• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

ลำดวน

ลำดวน

original 1634804381987

ชื่อไทย :

ลำดวน

ชื่อท้องถิ่น : หอมนวล(เหนือ)
ชื่อสามัญ : White cheesewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melodorum fruticosum Lour.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ลำต้น :

เป็นไม้ต้น สูง 8 ม. เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาล เมื่อต้นแก่จะแตกเป็นร่องละเอียดตื้นๆ ตามยาวของลำต้น

ใบ :

เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปรียาว กว้าง 2-3 ซม. ยาว 7-15 ซม. โคนใบแหลม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ด้านล่างสีเขียวนวล ยอดอ่อนและใบอ่อนสีแดง

ดอก :

ดอกสีเหลือง ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบและปลายยอด กลีบดอก 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง วงนอกมี 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่กว่ากลีบดอกวงใน มี 3 กลีบเหมือนกัน กลีบดอกหนาและแข็ง มีกลิ่นหอม 

ผล :

เป็นผลกลุ่ม ผลย่อยรูปกลมรีมี 15-20 ผล ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวพอสุกเป็นสีแดง  เมล็ด มีหลายเมล็ดต่อ 1 ผลย่อย

ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : ธันวาคม สิ้นสุดระยะติดดอก : กุมภาพันธ์
เริ่มติดผล : มิถุนายน สิ้นสุดระยะติดผล : สิงหาคม
สภาพทางนิเวศวิทยา : นิเวศวิทยา ป่าดิบแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ถิ่นกำเนิด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การกระจายพันธุ์ พบในประเทศคาบสมุทรอินโดจีน คาบสมุทรมลายู การใช้งานด้านภูมิทัศน์ ดอกหอมเป็นพุ่มใบสวยงาม นิยมใช้จัดสวนแต่ควรปลูกระหว่างไม้ต้นอื่นๆ เพราะต้องการความชุ่มชื้นจึงจะเติบโตได้อย่างแข็งแรง
การปลูกและการขยายพันธุ์ : ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง โดยการเพาะเมล็ด
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : - ดอกแห้ง เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้ลม จัดอยู่ในจำพวกเกสรทั้งเก้า [1] - ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้ให้ร่ม ดอกสวยงาม มีกลิ่นหอม - เกสร มีสรรพคุณบำรุงกำลัง และบำรุงหัวใจ นำมาประกอบกับสมุนไพรจีน [3] - ผลมีรสหวานรับประทานได้ ดอกแก้ไข้ แก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต [4]

1378803917 Tree2 o

ต้นลำดวน02

หนุมานประสานกาย 

 

หนุมานประสานกาย 

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย 

ชื่อสมุนไพร หนุมานประสานกาย
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น อ้อยช้าง(เลย),ชิดฮะลั้ง(จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์  Schefflera leucantha R.Viguier.
ชื่อสามัญ  Umbrella tree , Edible-stemed Vine
วงศ์ ARALIACEAE

ถิ่นกำเนิดหนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกายมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนในแถบจีนตอนใต้ และตะวันออกเฉียงใต้  รวมถึงเวียดนามตอนเหนือ แล้วจึงมีการแพร่กระจายพันธุ์ลงมาเรื่องๆ สู่ประเทศลาว , พม่า , ไทย และกัมพูชา เป็นต้น ในประเทศไทยสามารถพบได้มากในทุกภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยถูกจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่มักพบขึ้นตามป่าหรือที่รกร้างที่มีความสูง 1200-1700 เมตรจากระดับน้ำทะเล


ประโยชน์และสรรพคุณหนุมานประสานกาย

  • นำยาทากันยุง กันยุงได้ถึง 7 ชั่วโมง
  • ช่วยทำให้เลือดลมเดินสะดวก
  • แก้อัมพฤกษ์
  • แก้ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
  • รักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้
  • ยาแก้ไอ
  • ช่วยบรรเทาหวัด
  • แก้ร้อนใน
  • แก้เจ็บคอและคออักเสบ
  • ใช้แก้เส้นเลือดฝอยในสมองแตกทำให้เป็นอัมพาต
  • ช่วยกระจายเลือดลมที่จับกันเป็นก้อนหรือคั่งภายใน
  • ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด
  • แก้หืด
  • แก้ภูมิแพ้
  • แก้ช้ำใน
  • ใช้สมานแผลห้ามเลือด
  • ใช้ยางใส่แผลสด ทำให้แผลแห้งเร็ว
  • ช่วยแก้อาการอักเสบบวม

           หนุมานประสานกายเป็นไม้พุ่มที่มีทรงพุ่มกว้างเหมาะแก่การใช้แต่งสวน จึงมีการปลูกเป็นไม้ประดับ ตามอาคารบ้านเรือนต่างๆ

หนวดปลาหมึก๑

243150

ลักษณะทั่วไปหนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกายจัดเป็นพรรณไม้พุ่ม มีลำต้นสูงประมาณ 1-4 เมตร มีการแตกกิ่งก้านในระดับต่ำใกล้พื้นดิน ผิวของลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง เป็นสีน้ำตาล  ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 7-8 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปยาวรี  หรือรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมีหูใบซึ่งจะติดอยู่กับก้านใบพอดี ส่วนริบขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร พื้นผิวใบเรียบเป็นมัน แผ่นใบหนา ส่วนก้านใบย่อยยาวได้ประมาณ 8-25 มิลลิเมตร  ออกดอกเป็นช่อ ตรงปลายกิ่ง ช่อหนึ่งยาวได้ประมาณ 3-5 นิ้ว ลักษณะของดอกย่อยเป็นดอกสีเหลืองแกมเขียวหรือสีขาวนวลและมีขนาดเล็ก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 3-7 มิลลิเมตร ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ อวบน้ำ ขนาดของผลเท่าเม็ดพริกไทย โดยมีความกว้างประมาณ 4-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่หรือสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด หนุมานประสานกายสามารถปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วมที่มีอินทรียวัตถุมากๆ และเป็นพรรณไม้ที่ต้องการความชื้นปานกลาง ส่วนการขยายพันธุ์สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การใช้เมล็ด โดยใช้เมล็ดแก่เพราะในถุงพลาสติกแล้วจึงนำกล้าที่ได้ไปปลูก และการกิ่งปักชำ โดยใช้กิ่งพันธุ์ ขนาด 6-8 นิ้ว มีตา 3 ตา มีใบหรือปลายยอด 1/3 ของกิ่ง หนุมานประสานกายเป็นพืชที่โตเร็ว และแตกกิ่งก้านได้เร็ว มีทรงพุ่มค่อนข้างกว้าง การปลูกจึงใช้ระยะเวลาการปลูก 4 เดือน ขึ้นไป สำหรับการเก็บเกี่ยวจะตัวทั้งกิ่งแล้วริดใบออก เลือกเฉพาะใบที่ไม่อ่อนเกินไป นำไปล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้งหมาดๆ แล้วนำไปตากแดดจนแห้งสนิท หรือนำไปอบควบคุมอุณหภูมิไม่เกิน 65°ซ ซึ่งใบหนุมานประสานกายสด 10 กก. จะตากแห้งได้ประมาณ 1 กก.

แมงดา

แมงดา

images

ประโยชน์

-นิยม ใช้ ใบอ่อน นำมาทำเป็นผักจิ้ม

-ใบแก่ เปลือก นิยมนำมาตำกับน้ำพริก

-ให้กลิ่นคล้ายกลิ่นแมงดานา เหมาะสำหรับคนที่รับประทานมังสวิรัติ

-ลำต้น ในอดีตนิยมนำมาทำเป็นไม้กระดาน ซึ่งเนื้อไม้ ปลวกหรือ มอด จะไม่กัดกิน

-นิยมนำไม้มาทำสาก ตำน้ำพริก เนื่องจากให้กลิ่นคล้ายกับกลิ่นแมงดานาตัวผู้

สรรพคุณ

-ใบ เปลือก ผล ใช้ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ บำรุงเลือด

ผลวิจัย ไม่พบการเป็นพิษ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Litsea Petiolata Hook.f. อยู่ในวงศ์ LAURACEAE บางพื้นที่เรียกว่า ต้นชะมัง และแมงดาต้น มีถิ่นกำเนิด แหลมมาลายู และคาคใต้ของไทย ลำต้นสูงเท่าที่เห็น คือราวๆ 5-10 เมตร ลำต้นตรง กิ่งก้านแตกเป็นทรงพุ่มราว 4-6 ม. ทรงพุ่มรูปกรวยกว้างหรือรูปไข่ ไม่ผลัดใบเปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา ผิวเปลือกต้น ค่อนข้างเรียบ แต่บางต้นอาจแตกเป็นสะเก็ดเล็ก และมีรอยด่างสีขาวกระจายทั่วไป เปลือกอ่อนใกล้ยอดสีเขียว

-ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเวียนสลับตามกิ่ง มีก้านใบยาว 1-3 ซม. สีเขียว ใบรูปทรงรี โคนใบมนกลม ปลายใบแหลมมีติ่งเล็กน้อย กว้าง 4-8 ซม.ยาว 6-10 ซม.ขอบใบเป็นคลื่น ผิวใบด้านบนย่นเป็นลอน ใบอ่อนสีน้ำตาล อมชมพู ใบสีเขียว ด้านล่างสีจางเล็กน้อย แต่ละใบมีเส้นแขนง 5-9 คู่

-ดอก ออกเป็นช่อกระจุกราว 6-8 ดอก ตามกิ่งแก่ สีเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ดอกตูมทรงกลม กลีบรวมเรียง 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ สีเขียวคล้ายช้อน มีเกสรเพศผู้12 อัน เส้นผ่านศูนย์กลางของดอก 0.ภ4-0.7 ซม. ก้านดอกยาวราว 1 ซม. ออกดอกเดือนประมาณกุมภาพันธ์-มีนาคมของทุกปี

-ผล รูปทรง ทรงกลมรีคล้ายรูปไข่ กว้าง 0.5-0.8 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. สีเขียวเข้ม เมื่อสุกสีน้ำเงินเข้ม ปลายแยกเป็น 6 แฉก ด้านในมีเมล็ดสีน้ำตาล

243150

 

ไคร้ย้อย 

ไคร้ย้อย

p3zg21vx8OabK0kXzKv o

ไคร้ย้อย
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Elaeocarpus grandiflorus   Sm.
วงศ์ :  ELAEOCARPACEAE
ชื่อสามัญ :  -
ชื่ออื่น :  กาบพร้าว (นราธิวาส) ไคร้ย้อย  สารภีน้ำ (เชียงใหม่) จิก ดอกปีใหม่ (กาญจนบุรี) แต้วน้ำ (บุรีรัมภ์) ปูมปา (เลย) คล้ายสองหู ผีหน่าย (สุราษฎร์ธานี) มุ่นน้ำ (เพชรบุรี)  อะโน (ปัตตานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :   ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 5-30 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้างพุ่มใบทึบ  แตกกิ่งต่ำ  กิ่งอ่อนเกลี้ยง เปลือกเรียบหรือหยาบเล็กน้อย สีน้ำตาลปนเทา ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ใบรูปรีหรือรูปใบหอก กว้าง 1.5-5.5 ซม. ยาว 7-19 ซม.ปลายใบแหลมทู่ โคนใบสอบแคบ ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนประปราย ในช่วงที่เป็นใบอ่อน  ใบหนา เส้นแขนงใบข้างละ 6-19 เส้น เส้นใบย่อยเห็นไม่ชัด ก้านใบยาว 0.5-4 ซม. ดอก สีขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ห้อยลง ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง  ยาว 6-10 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปใบหอกสีขาวอมเหลือง กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับมีขนประปรายทั้งสองด้าน  โคนกลีบดอกด้านมีกลุ่มขนเรียงตัวเป็นสองแถว  ปลายกลีบเป็นริ้วละเอียด รังไข่ป้อมมีขนสั้นคลุมแน่น ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-2.5 ซม. ผล ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว รูปทรงกระสวยหรือรูปรี  กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 3-4 ซม. ผิวผลบางเรียบ เกลี้ยง มีเมล็ดรูปกระสวย ก้านผลยาว 2-6 ซม.
          กระจายพันธุ์อยู่ตามป่าดิบ ริมฝั่งน้ำที่สูงจากระดับน้ำทะเล 50-800 เมตร  ระยะออกดอกประมาณ เดือน มกราคม-เมษายน มีผลประมาณ เดือนมีนาคม-พฤษภาคม ดอกมีกลิ่นหอม
ประโยชน์ 
 ปลูกเป็นไม้กันดินพังทลายตามชายน้ำ ผลเป็นอาหารของนกได้

16813436314 1a5370f520 b

165083