• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

โพธิ์ทะเล

โพธิ์ทะเล

Thespesia populnea

โพทะเล (Portia tree) รู้จักกันในนามของไม้มงคลประจำจังหวัดสมุทรปราการ เป็นดอกที่มีสีเหลืองอ่อนสวยงาม สามารถนำดอกและผลมารับประทานได้ เป็นไม้กลางแจ้งที่พบตามชายฝั่งทะเลและตามริมแม่น้ำที่เป็นดินร่วนปนทราย ในบางประเทศนิยมปลูกต้นโพทะเลไว้ตามวัดเพราะถือเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ โพทะเลยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรในการรักษาได้อีก

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของโพทะเล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thespesia populnea (L.) Sol. ex Corrêa
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Portia tree” “Cork tree” “Coast cotton tree” “Indian tulip tree” “Pacific rosewood” “Seaside mahoe” “Milo” “Thespesia” “Tulip tree” “Rosewood of Seychelles” “Yellow mallow tree” และ “Umbrella tree”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “โพทะเล โพธิ์ทะเล” จังหวัดราชบุรีเรียกว่า “ปอกะหมัดไพร” จังหวัดเพชรบุรีเรียกว่า “ปอหมัดไซ” จังหวัดปัตตานี มลายูและนราธิวาสเรียกว่า “บากู”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ชบา (MALVACEAE)
ชื่อพ้อง : Hibiscus populneus L.

ลักษณะของโพทะเล

โพทะเล เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่มีการกระจายพันธุ์ในแอฟริกา อินเดีย ศรีลังกา จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เวียดนาม กัมพูชา ฟิลิปปินส์ รวมไปถึงภูมิภาคมาเลเซียและในหมู่เกาะแปซิฟิก สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ตามชายฝั่งทะเลทั่วไป เป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิดที่มีความชุ่มชื้น
ลำต้น : ลำต้นโค้งและแตกกิ่งในระดับต่ำ ต้นเป็นทรงเรือนยอดแผ่กว้างและค่อนข้างหนาทึบ
เปลือกต้น : เปลือกเป็นสีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาล มีลักษณะเรียบหรือขรุขระและมีรอยแตกตามยาวเป็นร่อง ๆ
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจ ปลายใบกว้างแหลมยาวถึงเรียวแหลม ส่วนฐานใบเว้าลึก ขอบใบเรียบและมีเส้นใบออกจากโคนของใบประมาณ 5 – 7 เส้น ผิวใบด้านบนมีลักษณะเกลี้ยงและเป็นมัน ส่วนท้องใบเป็นสีเทาแกมสีน้ำตาลและมีเกล็ด มีหูใบที่มีลักษณะเป็นรูปใบหอกและหลุดร่วงได้ง่าย
ดอก : ออกดอกตามง่ามใบ เป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ตามซอกใบ ก้านดอกอ้วนสั้นและมีเกล็ด ดอกมีริ้วประดับ 3 แฉกและร่วงได้ง่าย มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมแคบ ๆ วงกลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วยไม่มีแฉกลักษณะคล้ายแผ่นหนัง ส่วนกลีบดอกเป็นสีเหลืองลักษณะเป็นรูปไข่ โคนกลีบติดกันเป็นรูประฆังและมีจุดสีแดงเข้มอมสีน้ำตาลแต้มอยู่ที่โคนกลีบดอกด้านใน โดยดอกจะบานเต็มที่ภายในวันเดียวแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูแกมสีม่วงอ่อนและเหี่ยวอยู่บนต้นก่อนที่จะร่วงหล่นในวันถัดมา
ผล : ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม เป็นสันตื้น ๆ 5 สัน และมีน้ำยางสีเหลือง ผลอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนผลแก่เป็นสีเขียวเข้ม เปลือกผลแข็ง มีวงกลีบเลี้ยงลักษณะคล้ายจานติดอยู่ที่ขั้วของผล เมื่อผลแก่จะแห้งแตกไม่มีทิศทาง ไม่ร่วงหล่นและติดอยู่บนต้น
เมล็ด : ในผลมีเมล็ดอยู่หลายเมล็ดหรือมีเมล็ด 4 เมล็ดในแต่ละช่อง เมล็ดเป็นวงรียาวคล้ายเส้นไหม มีสีน้ำตาลอ่อนค่อนข้างแบน

สรรพคุณของโพทะเล

  • สรรพคุณจากราก เป็นยาบำรุง เป็นยารักษาอาการไข้ เป็นยาระบาย เป็นยาขับปัสสาวะ
  • สรรพคุณจากดอก
    – รักษาอาการเจ็บหู ด้วยการใช้ดอกสดประมาณ 2 – 3 ดอก มาต้มกับน้ำนมครึ่งถ้วยตวง แล้วนำมาหยอดหู
  • สรรพคุณจากเปลือก เป็นยาที่ช่วยให้อาเจียน
    – รักษาแผลเรื้อรัง แผลสด และช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น ด้วยการนำเปลือกมาต้มน้ำแล้วพอกบริเวณที่เป็นแผล
  • สรรพคุณจากเมือก รักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาระบายอ่อน ๆ
    – รักษาแผลเรื้อรัง แผลสด และช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น ด้วยการใช้ใบแห้งประมาณ 2 – 3 ใบ มาบดให้เป็นผงละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นแผล
    – แก้หิด ด้วยการนำใบมาตำแล้วพอก
  • สรรพคุณจากผล
    – แก้หิด ด้วยการนำผลมาตำแล้วพอก

ประโยชน์ของต้นโพทะเล

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอก ผลและใบอ่อนสามารถนำมารับประทานได้
2. เป็นไม้ปลูกประดับ เป็นไม้โตเร็วและมีดอกขนาดใหญ่ จึงใช้ปลูกเป็นไม้ประดับหรือใช้ปลูกเพื่อความร่มเงาได้
3. เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เปลือกสามารถนำมาใช้ตอกหมันเรือหรือทำเชือกและสายเบ็ดได้ ไม้ของต้นโพทะเลมีคุณสมบัติคงทน แข็งแรง ทนปลวก เนื้อไม้เหนียว ไสกบตกแต่งได้ง่ายและขัดชักเงาได้เป็นอย่างดี มีสีแดงเข้มดูสวยงาม จึงสามารถนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้

ข้อควรระวังของโพทะเล

1. น้ำมันที่ได้จากเมล็ด ยางจากต้นและเปลือก หากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้
2. เปลือกมีฤทธิ์ทำให้อาเจียนสำหรับผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องการอาเจียน แต่ควรระวังสำหรับผู้ที่รับประทานแบบปกติ

โพทะเล เป็นต้นไม้มงคลที่มักจะพบตามชายฝั่งทะเล สามารถนำส่วนประกอบของต้นมารับประทานเป็นยาสมุนไพรได้ อีกทั้งยังมีดอกสีเหลืองอ่อนสวยงามน่าชมเหมาะกับการปลูกประดับสถานที่และให้ความร่มเงาได้ดี มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษาอาการเจ็บหู รักษาแผล รักษาหิดและเป็นยาระบาย เป็นสมุนไพรแก้อาการพื้นฐานได้และยังนำมาเป็นส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์ได้อีกด้วย

3 1

ต้นโพทะเล

จำปีขาว

จำปีขาว

CtBK7ukVYAAQWcV

ชื่อสมุนไพร จำปี
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น จุมปี, จุ๋มปี๋ (ภาคเหนือ), ป๋ายหลานฮัว, แปะหลั่งฮัว (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Michelia alba DC.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Michelia longifolia var. recemosa Blume., Magnoliaxalba DC. Figlar.
ชื่อสามัญ White charmpaka, White jade orcild tree, White sandalwood
วงศ์ MAGNOLIACEAE

ถิ่นกำเนิดจำปี

มีการเชื่อกันว่าจำปีมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ แต่บางตำรามีการระบุว่าอยู่ในประเทศอินโดนีเซียและทางภาคใต้ของไทยรวมไปถึงบริเวณจีนตอนใต้อีกด้วย สำหรับในประเทศไทยสามารถพบจำปีได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยตามบริเวณ บ้าน เรือน วัด สวนสาธารณะ และตามสถานที่ต่างๆ ทั่วไป นอกจากนี้คนไทยก็คงคุ้นเคยกับจำปีมานานแล้ว ดังเช่นได้ปรากฏชื่อจำปีในวรรณคดี หลายเรื่องเช่น อิเหนา พระราชนิพนธ์ฉบับที่ 2 ลิลิตตะเลงพ่าย พระนิพนธ์ของพระมหาสมเด็จสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสและแห่พระอภัยมณีของสุนทรภู่ เป็นต้น อีกทั้งยังมีบันทึกในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอปรัดเล พ.ศ.2516 กล่าวถึงจำปีไว้ว่า จำปี: เป็นชื่อต้นไม้อย่างหนึ่ง ไปสู่โตนัก ดอกเหมือนจำปา สีขาว กลิ่นหอม ดีนัก. อีกด้วย

ประโยชน์และสรรพคุณจำปี

  1. แก้ไข้
  2. แก้ลม
  3. ช่วยบำรุงหัวใจ
  4. ช่วยบำรุงธาตุ
  5. ช่วยบำรุงโลหิต
  6. ช่วยบำรุงน้ำดี
  7. ช่วยขับเสมหะ
  8. บำรุงประสาท
  9. แก้ไอ
  10. แก้เบื่อเมา
  11. แก้อาเจียน
  12. แก้วิงเวียนศีรษะ
  13. ช่วยทำให้ผ่อนคลาย
  14. แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง
  15. ช่วยขับระดูขาว
  16. ใช้บำรุงประจำเดือน
  17. รักษาต่อมลูกหมากอักเสบ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ใช้บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ บำรุงประสาท บำรุงโลหิต บำรุงน้ำดี แก้ไข้ แก้ลม โดยนำดอกแห้งไปเข้ากับเครื่องยาชนิดอื่น เพื่อปรุงเป็นยาหอมใช้แก้เบื่อเมา ขับเสมหะ แก้ไอ แก้อาเจียน ลดไข้ โดยนำดอกจำปีที่แห้งมาต้มน้ำดื่ม ใช้แก้ไอ ขับหลอดลมอักเสบ ต่อมลูกหมากอักเสบ ขับระดูขาว โดยใช้ใบแห้ง 10-15 กรัม มาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้วิงเวียนทำให้ผ่อนคลายโดยใช้ดอกสดมาสูดดมหรือใช้น้ำมันหอมระเหยจากดอกมาเจือจางก็ได้

ลักษณะทั่วไปจำปี

จำปี จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10-15 เมตร และบางที่อาจจะสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดรูปทรงกรวยทึบลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านมาก เปลือกลำต้นเมื่อยังเล็กมีสีเทา แต่เมื่อโตเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาอมน้ำตาล ผิวลำต้นแตกเป็นร่องตามแนวยาว กิ่งเปราะ หักง่าย

           ใบ เป็นใบเดี่ยวออกแบบเรียงสลับ ใบมีรูปหอก โคนใบสอบ ปลายใบแหลม แผ่นใบและขอบใบเรียบ มีก้านใบยาว 1.5-2 ซม. ส่วนขนาดใบกว้างประมาณ 5-10 ซม. ยาวประมาณ 10-25 ซม. แผ่นใบมีสีเขียว มีเส้นกลางใบสีขาวนวล แผ่นใบค่อนข้างหนา และเหนียว

           ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกบริเวณปลายยอด (มุมของก้านใบ) มีลักษณะกลีบซ้อนกันอยู่ 8-12 กลีบ และยาวประมาณ 3-5 ซม. โดยแต่ละกลีบมีลักษณะรียาว มีสีขาวคล้ายกับงาช้าง และมีกลิ่นหอมจะเรียวกว่าดอกจำปาส่วนตรงกลางดอกจะมีเกสรเป็นแท่งกลมเล็กๆ ซึ่งมีเกสรเพศผู้ยาวคล้าเม็ดข้าวสารมีจำนวนมากล้อมเป็นวงแน่น ส่วนเกสรตัวเมียเป็นแท่งกลมเล็ก ยอดแหลมคล้ายฝักข้าวโพดเล็กๆ

           ผล ออกเป็นผลกลุ่มโดยออกเป็นกระจุกแน่น 15-25 ผล/1ก้านผล ซึ่งผลมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่เปลือกผลเมื่อยังอ่อนมีสีเขียวอ่อน เปลือกผลค่อนข้างหนา มีปุ่มสีน้ำตาลกระจายทั่วเปลือกผล แต่เมื่อผลแก่จะมีสีเขียวอมน้ำตาล และเมื่อผลสุกจะมีสีแดง มีเมล็ดสีดำ 1-4 เมล็ด

9f

014

การขยายพันธุ์จำปี

จำปีสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธีอาทิเช่น การใช้เมล็ด การทาบกิ่ง และการตอนกิ่ง แต่ส่วนมากจะนิยมใช้วิธีการตอนกิ่ง เพราะจะได้ต้นไม้ที่ไม่สูง และสามารถติดดอกได้เร็วกว่าการปลูกด้วยเมล็ด โดยมีวิธีการดังนี้  เริ่มจากกิ่งจำปีที่ใช้ตอนโดยควรเป็นกิ่งที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ขนาดเท่านิ้วก้อยหรือนิ้วหัวแม่มือจากนั้นใช้มีดกรีดควั่นกิ่งเป็นวงกลม 2 จุด ให้ห่างกันประมาณ 3 ซม. แล้วตัดเปลือกหุ้มออก จากนั้นใช้มีดขูดเยื่อหุ้มออกจนถึงแก่นไม้ แล้วนำถุงสำหรับตอนกิ่งที่บรรจุด้วยขุยมะพร้าวเปียกมาผ่าถุงออกเป็นร่องตามขวางแล้วจึงนำมาหุ้มรัดบริเวณควั่นกิ่ง แล้วมัดด้วยเชือกฟางให้แน่น หลังจากนั้นประมาณ 1-2 เดือน กิ่งจะแตกรากจนมีสีน้ำตาลจึงตัดกิ่งลงเพาะต่อในถุงเพาะชำจากนั้นอีกประมาณ 1 เดือน จึงนำลงปลูกในแปลงต่อไป

 

ต้นผึ้ง หรือ ต้นยวนผึ้ง

ต้นผึ้ง หรือ ต้นยวนผึ้ง

1 13 768x1024

ชื่อ – ชนิด พันธุ์

ต้นผึ้ง หรือ ต้นยวนผึ้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Koompassia Excelsa Taub.

ประวัติ

มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พบมากในป่าทางภาคเหนือ

รูปร่าง รูปทรง ( ต้น  ราก ใบ ดอก ผล )

  • เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นชลูด เปลาตรง สูงถึง 50 เมตร โคนต้นเป็นพูพอน สูง เปลือกเรียบ
  • ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว หูใบเล็กมาก ยาว 2-4 มิลลิเมตร ใบย่อยมี 7-11 ใบ เรียงสลับเล็กน้อย ใบมนกว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนนุ่มๆ ปกคลุมบางๆ ตลอด
  • ดอกมีขนาดเล็กจำนวนมาก กลิ่นหอม มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก อย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว มีขนาดยาวกว่ากลีบเลี้ยงเล็กน้อย มีเกสรตัวผู้ 5 อัน ค่อนข้างสั้น 
  • ฝักแบนรูปบรรทัด กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร

ความสูงเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่

สูงถึง 50 เมตร

ความกว้างทรงพุ่มเมื่อโตเต็มที่

ขนาด 15-30 เมตร

ความต้องการแสง  

  • ชอบแสงแดด 100%

ความต้องการน้ำ  

  • ต้องการน้ำปานกลางรดน้ำ 2 – 3 วัน/ครั้ง

ชอบดินประเภท

  • ชอบดินร่วน

ประโยชน์การใช้สอย

  • ใช้เป็นไม้ก่อสร้างภายใน เนื่องจากเนื้อไม้ ไม่แข็งแกร่งมากนัก จึงเหมาะที่จะอยู่ในร่มหรือใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งจะมีระยะเวลาใช้งานได้ทนทานกว่าที่จะนำไปใช้เป็นไม้ก่อสร้างภายนอกอาคาร

การเก็บเกี่ยว

  • ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
  • ผลแก่เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม

การขยายพันธุ์

  • การเพาะเมล็ด
  • 2 13 768x1024

ขานาง

ขานาง

tr 03

ขานาง

ชื่ออื่นๆ : ขานาง (ภาคกลาง เชียงใหม่ จันทบุรี) ขางนาง, คะนาง (ภาคกลาง) ค่านางโคด (ระยอง) ช้างเผือกหลวง (เชียงใหม่) แซพลู้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ปะหง่าง (ราชบุรี) เปลือย (กาญจนบุรี) เปื๋อยคะนาง, เปื๋อยนาง (อุตรดิตถ์) เปื๋อยค่างไห้ (ลำปาง) ลิงง้อ (นครราชสีมา)

ต้นกำเนิด : พบทุกภาคในประเทศไทย

ชื่อสามัญ : Moulmein lancewood

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Homalium tomentosum (Vent.) Benth

ชื่อวงศ์ : FLACOURTIACEAE

ลักษณะของขานาง

ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูง 15 – 30 เมตร เปลือกต้นสีขาวนวล เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ เปลือย  เปลือกต้นเรียบ บาง สีเทาแกมขาว กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลนุ่ม

ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่กลับถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ โคนใบรูปลิ่มขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ปลายใบมนกลมหรือมีติ่งหนาม

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน  ช่อสีเหลืองแกมเขียว ออกเป็นช่อยาวแบบ ช่อเชิงลด ห้อยลง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย มีขน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปแถบ มีขนยาว

277041

ต้นขานาง