• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

คำแสด

คำแสด สรรพคุณและประโยชน์ของต้นคําแสด 19 ข้อ ! (แทงทวย)

คำแสด

คำแสด ชื่อสามัญ Monkey-faced tree, Red berry[1],[5]

คำแสด ชื่อวิทยาศาสตร์ Mallotus philippensis (Lam.) Müll.Arg. จัดอยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)

 

สมุนไพรคําแสด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กายขัดหิน ขี้เนื้อ (เชียงใหม่), ขางปอย ซาดป่า (นครพนม), ลายตัวผู้ (จันทบุรี), แทงทวย (ราชบุรี), ทองขาว (เลย), สากกะเบือละว้า (สุโขทัย, พิษณุโลก), ชาตรีขาว (ภูเก็ต), พลากวางใบใหญ่ (ตรัง), ขี้เต่า (สุราษฎร์ธานี), พลับพลาขี้เต่า (นครศรีธรรมราช), มะกายคัด (ภาคเหนือ), คำแดง ทองทวย แทงทวย มะคาย แสด (ภาคกลาง), ไม้เล็ง (ไทใหญ่) เป็นต้น

หมายเหตุ : ต้นคำแสดในบทความนี้ เป็นคนละชนิดกับต้นคำแสดที่มีผลสีแดงคล้ายกับผลเงาะ (มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bixa orellana Linn. จัดอยู่ในวงศ์ Bixaceae) เนื่องจากทั้งสองชนิดมีชื่อท้องถิ่นที่เหมือนกันว่า "คำแสด"  จึงอาจทำให้เกิดความสับสนได้ หากต้องการอ่านบทความดังกล่าว ท่านสามารถอ่านได้ที่ คำไทย

ลักษณะของคำแสด

ต้นคำแสด จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-12 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 15 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาและมักมีร่อง ที่กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุมและมียางสีแดง ต้นคำแสดมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่แถบหิมาลัย ศรีลังกา พม่า อินเดีย จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ถึงไต้หวัน ออสเตรเลีย และตลอดจนหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนในประเทศสามารถพบได้ทุกภาค โดยจะขึ้นตามชายฝั่งทะเล ตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และจามป่าเบญจพรรณ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,200 เมตร

ต้นคำแสด

คําแสด

ใบคำแสด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปรี ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร บ้างว่ายาวได้ประมาณ 4-22 เซนติเมตร หลังใบเรียบเกลี้ยง ส่วนท้องใบมีขนอยู่หนาแน่นและมีต่อมเกล็ดเป็นจำนวนมาก มีเส้นแขนงใบ 3 เส้นใบ ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาล และมีก้านใบยาวประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร ส่วนหูใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมแคบ ยาวประมาณ 0.5-1.3 เซนติเมตร

ใบคำแสด

ดอกคำแสด ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและตามปลายกิ่ง ดอกเป็นแบบแยกเพศและอยู่บนต้นเดียวกัน โดยช่อดอกเพศผู้จะมีความยาวได้ถึง 18 เซนติเมตร ออกเป็นกลุ่มประมาณ 3-4 ดอก ดอกเป็นสีเขียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร ดอกไม่มีกลีบดอก แต่มีเฉพาะกลีบเลี้ยงดอก 3-4 กลีบ และดอกมีเกสรเพศผู้ 15-20 อัน ส่วนช่อดอกเพศเมียจะมีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร โดยดอกเพศเมียจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.3 เซนติเมตร เป็นสีเหลืองหรือสีแดง มีกลีบเลี้ยงดอกมีประมาณ 3-6 กลีบ มีรังไข่ 2-3 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียจะยาวได้ประมาณ 0.1 เซนติเมตร ปลายเกสรแยกเป็น 3 แฉก และยาวประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร และตามช่อดอกทุกส่วนจะมีขนปกคลุมอยู่ตลอด

ดอกคำแสดเพศผู้

ผลคำแสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมแป้น แบ่งออกเป็นพู 3 พู ผลมีขนาดประมาณ 0.7-0.9 เซนติเมตร ผิวของผลมีขนสั้นและต่อมผงเล็ก ๆ สีแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม ผลเมื่อแห้งจะแตกออกตามพู ภายในมีเมล็ดสีดำ ลักษณะของเมล็ดคำแสดเป็นรูปทรงรี มีความยาวประมาณ 0.4 เซนติเมตร

ผลคำแสด

เมล็ดคำแสด

สรรพคุณของคำแสด

  1. เปลือกต้นช่วยบำรุงธาตุ (เปลือกต้น)
  2. เมล็ดช่วยแก้ไข้ (เมล็ด)
  3. ผลและใบนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้หวัด (ผลและใบ)
  4. ช่วยแก้พรรดึก (เปลือกต้น)
  5. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (เมล็ด)
  6. เปลือกต้นใช้รักษาโรคกระเพาะ (เปลือกต้น)
  7. เมล็ดเป็นยาขับพยาธิ (เมล็ด)ขนจากผลที่เป็นผงสีแดง ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน และพยาธิตัวตืด (ขนจากผล) สารสกัดจากผลสามารถฆ่าพยาธิตัวตืดได้ทั้งหลอดทดลองและในสัตว์ทดลอง
  8. แก่นใช้ต้มกับน้ำดื่ม ช่วยแก้ปัสสาวะแดงหรือเหลือง (แก่น)
  9. ใบและดอกมีรสเฝื่อน ใช้เป็นยาพอกบาดแผล (ใบ, ดอก) หรือจะนำเมล็ดมาทำเป็นผงก็ใช้พอกแผลได้เช่นกัน (เมล็ด)
  10. ดอกและเปลือกต้นมีรสเฝื่อน ใช้เป็นยารักษาแผลเรื้อรัง (ดอก, เปลือกต้น)
  11. ราก ใบ และขนจากผล นำมาตำรวมกับน้ำผึ้ง ใช้เป็นยาทาแก้แผลอักเสบ (ราก, ใบ, ขนจากผล)
  12. เปลือกต้นมีรสเฝื่อนใช้รักษาโรคผิวหนัง (เปลือกต้น)
  13. เมล็ดใช้แก้โรคเรื้อน (เมล็ด)
  14. ราก ใบ และขนจากผล นำมาตำรวมกับน้ำผึ้ง ใช้เป็นยาทาแก้สัตว์มีพิษกัดต่อย (ราก, ใบ, ขนจากผล)
  15. ตำรับยาพื้นบ้านใช้แก่นนำมาต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้โรคเส้น (แก่น

ขจร(สลิด)

ขจร สรรพคุณและประโยชน์ของดอกขจร 24 ข้อ ! (ผักสลิด, ดอกสลิด)

ดอกสลิด

ขจร ชื่อสามัญ Cowslip creeper

ขจร ชื่อวิทยาศาสตร์ Telosma cordata (Burm. f.) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Telosma minor (Andrews) W. G. Craib) จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE - ASCLEPIADACEAE)

ผักขจร มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สลิด ขจร (ภาคกลาง), ผักสลิด(นครราชสีมา), กะจอนขะจอนสลิดป่าผักสลิดคาเลาผักขิก เป็นต้น

ลักษณะของขจร

ต้นขจร หรือ ต้นสลิด มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและอินเดีย โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น สามารถเลื้อยพันไปได้ไกลประมาณ 2-5 เมตร เถามีขนาดเล็ก ลักษณะกลมเหนียวมากและเป็นสีเขียว เมื่อแก่เถาขจรจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ตามยอดอ่อนมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม แตกใบเป็นพุ่มแน่นและทึบ ทำให้บางครั้งพุ่มของของต้นขจรจะแผ่ปกคลุมต้นไม้อื่นได้มิดเลยทีเดียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำและวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ชอบแสงแดดจัด สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะขึ้นได้ตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง

ต้นขจร

ใบขจร หรือ ใบสลิด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ คล้ายใบโพธิ์หรือใบพลู ปลายใบเรียวแหลมยาวเป็นติ่ง (คล้ายใบต้นข้าวสาร) โคนใบมนเว้า ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-11 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ แผ่นใบบาง เกลี้ยง ไม่มีจัก จะเห็นเส้นใบชัด หน้าใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นสีเขียวอมสีแดงเล็กน้อย ส่วนก้านใบยาวประมาณ 1.2-2 เซนติเมตร

ใบสลิด

ดอกขจร หรือ ดอกสลิด ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกตามหรือออกเป็นพวง ๆ คล้ายพวงอุบะตามซอกใบหรือโคนก้านใบ โดยในช่อดอกหนึ่ง ๆ จะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 10-20 ดอก ดอกย่อยมีลักษณะแข็งเป็นสีเขียวอมสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอม (หอมแรงกว่าดอกชำมะนาดหรือกลิ่นของใบเตย โดยจะหอมมากในช่วงเย็นถึงกลางคืน) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 1.5 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ ส่วนโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ กลีบดอกย่นและบิด ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน ติดอยู่บนหลอดกลีบดอก เชื่อมติดกันเองและเชื่อมติดกับยอดเกสรเพศเมีย แล้วจะเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นชั้นกระบังรอบ ล้อมรอบก้านยอดเกสเพศเมียและเกสรเพศเมียเอาไว้ และมีชุดกลุ่มเรณูอยู่ 5 ชุด ซึ่งมีลักษณะการเกิดคล้ายกับในดอกรัก เกสรเพศเมียจะมีรังไข่ 2 อัน แต่มีก้านยอดเกสรเพศเมียและยอดเกสรเพศเมียร่วมกัน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว มี 5 กลีบ แยกจากกันเป็นอิสระ โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม บ้างว่าจะออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม

ดอกขจร

ผักสลิด

สรรพคุณของขจร

  1. ช่วยบำรุงโลหิต (ดอก, ยอดใบอ่อน)
  2. ช่วยรักษาโลหิตเป็นพิษ (ราก)
  3. ช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก, ยอดใบอ่อน)
  4. แก่นและเปลือกใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (แก่น, เปลือก)
  5. ดอกและยอดใบอ่อนมีวิตามินสูง การรับประทานเป็นประจำจะช่วยบำรุงสายตาได้เป็นอย่างดี (ดอก, ยอดใบอ่อน)
  6. ช่วยรักษาหวัดที่เกิดจากการตากลมหรือตากอากาศเย็น (ดอก)
  7. ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน (ดอก)
  8. รากมีรสเบื่อเย็น ใช้รับประทานเพื่อให้เกิดอาการอาเจียน ช่วยถอนพิษยาเยื่อเบา (ราก)
  9. รากนำมาฝนหยอดตาแก้ตาอักเสบ ตาแดง ตาแฉะ ตามัว (ราก)[1] บ้างว่านำมาใช้ผสมกับยาหยอดตาแล้วใช้หยอดตา (ราก)
  10. ช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะและโลหิต (ดอก)
  11. ดอกมีรสเย็นขมและหอม ช่วยบำรุงปอด (ดอก)
  12. ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (ดอก)
  13. ช่วยในการขับถ่าย (ดอก)
  14. ช่วยบำรุงฮอร์โมนของสตรี (ดอก)
  15. ช่วยบำรุงตับและไต (ดอก, ยอดใบอ่อน)
  16. รากใช้เป็นยาดับพิษทั้งปวง (ราก)
  17. ช่วยทำให้รู้รสชาติของอาหารและช่วยดับพิษยา (ราก)
  18. ดอกใช้เข้าเครื่องยาหอม

ประโยชน์ของขจร

  1. ยอดอ่อน ผลอ่อน และดอกใช้รับประทานเป็นผักสด หรือนำมาต้มหรือลวกให้สุกใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริก ส่วนดอกยังสามารถนำไปปรุงอาหารได้อีกหลายเมนู เช่น แกงส้มดอกขจร แกงจืดดอกขจร แกงเลียง ขจรผัดไข่ ขจรชุบแป้งทอด ยำดอกขจร ข้าวต้มดอกขจร ผัดน้ำมันหอย ผัดกับปลาหมึก เป็นต้น (ยอดอ่อนคือส่วนที่มีคุณค่าทางอาหารมากที่สุด)
  2. ในสมัยก่อนจะนำดอกขจรมานึ่งให้สุก ผสมกับมะพร้าวอ่อนหรือมะพร้าวแก่ขูดฝอย นำมาปรุงรสด้วยน้ำตาลทราย งา และเกลือเล็กน้อย ใช้ทำเป็นขนมที่เรียกว่า "ขนมดอกขจร" แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยพบว่ามีขายแล้ว
  3. ดอกสวยของขจร นอกจากจะรับประทานเป็นผักได้แล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในงานดอกไม้สด ด้วยการนำไปร้อยอุบะติดชายมาลัยหรือเครื่องแขวนต่าง ๆ ได้อีกด้วย
  4. เถาของต้นขจรมีความเหนียวมาก สามารถนำมาใช้แทนเชือกได้
  5. นอกจากจะปลูกเพื่อนำดอกมารับประทานแล้ว ก็ยังสามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย
  6. บ้างระบุว่าเนื้อไม้สามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างได้

ขจรผัดไข่ผักขจร

คนทีสอ

คนทีสอ สรรพคุณและประโยชน์ของต้นคนทีสอขาว 57 ข้อ

คนทีสอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Vitex trifolia L. ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)

สมุนไพรคนทีสอ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า คนทีสอขาว (ชลบุรี), ทีสอ เทียนขาว (เพชรบุรี), สีสอ (ประจวบคีรีขันธ์), คุนตีสอ (สตูล), มูดเพิ่ง (ตาก), ผีเสื้อ (เลย), สีเสื้อน้อย ดอกสมุทร (เชียงใหม่), ผีเสื้อน้อย (ภาคเหนือ) , โคนดินสอ (จันทบุรี ภาคกลาง), ดินสอ (ภาคกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของต้นคนทีสอ เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูงประมาณ 3-6 เมตร มีเปลือกของลำต้นเป็นสีเทา เป็นกระสีดำ เปลือกเรียบแตกเป็นร่องตื้นตามยาว ลักษณะของใบจะเป็นใบประกอบแนวนิ้ว ออกตรงข้ามกัน ใบย่อยเป็นรูปไข่มีปลายแหลม 3 ใบ กว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตร ขอบใบจะเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ท้องและหลังใบเรียบ ท้องใบมีสีขาวนวล ส่วนหลังใบเป็นสีเขียว

ลักษณะของดอกต้นคนทีสอ ดอกเล็กสีม่วงเป็นช่อยาว ออกดอกที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน มีเกสรตัวผู้ 4 อัน ส่วนลักษณะของผลมีรูปร่างกลมเท่าผลพริกไทยเป็นพวงช่อ สีดำเป็นมัน ข้างในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล 1 เมล็ด

คนทีสอมีสรรพคุณทางยาหลายอย่าง ทุกส่วนของลำต้นสามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้หมด ไม่ว่าจะเป็นใบ ดอก ผล เมล็ด ราก ลำต้น กระพี้ รวมไปถึงเปลือกไม้ด้วย และคนทีสอยังเป็นสมุนไพรสำหรับผู้หญิงอีกด้วย เพราะมีสรรพคุณช่วยทำให้เลือดลมเป็นปกติ แก้ปัญหาประจำเดือน สภาวะก่อนและหลังมีประจำเดือน แม้กระทั่งหลังคลอดบุตร สมุนไพรคนทีสอก็เป็นตัวช่วยขับเลือดเสีย ทำให้สดชื่น มีกำลัง และยังช่วยขับน้ำนมและบำรุงน้ำนมได้อีกด้วย !

 

คนทีสอ

สรรพคุณของคนทีสอ

  1. ใช้เป็นยาบำรุง ช่วยทำให้สตรีดูอ่อนเยาว์กว่าวัย
  2. ช่วยกระจายเลือดลม ทำให้หลอดเลือดไหลเวียนดีขึ้น
  3. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ, ราก)
  4. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (เมล็ด)
  5. ใบคนทีสอใช้ผสมกับขมิ้น พริกไทย เทียน รับประทานรักษาวัณโรค (ใบ)
  6. ช่วยรักษาโรคตา (ราก)
  7. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการใช้ใบขยี้กับน้ำแล้วนำมาลูบหัว หรือจะใช้ใบนำไปอังกับไฟแล้วชงกับน้ำกินแก้อาการก็ได้เช่นกัน (ใบ)
  8. ช่วยแก้ลม (ผล)
  9. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ ด้วยการนำใบมาขยี้ดมก็ช่วยแก้วิงเวียนได้เป็นอย่างดี (ใบ)
  10. ช่วยแก้ไข้ (ผล, ราก, ดอก)
  11. ใช้รักษาอาการไข้จากความเย็น (เปลือก)
  12. ช่วยรักษาอาการไข้ซึ่งมีอาการกระทำให้ร้อน (ใบ)
  13. ช่วยแก้ไข้ในหญิงมีครรภ์ (ดอก)
  14. ช่วยแก้อาการหวัด น้ำมูกไหล ด้วยการใช้เมล็ดหรือใบคนทีสอ ผสมกับกับขิงและน้ำตาลเล็กน้อย ชงกับน้ำร้อนกินแก้อาการ (ใบ, เมล็ด)
  15. ช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะจุกคอ (ใบ, ราก)
  16. ช่วยแก้หอบหืด (ใบ)
  17. ช่วยแก้อาการหืด ไอ (ใบ, ผล, ดอก)
  18. ช่วยขับเหงื่อ (ใบ, ผล, ราก)
  19. ช่วยรักษาอาการคลื่นเหียน อาเจียน (ผล, เปลือก, กระพี้)
  20. ช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง (ต้น)
  21. ช่วยแก้ท้องมาน (ผล)
  22. ช่วยขับลมในลำไส้ (ใบ, ต้น)
  23. ช่วยแก้ลำไส้พิการ (ใบ, ราก)
  24. ช่วยรักษาโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับลำไส้ (ใบ)
  25. ช่วยขับปัสสาวะ (ราก)
  26. ช่วยรักษาโรคตับ (ราก)
  27. คนทีสอมีสรรพคุณช่วยบำรุงน้ำดี (ใบ)
  28. ช่วยถ่ายน้ำเหลือง (ราก)
  29. ช่วยขับระดู (ราก)
  30. ช่วยรักษาหญิงระดูพิการและตั้งโลหิต (เปลือก, กระพี้)
  31. ใบและรากต้มเป็นยาแก้ไข้ให้หญิงหลังคลอดบุตรใหม่ ๆ รับประทานเป็นยาขับปัสสาวะและขับเหงื่อ (ราก, ใบ)
  32. ช่วยแก้พยาธิและรักษาอาการไข้ในครรภ์ (ผล)
  33. ช่วยฆ่าพยาธิ (ใบ, ผล, ดอก)
  34. ช่วยแก้ริดสีดวง (ผล)
  35. ช่วยแก้ริดสีดวงจมูก (ใบ, ผล)
  36. ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยและพิษอื่น ๆ (ราก)
  37. ใบสดนำมาตำละเอียดใช้พอกบริเวณแผลที่ถูกตะขาบกัดหรือแมลงสัตว์กัดต่อยได้ (ใบ)
  38. ช่วยแก้พิษสำแลงและพิษต่าง ๆ (ใบ)
  39. ใบคนทีสอสรรพคุณช่วยแก้พิษฝีใหญ่ (ใบ)
  40. ช่วยกำจัดเชื้อรา เชื้อราบนผิวหนัง ฮ่องกงฟุต (ใบ)
  41. ช่วยระงับอาการปวด ทำให้สงบลงได้ (เมล็ด)
  42. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว (ใบ, ราก)
  43. ช่วยแก้อาการปวดตามข้อ (ใบ, ราก, ผล)
  44. ช่วยแก้เอ็นตึง เอ็นอักเสบ ด้วยการใช้ใบคนทีสอประมาณ 30-40 ใบ นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวจนเหลือ 1 แก้ว นำมาดื่มครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 2 เวลา (ใบ)
  45. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ด้วยการใช้แช่กับน้ำอาบ (ใบ)
  46. ช่วยรักษาอาการสาบควายในตัว (ใบ)
  47. ใช้ทำเป็นยาฆ่าแมลง (ใบ)
  48. ช่วยบำรุงครรภ์มารดาและบำรุงน้ำนม (ดอก)
  49. เมล็ดคนทีสอมีฤทธิ์ในการควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนต่อมใต้สมอง ที่่ช่วยควบคุมการทำงานของฮอร์โมนเพศหญิง จึงช่วยรักษาอาการผิดปกติของสตรีได้เป็นอย่างดี (เมล็ด)
  50. ช่วยรักษาภาวะเป็นหมันในเพศหญิง ช่วยปรับรอบการตกไข่ให้เป็นปกติ (เมล็ด)
  51. ช่วยป้องกันแมลงรบกวน (ใบ)
  52. กิ่งหรือใบคนทีสอนำมาใช้เผาเพื่อไล่ยุงได้ (ใบ)
  53. ก่อนแปรงฟัน หากได้เคี้ยวใบคนทีสอสด ๆ ก็จะช่วยทำให้ฟันแข็งแรงขึ้น และยังระงับกลิ่นปากได้อีกด้วย (ใบ)
  54. คนทีสอคือสมุนไพรที่เป็นตัวยาหลักในตำรับยาต่าง ๆ เช่น ยาประคบ อบ อาบ ย่าง พอก โดยใช้เพื่อรักษาอาการปวดเมื่อยตามตัว เส้นขัด เอ็นขัด เหน็บชา อัมพฤกษ์ อัมพาต แก้ลม กระดูกหัก หกล้ม ตกต้นไม้ อาการเจ็บปวดในเอ็นและผิวหนัง
  55. ในปัจจุบันได้มีการนำใบคนทีสอไปแปรรูปเป็นยาสมุนไพรในรูปแบบแคปซูล ก็เป็นอีกทางเลือกที่สะดวกเช่นกัน (ใบ)
  56. สามารถนำมาทำเป็นน้ำมันนวดตัวและยาแก้ปวดได้
  57. กลิ่นหอมของสมุนไพรคนทีสอช่วยทำให้รู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย แก้ความตึงเครียด

 

แกแล

แกแล สรรพคุณและประโยชน์ของต้นแกแล 20 ข้อ !

แกแล ชื่อสามัญ Cockspur thorn

แกแล ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cudrania javanensis Trécul) จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)

สมุนไพรแกแล มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แกก้อง (แพร่), ช้างงาต้อก (ลำปาก), เข (นครศรีธรรมราช), หนามเข (ประจวบคีรีขันธ์), น้ำเคี่ยวโซ่ (ปัตตานี), สักขี เหลือง (ภาคกลาง), แกล แหร (ภาคใต้), กะเลอะเซอะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เป็นต้น

ลักษณะของต้นแกแล

  • ต้นแกแล มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ญี่ปุ่น จีน ภูมิภาคอินโดจีน และในภูมิภาคมาเลเซีย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก บ้างว่าเป็นไม้พุ่มรอเลื้อยหรือเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง มียางสีขาวถึงเหลืองอ่อน มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร มีหนามแข็งแหลม ยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร (ปลายแหลมตรงหรือโค้งเล็กน้อย) อยู่ตามต้น กิ่ง และตามง่ามใบ ส่วนเนื้อไม้มีลักษณะแข็ง มักขึ้นตามป่าละเมา ตามป่าเบญจพรรณ และป่าดิบ ในพื้นที่ระดับต่ำไปจนถึงพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง การปักชำ และการเพาะเมล็ด สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีแสงแดดจัดและชุ่มน้ำต้นแกแล

ใบแกแล ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2-11 เซนติเมตร มีหนามแหลมออกตรงซอกใบ 1 อัน ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนเรียบเป็นสีเขียวเป็นมัน มีเส้นแขนงใบอยู่ข้างละประมาณ 6-9 เส้น ส่วนก้านใบยาวประมาณ 0.3-1-5 เซนติเมตร และยังมีหูใบขนาดเล็กมากร่วงได้ง่าย

รูปใบแกแลใบแกแล

ดอกแกแล ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่กันคนละต้น ดอกเพศผู้จะออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาวนวล กลีบดอกมี 4 กลีบ ลักษณะของกลีบเป็นรูปไข่กลีบ และมีใบประดับขนาดเล็กมากเป็นรูปช้อนที่โคนดอก ด้านนอกกลีบดอกมีขนสั้น ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 ก้าน ขนาดเล็กมาก ช่อดอกเพศผู้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่น โดยออกตามง่ามใบเป็นคู่ ๆ หรืออยู่เดี่ยว ๆ มีกลีบดอกรวม 4 กลีบ โคนกลีบติดกัน ปลายแยก ช่อดอกเพศเมียมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ส่วนรังไข่จะอยู่ในฐานรองดอก ก้านเกสรเพศเมียจะเรียวและยาวกว่ากลีบรวมเล็กน้อย ส่วนก้านช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 0.3-1 เซนติเมตร

ดอกแกแล

ดอกแกแลเพศเมีย

ผลแกแล ผลเป็นผลรวม ผลมีลักษณะกลม ผิวผลขรุขระ ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร มียางสีขาว ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็ก

ลูกแกแล

ผลแกแล

สรรพคุณของแกแล

  1. แก่นมีรสปร่า ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (แก่น)
  2. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (แก่น)
  3. ต้นและแก่นใช้เป็นยาบำรุงโลหิตในร่างกาย (แก่น, ต้น)
  4. ดอกใช้เป็นยาแก้โลหิตและวาโยกำเริบ (ดอก)
  5. แก่นใช้เป็นยาแก้ไข้รากสาด รักษาไข้รากสาดหลบเข้าลำไส้ (แก่น)
  1. ช่วยแก้ไข้พิษ (แก่น)
  2. ใช้เป็นยาภายนอกเพื่อลดไข้ (แก่น)
  3. ช่วยขับเสมหะ (แก่น, ดอก)
  4. ช่วยกล่อมเสมหะโลหิต (แก่น)
  5. ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (แก่น)
  6. ช่วยแก้อาการท้องร่วง (แก่น)
  7. ใช้แก้มุตกิดระดูขาวของสตรี (แก่น)
  8. ใช้เป็นยาสำหรับสตรีที่คลอดบุตร (แก่น)
  9. ช่วยบำรุงน้ำเหลืองให้เป็นปกติ (แก่น)
  10. ช่วยแก้กาฬสิงคลี (แก่น)
  11. แก้พุพอง (แก่น)
  12. ใช้แก้คุดทะราด (แก่น)โรคคุดทะราดรู้สังหารเสียซึ่งเสมหะ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าคือส่วนของแก่น)
  13. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (แก่น)
  14. สารสกัดด้วยเฮกเซนและคลอโรฟอร์มจากรากของแกแลมีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ (ข้อมูลจาก: สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์)

เนื้อหาอื่นๆ...