• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

ละไม

ละไม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baccaurea motleyana
อยู่ในวงค์ : Euphorbiaceae

ละไม เป็นผลไม้คล้ายกันกับมะไฟ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นมีทรงพุ่ม ลำต้นเนื้อไม้แข็ง มีเปลือกแข็ง ใบมีลักษณะทรงรี ดอกมีสีชมพูอมเหลือง มีกลิ่นหอม มีลักษณะทรงกลมรี มีขั้วจุกชัดเจน ผิวเปลือกหนา ผลอ่อนมีขนคล้ายกำมะหยี่มีสีเขียว เมื่อผลสุกจะผิวเกลี้ยงไม่มีขน มีสีน้ำตาลอ่อน ภายในผลจะมีเนื้อเป็นกลีบเล็ก เนื้อฟูนุ่มฉ่ำน้ำมีสีขาว มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน มีกลิ่นหอม ละไมที่ปลูกในประเทศไทย มีหลายสายพันธุ์

ลำต้น เป็นผลไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นใหญ่กว่ามะไฟ ต้นมีทรงพุ่ม ลำต้นมีลักษณะกลมๆ เนื้อไม้แข็ง เปลือกแข็งเรียบ มีสีเทา

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกใบสลับตรงข้าม มีลักษณะทรงรูปหอก โคนมนปลายเรียวรีแหลม ใบด้านบนมีสีเขียว พื้นผิวเป็นมัน ใบด้านล่างมีสีอ่อนกว่า

ดอก ออกเป็นช่อ จะมีดอกออกเป็นกระจุก ดอกมีสีชมพูอมเหลือง เล็กฝอยๆ กลีบเลี้ยงมีสีเขียวปนเหลือง มีกลิ่นหอม มีก้านช่อดอกยาว ดอกออกตามลำต้น

ผล ออกเป็นพวงช่อยาว ผลใหญ่กว่ามะไฟ มีลักษณะทรงกลมรี มีขั้วจุกชัดเจน ผิวเปลือกหนา ผลอ่อนมีขนคล้ายกำมะหยี่มีสีเขียว เมื่อผลสุกจะผิวเกลี้ยงไม่มีขน มีสีน้ำตาลอ่อน ภายในผลจะมีเนื้อเป็นกลีบเล็ก เนื้อฟูนุ่มฉ่ำน้ำ มีสีขาว มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน มีกลิ่นหอม มีเมล็ดสีน้ำตาลแบนรูปไข่ อยู่ข้างในเนื้อกลีบ

เมล็ด มีลักษณะรูปแบนรูปไข่ อยู่ข้างในเนื้อ มี 3-5 กลีบต่อผล เมล็ดมีผิวเรียบลื่นเป็นมัน มีสีน้ำตาล

ประโยชน์และสรรพคุณละไม

มีวิตามินเอ มีวิตามินซี มีธาตุแคลเซียม มีฟอสฟอรัส มีวิตามินบี2 มีวิตามินบี3 มีวิตามินบี1 มีวิตามินบี12 มีโปรตีน มีธาตุเหล็ก มีแมกนีเซียม มีคาร์โบไฮเดรต มีเส้นใย มีโพแทสเซียม มีพลังงาน มีไขมัน มีกรดโฟลิก มีโซเดียม มีทองแดง

ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยดับพิษร้อน ป้องกันโรคหวัด ช่วยขับเสมหะ แก้คออักเสบ แก้ไข้ แก้ไอ แก้ไข้มาลาเรีย ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องร่วง แก้อาการท้องอืด แก้อาการท้องเฟ้อ ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง ช่วยขับพยาธิ แก้ฝีภายใน ช่วยรักษากลาก ช่วยรักษาเกลื้อน ช่วยรักษาโรคเรื้อน แก้โรคผิวหนัง แก้ลมพิษ แก้วัณโรค แก้โรคเริม ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยแก้อาการปวดเข่า ช่วยบำรุงฟัน ช่วยขับปัสสาวะ แก้พิษตานซาง

การปลูกขยายพันธุ์ละไม

ละไมสามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด ดินร่วนปนทรายจะเติบโตได้ดี ปลูกในฤดูฝนจะดี การปลูกละไมทำได้หลายวิธี การปลูกโดยใช้การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การเสียบกิ่ง
การตอนกิ่ง จะนิยมปลูกมากกว่าวิธีอื่น เพราะจะให้ผลผลิตเร็วกว่า โดยใช้กิ่งพันธุ์ในการเพาะ ใส่ลงในถุงพลาสติกเพาะชำ รดน้ำให้ชุ่ม วางไว้ในที่แดดร่มๆ ใช้เวลาเพาะประมาณ 1 ปี แล้วนำมาปลูกลงในแปลง ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 6×8 เมตร

การดูแลรักษาละไม

ละไมชอบอากาศร้อน ชอบแสงแดดเพียงพอ ต้องให้น้ำเพียงพอ ระบายน้ำดี ไม่แฉะเกินไป ปลูกช่วงแรกต้องรดน้ำทุกวัน เมื่อละไมเติบโตขึ้นก็เว้นการให้น้ำได้ ปลูกในฤดูฝนจะดี

การเก็บเกี่ยวผลผลิตละไม

การปลูกด้วยการตอนกิ่ง จะให้ผลผลิตเร็วกว่า ใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี จะออกผลผลิต การปลูกด้วยการเพาะเมล็ด ใช้เวลาประมาณ 4-5 ปี จะออกผลผลิต และจะมีลูกดกตามสายพันธุ์ เมื่อผลสุกจะมีสีน้ำตาลอ่อน ให้ใช้กรรไกรตัดขั้วทั้งพวง แล้วต้องระวังอย่าทำหล่น อาจทำให้ผลช้ำเสียหายได้

การเก็บรักษาละไม

เราจะนำละไมสุกที่ตัดไว้ แล้วนำมาใส่ในภาชนะ ที่โปร่งระบายอากาศดี แล้ววางไว้ในที่อากาศถ่ายเท จะเก็บรักษาไว้ได้นาน โดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น

รำเพย

รำเพย

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Thevetia peruviana (Pers.) K.  Schum.
ชื่อวงศ์:  Apocynaceae
ชื่อสามัญ:  Yellow oleander, Lucky bean, Trumpet flower, Lucky nut
ชื่อพื้นเมือง:  กะทอก กระบอก บานบุรี ยี่โถฝรั่ง แซน่าวา แซะศาลา รำพน
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่รอบกิ่ง ใบรูปใบหอกเรียวแคบหรือรูปแถบ กว้าง 0.6-0.8 เซนติเมตร  ยาว  7.5-14 เซนติเมตร     ปลายใบแหลม  โคนใบสอบ  ขอบใบเรียบ  ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน  ก้านใบสั้น


    ใบ  ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่รอบกิ่ง ใบรูปใบหอกเรียวแคบหรือรูปแถบ กว้าง 0.6-0.8 เซนติเมตร  ยาว  7.5-14 เซนติเมตร     ปลายใบแหลม  โคนใบสอบ  ขอบใบเรียบ  ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน  ก้านใบสั้น


    ดอก  สีเหลือง ส้มและขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง  ช่อละ 3-4 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวสั้น 5 กลีบ เป็นแฉกคล้ายรูปดาว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ยาว 5-7.5 เซนติเมตรปลายแยกเป็น 5 กลีบ ซ้อนเหลื่อมกัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 3-4 เซนติเมตร


    ฝัก/ผล  ผลสด รูปสี่เหลี่ยมค่อนข้างกลม ปลายผลแบน มีรอยหยักเป็น 2 แฉก  ขนาดประมาณ 2.5 เซนติเมตร  มีสันนูนเป็นแนวยาว  สีเขียว เมื่อแก่สีดำ มีเมล็ดเดียว เป็นพิษทั้งผล
ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี
การขยายพันธุ์:  ปักชำ เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:  อเมริกาเขตใต้
สรรพคุณทางยา:
    -    เปลือก ใช้รักษาไข้มาเลเรีย แก้ไข้ เป็นยาถ่าย ใช้เพิ่มความดันโลหิตสูง 
    -    ใบและเมล็ด ใช้เป็นยาถ่าย ยาทำแท้ง

ละมุดสีดา

ละมุดสีดา

"ละมุดสีดา" ผลกิน จิตใจชุ่มชื้น

ถิ่นกำเนิด และลักษณะของละมุดสีดา 
ชื่ออื่น : ละมุดไทย 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Madhuca Grandiflora Fletcher.
ชื่อวงศ์ : SAPOTACEAE

เขตกระจายพันธุ์ และถิ่นกำเนิด : 
เคยพบขึ้นตามธรรมชาติในป่าชายหาดริมฝั่งทะเลทางภาคใต้ของไทย สมัยก่อนนิยมปลูกเป็นไม้ผลกันมาก ปัจจุบันเป็นผลไม้ไทยที่ถูกละเลย ต่างประเทศพบที่ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซีย และภาคเหนือของออสเตรเลีย ออกดอกและผลเป็นช่วงๆ สลับกันเกือบตลอดปี ละมุดสีดาอยู่ในวงศ์เดียวกับละมุด เกด พิกุล

ลักษณะทั่วไป : 
ต้นไม้ - เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 10-15 เมตร ไม่ผลัด ใบ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านเยอะเป็นพุ่มทรงกลมทึบ กิ่งอ่อนเกลี้ยง เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา

ใบ - เป็นรูปหอกแคบ หรือรูปหอกแกมรูปไข่กลับ ออกเรียงสลับถี่ตามปลายกิ่ง ปลายใบสอบเรียว บางทีมน โคนใบสอบ เนื้อใบหนา ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น สีเขียวสด เวลามีใบดกจะให้ร่มเงาดีมาก

ในภาพอาจจะมี ต้นพืช, ต้นไม้, สถานที่กลางแจ้ง และธรรมชาติ

ดอก - มีสีขาว ออกเป็นกระจุกใหญ่ๆ ตามปลายกิ่ง บางทีออกตามง่ามใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก

ผล - รูปกลมรี ลักษณะคล้ายผลพิกุล แต่จะมีขนาดใหญ่กว่าอย่างชัดเจน ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อผลสุกหรือแก่จะเป็นสีแดงสดใส หรือสีแดงคล้ำ เวลาติดผลดกและผลสุกพร้อมๆกันทั้งต้น จะดูสวยงามแพรวพราวมาก เนื้อในเมื่อสุกเป็นสีเหลืองปนส้ม รับประทานได้ แต่ต้องรับประทานตอนที่ผลสุกงอมเป็นสีดำ รสชาติหวานปนฝาดเล็กน้อย มีกลิ่นหอม เป็นกลิ่นละมุดแรงมาก จึงถูกตั้งชื่อว่า "ละมุดสีดา" หนึ่งผล มี 1-2 เมล็ด ติดผลได้ เรื่อยๆ

ในภาพอาจจะมี ต้นพืช, ผลไม้, อาหาร และธรรมชาติ

การขยายพันธุ์ - เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และเสียบยอด หากปลูกด้วยเมล็ด หรือตอนกิ่ง จะใช้เวลาปลูกนาน 4-5 ปีขึ้นไป จึงจะติดผลชุดแรก แต่ปลูกด้วยต้นเสียบ ยอดใช้เวลาไม่นานสามารถติดผลให้เก็บรับประทานได้เลย ปลูกได้ในดินทั่วไป ชอบแดด ไม่ชอบน้ำท่วมขัง

ละมุดสีดา เป็นพันธุ์ไม้หายาก ใกล้สูญพันธุ์ น่าปลูกเพราะว่าเป็นพันธุ์ไม้ไทยแท้ ควรปลูกอนุรักษ์ไว้ในสวนพฤกศาสตร์ สวนสมุนไพร เพื่อการศึกษา แต่ถ้าจะปลูกประดับก็ได้ เพราะว่าพุ่มเรือนยอดมีกิ่งแตกตั้งฉากกับลำต้นเหมือนซี่ร่ม มีขนาดลำต้น และเรือนยอดไม่กว้างขวางนัก ใช้พื้นที่ปลูก 3x3 เมตรก็ได้อย่างสวยงามแล้ว หรือปลูกเป็นบอนไซก็ได้ ไม่เลวทีเดียว เพราะว่าใบหนาแข็ง ผลเล็กแต่สีแดงสดใสมาก

นอกจาก "ละมุดสีดา" จะมีผลสีสันงดงาม รสชาติอร่อยแล้ว ตำรายาโบราณยังกล่าวอีกว่า คนที่เพิ่งจะหายเจ็บไข้ หรือเพิ่งจะฟื้นไข้ รับประทานผล "ละมุดสีดา" เพียงหนึ่งหรือสองผล จะช่วยทำให้ จิตใจชุ่มชื่นหายอ่อนเพลีย

รางจืด

รางจืด สรรพคุณและประโยชน์ของว่านรางจืด

รางจืด หรือ ว่านรางจืด ชื่อสามัญ Laurel clockvine, Blue trumphet vine

รางจืด ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunbergia laurifolia Lindl. จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)

สมุนไพรรางจืด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า รางเย็น คาย (ยะลา), ดุเหว่า (ปัตตานี), ทิดพุด (นครศรีธรรมราช), ย่ำแย้ แอดแอ (เพชรบูรณ์), น้ำนอง (สระบุรี), จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กำลังช้างเผือก ยาเขียว เครือเขาเขียว ขอบชะนาง (ภาคกลาง), ว่านรางจืดเป็นต้น

ลักษณะของรางจืด

  • ต้นรางจืด เป็นไม้เลื้อยหรือไม้เถาที่มีเนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถานั้นจะกลมเป็นปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ลำต้นไม่มีขนและไม่มีมือจับเหมือนกับตำลึง และมะระ แต่อาศัยลำต้นในการพันรัดขึ้นไป รางจืดเป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย จึงสามารถขึ้นได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นของประเทศไทยทั่วทุกภาค เจริญเติบโตได้เร็วมาก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถาในการปักชำ

ต้นรางจืด

  • ใบรางจืด เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจหรือรูปใบขอบขนานหรือเป็นรูปไข่ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร มีเส้นอยู่ 3 เส้นออกจากโคนใบ

ใบรางจืด

  • ดอกรางจืด ลักษณะของดอกออกเป็นช่อห้อยลงมาตามซอกใบ ช่อละ 3-4 ดอก ดอกมีสีม่วงอมฟ้า มีใบประดับสีเขียวประแดง มีกลีบเลี้ยงรูปจาน ดอกเป็นรูปแตรสั้น โคนกลีบดอกมีสีเหลืองอ่อน โคนดอกเป็นหลอดกรวยยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เชื่อมติดกันเป็นหลอด และมักมีน้ำหวานบรรจุอยู่ภายในหลอด กลีบดอกมีปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 4 อัน

ว่านรางจืด

ดอกรางจืด

  • ผลรางจืด ลักษณะเป็นฝักกลม ปลายเป็นจะงอย เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก

สมุนไพรรางจืด "ราชาแห่งการถอนพิษ" เป็นสมุนไพรที่กระทรวงสาธารณสุขรณรงค์ให้เกษตรกรหรือบุคคลทั่วไปเลือกใช้เพื่อใช้แก้พิษต่าง ๆ เช่น พิษจากยาฆ่าแมลง ยาเบื่อ สารตะกั่ว ฯลฯ ยิ่งเมื่ออยู่ในสถานที่ห่างไกลจากโรงพยาบาล การจะนำส่งแพทย์เพื่อรับการรักษาอาจจะต้องใช้ระยะเวลานาน จนอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ แต่ถ้ามีต้นรางจืดปลูกอยู่แถวบ้าน เราก็สามารถใช้ใบรางจืดที่ไม่แก่หรืออ่อนมากเกินไป หรือใช้รากที่มีอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป ในขนาดปริมาณเท่านิ้วชี้มาใช้เพื่อรักษาบรรเทาอาการของพิษเฉพาะหน้าไปก่อน ก่อนที่จะนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยานั้นก็ได้แก่ ใบ ราก และเถาสด

ในปัจจุบันผู้คนได้รับสารพิษตกค้างอยู่ในร่างกายเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 45% โดยสารพิษเหล่านี้ร่างกายต่างก็ไม่ต้องการ เพราะเมื่อเกิดการสะสมเข้าไปในร่างกายในปริมาณมากและต่อเนื่อง ก็อาจจะทำให้เป็นโรคต่าง ๆ ขึ้นมาได้ในอนาคต อย่างเช่น โรคมะเร็ง ซึ่งแน่นอนว่าอัตราการเกิดโรคของคนในยุคปัจจุบันนี้ก็ได้เพิ่มมากขึ้นทุก ๆ วัน โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเมืองด้วยแล้วยิ่งน่าเป็นห่วง ซึ่งสมุนไพรรางจืดนี้อาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคุณในการช่วยขับสารพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกาย เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้ในอนาคตนั่นเอง

สรรพคุณของรางจืด

  1. รากและเถาของรางจืดสามารถใช้รับประทานเป็นยาแก้ร้อนใน (ราก, เถา)
  2. รางจืดมีสรรพคุณช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ราก, เถา)
  3. ใบและรากของรางจืดมีสรรพคุณใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ได้ (ใบ, ราก)
  4. ใบรางจืดมีสรรพคุณใช้เป็นยาพอกบาดแผล (ใบ, ราก)
  5. ช่วยรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก (ใบ, ราก)
  1. ว่านรางจืดมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการผื่นแพ้ต่าง ๆ (ใบ, ราก)
  2. ช่วยทำลายพิษจากยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ซึ่งจัดเป็นสารพิษที่ร้ายกาจที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะในปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ก็สามารถทำให้คนเสียชีวิตได้เลย เพราะสารพิษชนิดนี้จะไปทำให้เกิดการสร้างออกซิเจนที่ไม่เสถียรขึ้นมา ซึ่งออกซิเจนเหล่านี้จะไปทำลายเยื่อหุ้มเซลล์และทำให้เซลล์ตาย โดยสารพิษพาราควอตนั้นจะอันตรายที่สุด เพราะจะไปทำให้เนื้อเยื่อในปอดถูกทำลายจนไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้และเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งจากรายงานของโรงพยาบาลศิริราชพบว่าผู้ที่ได้รับสารพิษพาราควอตจะเสียชีวิตทุกราย (อันตราการเสียชีวิตประมาณ 80%) ซึ่งแน่นอนว่ารางจืดสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ แต่ต้องรักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ ร่วมด้วย ส่วนงานศึกษาวิจัยของอาจารย์พาณี เตชะเสน และคณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าการใช้น้ำคั้นจากใบรางจืดป้อนให้หนูทดลองที่กินยาฆ่าแมลง "โฟลิดอล" พบว่ามันสามารถช่วยแก้พิษได้ โดยช่วยลดอัตราการตายลงเยอะมากจาก 56% เหลือเพียง 5% เท่านั้น และจากงานวิจัยของคุณสุชาสินี คงกระพันธ์ ที่ได้ทำการทดลองใช้สารสกัดแห้งจากใบรางจืดป้อนให้หนูทดลองที่รับยาฆ่าแมลงในกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟตที่มีชื่อว่า "มาลาไธออน" พบว่ามันสามารถช่วยชีวิตหนูทดลองได้มากถึง 30% (ใบ, ราก)
  3. ช่วยแก้พิษจากสัตว์ที่เป็นพิษและพืชที่เป็นพิษ เช่น แก้พิษจากแมงดาทะเล ปลาปักเป้า ซึ่งเป็นพิษที่อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้โดยง่ายหากได้รับในปริมาณมาก ๆ โดยสารพิษที่ว่านี้คือ เทโทรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีสารแก้พิษนี้โดยเฉพาะ การรักษาต้องรักษาแบบประคับประคองอาการ แต่การใช้รางจืดเพื่อรักษาพบว่าเมื่อผ่านไปประมาณ 40 นาทีผู้ป่วยกลับมีอาการดีขึ้นจนน่าประหลาดใจ (ใบ, ราก)
  4. รางจืดช่วยต่อต้านพิษจากสารตะกั่วต่อสมอง ซึ่งสารตะกั่วนี้ก็มาจากมลพิษจากเครื่องยนต์ และแน่นอนว่าคนที่อาศัยอยู่ในเมืองจะมีโอกาสได้รับสารตะกั่วสูงกว่าคนทั่วไป โดยพิษจากสารตะกั่วนี้ก็มีผลต่อระบบภายในร่างกายหลายระบบด้วยกัน แต่ที่สำคัญเลยก็คือระบบสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำและการเรียนรู้ มีงานวิจัยระบุออกมาว่า แม้รางจืดจะไม่ได้ช่วยลดระดับของสารตะกั่วในเลือดของหนูทดลอง แต่มันก็สามารถช่วยลดพิษของสารตะกั่วต่อระบบความจำและการเรียนรู้ในหนูทดลองได้ สรุปก็คือมันทำให้เซลล์ประสาทตายน้อยลงนั่นเอง (ใบ, ราก)
  5. ช่วยถอนพิษจากยาเบื่อชนิดต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม (เช่น พิษจากผลไม้ที่ติดอยู่ในฝักที่รับประทาน เป็นต้น) รวมไปถึงพิษจากสตริกนินให้เป็นกลาง ซึ่งจากการทดลองของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าถ้าหากใช้ผงจากรากรางจืดผสมกับน้ำยาสตริกนินก่อนป้อนให้หนูทดลอง ปรากฏว่าหนูทดลองไม่เป็นอะไร แสดงให้เห็นว่าผงจากรากรางจืดสามารถช่วยดูดซับสารพิษชนิดนี้ไว้ได้ (ใบ, ราก)
  6. ช่วยในการลดเลิกยาบ้า ซึ่งงานวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพบว่ารางจืดมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทคล้าย ๆกับฤทธิ์ของสารเสพติดอย่างแอมเฟตามีนและโคเคน ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยเพิ่มการหลั่งของฮอร์โมนโดพามีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่หลั่งออกมามากในขณะที่ผู้ป่วยใช้สารแอมเฟตามีน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยสารสกัดจากรางจืดนั้นเกิดความพึงพอใจ เช่นเดียวกับการใช้สารเสพติด และหากนำไปใช้ในการรักษากับผู้ป่วยก็จะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องทุรนทุรายมากนัก ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการช่วยลดและเลิกการใช้เสพติดได้ (ใบ,ราก)
  7. รางจืด แก้เมา สรรพคุณช่วยแก้อาการเมาค้าง แก้พิษจากแอลกอฮอล์ พิษจากการดื่มเหล้าในปริมาณมากเกินไป โดยคณะเภสัชศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษาวิจัยฤทธิ์ของรางจืดในการต่อต้านพิษจากแอลกอฮอล์ต่อตับ และพบว่าสารสกัดด้วยน้ำของรางจืดนั้นสามารถช่วยป้องกันการตายของเซลล์ตับซึ่งเกิดจากพิษของแอลกอฮอล์และช่วยลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดได้ และมหาวิทยาลัยขอนแก่นก็ได้มีการศึกษาฤทธิ์ของรางจืดต่ออาการขาดเหล้า และพบว่าสารสกัดจากรางจืดช่วยทำให้ลดภาวะซึมเศร้า ทำให้พฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวในหนูทดลองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และยังช่วยลดการถูกทำลายเซลล์ประสาทของหนูเนื่องจากการขาดเหล้าได้ แต่ไม่มีผลต่อการช่วยลดความวิตกกังวล (ใบ, ราก)
  8. รางจืด เบาหวาน รางจืดช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมเบาหวานและความดันได้ จากงานศึกษาวิจัยของหมอชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ได้ทำการทดลองในหนูเบาหวานที่ได้รับน้ำต้มจากใบรางจืด ได้ผลว่ามันสามารถช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าการให้สารสกัดด้วยน้ำของใบรางจืดมีฤทธิ์ช่วยลดน้ำตาลในเลือด และยังช่วยทำให้บีต้าเซลล์ของตับอ่อนฟื้นฟูขึ้นบ้างแม้จะไม่สมบูรณ์ และพบว่าสารสกัดจากน้ำของใบรางจืดนั้นมีผลทำให้ความดันโลหิตของหนูลดลง และช่วยทำให้หลอดเลือดแดงคลายตัว (การใช้สมุนไพรรางจืดในการรักษาโรคเบาหวานและความดันนั้น ควรรักษาร่วมไปกับแผนปัจจุบัน รวมทั้งมีการวัดระดับน้ำตาลและระดับความดันอย่างใกล้ชิด เพราะการศึกษาวิจัยดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนการทดลองกับสัตว์เท่านั้น รวมไปถึงต้องระวังการเกิดการเสริมฤทธิ์กันเองของตัวยาดังกล่าวด้วย)
  9. รางจืดมีฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็ง โดยสารใด ๆ ก็ตามที่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ศักยภาพสูงสามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้ แต่สำหรับข้อดีของรางจืดนั้นมีฤทธิ์ในการต้านไม่ให้สารชนิดดังกล่าวออกฤทธิ์ ซึ่งแตกต่างจากกวาวเครือ ที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นการแบ่งตัวและสร้างนิวเคลียสของเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ขึ้น
  10. สารสกัดน้ำจากใบรางจืดมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูงมาก
  11. ช่วยต่อต้านและแก้อาการอักเสบต่าง ๆ เช่น อาการผดผื่นคัน แมลงสัตว์กัดต่อย เริม งูสวัด อีสุกอีใส โดยจากการศึกษาพบว่ารางจืดนั้นมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบสูงกว่ามังคุด ถึง 2 เท่า ! และยังมีความปลอดภัยสูงกว่าอีกด้วย นอกจากนี้สารสกัดจากรางจืดในรูปแบบครีมก็สามารถช่วยลดอาการอักเสบได้ดีเทียบเท่ากับครีมสเตียรอยด์ (ใบ, ราก)

ประโยชน์ของรางจืด

  • สมุนไพรรางจืด สมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูงมากชนิดหนึ่ง ซึ่งเราสามารถกินยอดอ่อน ดอกอ่อนเป็นผักได้ โดยจะใช้ลวกกิน แกงกิน ก็ทำได้เหมือนกับผักพื้นบ้านทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ยังนิยมกินน้ำหวานจากดอกรางจืดที่บ้านได้อีกด้วย โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่อย่างไรก็ตาม การกินรางจืดในปริมาณติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง อาจจะต้องคอยติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลหิตวิทยาหรือเคมีคลินิกที่อาจเกิดขึ้นต่อไปด้วย
  • ชารางจืด ใบรางจืดสามารถนำมาหั่นเป็นฝอย ตากลมให้แห้งแล้วนำมาชงกับน้ำร้อนดื่มแทนชาได้ ส่วนรสชาติที่ได้ก็ดีไม่แพ้กับใบชาเลยที่เดียว แถมยังมีกลิ่นหอมอีก และยังช่วยล้างพิษในร่างกายได้อีกด้วย
  • ในปัจจุบันได้มีการนำสมุนไพรรางจืดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ แคปซูลรางจืดหรือรางจืดแคปซูล เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการใช้ประโยชน์
  • การปลูกรางจืดนอกจากจะใช้ประโยชน์ในด้านสมุนไพรแล้ว ก็ยังนิยมปลูกไว้เพื่อชมดอก แล้วก็ยังสามารถช่วยบังแสงแดดทำให้เกิดร่มเงาได้อีกด้วย (แต่อย่าลืมว่ารางจืดเป็นไม้เลื้อย เลื้อยแหลก เลื้อยจนรก เลื้อยแบบไร้การควบคุม)

คำแนะนำ

  • รางจืด วิธีใช้ประโยชน์จากใบสดรางจืดในการรักษาพิษ หากใช้สำหรับคนให้ใช้ประมาณ 10-12 ใบ (แต่ถ้าใช้สำหรับวัวควายให้ใช้ 20-30 ใบ) เมื่อได้ใบสดให้นำมาตำจนละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าวประมาณครึ่งแก้ว ว่านรางจืดวิธีรับประทานก็ง่าย ๆ เพียงนำมาคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ และอาจจะต้องดื่มซ้ำอีกภายในครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงถัดมา
  • การใช้ประโยชน์จากรากรางจืดในการรักษาพิษ หากใช้สำหรับคนให้ใช้ประมาณ 1-2 องคุลี (แต่ถ้าหากใช้กับวัวควายให้ใช้ประมาณ 2-4 องคุลี) เมื่อได้รากมาแล้วให้นำมาฝนหรือนำมาตำเข้ากับน้ำซาวข้าว แล้วนำมาดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ และอาจจะต้องใช้ซ้ำอีกภายในครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงเช่นเดียวกับการใช้ใบรางจืด
  • สำหรับการใช้รางจืดเพื่อถอนพิษยาฆ่าแมลง สำหรับผู้ป่วยที่ดื่มยาฆ่าแมลง ใช้ถอนยาพิษ ยาเบื่อ และพิษจากสตริกนินนั้น ต้องใช้ยารางจืดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้จึงจะได้ผลดี เพราะถ้ายาซึมเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากหรือทิ้งไว้ข้ามคืน รางจืดก็จะได้ผลน้อยลงนั่นเอง
  • รากของรางจืดนั้นจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าที่ใบถึง 4-7 เท่า ! หากเป็นไปได้การเลือกใช้รากถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด
  • รางจืดที่จะมีประสิทธิภาพดีที่สุดก็คือรางจืดชนิดเถาดอกสีม่วง
  • ที่สำคัญดินที่นำมาใช้ในการปลูกรางจืด หากผสมด้วยขี้เถ้าแกลบหรือผงถ่านป่น ก็จะช่วยทำให้ต้นรางจืดนั้นมีสรรพคุณทางยาที่มากขึ้นไปอีก
  • ข้อควรระวังในการใช้รางจืดก็คือ การใช้รางจืดร่วมกับตัวยาชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาในการรักษาอย่างต่อเนื่องก็ควรจะระวังไว้ด้วย เพราะรางจืดอาจจะไปขับยาเหล่านั้นออกจากร่างกายได้นั่นเอง
  • แม้ว่ารางจืดจะสามารถช่วยล้างสารพิษได้จริง แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อมูลในการวิจัยหรือเอกสารใดที่บ่งชี้ได้ว่า หากเราใช้ไปนาน ๆ ติดต่อกัน หรือใช้ในปริมาณที่มากเกินไปจะเกิดผลอย่างไรบ้าง ซึ่งจุดนี้นักวิชาการทางด้านนี้จึงไม่แนะนำที่จะให้รับประทานอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นคุณควรใช้เป็นครั้งคราวในยามที่จำเป็นหรือเมื่อต้องการที่จะรักษาโรค เมื่อได้ผลหรือหายดีแล้วก็ควรจะหยุดใช้ เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่เรายังไม่รู้และอาจจะเกิดขึ้นได้ และไม่เฉพาะแต่สมุนไพรรางจืดเท่านั้น สมุนไพรชนิดอื่นก็ด้วย เพราะเมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายแล้วยังไงก็ต้องผ่านกระบวนการทำงานของตับและไต ดังนั้นหากคุณใช้สมุนไพรติดต่อกันเป็นเวลานานก็ควรจะตรวจสุขภาพของตับและไตด้วย
  • สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การใช้ก็ควรจะระมัดระวังด้วยเพราะอาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
  • รางจืดผลข้างเคียง สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด เมื่อเกิดอาการแพ้รางจืดก็อาจจะมีผลต่อระบบทางเดินหายใจได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่ามีระดับอาการแพ้มากน้อยแค่ไหน ถ้าหากมีอาการแพ้ไม่มากก็อาจจะเป็นแค่ผื่นคันขึ้นตามผิวหนัง
  • แม้ว่ารางจืดจะมีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายในการช่วยขับล้างสารพิษ แต่การนำมาใช้หรือนำมารับประทานก็ควรใช้อย่างพอดีและสมเหตุสมผล หากพิจารณาดูตัวเองหรือได้รับการวินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญว่าร่างกายมีสารพิษมากเกินไป คุณก็สามารถรับประทานได้ แต่ก็ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ถูกต้อง และถูกเวลา