• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

สมอดีงู

สมอดีงู - ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน

 

สมอดีงู - ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน

สมอดีงู

ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia citrina Roxb. ex Fleming 

ชื่อวงศ์  COMBRETACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  

เป็นไม้ต้น สูง 20-30 ม. ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามหรือกิ่งตรงข้าม รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง2-6 ซม. ยาว 3-14 ซม. ผิวใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 0.5-2.5 ซม. มีต่อม 1-2 คู่ ใกล้โคนใบ ดอก ออกเป็นช่อแกน ยาว 2-6 ซม. ดอกย่อยไม่มีก้าน กลีบรองดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยตื้น ปลายแยกเป็นกลีบรูปสามเหลี่ยม 5 กลีบ ด้านในมีขนแน่น ไม่มีกลีบดอก เกสรผู้ 10 อัน ผล เป็นผลสด รูปกลมรี ผิวเกลี้ยง มีสันตื้นๆ 5 สัน กว้าง 0.8-2 ซม. ยาว 2-3 ซม. เมื่อสุกสีม่วงแกมเขียว เมื่อแห้งสีดำ เห็นสันชัดเจน เมล็ดรูปรี กว้าง 0.6 ซม. ยาว 1.7 ซม. ผิวขรุขระ มี 5 สัน  การกระจายพันธุ์ : จากอินเดียถึงอินโดนีเซีย พบขึ้นทั่วไปในป่าที่ราบบริเวณชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ติดผลช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน

ประโยชน์ของสมอดีงู

ผล แก้พิษดี พิษโลหิต แก้ไอ ขับโลหิตระดูสตรี ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะและโลหิต แก้เจ็บคอ ถ่ายอุจจาระธาตุ ระบายอุจจาระแรงกว่าสมอชนิดอื่นมาก ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับช่องท้อง เป็นยาฝาดสมาน รักษาโรคท้องร่วงอย่างแรง

 

กำลังเลือดม้า

กำลังเลือดม้า: ใช้รักษาประดงต่างๆ... - รวมพันธุ์ไม้แปลกทุกสายพันธุ์ |  Facebook

กำลังเลือดม้า

ชื่อวิทยาศาสตร์    Knema angustifolia (Roxb.) Warb.

ชื่อวงศ์    Myristicaceae 

ลักษณะทางพฤกษศาตร์

เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๕-๒๕ เมตร ลำต้นมีน้ำยางสีแดง ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกช่อสีส้มแกมน้ำตาล ออกที่ง่ามใบ
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ด

 หมอยาพื้นบ้าน: ใช้รักษาประดงต่างๆ แก้เม็ดประดงผื่นคัน แดงทั้งตัว แก้ปวดแสบปวดร้อน มีน้ำเหลืองไหล เปลือกต้นและเนื้อไม้ ใช้เป็นยาขับล้างในระบบเลือด น้ำเหลือง แก้โรคกระษัยไตพิการ แก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้ภูมิแพ้ ผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย
ยาพื้นบ้านล้านนา: ใช้ เปลือกต้น แช่น้ำดื่ม บำรุงกำลัง เปลือกต้นหรือใบ ต้มน้ำดื่ม แก้โรคโลหิตจาง

 

กำยาน

พืชสมุนไพร ว่านสมุนไพร ว่านมงคล : ต้นกำยาน

 

กำยาน สรรพคุณและประโยชน์ของกำยานต้น 17 ข้อ !

กำยาน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Styrax tonkinensis Craib ex Hartwich

ชื่อวงศ์ STYRACACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กำยานจัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวเทาหรือสีหม่น ตามกิ่งก้านมีขนสีเหลืองเล็กน้อย มีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในแถบเขตร้อน เช่น แหลมมลายู เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะบอนิโอ และในประเทศไทย

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาวเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย แผ่นใบมีขนสีขาวเล็กน้อย

ดอกเป็นกระจุกหรือเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกเป็นสีชมพู-แดง หรือสีขาว มีกลีบ 5 กลีบ ด้านในของดอกจะเป็นสีชมพูถึงสีแดงเข้ม ด้านนอกเป็นสีขาว

ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือกลมเล็กน้อย ผิวแข็งมีสีน้ำตาล ยาวประมาณ 10-12 มิลลิเมตร มีขนขึ้นประปราย ภายในผลมีเมล็ด 1-2 เมล็ด

สรรพคุณของกำยาน

  1. ยางที่ได้จากต้นหรือเปลือก เรียกว่า "กำยาน" มีรสเผ็ดขม สุขุม มีกลิ่นหอม ออกฤทธิ์ต่อตับ หัวใจ และธาตุ ใช้เป็นยาแก้การหายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก ช่วยทำให้เลือดลมหมุนเวียนได้สะดวก แก้เป็นลมเฉียบพลัน (ยาง)
  2. ยางใช้ผสมกับขี้ผึ้ง ใช้เป็นยาทาแก้โรคเชื้อรา ช่วยฆ่าเชื้อรา แก้น้ำกัดเท้า ใช้ทาแผล บ้างใช้ผสมกับแอลกอฮอล์ นำมาใส่แผลสด แผลน้ำกัด และช่วยแก้อาการคัน
  3. ใช้เข้ากับตำรายาจีน เป็นยารักษาโรคหัวใจ และมีประสิทธิภาพแก้จุกเสียด แน่นหน้าอก รวมถึงอาการหน้ามืดตาลายในคนที่เป็นโรคหัวใจ (ยาง)

ประโยชน์ของกำยาน

  1. ยางใช้เผาเอาควันอบห้อง จะช่วยฆ่าเชื้อโรคในอากาศ เป็นยาไล่ยุง ไล่ริ้นไร มดและแมลงได้
  2. กำยานมีประสิทธิภาพเป็นยากันบูดได้ จึงมักถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณเพื่อวัตถุประสงค์ในการแต่งกลิ่นและกันบูด
  3. ใช้ปรุงน้ำอบไทย โดยการเผากำยานบนก้อนถ่านที่ไฟลุกแดง แล้วใช้อบ เช่น อบน้ำดอกไม้ น้ำที่อบกำยานแล้วโบราณจะนำมาปรุงกับเครื่องหอมอื่น ๆ ทำเป็นน้ำอบไทย นอกจากนี้ยังใช้กำยานเป็นส่วนประกอบสำคัญของเทียนอบ ธูปหอม กระแจะ เครื่องหอมอื่น ๆ และยังใช้ทำเครื่องสำอางได้อีกด้วย
  4. เนื่องจากกำยานสามารถต้านการสลายตัวของไขมันต่าง ๆ ได้ดี มันจึงถูกนำมาใช้ผสมกับไขมันที่ใช้เป็นยาพื้นสำหรับเตรียมยาขี้ผึ้งต่าง ๆ
  5. ในปัจจุบัน การบำบัดรักษาสุขภาพด้วยกลิ่นหอมหรืออโรมาเธอราพี (Aromatherapy) กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และหนึ่งในกลิ่นหอมที่ถูกนำมาใช้กันมากก็คือ ‘กำยาน’ นั่นเอง ซึ่งสามารถช่วยลดความเครียด ผ่อนคลายความวิตกกังวล และทำให้รู้สึกสบายใจขึ้น
  6. เนื้อไม้ใช้ในการสร้างบ้านหรือที่พักชั่วคราว และใช้ทำฟืน

 

แคสันติสุข

พืชถิ่นเดียว แคสันติสุข Santisukia... - ชุมชนคนรักษ์พรรณไม้ | Facebook

 

แคกาญจนิการ์ (แคขาว) - สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย

แคสันติสุข

ชื่อวิทยาศาสตร์  Santisukia kerrii

ชื่อวงศ์ Bignoniaceae 

ลักษณะทางพฤกษศาตร์

เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มคล้ายต้นแคนา แต่จะแผ่กระจายกว้างกว่า และต้นจะดูคล้ายต้นไม้โบราณน่าชมกว่าด้วย เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลเทาเกือบดำ มักมีรอยแผลใบเหลืออยู่ตามลำต้นชัดเจน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ มีใบย่อย 4-7 คู่ เป็นรูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ยาว 3.5-7.5 ซม. ปลายแหลม โคนมน หรือกลมเบี้ยว ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยตื้นๆ หรือเป็นคลื่นห่างๆ สีเขียวสด เวลาใบดกจะให้ร่มเงาดี

ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนง หรือเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก ช่อดอกจะยาวประมาณ 16-28 ซม. ลักษณะดอก มีกลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นหลอดคล้ายรูประฆัง ปลายแยกเป็นแฉกจำนวนไม่แน่นอน กลีบดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดรูปลำโพง ปลายบานเป็นกลีบดอก 5 กลีบ กลีบย่นเป็นสีชมพู หรือชมพูเข้ม ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดใหญ่ และดูคล้ายดอกแคนามาก แต่แคนาจะเป็นสีขาว ดอกของ "แคสันติสุข" จะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวตามที่กล่าวข้างต้น เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามหวานซึ้ง และส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายใต้โคนต้น เป็นที่ประทับใจมาก "ผล" เป็นฝักสั้น ภายในมีเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และเสียบยอด

"แคสันติสุข" มีความโดดเด่นกว่าแคทั่วไปคือ ดอกมีขนาดใหญ่ สีสันของดอกสวยงามน่ารักมาก ที่สำคัญดอกจะมีกลิ่นหอมพิเศษแบบเฉพาะตัว ที่เหล่านักพฤกษศาสตร์นิยมเรียก คือ "กลิ่นหอมหวาน"