• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

กระท่อม

กระท่อม (Kratom)

564000005554701

กระท่อม (Kratom)

ชื่ออื่นๆ  ท่อม อีถ่าง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  :  กระท่อมเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ปานกลาง มีแก่นเป็นไม้เนื้อแข็ง สูง10 -15 เมตร อยู่ในตระกูล Mitragyna speciosa ใบคล้ายใบกระดังงา มีชนิดก้านใบแดงและใบเขียว ดอกกลมโตขนาดเท่าผลพุทรา ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว เรียงตัวเป็นคู่ตรงข้าม แผ่นใบขนาดกว้างประมาณ 5-10 ซม. ยาวประมาณ 8-14 ซม. ดอกมีสีขาวอมเหลืองออกเป็นช่อตุ้มกลมขนาด 3-5 ซม.

แหล่งที่พบ  ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี แต่จะพบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูลพัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และตอนบนของประเทศมาเลเซีย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Mitragyna speciosa Korth. อยู่ในวงศ์ Rubiaceae

สารเสพติดที่พบในใบกระท่อม คือ  ไมทราไจนีน (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) เช่นเดียวกับยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน เช่น psilocybin LSD และ ยาบ้า

วิธีเสพ  เคี้ยวใบสดหรือบดใบแห้งให้เป็นผง ละลายน้ำดื่ม บางรายเติมเกลือด้วยเล็กน้อยเพื่อป้องกันท้องผูก ส่วนมากจะเคี้ยวเพียง 2-3 ใบ และดื่มน้ำอุ่น หรือกาแฟร้อนตาม ใช้วันละ 3-10 ครั้งต่อวันตามอาการเหนื่อย  เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง  ปริมาณการใช้จะเพิ่มขึ้น (ประมาณร้อยละ 37 ใช้วันละ 21-30 ใบ)

ผลจากการเสพ  พบว่าหลังเคี้ยวใบกระท่อมไปประมาณ 5-10  นาที  จะมีอาการเป็นสุข  กระปรี้กระเปร่า  ไม่รู้สึกหิว (ไม่อยากอาหาร)    กดความรู้สึกเมื่อยล้าขณะทำงาน  ทำให้สามารถทำงานได้นาน และทนแดดมากขึ้น  แต่จะเกิดอาการกลัวหนาวสั่นเวลาอากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝน  ผู้เสพจะมีผิวหนังแดงเพราะเลือดไปเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น  อาการข้างเคียง  ได้แก่  ปากแห้ง  ปัสสาวะบ่อย  เบื่ออาหาร ท้องผูก  อุจจาระแข็งเป็นก้อนเล็กๆ  นอนไม่หลับ   ถ้าเสพใบกระท่อมในปริมาณมากๆ จะทําให้มึนงง และคลื่นไส้อาเจียน (เมากระท่อม)  แต่ในบางรายเสพเพียง 3 ใบ ก็ทำให้เมาได้  ในรายที่เสพใบกระท่อมมากๆ หรือเป็นระยะเวลานาน มักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีขึ้นที่บริเวณผิวหนัง ทำให้ผู้ที่รับประทานมีผิวคล้ำและเข้มขึ้น และยังพบอีกว่าเสพกระท่อมโดยไม่ได้รูดเอาก้านใบออกจากตัวใบก่อน อาจจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า “ถุงท่อม” ในลำไส้ได้ เนื่องจากก้านใบและใบของกระท่อมไม่สามารถย่อยได้ จึงตกตะกอนติดค้างอยู่ภายในลำไส้ ทำให้ขับถ่ายออกมาไม่ได้ เกิดพังผืดขึ้นมาหุ้มรัดอยู่โดยรอบก้อนกากกระท่อมนั้น ทำให้เกิดเป็นก้อนถุงขึ้นมาในลำไส้ บางรายจะมีอาการโรคจิตหวาดระแวง เห็นภาพหลอน คิดว่าคนจะมาทำร้ายตน และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง

อาการเมื่อหยุดเสพ

  • ไม่มีแรง
  • ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและกระดูก
  • แขนขากระตุก
  • อ่อนเพลีย ไม่สามารถทำงานได้
  • อารมณ์ซึมเศร้า
  • นํ้าตาไหล นํ้ามูกไหล
  • ก้าวร้าว
  • นอนไม่หลับ
  • ร่างกายมีอุณหภูมิสูงผิดปกติ
  • ถ่ายอุจจาระเหลวมากปกติ
  • อยากอาหารยาก
  • อาเจียนคลื่นใส้
  • มีอาการไอมากขึ้น
  • กระวนกระวายมากขึ้น

สรรพคุณทางยา   สมัยโบราณ กระท่อมเป็นพืชที่ใช้เข้าเป็นตัวยาในตำรับพวกประเภทยาแก้ท้องเสีย ในสูตรยาของหมอพื้นบ้านหรือหมอแผนโบราณ เช่น ตำรับยาประสะกระท่อม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาขนาดนี้แล้ว เพราะมียาแผนปัจจุบันและแผนโบราณให้ผลเท่าเทียมหรือดีกว่าอีกทั้ง แม้ใบกระท่อมให้ผลการออกฤทธิ์ที่อาจมีประโยชน์ทางยาได้ แต่ทำให้เสพติดและมีผลเสียต่อสุขภาพ หากใช้ติดต่อกันนานๆ

การนำใปใช้ในทางที่ผิด   ปัจจุบันใบกระท่อมมีปัญหาการแพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นและนักเรียน   อาจเนื่องมาจากมีราคาถูกและทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มได้เช่นเดียวกับสารเสพติดอื่น  โดยมักนิยมนำน้ำกระท่อมต้ม ผสมกับโค้ก  ยากันยุง และยาแก้ไอ (4×100)

การควบคุมตามกฎหมาย
ปี พ.ศ. 2486  ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ประกาศควบคุมการใช้พืชกระท่อม โดยตราพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2486 ระบุห้ามปลูกและครอบครองรวมทั้งห้ามจำหน่ายและเสพใบกระท่อม
ปี พ.ศ. 2522  กระท่อมเป็นพืชเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
ปี พ.ศ. 2564 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2564 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 เป็นการกำหนดยกเลิกพืชกระท่อมจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป  ทั้งนี้การนำพืชกระท่อมมาแปรรูปหรือนำมาใช้เป็นวัตถุดิบหรือเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา อาหาร เครื่องสำอาง ผู้ผลิตจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ด้วย
ปี พ.ศ. 2565 พระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2565 กำหนดการควบคุมพืชกระท่อมเป็นการเฉพาะ โดยอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงยุติธรรม

การควบคุมในต่างประเทศ สหประชาชาติ(UN) จะยังมิได้มีการประกาศควบคุมพืชกระท่อมในบัญชีรายชื่อยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ แต่จาก World drug report 2013 ของสำนักงานควบคุมยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ได้มีการขอความร่วมมือให้ประเทศสมาชิกเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ของสารออกฤทิ์ตัวใหม่ๆ ซึ่งมีพืชกระท่อมรวมอยู่ด้วย  ซึ่งจากการสืบค้นข้อมูลพบว่าประเทศในยุโรป เช่น เดนมาร์ก ลัตเวีย ลิทัวเนีย โปแลนด์ โรมาเนีย สวีเดน มีการควบคุมพืชกระท่อม สาร mitragynine และ 7-hydroxymitragynine   สำหรับออสเตรเลีย พม่า รวมถึงไทย มีการควบคุมพืชกระท่อมภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวกับยาเสพติด ส่วนนิวซีแลนด์ ควบคุมพืชกระท่อม และสาร mitragynine ภายใต้กฎหมาย Medicines Amendment Regulations   จาก World drug report 2013 ของสำนักงานควบคุมยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ให้ข้อมูลการแพร่ระบาดของพืชกระท่อมว่า พืชกระท่อมมีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีการรายงานการใช้ในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งในปี ค.ศ. 2011 ยุโรปเริ่มการมีขายพืชกระท่อมทางอินเตอร์เน็ตอย่างแพร่หลาย

kratomormitragynaspeciocaisaherbtoincreaseenergy

dFQROr7oWzulq5Fa3y3Ae5sPvescb1IB8KbiQm3nZ5XtwWyU0xNfzYchQGVrPXjOfgd

ขมิ้นขาว

 

ขมิ้นขาว

ดาวน์โหลด

ชื่อสมุนไพร ขมิ้นขาว
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น  ขมิ้นม่วง, ว่านม่วง (ทั่วไป)
ชื่อวิทยาศาสตร์  Curcuma manga valeton & Zijp
ชื่อสามัญ  Curcuma white, White turmeric
วงศ์  ZINGIBERACEAE


ถิ่นกำเนิดขมิ้นขาว

สำหรับถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของขมิ้นขาวนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีการกระจายพันธุ์ในคาบสมุทรอินโดจีน บริเวณประเทศไทย พม่า เวียดนาม ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังระบุว่าสามารถพบได้ในอินเดียอีกด้วย สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศ โดยถือว่าขมิ้นขาวเป็นทั้งผัก และสมุนไพรพื้นบ้านที่รู้จักกันเป็นอย่างดีอีกด้วย


ประโยชน์และสรรพคุณขมิ้นขาว

  • เป็นยารักษาโรคกระเพาะ
  • รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
  • บรรเทาอาการคลื่นไส้
  • ช่วยย่อยอาหาร
  • ช่วยบำรุงธาตุ
  • ช่วยกระตุ้นการหลั่งอาหารของน้ำดี
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • ช่วยขับลม
  • ช่วยลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง
  • แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ขับปัสสาวะ
  • ช่วยขับน้ำนมมารดา
  • รักษาโรคไข้ผอมเหลือง
  • รักษานิ่วในถุงน้ำดี
  • รักษาโรคผิวหนัง

            ขมิ้นขาวถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน เช่น ใช้รับประทานเป็นพืชผัก เรียกว่า ขมิ้นขาว โดยส่วนที่ใช้เป็นอาหาร คือ เหง้าสด ที่เป็นสีเหลืองอ่อน และจะต้องปลอกเปลือกด้านนอกออกจะเหลือส่วนที่เป็นสีขาวด้านใน แล้วจึงสามารถนำมารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก หรือ นำไปยำแกง และใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร ต่างๆ
           แต่หากใช้ในการมงคลจะเรียกว่า ว่านม่วง โดยขมิ้นขาวถือว่าเป็นพืชมงคล เพราะถือว่ามีสีขาวบริสุทธิ์ เหมือนสีของไข่มุกมีความหมายบ่งบอกถึง ความปรารถนาดี ความหวังดี ความบริสุทธิ์ใจอีกทั้งยังเชื่อกันว่าหากนำขมิ้นขาวใส่กระถางตั้งวางไวทิศตะวันออกของบ้านจะเป็นมงคล ช่วยเสริมบารมี ศักดิ์ศรี เสน่ห์ ความรัก เอื้ออาทร ความเจริญ และความยั่งยืน

66020b71e

 

e96ce4c90d69b021ac0598dac31b14b6.jpg

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ขมิ้นขาว

หากใช้ขมิ้นขาวเป็นยาสมุนไพรนั้น หากเป็นการบำรุงธาตุ ช่วยให้เจริญอาหาร หรือ ช่วยรักษาภายในตามที่ได้กล่าวมาในหัวข้อที่ผ่านมา จะสามารถใช้ได้โดยนำแง่งมารับประทานสด หรือนำเหง้า และแง่งมาต้มกับน้ำดื่มก็ได้ แต่หากเป็นการรักษาภายนอกเช่นโรคผัวหนังต่างๆ ก็ให้นำเหง้ามาฝนทาบริเวณที่เป็น

ลักษณะทั่วไปของขมิ้นขาว

ขมิ้นขาวจัดเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปีมีลำต้นใต้ดินเรียกว่า เหง้า หรือ หัว ซึ่งเว้ามีลักษณะเป็นรูปรีสีน้ำตาล และแตกแขนงย่อยเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมส่วนลำต้นเหนือพื้นดินจะเป็นลำต้นเทียม มีลักษณะคล้ายขมิ้นชัน และขมิ้นอ้อย แต่จะค่อนข้างสูงกว่าโดยจะสูงราว 90-110 เซนติเมตร ใบ เป็นใบเดี่ยวเจริญจากลำต้นใต้ดิน ประกอบด้วยกาบใบซ้อนทับกันแบบชั้นๆ แบบเรียงสลับจากโคนถึงปลาย รูปทรงของใบเป็นรูปหอกหรือใบพายสีเขียว โคนสอบปลายแหลม กว้าง 12-15 ซม. และยาว 30-40 ซม. เจริญเติบโตในหน้าฝน แต่ในช่วงหน้าหนาวถึงฤดูแล้งจะเริ่มมีใบเหลืองและเหี่ยวแห้งแต่จะยังมีหัวฝังอยู่ใต้ดินแต่ไม่ตาย เมื่อถึงฤดูฝนถัดไปก็จะพร้อมแตกใบขึ้นมาใหม่อีกครั้งดอก ออกเป็นช่อคล้ายกับดอกขมิ้นชันกับขมิ้นอ้อยมีก้านช่อยาวแทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบประดับสีเขียงอมชมพูซ้อนทับแบบเวียนสลับหลายกลีบและหลายชั้นเมื่อดอกบานจะมีสีเหลืองอ่อน

3 5 scaled

การขยายพันธุ์ขมิ้นขาว

ขมิ้นขาวสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการแยกเหง้า เช่นเดียวกันกับขมิ้นชัน และขมิ้นอ้อย โดยมีวิธีการดังนี้ เริ่มจากไถพรวนดินเพื่อให้ดินร่วนซุยจากนั้นตากดินไว้ 7-10 วัน เพื่อทำลายเชื้อโรคในดินแล้วขุดหลุมลึกประมาณ 10 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก นำเหง้าขมิ้นขาวที่มีอายุ 10-12 เดือน หั่นเป็นท่อน โดยแต่ละท่อนให้มีตาที่ข้อประมาณ 2-3 ตาต่อท่อน นำไปปลูกหลุมละ 1-2 ท่อน แล้วกลบดิน เว้นระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถว ประมาณ 25-30 เซนติเมตร แล้วจึงรดน้ำให้ สัก 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ ในระยะแรกๆ หากฝนตกชุกก็ไม่ต้องให้น้ำ และเมื่อขมิ้นขาวมีอายุได้ 8-9 เดือน จึงเอาหัวขึ้นมาได้ ทั้งนี้ขมิ้นขาวเป็นพืชที่ชอบดินที่มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทรายและเป็นพืชชอบแดดไม่ชอบน้ำขัง

 

 แป๊ะตำปึง

 แป๊ะตำปึง

 แป๊ะตำปึงดอกแปะตำปึง

ชื่อสมุนไพร แป๊ะตำปึง
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น จักรนารายณ์ (ไทย, ภาคกลาง), ว่านกอบ, ใบเบก, ผักพันปี (ภาคเหนือ), แปะตำปึง (ไทยลื้อ), ชั่วจ่อ (ม้ง), เอียเตาะเอี้ย, อูปุยไฉ่, จิยฉีเหมาเยี่ย (จีน), ไป๋ตงเฟิง, ไป๋เป้ยซันชิ (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์  Gynura Divaricata (L.) DC.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์  Gynura sarmer tosa DC., Gynura auriculata Cass., Gynura glabrata Hook.f., Gynura hemsleyana H.Lev., Gynura incana Druce, Gynura procumbens (Lour.) Merr. Senecio divaricatus Cacalia hieraciodes Wild., Cacalia ovalis Ker Gawl.
ชื่อสามัญ  Purple passionvine, Purple velvel plant
วงศ์  Compositae-Asteraceae

ถิ่นกำเนิดแป๊ะตำ

แป๊ะตำปึงเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศจีน โดยมักจะพบในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 2800 เมตร ขึ้นไป จากนั้นจึงมีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังภูมิภาคต่างๆ สำหรับในประเทศไทยพบได้มากทางภาคเหนือที่มีความสูง และมีอากาศเย็น ในปัจจุบันก็มีการนิยมนำมาปลูกกันมากเพื่อใช้เป็นไม้ประดับ และใช้เป็นสมุนไพร

ประโยชน์และสรรพคุณแป๊ะตำ

  1. ใช้พอกปิดฝี
  2. แก้ปวดทำให้เย็น
  3. ช่วยดับพิษไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
  4. แก้ฟกบวม
  5. แก้พิษอักเสบทุกชนิด
  6. แก้ปวดหัวสำมะลอก
  7. แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
  8. ช่วยดูดถอนพิษ เป็นยาถอนพิษทุกชนิด
  9. ช่วยฟอกโลหิต ฟอกน้ำเหลือง
  10. ช่วยลดความดันโลหิต
  11. แก้ร้อนใน
  12. แก้ปวดฟัน ปวดเหงือก
  13. รักษาปากเป็นแผล
  14. แก้ไอ
  15. แก้คออักเสบ
  16. ช่วยขับลม
  17. รักษาโรคกระเพาะ
  18. แก้เริม
  19. รักษางูสวัด
  20. แก้เบาหวาน
  21. แก้อาการตกเลือด

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ 

ใช้ฟอกโลหิต แก้เบาหวาน แก้ความดันโลหิต แก้ร้อนใน ขับลม รักษาโรคกระเพาะ ให้นำใบมารับประทานสด หรือ นำมาประกอบอาหารรับประทานก็ได้ ใช้แก้ปวดเหงือก ปวดฟัน แก้ปากเป็นแผล คออักเสบ โดยใช้ใบสดนำมารับประทานกลางคืนหลังแปรงฟันโดยค่อยๆ เคี้ยวแล้วอมทิ้งไว้สักระยะหนึ่งแล้วค่อยกลืนลงไป  แก้งูสวัดและเริม โดยนำใบมาตำกับน้ำตาลทรายแดง แล้วนำมาพอก หรือ ประกบตรงรอยแผลทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หรือ จะนำใบมาคั้นเอาแต่น้ำใช้ทาสดๆ หรือ ใช้ตำพอกก็ได้ ใช้แก้ไอ คออักเสบ โดยใช้ใบ และก้านประมาณ 10 กรัม ใส่ไข่น้ำตาลเล็กน้อย รับประทาน ใช้แก้ปวดอักเสบ ใช้แก้ปวดหัวลำมะลอก แก้ฝี แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ฟกช้ำบวม แก้พิษอักเสบทกชนิด แก้พิษตะขาบ พิษจากแมลงป่อง พิษจากแมงสัตว์กัดต่อย โดยนำใบสดนำมาตำให้แตกผสมกับสุราขาว ใช้สำลีชุบให้เปียกแล้วนำไปปิด หรือ พอกบริเวณที่มีอาการ ประมาณวันละ 2-3 ครั้ง ใช้รักษาโรคเบาหวานโดยรับประทานใบสดก่อนอาหารประมาณ 2-5 ใบ ในช่วงตีห้าถึงเจ็ดโมงเช้า และให้รับประทานอีกครั้งในช่วงหลังอาหารเย็นประมาณ 2-3 ชั่วโมง หรือ ใช้กินก่อนนอนทุกวัน โดยให้ทำเช่นนี้ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ แล้วหยุดดูอาการอีก 2-3 วัน แล้วจึงรับประทานต่อ


ลักษณะทั่วไปแป๊ะตำ

แป๊ะตำปึงจัดเป็นไม้ล้มลุก ทรงเป็นพุ่มเตี้ยเลื้อยสูง 30-60 เซนติเมตร มีอายุหลายพันปี ต้นฉ่ำน้ำตั้งตรง หรือ โค้งตั้งแต่โคนต้นแล้วค่อยตั้งตรงเป็นส่วนยอด ลำต้นเรียบหรือมีขนนุ่มสั้นๆ ลำต้นมีสีเขียว หรือ สีเขียวมีลายสีม่วง

           ใบ เป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับ ความยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตร และกว้าง 8 เซนติเมตร ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ หรือ รูปหอกกลับ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก รูปคลื่น แผ่นใบหนา ฉ่ำน้ำ และนุ่มคล้ายกำมะหยี่ หลังใบเป็นสีเขียว ท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน หรือ สีม่วงแดงหรือสีขาวออกหม่นๆ มีก้านใบยาว 0.5-4 เซนติเมตร

           ดอก ออกเป็นช่อแบบกระจุก โดยจะออกบริเวณปลายยอดลำต้น ใน 1 ช่อดอก จะมีดอกย่อยหลายดอกลักษณะคล้ายดอกดาวเรือง แต่เล็กกว่า มีสีเหลือง เป็นเส้นฝอยมีเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 1.5-2 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่มหนาแน่นและใบประดับเล็กๆ รูปแถบ หรือ เป็นเส้นรูปกรอบเกลี้ยหลายอัน มีวงใบประดับรองรับช่อดอกรูปคล้ายระฆังขนาด 8-10x6-8 มิลลิเมตร มีก้านช่อดอกยาว 1-15 เซนติเมตร

           ผล เป็นแบบผลแห้งเมล็ดล่อน รูปทรงกระบอกสีน้ำตาล ขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร มีขนประปราย มี pappus สีขาว ลักษณะเป็นขนอ่อนนุ่มคล้ายเส้นไหม ขนาด 10-12 มิลลิเมตร

original 1672044048864

R15

การขยายพันธุ์แป๊ะตำ

แป๊ะตำปึงสามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ดแบะการปักชำ แต่วิธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน คือ การปักชำ เพราะทำได้ง่ายประหยัดเวลา ได้ต้นกล้าเร็ว และสามารถมีอัตราการรอดสูง โดยมีวิธีการ คือ ใช้มีดตัดบริเวณใต้ข้อกิ่งที่จะใช้ปักชำเล็กน้อย ซึ่งจะหั่นเป็นท่อนยาวท่อนละประมาณ 5-6 นิ้ว จากนั้น นำไปชำในถุง หรือ กระถางที่ผสมวัสดุปักชำที่เตรียมไว้ แล้ววางไว้ในที่ร่ม รดน้ำเช้าเย็น ประมาณ 1 สัปดาห์ ส่วนของรากก็จะงอกกิ่งชำ ก็จะแตกใบอ่อน แล้วจึงนำไปลงดิน หรือ แยกลงกระถางได้เลย

ไพลดํา

ไพลดํา

ไพลดำ4

ว่านไพลดำ ว่านไพลดำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber ottensii Valeton จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE) สมุนไพรว่านไพลดำ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ปูเลยดำ (ภาคเหนือ), ไพลดำ ไพลม่วง ไพลสีม่วง (กรุงเทพฯ), ไพลสีม่วง ดากเงาะ (ปัตตานี), จะเงาะ (มลายู-ปัตตานี), ว่านกระทือดำ เป็นต้น ลักษณะของว่านไพลดำ ต้นว่านไพลดำ มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ขึ้นเป็นกอ ความสูงของต้นประมาณ 1.5-3 เมตร และอาจสูงได้ถึง 5 เมตร เหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อภายในเหง้าเป็นสีม่วง สีม่วงจาง ๆ หรือสีม่วงอมน้ำตาล มีกลิ่นฉุนร้อนคล้ายไพล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ต้องใช้ดินที่มีสีดำในการปลูก (ถ้าเป็นสีอื่นปลูกจะทำให้ต้นตาย เพราะว่านชนิดนี้เจริญงอกงามได้ในดินสีดำเท่านั้น) พบขึ้นได้ตามป่าเขตร้อนชื้น

ไพลดำ7

ใบว่านไพลดำ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบเรียว โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 26-30 เซนติเมตร แผ่นใบหนา เส้นกลางใบเป็นร่องสีเขียวอ่อน ด้านล่างและเส้นกลางใบมีขน ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น มีสีม่วงคล้ำ กาบใบซ้อนกันแน่น ไม่มีขนหรือมีบ้างประปราย ลิ้นใบยาวที่ปลายกาบใบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายมน

ดอกว่านไพลดำ ออกดอกเป็นช่อ จากโคนต้นแทงขึ้นมาจากเหง้าใต้ดิน ช่อดอกยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อดอกยาวประมาณ 14 เซนติเมตร โดยช่อดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกถึงเกือบกลม กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน เป็นสีเหลืองอ่อน มีประสีม่วงแดงอ่อน ๆ กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบบาง โคนดอกเชื่อมติดกัน ดอกมีใบประดับสีเขียวปนแดงวางเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ อย่างเป็นระเบียบดูคล้ายกับเกล็ดปลา ใบประดับเมื่อยังอ่อนจะเป็นสีแดงอมเขียว แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือสีแดงเข้ม กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีใส เกสรเพศผู้ ส่วนที่เป็นกลีบมีหยัก 3 หยัก โดยหยักกลางหรือกลีบปากใหญ่ มีลักษณะเป็นรูปกลมแกมรูปขอบขนาน ปลายแยก 2 หยักตื้น พื้นสีเหลืองแกมสีน้ำตาลอ่อน ประสีน้ำตาลแดงแกมสีชมพูอ่อน ส่วนหยักข้างมี 2 หยักสั้น ลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายมน สีเหลืองอ่อน เกสรเพศผู้ปลายจะเป็นจะงอยยาวโค้ง สีเหลืองส้ม ส่วนเกสรเพศเมีย ก้านเกสรเป็นสีขาว ยอดเกสรมีลักษณะเป็นรูปกรวย สีขาว รอบ ๆ ปากมีขน และรังไข่เป็นสีขาว โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม

ไพลดำ3

สรรพคุณของว่านไพลดำ ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะและยาบำรุงกำลัง (ทั้งต้น)[1] หรือจะใช้เหง้าสดตากแห้ง นำมาบดให้เป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้รับประทานเช้าและเย็น วันละ 2-3 เม็ดก็มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลังและเป็นยาอายุวัฒนะเช่นกัน (เหง้า)ส่วนอีกตำรับให้ใช้เหง้าว่านไพลดำตากแห้ง นำมาบดให้เป็นผงผสมกับว่านกระชายดำ ว่านกระชายแดง และว่านเพชรน้อย (ที่นำมาบดแล้วเหมือนกัน และใช้อย่างละเท่ากัน) ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้กินก่อนอาหารครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 เวลา (เหง้า) เหง้าสดนำมาบดให้เป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้รับประทานเช้าและเย็น วันละ 2-3 เม็ด เป็นยาช่วยเจริญอาหาร แก้ธาตุพิการ (เหง้า) รากมีรสขื่นเอียน สรรพคุณเป็นยาแก้เลือดกำเดาออกทางปาก ทางจมูก (ราก] ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด (ราก)ใช้เป็นยาแก้บิด ขับลม ด้วยการใช้เหง้าสดนำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วนำมาใช้กิน (เหง้า) ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารเป็นพิษ (ทั้งต้น)[1] เหง้าสดนำมาต้มใส่เกลือเล็กน้อย ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น เป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ (เหง้า)เหง้าสดนำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะ ใช้กินเป็นยารักษาลำไส้เป็นแผล สมานลำไส้ แก้แผลในกระเพาะ รวมไปถึงอาการปวดท้องบ่อย ๆ น้ำย่อยไม่ปกติและโรคลำไส้ต่าง ๆ (เหง้า) เหง้าสดนำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะ ใช้กินเป็นยาระบายอ่อน ๆ (เหง้า] ช่วยขับประจำเดือนของสตรี ด้วยการใช้เหง้านำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วนำมาใช้กินเป็นยา (เหง้า) ใบมีรสขื่นเอียน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ครั่นเนื้อครั่นตัว (ใบ) เหง้านำมาฝนใช้เป็นยาทาสมานแผล (เหง้า) ดอกมีรสขื่น สรรพคุณเป็นยาแก้ช้ำใน ช่วยกระจายเลือดที่เป็นก้อนลิ่ม (ดอก) ช่วยรักษาอาการบวม อาการช้ำทั้งตัว (ทั้งต้น)[1] ตำรายาไทยจะใช้เหง้านำมาฝนทาแก้อาการเคล็ดขัดยอก ฟกบวม แก้เหน็บชา แก้เมื่อยขบ (เหง้า) ใช้เป็นยาแก้ช้ำบวม ให้นำเหง้ามาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว แล้วกรองเอาแต่น้ำมากินก่อนอาหารครั้งละ 3 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 เวลา (เหง้า) น้ำมันจากเหง้าใช้เป็นยาทาถูนวดแก้เหน็บชา แก้เส้นสายตามร่างกายตึง และแก้เมื่อยขบ (น้ำมันจากเหง้า) ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย (ใบ)[2] ประโยชน์ของว่านไพลดำ ในด้านของความเชื่อ ว่านไพลดำเป็นว่านทางคงกระพันชาตรี การนำมาใช้ในทางคงกระพันชาตรี จะต้องเสกด้วยคาถา “พุทธังเป็นยา ธัมมังรักษา สังฆังหาย ตะหัง นะหิโสตัง” 3 จบ และ “นะโมพุทธายะ” 7 จบ[3] บางข้อมูลระบุว่า ว่านไพลดำจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ ว่านไพลดำชนิดเนื้อในหัวเป็นสีม่วงอมน้ำตาล (เด่นในเรื่องอยู่ยงคงกระพัน), และ ว่านไพลดำชนิดเนื้อในหัวเป็นสีดำ (เด่นในเรื่องการชักนำเงินทอง และปัจจุบันหายากมาก) ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ว่านไพลดำเป็นพรรณไม้ที่หาได้ยากชนิดหนึ่ง เนื่องจากปลูกเลี้ยงและการดูแลรักษาทำได้ยาก