• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

เกด


ต้นเกดเป็นไม้สำคัญที่มีความเกี่ยวพันกับพุทธประวัติภายหลังการตรัสรู้ 

 

Image Image

 

เกด ต้นไม้สุดท้ายแห่งการเสวยวิมุตติสุข 

“ต้นเกด” หรือ “ราชายตนะ” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Manilkarahexandra (Roxb.) Dubard อยู่ในวงศ์ Sapotaceae มีถิ่นกำเนิดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงราว 12-25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทา เมื่อแก่จะแตกเป็นสะเก็ดสีดำ เนื้อไม้สีน้ำตาลแดง 

กิ่งมีลักษณะคดงอเหมือนข้อศอก เมื่อต้นยังเล็กจะมีกิ่งลักษณะคล้ายหนามยาว ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่กลับ กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 5-10 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา ด้านบนมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนด้านล่างมีสีขาวนวล ออกเวียนสลับเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง 

ดอกมีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ มักออกดอกราวเดือนมกราคม-กรกฎาคม ส่วนผลเป็นรูปกลมรี เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ผลดิบมีสีเขียว และเมื่อสุกจะมีสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เนื้อนุ่มหอมหวาน รับประทานได้ ช่วยให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ ภายในผลมีเมล็ดแข็งรูปรี สีน้ำตาล เป็นมัน 1-2 เมล็ด 

ด้วยเหตุที่ต้นเกดมีเนื้อไม้ที่แข็งแรง ทนทาน และพบมากตามเกาะแก่งต่างๆ ชาวประมงจึงนิยมนำมาใช้ในการทำเรือ ปัจจุบัน ต้นเกดเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 

 

 

ImageImageImage

 

ต้นเกดเป็นไม้สำคัญที่มีความเกี่ยวพันกับพุทธประวัติภายหลังการตรัสรู้ ดังนี้ 

ในสัปดาห์ที่ 7 หลังจากพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้ว ได้ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข (สุขอันเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง) เป็นสัปดาห์สุดท้าย อยู่ ณ ใต้ต้นราชายตนะ (สัปดาห์ที่ 5 ประทับที่ต้นไทร และสัปดาห์ที่ 6 ประทับที่ต้นจิก) ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นเวลา 7 วัน 

ในระหว่างที่ประทับอยู่นั้นได้มีพ่อค้า 2 คน ชื่อว่า “ตปุสสะ” และ “ภัลลิกะ” นำเกวียน 500 เล่ม เดินทางจากอุกกลชนบทผ่านมา และได้พบกับพระศาสดา จึงบังเกิดความเลื่อมใส ทั้งสองจึงพร้อมใจกันนำข้าวสัตตุก้อน สัตตุผง ถวายแด่พระพุทธองค์ พระศาสดาได้ทรงแสดงธรรมแก่ทั้งสอง และเมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว ทั้งตปุสสะและภัลลิกะ ก็เปล่งวาจาถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะตลอดชีวิต ทั้งสองจึงเป็น “เทฺววาจิกอุบาสก” คืออุบาสกที่ถึงรัตนะทั้งสอง (ขณะนั้นยังไม่มีพระสงฆ์) เป็นคู่แรกในพระพุทธศาสนา 

และก่อนที่จะเดินทางต่อไป ทั้งตปุสสะและภัลลิกะได้ทูลขอสิ่งของเพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธองค์ พระองค์จึงทรงเอาพระหัตถ์ขวาลูบพระเศียรแล้วประทานเส้นพระเกศา 8 เส้นให้พ่อค้าทั้งสองได้นำพระเกศธาตุนั้นไปบูชายังนครของตน 

Image Image

ตรีชวา

ตรีชวา

DSC09145

เคยพูดถึงต้นสังกรณีเมื่อนานมาแล้ว  คงขาดความสมบูรณ์แน่ถ้าไม่พูดถึงไม้อีกตัวที่คู่กัน  คือต้นตรีชวา   จริงๆเราไม่ค่อยสนใจต้นนี้เพราะเท่าที่เห็นเค้าเป็นไม้ประดับสวนดอกสวยธรรมดา เข้าใจว่าเข้าเป็นไม้นอกด้วยซ้ำไปแแต่พอดูข้อมูลแล้วเป็นไปได้ว่า  ไม้ต้นนี้อยู่ในไทยมานาน   ขณะเดียวกันมีการเรียกต้นไม้ ๒ ชนิดว่าเป็นต้นตรีชวา ต้นหนึ่งคื  อัคคีทวาร อีกต้นคือ ต้นหางแมว  มีอยู่ครั้งหนึ่งได้รู้จักกับเพื่อนคนหนึ่งที่มีปัญหาปอดเสื่อม ทั้งสองข้าง  เขาบอกว่าไปบูชายาหม้อจากพระมากินรักษาตัว  ซึ่งมีตัวยาอยู่ในนั้นหลายตัวมาก หนึ่งในนั้นเราเห็นดอกของเจ้าตรีชวาปนอยู่ด้วย  เลยเกิดความสนใจขึ้นมา  เพื่อนคนนี้เขากินยาหม้อนี้เป็นประจำ  เพราะหมดหนทางรักษาทางอื่นแล้ว  อาการเหนื่อยหอบมาก  ทำงานหนักไม่ได้เลย  พอกินยาหม้อนี้เขาแข็งแรงมาก ทำไร่ ทำสวน อดนอน แถมยังสูบบุหรี่ได้หน้าตาเฉย  ( อันนี้ไม่ดี ) เขาเล่าว่าเคยเอาไปให้คนอื่นที่มีปัญหากระดูกเสื่อมกิน  อาการดีขึ้น  เลยรู้ว่ามีการนำตรีชวามาใช้รักษาโรคผู้ป่วยเกี่ยวกับ ปอดและกระดูก แต่อาจไม่ใช่ตัวยาหลัก  คงต้องค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไป  สิ่งที่พึงระวังอีกอย่างหนึ่งคือ  การอ้างอิงข้อมูลสรรพคุณสมุนไพรโดยไม่มีรูปของสมุนไพรด้วย  ยึดแค่ชื่อเป็นหลัก  อาจจะผิดต้นไปเลยก็ได้  อย่างในกรณีนี้ ต้นตรีชวาถูกระบุสรรพคุณว่าแก้ริดสีดวงทวาร  ซึ่งสมุนไพรที่ใช้รักษาริดสีดวงทวารอีกต้นคือ  อัคคีทวารซึ่งมีชื่ออื่นว่า ตรีชวาเหมือนกัน  ทำให้เกิดความสงสัยว่าการรวบรวมข้อมูลสรรพคุณต่าง ๆ อาจเอาต่างต้นแต่ชื่อเหมือนกันมาปนเปกันได้

1436323467

ตรีชวา
ชื่อสามัญ : White Shrimp Plant.
ชื่อพื้นเมือง : ตรีชวา (ทั่วไป) ; หางกระรอก, หางแมว (กลาง),เขียวพระสุจริต
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum serratum (L.) Moon var. wallichii C.B.Clarke
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ลักษณะ 
ต้น : ไม้พุ่มสูง ประมาณ 0.5 - 1 เมตร 
ใบ : ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามรูปรี กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 - 8 ซม. ปลายและโคนแหลม 
ดอก : สีขาวหรือม่วงอ่อน ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง แต่ละดอกมีใบประดับรูปหัวใจ สีขาวลายเขียว 3 ใบ กลีบดอกเป็นหลอดเล็กปลายแยกเป็น 2 ส่วน 
ผล : กลมเล็กเมื่อแก่แตกได้ 
เมล็ด : -
การกระจายพันธุ์     พบได้ทั่วไปตามภูมิภาคของไทย
การรขยายพันธุ์        ปักชำ ตอนกิ่ง
ประโยชน์ 
ปลูกเป็นไม้ประดับตามอาคารบ้านเรือน 
ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย : นำไปบูชาพระ 
สรรพคุณ
ดับพิษโลหิต สมานแผล แก้ริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ
วิธีและปริมาณที่ใช้
ดับพิษโลหิต ขับปัสสาวะโดยใช้ทั้งต้น 1 กำมือ หรือประมาณ 10-15 กรัม ล้างน้ำให้สะอาดในน้ำเดือด 1 ลิตร นานประมาณ 15 นาที กรองเอาน้ำดื่มเช้า-เย็น
ส่วนเหนือดินของตรีชวา  มีสารประกอบพวก Triterpenoid glycosides ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่า สารนี้มีคุณสมบัติในการลดรอยแผลเป็น มีฤทธิ์ช่วยสมานแผล เร่งการสร้างเนื้อเยื่อ และลดการอักเสบที่ผิวหนัง