• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

ลำพู

ลำพู

Sonneratia caseolaris

ชื่อไทย : ลำพู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sonneratia caseolaris
อาณาจักร : Plantae
ชื่อวงศ์ : Lythraceae

  • ต้น มีรากอากาศโผล่จากผิวน้ำ เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทาและแตกร่อน
  • ใบ เดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปรี รูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับกว้าง 1 – 2 เซนติเมตร ยาว 2 – 5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน แผ่นใบหนา
  • ดอก ดอกเดี่ยวออกที่ปลายกิ่ง ดอกบานกลางคืน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 – 8 เซนติเมตร โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยหนาและแข็ง ปลายแยกเป็น 6 – 8 แฉก กลีบดอกสีแดง 6 – 8 กลีบ เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก สีขาว เห็นเด่นชัด ออกดอกเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม
  • ผล ติดผลช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม ผลสดทรงกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 – 7.5 เซนติเมตร เมื่อสุกมีเนื้อนุ่ม ภายในมีเมล็ดรูปเกือกม้า

สรรพคุณของลำพู

  • รากลำพู รสเค็มเย็น ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว
  • เปลือกต้นลำพู รสเค็มเย็น แก้โรคผิวหนัง แก้แผลเปื่อยพุพอง ทำน้ำกระสายยาแก้โรคป่วง

ประโยชน์ของลำพ

  • ผลสุก มีรสเปรี้ยว กินแก้ท้องผูก ผลที่ยังไม่สุก มีรสฝาด ตำคั้นนํ้ารับประทานขับพยาธิ ขับเสมหะ ตำเป็นยาพอกแก้ปวด แก้บวม แก้เคล็ด ตำคั้นน้ำ หมัก แล้วใช้ทาแผล ห้ามเลือด160896
  • 1312081560

กุ่มบก

กุ่มบก

original 1634877408474

ชื่อสมุนไพร กุ่มบก
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ผักกุ่ม (ภาคเหนือ), ผักก่าม, ก่าม (ภาคอีสาน), กุ่ม (ภาคกลาง , ถะงัน, ทะงัน (เขมร)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Crateva adansonii DC.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Crateva adansonii subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs, Crateva guineensis Schumach. & Thonn., Crateva erythrocarpa Gagnep., Crateva laeta DC.
ชื่อสามัญ Caper tree, Temple plant, Sacred barnar.
วงศ์ CAPPARACEAE

ถิ่นกำเนิดกุ่มบก

กุ่มบกเป็นพันธุ์พืชที่เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดในหลายๆ แห่งในทวีปเอเชีย เช่น บริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และตามเกาะในฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้รวมถึงในออสเตรเลียเป็นต้น สำหรับในประเทศไทย ถือว่ากุ่มบกเป็นผักพื้นบ้านเก่าแก่ที่ชาวไทยคุ้นเคยมาแต่โบราณกาล เพราะมีปรากฏอักขราภิธานศรับท์ของหมอบรัดเลยที่ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2416 โดยกล่าวถึงศัพท์เกี่ยวกับต้นกุ่มบก และการใช้กุ่มเป็นผักของคนไทย ในปัจจุบันเราสามารถพบกุ่มบกได้เกือบทั่วทุกภาคของประเทศซึ่งจะพบตามที่ดอนต่างๆ หรือ ตามป่าผสมผลัดใบ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ รวมถึงเขาหินปูน และป่าไผ่ ที่มีความสูงในระดับน้ำทะเลจนถึง 350 เมตร

ประโยชน์และสรรพคุณกุ่มบก 

  1. แก้บำรุงหัวใจ
  2. ช่วยบำรุงไฟธาตุ
  3. แก้ไข้
  4. แก้ปวดท้อง 
  5. แก้ลงท้อง
  6. แก้แน่นท้อง
  7. ช่วยขับผายลม
  8. ช่วยขับลมในลำไส้
  9. ช่วยกระตุ้นลำไส้ให้ย่อยอาหาร
  10. แก้บวม
  11. ช่วยขับปัสสาวะ
  12. ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย
  13. ใช้เป็นยาระงับประสาท
  14. ช่วยรักษานิ่ว
  15. ใช้ทาแก้โรคผิวหนัง
  16. ใช้ประคบแก้ปวด
  17. แก้ปวดศีรษะ
  18. แก้กลากเกลื้อน
  19. แก้ตานขโมย
  20. แก้บวมคันจากพยาธิตัวจี๊ด
  21. แก้มานกษัยเส้น
  22. แก้อาการผอมเหลือง 
  23. แก้ริดสีดวงทวาร
  24. แก้นิ่ว
  25. ช่วยทำให้ขี้หูแห้งออกมา
  26. เป็นยาเจริญอาหาร
  27. แก้ท้องผูก
  28. ช่วยบรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา
  29. ใช้เป็นยาช่วยขับปัสสาวะ
  30. ช่วยบรรเทาอาการนิ่วในไต

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ใช้แก้ไข้ บำรุงหัวใจ ขับลม โดยใช้ใบมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้กลากเกลื้อน โดยใช้ใบสดมาตำให้ละเอียดใช้ทาบริเวณที่เป็น ใช้แก้อาการคัน และบวมที่ผิวหนังจากพยาธิตัวจี๊ด โดยใช้ใบสดบดให้ละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าวแล้วนำมาพอกบริเวณที่มีอาการโดยให้ทำ 3 วันติดต่อกัน ใช้บำรุงเลือด ริดสีดวงทวาร แก้อาการผอมเหลือง แก้นิ่ว โดยการนำแก่นมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้บำรุงธาตุ จับหนอง แก้มานกษัยที่เกิดจากกองลมโดยใช้รากมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้บำรุงหัวใจ บำรุงไฟธาตุ คุมธาตุ ขับลม แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ แก้ไข้ แก้นิ่ว แก้น้ำเหลืองเสีย โดยใช้เปลือกต้นมาต้มกับน้ำดื่ม


ลักษณะทั่วไปของกุ่มบก

กุ่มบกจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5-10 เมตร แต่อาจ ผลัดใบ สูงได้ถึง 20 เมตร แตกเรือนยอด และกิ่งก้านโปร่ง โดยกิ่งก้านมักคดงอ เปลือกต้นมีสีน้ำตาลอมเทา ผิวค่อนข้างเรียบ หรือ อาจมีรอยแตกตามขวางเนื้อไม้ละเอียดมีสีขาวปนเหลือง ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ใบเป็นรูปไข่ รูปร่างค่อนข้างกลม กว้าง 2-6 เซนติเมตร ยาว 2-10 เซนติเมตร โคนใบสอบ ส่วนที่อยู่ด้านข้างโคนใบจะเบี้ยว ขอบใบเรียบ ผิวใบมันเป็นสีเขียว เนื้อใบหนานุ่ม แผ่นใบเรียบทั้งสองด้าน มีเส้นแขนงใบ 4-5 คู่ ก้านใบร่วมยาว 7-9 เซนติเมตร ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจุก บริเวณซอกใบใกล้กับปลายยอด กลีบดอกมี 4 กลีบ เป็นสีขาวแล้วจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือ สีชมพูอ่อน กลีบเป็นรูปรีปลายมน โคนสอบเรียว กว้างประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.2-1.8 เซนติเมตร ที่กลีบดอกจะเห็นเส้นคล้ายเส้นใบอย่างชัดเจน และมีกลีบเลี้ยงรูปรี มีความกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร ก้านดอกมีความยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร โดยมีเกสรตัวผู้สีม่วงอยู่ประมาณ 15-22 อัน ส่วนก้านชูเกสรตัวเมียมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ผลเป็นผลสด รูปทรงกลมแกมไข่ เปลือกแข็ง ขนาด 2-3.5 เซนติเมตร ที่ผิวมีสีน้ำตาลอมแดง ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกมีสีน้ำตาลแดง เมล็ดสุกมีสีตาลแดง เมล็ดรูปไต ผิวเรียบ กว้าง 2 มิลิเมตร ยาว 6 มิลลิเมตร ใน 1 ผลจะมีหลายเมล็ด

thdata กุ่มบก1

การขยายพันธุ์กุ่มบก

กุ่มบกสามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และการปักชำ สำหรับวิธีการขยายพันธุ์กุ่มบกก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันกับ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และการปักชำ ไม้ยืนต้นประเภทอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้ ทั้งนี้กุ่มบกมีการนิยมนำมาเพาะปลูกตามบ้านเรือน หรือ ตามเรือกสวนไร่นามากกว่ากุ่มน้ำเพราะเป็นพันธุ์ไม้ที่ทนแล้ง และชอบออกในที่ดอนซึ่งต่างจากกุ่มน้ำ

b0b8bf0daa98e4d350d781ddbc797608

อบเชย

อบเชย

bda99c7f1920a01e41d0794fa12a8fea full

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ข้อกำหนดของอบเชยเทศ ตาม WHO กำหนด คือ ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 2% w/w  ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 6% w/w  ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 4.0% w/w  ปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอล (90%) ไม่น้อยกว่า 14-16% w/w  ปริมาณน้ำมันระเหยง่าย ไม่น้อยกว่า 1.2% v/w  

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: น้ำต้มเปลือกต้น ดื่มแก้ตับอักเสบ อาหารไม่ย่อย แก้ท้องเสีย ลำไส้เล็กทำงานผิดปกติ ขับพยาธิ มีสรรพคุณบำรุงดวงจิต  แก้อ่อนเพลีย  ชูกำลัง  ขับผายลม  บำรุงธาตุ  แก้บิด  แก้ลมอัณฑพฤกษ์   แก้ไข้สันนิบาต   ใช้ปรุงเป็นยานัตถุ์แก้ปวดหัว รับประทานแก้เบื่ออาหาร  แก้จุกเสียด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย  แก้ไอ  แก้ไข้หวัด  ลำไส้อักเสบ  ท้องเสียในเด็ก  อาการหวัด  ปวดปะจำเดือน แก้อ่อนเพลีย  คลื่นไส้อาเจียน  แก้ปวดประจำเดือน  ห้ามเลือด บดเป็นผงโรยแผลกามโรค สมานแผล
           อบเชยมีการนำมาใช้ในพิกัดยาไทย คือ “พิกัดตรีธาตุ” ประกอบด้วย กระวาน ดอกจันทน์ และอบเชย เป็นยาแก้ธาตุพิการ แก้ลม แก้เสมหะ แก้ไข้  “พิกัดตรีทิพย์รส” คือการจำกัดจำนวนของที่มีรสดี 3 อย่าง คือโกฐกระดูก เนื้อไม้ และอบเชยไทย มีสรรพคุณบำรุงธาตุ บำรุงกระดูก บำรุงตับปอดให้เป็นปกติ แก้ลมในกองเสมหะ บำรุงโลหิต “พิกัดจตุวาตะผล” คือการจำกัดจำนวนตัวยาแก้ลม ประกอบด้วยผล 4 อย่าง คือ เหง้าขิงแห้ง กระลำพัก อบเชยเทศ และโกฐหัวบัว มีสรรพคุณแก้ไข้ แก้พรรดึก แก้ตรีสมุฏฐาน ขับผายลม บำรุงธาตุ แก้ลมกองริดสีดวง “พิกัดทศกุลาผล” คือการจำกัดจำนวนตัวยาตระกูลเดียวกัน 10 อย่าง มีชะเอมทั้ง 2 (ชะเอมไทย ชะเอมเทศ) ลูกผักชีทั้ง 2 (ผักชีล้อม ผักชีลา) อบเชยทั้ง 2 (อบเชยไทย อบเชยเทศ) ลำพันทั้ง 2 (ลำพันแดง ลำพันขาว) ลูกเร่วทั้ง 2 (เร่วน้อย เร่วใหญ่) มีสรรพคุณ แก้ไข้เพื่อดีและเสมหะ ขับลมในลำไส้ บำรุงธาตุ บำรุงปอด แก้รัตตะปิตตะโรค แก้ลมอัมพฤกษ์ อัมพาต บำรุงกำลัง บำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น แก้ไข้

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
           น้ำมันหอมระเหยที่เป็นองค์ประกอบหลักคือ cinnamaldehyde ประมาณ 51-76% พบ eugenol เล็กน้อยประมาณ 5-18%

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ต้านแบคทีเรียและเชื้อรา แก้ปวดและต้านอักเสบ ต้านออกซิเดชั่น ต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาว ลดความดัน ลดการหดเกร็งของหลอดลม ลำไส้เล็ก  ลำไส้ใหญ่ และกระเพาะอาหาร ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นในหนู ลดน้ำตาลและไขมันในเลือดหนู มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดเปลือกอบเชยญวณด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 926 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ

338700

Cinnamomum iners

พญาล้างไต

พญาล้างไต

Sece959408d53438a83283601dbdb3aaaJ

  • พญาล้างไต ใบล้างไต ต้นหงสาวดี ต้นข่อยดำข่อยแดง ก่ายกอม
  • Ehretia acuminata R. Br.

  • BORAGINACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  • เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นมีสีน้ำตาลที่ส่วนโคน กิ่งก้านมีสีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม

  • ใบเป็นใบเดียว มีสีเขียว ขอบใบจัก ลักษณะใบสากมือ ออกเวียนสลับกันรอบลำต้น ปลายใบแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อยถี่

  • ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง ดอกมีสีขาว มีกลิ่นหอม

  •  
  •  
  • ใบ นำมาตากแดดทำเป็นชาต้มดื่มช่วยขับปัสสาวะ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังต้องฟอกไตทุกอาทิตย์ นำใบไปตากแห้งต้มดื่มต่างน้ำ ดื่มแล้วอาการจะดีขึ้น หน้าหมองคล้ำจะสดใสขึ้น เป็นยาบำรุงไต แก้ปวดหลังปวดเอว ช่วยขับปัสสาวะ

    images

    S776cc0ebf20d425682acfe5920577fd2v