• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

นางพญาเสือโคร่ง

นางพญาเสือโคร่ง

154896

นางพญาเสือโคร่ง

นางพญาเสือโคร่ง พรรณไม้ยืนต้นออกดอกสีชมพูขาวบานสะพรั่งการกระจายพันธุ์ขึ้นตามภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 1000-2000 เมตร โดยเฉพาะในพื้นที่ทางภาคเหนือของประทศไทยหรือที่รู้จักกันในชื่อ “ซากุระเมืองไทย” มีการขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด เนื่องจากมีลักษณะที่คล้ายต้นซากุระของประเทศญี่ปุ่น และในประเทศญี่ปุ่นจะเรียกดอกไม้ของพรรณไม้ชนิดนี้ว่า “ฮิมาลายาซากุระ” (ヒマラヤザクラ) ชื่อสามัญ Wild Himalayan Cherry, Sour cherry ชื่อภาษาอังกฤษ Wild Himalayan Cherry ชื่อวิทยาศาสตร์ prunus cerasoides ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ฉวีวรรณ ชมพูภูพิงค์ (ภาคเหนือ), ซากุระดอย (เชียงใหม่), ยาแก่ะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), คัวเคาะ เส่คาแว่ เส่แผ่ แส่ลาแหล (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) เป็นต้น

ลักษณะของนางพญาเสือโคร่ง

  • ต้น  เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีขนาดเล็กจนถึงมีขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมลักษณะเป็นโปร่ง เปลือกต้นผิวเรียบเป็นมัน เป็นสีเหลือบน้ำตาล เยื่อผิวบาง หลุดลอกได้ง่าย ตามกิ่งอ่อนนั้นมีขนละเอียดประปราย มีการกระจายพันธุ์อยู่ที่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น มักพบขึ้นในป่าที่ระดับความสูงประมาณ 500-1,500 เมตร ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นอยู่ตามภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000-2,000 เมตร เช่น บนดอยเชียงดาว ดอยอินทนนท์ ฯลฯ
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบนั้นเรียวแหลม โคนใบนั้นจะกลมหรือสอบแคบ ส่วนขอบใบจะหยักเป็นฟันเลื่อยละเอียด ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร ปลายก้านใบมีต่อมประมาณ 2-4 ต่อม หูใบแตกแขนงเป็นรูปคล้ายเขากวางหรือเป็นริ้วเล็ก ๆ ใบนั้นหลุดร่วงได้ง่าย
  • ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง ก้านดอกยาวประมาณ 0.7-2 เซนติเมตร ดอกย่อยนั้นมีจำนวนที่ค่อนข้างมาก ดอกมีหลายเฉดสี ทั้งสีชมพูอ่อน สีชมพูเข้ม สีชมพูแดง จนไปถึงสีแดง หรือสีขาว แต่สีที่หายากที่สุดคือสีขาว ขอบดอกเป็นริ้วประดับจักไม่เป็นระเบียบ กลีบเลี้ยงจะติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอกมีทั้งสิ้น 5 กลีบ เมื่อตอนที่ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร ออกดอกในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และจะมีการทิ้งใบไปก่อนการออกดอก
  • ผล เมื่อดอกนั้นได้รับการผสมจะติดเป็นผล ซึ่งจะติดผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ผลจะเป็นผลสด ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน รูปกระสวย รูปไข่หรือกลม ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร มีความฉ่ำน้ำ ผลผิวเกลี้ยง ผลสุกจะเป็นสีแดงแบบลูกเชอร์รี่ มีรสชาติที่เปรี้ยว

หมายเหตุ : ต้นจะแตกต่างจากซากุระญี่ปุ่นตรงที่ช่วงเวลาของการออกดอกนั่นเอง คือ จะมีการออกดอกในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งก็คือจะออกดอกในช่วงฤดูหนาว ส่วนซากุระในญี่ปุ่นจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่นนั่นเอง และยังมีข้อสันนิษฐานกล่าวว่าพรรณไม้ทั้งสองชนิดนี้มีบรรพบุรุษร่วมกัน ในทางตอนใต้ของจีน และได้มีวิวัฒนาการออกไปจนมีหลากหลายสายพันธุ์

maxresdefault 2

สรรพคุณของนางพญาเสือโคร่ง

1. ชาวเขาเผ่ามูเซอจะนำเปลือกต้นมาทำยาแก้ไอ ลดน้ำมูก และแก้อาการคัดจมูก (เปลือกต้น)
2. เปลือกต้นนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำมาทาหรือพอกแก้ฟกช้ำ แก้ข้อแพลง และอาการปวดข้อ (เปลือกต้น)
3. เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำ ดื่มรักษาอาการหนาวสั่นจากอาการไข้หวัดได้ (เปลือกต้น)
4. เปลือกต้นเอามาต้มกับน้ำดื่มสามารถเป็นยาแก้อาการท้องเสียได้อีกด้วย (เปลือกต้น)
5. เปลือกต้นเป็นยาแก้เลือดกำเดาไหล (เปลือกต้น)

ดาวน์โหลด

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

สารสกัดจากลำต้นประกอบด้วยแอลกอฮอล์ที่มีฤทธิ์ในการลดการบีบตัวของลำไส้สัตว์ทดลอง

ประโยชน์ของนางพญาเสือโคร่ง

1. ผล มีรสชาติเปรี้ยวรับประทานได้ แต่ไม่ค่อยนิยมรับประทานกัน และไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ท้องเสียได้
2. ปลูกเป็นไม้ประดับได้ เนื่องจากออกดอกที่ดกสวยงาม และยังใช้ปลูกเป็นไม้เบิกนำ เนื่องจากเป็นไม้ที่เติบโตได้เร็ว ทนทานต่อไฟป่า และต้องการแสงที่มาก จึงเหมาะที่จะนำไปปลูกเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าดิบเขาในพื้นที่ต้นน้ำ หรือนำไปปลูกในพื้นที่ที่ผ่านการทำไร่เลื่อนลอยบนพื้นที่สูง แต่ไม่ควรนำไปปลูกบนพื้นที่ที่มีลมพัด เพราะกิ่งก้านจะหักได้ง่าย
3. เนื้อไม้นั้นอ่อน สามารถนำมาใช้ทำด้ามเครื่องมือทางการเกษตรได้

ซากุระเมืองไทย

สำหรับสถานที่เที่ยวชมดอกนางพญาเสือโคร่งในประเทศไทยมีอยู่หลายที่ด้วยกัน เช่น ขุนช่างเคี่ยน จ.เชียงใหม่ (เป็นสถานที่เที่ยวชมยอดฮิตมาก ๆ ของภาคเหนือ), ขุนแม่ยะ (หน่วยจัดการต้นน้ำขุนแม่ยะ) จ.แม่ฮ่องสอน, สถานีเกษตรหลวงขุนวาง จ.เชียงใหม่, จ.เชียงใหม่, ดอยอ่างขาง จ.เชียงใหม่, ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารี ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่, ภูลมโล จ.เลย, ดอยช้าง-ดอยวาวี จ.เชียงราย, ดอยแม่ตะมาน เป็นต้น

 

พญาน้ำดับไฟ

พญาน้ำดับไฟ

น้ำดับไฟ11

ชื่อไทย: หญ้าน้ำดับไฟ

ชื่อท้องถิ่น: หญ้าดับไฟ, บัวฮาผา

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Lindenbergia philippensis (Cham.)Benth.

ชื่อวงศ์: SCROPHULARIACEAE

สกุล: Lindenbergia 

สปีชีส์: philippensis 

ชื่อพ้อง: 

-Lindenbergia melvillei S.Moore

-Lindenbergia siamensis Teijsm. & Binn.

-Stemodia bodinieri Vaniot

-Stemodia philippensis Cham. & Schltdl.

-Stemodia ruderalis Blanco

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

 

ต้นหญ้าน้ำดับไฟ เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูงประมาณ 0.5-1 เมตร



ใบ เป็นเดี่ยว ออกตรง กันข้าม รูปไข่ถึงรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1-3.5 เซนติเมตร ยาว 2-8 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบด้านบนมีขนประปราย



ดอก ออกดอกเป็นช่อ สีเหลือง ตั้งจากปลายกิ่ง ก้านช่อดอกมีขนนุ่ม กลีบรองดอกเชื่อมกันที่ฐาน รูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกยาวประมาณ 12-15 มิลลิเมตร ด้านนอกมีขน ปลายแยกเป็น 2 ปาก กลีบบนปากแยกเป็น 2 แฉก รูปหอก กลีบล่าง ปากโค้งงุ้มขอบแยก เป็น 3 แฉกมน ขนาด ยาวกว่ากลีบปากบน

ผล ลักษณะผลรูปไข่ป้อม กว้างประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร เมล็ดขนาดเล็กมาก รูปขอบขนาน

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามริมทางหรือพื้นที่รกร้าง ที่ระดับความสูงได้ถึง 800 เมตร

ถิ่นกำเนิด: เทือกเขาหิมาลัยทางตอนใต้ของประเทศจีนและอินโดจีน ประเทศฟิลิปปินส์

การกระจายพันธุ์: อัสสัม, บังคลาเทศ, กัมพูชา, จีนใต้-กลาง, จีนตะวันออกเฉียงใต้, เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก, ลาว, เมียนมา,ร์ เนปาล, ฟิลิปปินส์, ไทย, เวียดนาม, เทือกเขาหิมาลัยตะวันตก

 

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ต้น ใบ ราก รสเย็น สรรพคุณ  ตำคั้นเอาน้ำทา แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้แผลพุพอง

*ใบ รสเย็น สรรพคุณ ตำผสมสุรา พอกแก้พิษฝี แก้ปวดบวม แก้พิษไฟไหม้ น้ำร้อนลวกสุมศีรษะเด็กเวลาเย็น แก้หวัดคัดจมูก

* ราก รสเย็น สรรพคุณ แก้พิษสุนัขกัด

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคผิวหนังพุพอง ใช้ทั้งต้นตำพอก หรือคั้นเอาน้ำแทรกกับพิมเสน ทาบริเวณที่มีอาการ ทิ้งไว้ราว 1 ชั่วโมง ช่วยดับพิษร้อนได้ดี หรือปิดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ดับพิษปวดแสบปวดร้อน

-อาการแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก พอกฝี ใชทั้งต้นตำผสมเหล้าพอกบริเวณที่มีอาการ ช่วยลดอาการปวด ทำให้เย็นสบาย หรือพอกศีรษะเด็ก แก้หวัดคัดจมูก ปวดศีรษะ

335069

H80c3f209d2d2451c8a49b29e89367206i

ยี่หุบ

ยี่หุบ

ดอกยี่หุบ1

ยี่หุบ

ยี่หุบ ต้นไม้ฟอกอากาศ กลิ่นหอมหวลชวนผ่อนคลาย มีประโยชน์มากกว่าที่คิด

ส่วนใหญ่ ต้นไม้ฟอกอากาศ มักเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นที่ไม่ค่อยมีดอก เเต่ก็มีบางชนิดที่เป็นไม้ดอกที่ส่งกลิ่นหอมอบอวลเเละฟอกอากาศในบ้านให้สดชื่นได้ หนึ่งในต้นไม้ฟอกอากาศกลิ่นหอมก็คือ ต้นยี่หุบ ซึ่งมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า MAGNOLIA COCO เป็นไม้พุ่มลำต้นไม่สูงมากนัก มีใบเดี่ยวเป็นลักษณะวงรีเรียวยาว มีดอกออกตลอดทั้งปี โดยดอกของยี่หุบมีลักษณะเหมือนไข่ไก่ ลักษณะการบานจะคล้ายกับดอกจำปีเเต่มีขนาดเล็กกว่าเเละเป็นรูปทรงกลมคล้ายโดมสามารถเพาะได้ด้วยการเพาะเมล็ดเเละการตอนกิ่งปักชำ

ดอกตูมยี่หุบ

สรรพคุณของต้นยี่หุบ

ต้นยี่หุบเป็นต้นไม้ฟอกอากาศที่มีกลิ่นหอมเป็นอย่างมากนอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติในการช่วยฟอกอากาศ เเละดอกของต้นยี่หุบยังสามารถนำมาสกัดออกเป็นน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นหอมช่วยให้ผ่อนคลายได้ดี สามารถนำน้ำมันหอมระเหยไปใช้นวดลดรอยฟกช้ำตามร่างกาย โดยยี่หุบจะออกดอกตลอดทั้งปีจึงสามารถนำมาปลูกเพื่อเพิ่มความสดชื่นเเละประดับสวนในบ้านได้อีกด้วย

 

กล้ายี่หุบ

 

วิธีดูเเลเเละวิธีเลี้ยงต้นยี่หุบ

สำหรับ วิธีปลูกต้นยี่หุบ และวิธีการดูเเลต้นไม้ฟอกอากาศอย่างต้นยี่หุบนั้นมีวิธีการที่ไม่ยุ่งยากเเละเป็นพืชที่คงทนต่อสภาพอากาศเมืองไทยได้ดีพอสมควร การดูเเลยี่หุบทำได้โดยการปลูกไว้ในที่ร่มที่มีเเดดส่องถึงเเบบรำไรไม่ควรให้โดนเเสงเเดดจัดโดยตรง หากปลูกในที่อากาศเย็นจะทำให้ยี่หุบออกดอกได้มากขึ้น ต้นยี่หุบเป็นพืชที่ชอบความชื้นดังนั้นจึงควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ วันละ 1 ครั้ง ควรปลูกในดินที่มีความร่วนซุยเเละมีความชื้น ควรปลูกในกระถางเเละควรผสมปุ๋ยลงไปในดินตอนปลูกด้วย

ทองนพเก้า

ทองนพเก้า

Sab08659ebdba44f0807d947b25987dcf8

ชื่อภาษาไทย : ทองนพเก้า, ชะแมบทอง

ชื่อภาษาอังกฤษ : Horse Bush

ชื่อวิทยาศาสตร์ : unbellatum aurea, Dendrolobium umbellatum (L.) Benth. “cultv. aurea”

ชื่อวงศ์ : FABACEAE (Deciduous Trees)

ชื่อสกุล : Desmodium

นพเก้า ตามความหมายดั้งเดิมแต่โบราณคือ อัญมณี 9 ประการที่ใครได้ครอบครองก็จะถือว่าเป็นมงคล ดังนั้นคนไทยโบราณจึงตั้งชื่อทองนพเก้าตามลักษณะและสีทองอร่ามของต้นนี้ โดยเชื่อกันว่าหากใครปลูกต้นทองนพเก้า หรือ ชะแมบ ทองไว้ในบ้านหรือประตูรั้วนั้น ก็จะทำให้ชีวิตมีแต่ความรุ่งเรือง ชีวิตมีแต่ความสว่างไสว ทำอะไรก็จะมีแต่ความประสบความสำเร็จ และเชื่อว่า คนในบ้านจะได้โชคลาภด้านทอง หรือทำธุรกิจเกี่ยวกับทอง ดังชื่อของต้นไม้ชนิดนี้ที่ชื่อว่า “ทองนพเก้า” ทองเนื้อดี สีเหลืองทองอร่ามเหมือนกับสีของใบ

สำหรับความเป็นมาของต้นทองนพเก้าหรืออีกชื่อ คือ ต้นชะแมบทอง เดิมทีเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศวานูอาตู ซึ่งเป็นประเทศหมู่เกาะอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ จากนั้นก็มากระจายพันธุ์เป็นวงกว้างตามชายหาดและริมฝั่งน้ำ จากแอฟริกาตะวันออก อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย เป็นต้นไม้ที่มักจะขึ้นมากตามชายฝั่งจึงทำให้มีความสามารถในการทนความแห้งแล้งหรือทนลมทะเลได้ดี ความโดดเด่นของต้นนี้คือใบสีเหลืองทองงดงามตลอดปี ด้วยความงดงามนี้ทำให้ต้นชะแมบทองจึงถูกเลือกนำมาใช้ในราชพิธีของในหลวงรัชกาลที่ 9 และนำปลูกข้างตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบา

  • ลำต้น

ลำต้นตรงยาว เนื้อไม้เรียบ สีของไม้ออกสีเทาน้ำตาลจัดเป็นไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นไม้พุ่มถึงยืนต้น สูงได้ประมาณ 1-10 เมตร 

  • ใบ

ใบเป็นใบประกอบแบบมีใบย่อย 3 ใบ สีเหลืองทอง หลังใบมีขน ขอบใบมนโค้ง แผ่นใบเรียบและอ่อน

  • ดอก

ดอกของต้นชะแมบทองจะมีสีขาวออกตามซอกใบเป็นช่อสั้นๆ คล้ายดอกถั่ว ออกดอกเยอะในช่วง กรกฎาคม – ตุลาคม หรือในบางพื้นที่ก็จะมีดอกถึง 3 ครั้ง ใน 1 ปี

  • ผลและเมล็ด

ผลเป็นฝักลักษณะแบนคอดและโค้งงอขึ้น ขนาดความยาวของฝักประมาณ 3 ซม. ไม่ใหญ่มากนัก

ad9d2987d07f6325e27af3756442a084

การขยายพันธุ์

ต้นทองนพเก้าในปัจจุบันนิยมการขยายพันธุ์แบบ ทั้งเพาะเมล็ด และปักชำ ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้ ก็ไม่ได้ถูกนำไปใช้ว่าด้านไหนดีกว่ากัน แต่ขึ้นอยุ่กับว่าในช่วงนั้น ต้นทองนพเก้าหรือชะแมบทองนั้นจะออกเมล็ดให้เก็บเกี่ยวกันรึเปล่า

แต่ข้อดีอีกอย่างของพันธุ์ไม้ชนิดนี้คือ “ขยันแตกยอดใหม่” ตลอดทั้งปี ทำให้ในช่วงที่ไม่มีดอก ชาวสวนก็สามารถนำกิ่งเหล่านั้นมาปักชำ โดยที่ต้นแม่พันะุ์ก็สามารถสร้างกิ่งใหม่มาทดแทนได้ตลอดเวลา

1753