมพันธ์ที่ดี ในประเทศไทยมีการปลูกกาแฟชนิดนี้กันมากทางภาคเหนือบนดอยสูง

Arabica อราบิก้า คือ พันธุ์กาแฟที่ถูกค้นพบและมีการปลูกมาอย่างเก่าแก่มากๆ ลักษณะของเมล็ดจะเป็นเมล็ดที่ค่อนข้างเรียวและส่วนผ่าตรงกลางนั้นจะเป็นเหมือนรูปตัว S ในภาษาอังกฤษ พื้นที่ที่ใช้ปลูกอราบิก้าให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพควรจะเป็นที่สูง อากาศเย็น เพราะสายพันธุ์นี้เขาชอบและจะเจริญเติบโตได้ดี จึงจำเป็นต้องปลูกบนพื้นที่ที่อยู่เหนือขึ้นไปจากระดับของน้ำทะเลประมาณ 800 – 1,000 เมตร หรือให้ดีเลยก็ 1,000 เมตร ขึ้นไป จึงเป็นเหตุให้เราสามารถพบการปลูกอราบิก้ามากที่สุดในแถบจังหวัดภาคเหนือของไทย เช่น เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง เป็นต้น และด้วยเอกลักษณ์ของกลิ่นที่หอมอย่างพอดี พร้อมกับรสชาติที่ออกไปทางกลมกล่อมนุ่มนวล อีกทั้งยังมีปริมาณของคาเฟอีนที่ต่ำมากไม่ถึง 2% นี่เอง ที่ส่งผลให้สายพันธุ์กาแฟอราบิก้าเป็นที่นิยมและขายได้มากที่สุดในโลก เฉลี่ยถึง 80% กันเลยทีเดียว

ประโยชน์ของกาแฟ

  • เมล็ดกาแฟถูกนำมาผลิตจนเป็นเครื่องดื่มที่แพร่หลายไปทั่วโลก ในประเทศไทยมีการผลิตกาแฟอาราบิก้าและกาแฟโรบัสต้าได้มากพอ ทำให้บางปีก็มีการส่งออกไปขายยังต่างประเทศด้วย แต่ยังต้องมีการนำเข้ากาแฟคุณภาพดีเข้ามาผสม เพื่อใช้ผลิตเป็นผงกาแฟสำเร็จรูปสำหรับการบริโภคในประเทศเช่นกัน
  • กาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นตัวช่วยต้านสารพิษที่เกิดจากภายในและภายนอกร่างกาย
  • ช่วยขับไล่ความแก่ชรา แม้ว่าร่างกายจะต้องการออกซิเจนมากก็จริง แต่ถ้ามีออกซิเจนมากเกินไปก็อาจทำให้มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งสูงและทำให้แก่ชราเร็ว โดยเฉพาะในกาแฟที่เข้มข้นจะทำให้ออกไซด์แตกตัวและลดการเกิดมะเร็งได้
  • ปริมาณที่เหมาะสมของกาเฟอีนที่มีอยู่ในกาแฟสามารถช่วยกระตุ้นให้สมองเกิดการตื่นตัว ช่วยเร่งความเร็วในการประมวลผลข้อมูลในสมอง จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงานที่ต้องใช้สมาธิ ใช้เหตุผลและความจำ ส่วนกลิ่นหอมของกาแฟก็ช่วยกระตุ้นสมองให้ทำงานได้เร็ว มีสมาธิ และมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้นได้เช่นกัน (เนื่องจากกลิ่นของกาแฟสามารถทำให้เลือดไหลเวียนในสมองเพิ่มขึ้นได้)[3] ซึ่งงานวิจัยจากภาครังสีวิทยาของอเมริกาเหนือ ที่ได้พบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2 แก้ว จะสามารถช่วยพัฒนาความจำและปฏิกิริยาการโต้ตอบที่ดีขึ้นได้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่ระบุว่า ผู้หญิงที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เมื่อดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 3 แก้ว จะมีความจำที่ดีขึ้นกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มหรือดื่มกาแฟน้อยกว่านี้

กาสะลองคำ

กาสะลองคำ

ชื่อไทย : กาสะลองคำ
ชื่อท้องถิ่น : กากี(ใต้,สุราษฎร์ธานี) / แคะเป๊าะ, สำเภาหลามต้น(ลำปาง) / จางจืด(ชัยภูมิ,มุกดาหาร) / สะเภา(เหนือ) / อ้อยช้าง(กาญจนบุรี,อุตรดิตถ์)
ชื่อสามัญ : Tree Jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Radermachera ignea (Kurz) Steenis
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 6-15 เมตร ผลัดใบแต่ผลิใบใหม่ไว เรือนยอดแผ่นเป็นชั้น ลำต้นเปลาตรง กิ่งก้านเล็กและลู่ลง เปลือกสีเทา แตกสะเก็ดเล็กน้อยมีช่องอากาศขนาดใหญ่ทั่วไป

ใบ :ประกอบแบบขนนก 3 ชั้น เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ยาว 20-60 ซม. ใบย่อย 3-5 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปรี รูปใบหอก กว้าง 2-4.6 ซม. ยาว 5-12 ซม. ปลายใบแหลมยาวโคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ หลังใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ท้องใบเรียบสีอ่อนกว่า แผ่นใบบาง เส้นแขนงใบข้างละ 4-5 เส้น ก้านใบย่อยยาว 0.3-1.1 ซม.

ดอก :สีเหลืองทองออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามกิ่งและลำต้น มี 3-10 ดอก ช่อดอกยาว 1-1.7 ซม. มีขนนุ่มประปราย กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดคล้ายรูปกระสวยแกมรูปไข่ สีน้ำตาลแดง มีขนนุ่มทั่วไป กลีบดอกเชื่อมเป็นรูปทรงกระบอกปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5-2 ซม.

ผล :แห้งแตก เป็นฝัก รูปทรงกระบอกยาว 30-45 ซม. ผลแก่จะบิดเวียนและแตก 2 ซีก เมล็ด แบน มีจำนวนมาก มีปีกแคบยาว 2 ข้าง

ระยะติดดอก - ผล : เริ่มติดดอก : กุมภาพันธ์ สิ้นสุดระยะติดดอก : เมษายน
                          เริ่มติดผล : พฤษภาคม สิ้นสุดระยะติดผล : มิถุนายน
สภาพทางนิเวศวิทยา : นิเวศวิทยา ป่าเบญจพรรณชื้นและชายป่าดิบแล้งตามเชิงเขา ถิ่นกำเนิด การกระจายพันธุ์ การใช้งานด้านภูมิทัศน์ ทรงพุ่มเบียดกันเป็นกลุ่มไม่แผ่กว้าง พุ่มใบสวยงาม ควรปลูกเป็นจุดเด่นตามมุมของพื้นที่หรือปลูกใกล้ทางเดินเพราะดอกสวยงามแต่ซ่อนอยู่ตามกิ่ง
การปลูกและการขยายพันธุ์ : ดินร่วนปนทราย โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง และแยกหน่อ
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : - ลำต้น ผสมกับต้นขางปอย ต้นขางน้ำข้าว ต้นขางน้ำนม ต้นอวดเชือก ฝนน้ำกินแก้ซาง [1], [2] - เปลือกต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ท้องเสีย [1], [2] - ใบ ตำคั้นน้ำ ทาหรือพอกรักษาแผลสด แผลถลอก ห้ามเลือด [1], [2] - เนื้อไม้ทำลังใส่ของ กระดาน เครื่องเรือน [2] - ไม้เบิกนำ โตเร็ว [3]

สาวน้อยตกเตียง

สาวน้อยตกเตียง

IMG_5620
ยานางหนุ่มต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์  Osbeckia stellata Buch. – Ham. Ex Ker-Gawl.
ชื่อวงศ์  MELASTOMATACEAE
ชื่ออื่นๆ  ต๊ะโพง่วน เฒ่านั่งฮุ่ง เอ็นอ้าขน โครงเครงหิน แตกกลาง นางหญารากขาว สาวน้อยตกเตียง แอกคลอผลึ
ลักษณะทั่วไป ไม้พุ่มสูงได้ถึง ๒ เมตร ลำต้นมีสันตามยาว ๔ สัน มีขนละเอียดปกคลุม ใบเดี่ยวเรียงเป็นคู่ออกตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลม ดอกสีชมพูอมม่วง ผลรูปคนโท เมล็ดรูปไตแบน
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ด