• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

ตะขาบบิน

ตะขาบบิน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ชื่อสมุนไพร

ตะขาบบิน
ชื่ออื่นๆ

ตะขาบหิน ตะขาบปีนกล้วย (กลาง) เพว เฟอ (กรุงเทพมหานคร) ว่านตะขาบ (เชียงใหม่)ว่านตะเข็บ (เหนือ) ผักเปลว ตะขาบทะยานฟ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์

Muehlenbeckia platyclada (F.v.Muell.) Meissn.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

             ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง 1-2 เมตร ลำต้นแบน เป็นข้อๆ สีเขียว ตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก ต้นแก่โคนต้นเป็นสีน้ำตาล ต้นอ่อนสีเขียว แบนเรียบ กว้างราวครึ่งนิ้ว เป็นปล้องๆ พอลำต้นแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และกลมขึ้น  ใบเป็นใบเดี่ยว มีขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายลำต้น มีใบน้อย หรือไม่มีเลย ใบเรียงสลับ ร่วงง่าย รูปใบหอกแกมเส้นตรง กว้าง 0.5-1.5 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ หลังใบ และท้องใบเรียบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบอ่อนนิ่ม ไม่มีก้านใบ ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ ออกเป็นกระจุกเล็กๆ ที่บริเวณข้อ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละต้นกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็กมาก กลีบรวมสีขาวแกมเขียว มี 5 กลีบ รูปไข่ ก้านดอกสั้น โคนกลีบดอกติดกัน ก้านชูดอกสั้นมาก เกสรตัวผู้ 7-8 อัน ผลสด มีเนื้อ ฉ่ำน้ำ  รูปค่อนข้างกลม ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกสีแดง มีรสหวาน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เมล็ดเดี่ยว สีเหลือง เป็นสัน 3 สัน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

สรรพคุณ    
             ตำรายาไทย  ใช้  ทั้งต้น มีรสหวานสุขุม มีสรรพคุณแก้ร้อนใน ดับพิษต่างๆ พิษเลือด พิษร้อน พิษฝี แก้ฝีในปอด แก้ไอเนื่องจากปอด แก้เจ็บคอ เจ็บอก ใช้ภายนอกระงับปวด แก้โรคผิวหนังเจ็บ ผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย งูสวัด ฝีตะมอย  ต้นและใบสด ตำผสมเหล้า พอกหรือคั้นน้ำทา ถอนพิษแมงป่องและตะขาบ แก้ฟกบวม เคล็ดขัดยอก ใบตำผสมเหล้าขาว คั้นน้ำหยอดหูแก้หูน้ำหนวก

สรรพคุณของตะขาบหิน

  1. ทั้งต้นมีรสหวานสุขุม มีสรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนใน ดับพิษต่าง ๆ พิษเลือด พิษร้อน พิษฝี พิษฝีในปอด (ทั้งต้น)
  2. ใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าข้าว แล้วคั้นเอาน้ำใช้หยอดหู เพื่อรักษาหูเป็นน้ำหนวก (ใบ)
  3. ช่วยแก้อาการเนื่องจากปอด แก้อาการเจ็บคอ เจ็บอก (ทั้งต้น)
  4. ทั้งต้นใช้ภายนอกเป็นยาแก้โรคผิวหนังเจ็บ ผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย งูสวัด ฝีมะตอย (ทั้งต้น)
  5. ใบนำมาทุบใช้ทาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ใบ)
  6. ทั้งต้นใช้ภายนอกเป็นยาระงับอาการปวด (ทั้งต้น)
  7. ต้นและใบสดนำมาตำผสมกับเหล้า นำมาพอกหรือเอาแต่น้ำมาใช้ทารักษาอาการฟกช้ำบวม เคล็ดขัดยอกได้ดี (ต้นและใบ)
  8. ต้นและใบสด นำมาตำผสมกับเหล้าพอกหรือคั้นเอาน้ำใช้เป็นยาทาถอนพิษตะขาบและแมงป่อง (ต้นและใบ)

 

 

ชะเอมเทศ

ชะเอมเทศ สรรพคุณและประโยชน์ของชะเอมเทศ

ชะเอมเทศ

 

ชะเอมเทศ ชื่อสามัญ Licorice, Chinese licorice, Russian licorice, Spanish licorice

ชะเอมเทศ ชื่อวิทยาศาสตร์ Glycyrrhiza glabra L. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)

สมุนไพรชะเอมเทศ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กำเช่า กำเช้า (จีน-แต้จิ๋ว), กันเฉ่า (จีนกลาง), ชะเอมจีน เป็นต้น และชะเอมเทศนี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน

ลักษณะของชะเอมเทศ

  • ต้นชะเอมเทศ จัดเป็นไม้พุ่มที่มีอายุนาน มีลำต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร

ต้นชะเอมเทศ

รากชะเอมเทศ

ใบชะเอมเทศ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 9-17 ใบ มีสีเขียวอมเหลือง ส่วนก้านใบย่อยจะสั้นมาก

ใบชะเอมเทศ

ดอกชะเอมเทศ ออกดอกเป็นช่อ กลีบดอกเป็นสีม่วงอ่อน ๆ ส่วนก้านดอกสั้นมาก

รูปชะเอมเทศดอกชะเอมเทศ

ผลชะเอมเทศ หรือ ฝักชะเอมเทศ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ผิวภายนอกมีลักษณะเรียบ

เมล็ดชะเอมเทศ

ชะเอมเทศสมุนไพรที่ได้รับการขนานนามในประเทศจีนว่าเป็นยอดสมุนไพรที่ช่วยขจัดพิษ ซึ่งการรับประทานเป็นประจำในปริมาณน้อย ๆ จะช่วยกำจัดพิษที่สะสมในร่างกายให้ลดลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิษที่สะสมในเลือดและตับ และเมื่อเทียบกับสมุนไพรชนิดอื่นแล้วชะเอมเทศนั้นจะมีรสชาติที่อ่อนนุ่มและไม่มีผลข้างเคียง จึงเป็นที่นิยมนำมาช่วยขจัดสารพิษมากกว่าสมุนไพรชนิดอื่น และชะเอมเทศยังมีชื่อเสียงในด้านเป็นยาขับเสมหะ นำมาทำเป็นน้ำชาแก้อาการไอและอาการเจ็บระคายคอ และนิยมนำมาใช้เพื่อช่วยลดอาการอักเสบต่าง ๆ

สรรพคุณของชะเอมเทศ

  1. รากช่วยบำรุงร่างกาย (ราก)
  2. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายและช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจากรากชะเอมเทศมีสารสำคัญอย่าง กลีเซอไรซิน (Glycyrrhizin) และสารเคมีอื่น ๆ อีกหลายร้อยชนิด เช่น ไฟโตเอสโตรเจนและฟลาโวนอยด์ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ (ราก)
  3. เปลือกต้นและผลมีรสหวานใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (เปลือกต้น, ผล)
  4. ช่วยแก้อาการอ่อนเพลียจากการตรากตรำทำงานหนัก (ราก) บรรเทาอาการอ่อนเพลียเรื้อรังและอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าเป็นราก)
  5. ช่วยสงบประสาท มีฤทธิ์กล่อมประสาท กดระบบประสาทส่วนกลาง (ราก)
  6. ช่วยเจริญซึ่งหทัยวาตให้สดชื่น (ราก)
  7. ช่วยกระจายลมเบื้องบนและลมเบื้องล่าง (ต้น)
  8. ช่วยแก้อาการไอเป็นไข้  ลดไข้ ต้านมาลาเรีย (ราก) ลดไข้ (ราก)
  9. สำหรับผู้ที่มีอาการไอไม่หยุด เนื่องจากเป็นภูมิแพ้และมีอาการกระหายน้ำอย่างรุนแรง ให้ใช้ชะเอมเทศแห้ง 4 กรัม (ไม่ระบุว่าเป็นส่วนไหน แต่เข้าใจว่าเป็นราก), โสมคนแห้ง 3 กรัม, ขิงแห้ง 5 กรัม, และพุทราแดงจีนแห้ง 5 กรัม (หาซื้อได้ตามร้านขายยาจีน) นำมาห่อให้ผ้าขาวบางแล้วมัดไว้ให้แน่นต้มน้ำจนเดือดหรือแช่ในน้ำร้อนจนเนื้อยาออก แล้วนำมาดื่มเมื่อมีอาการไอหรือใช้ดื่มต่างน้ำแบบจิบบ่อย ๆ จะช่วยลดอาการดังกล่าวได้
  10. ช่วยระบายความร้อนและช่วยขับพิษ (ราก)
  11. ทำให้มีอาการคลื่นเหียนอาเจียน (เปลือกต้น)
  12. ช่วยรักษาอาการเบื่อเมา (ราก)
  13. ช่วยรักษากำเดาให้เป็นปกติ (ราก)
  14. ชะเอมเทศ ช่วยบรรเทาอาการของโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าเป็นราก)[8]
  15. ช่วยทำให้ชุ่มคอและแก้อาการไอ (ราก)
  16. ช่วยทำให้ชุ่มชื้น แก้อาการคอแห้ง (ผล, ราก)
  17. รากสดใช้รักษาอาการเจ็บคอ (ราก) หรือใช้เข้าในตำรายาร่วมกับสมุนไพรอื่น ช่วยแก้อาการคอบวม อักเสบ (ราก)
  18. ช่วยทำให้เสมหะในคอแห้ง (ใบ)
  19. ช่วยขับเสมหะ (ราก)
  20. ช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ (ราก)
  21. รากใช้ปรุงเป็นยาแก้น้ำลายเหนียว (ราก)
  22. ช่วยบำรุงหัวใจ (ราก)
  23. ช่วยเสริมชี่ ทำให้การเต้นของชีพจรมีแรงและกลับคืนสภาพปกติ รักษาชี่ของหัวใจพร่อง (กำเช่าผัดน้ำผึ้ง)
  24. ช่วยแก้อาการใจสั่น (ราก)
  25. ช่วยแก้เส้นเอ็นและชีพจรตึงแข็ง ทำให้ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอและชีพจรเต้นหยุดอย่างมีจังหวะ (กำเชาผัดน้ำผึ้ง)
  26. รากชะเอมเทศมีรสชุ่ม ใช้เป็นยาบำรุงปอด (ราก)
  27. ช่วยแก้อาการปวดท้อง (ราก, กำเช่าผัดน้ำผึ้ง)
  28. ช่วยขับลม (ราก)
  29. ช่วยป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร (ราก)
  30. ช่วยในการย่อยอาหาร แก้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดีหรืออาหารเป็นพิษ (ราก)
  31. ช่วยบำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร (กำเช่าผัดน้ำผึ้ง)
  32. ช่วยขับเลือดที่เน่าเสียในท้อง (ราก)
  33. ในประเทศญี่ปุ่นมีการใช้สารสกัดดจากรากชะเอมเทศเพื่อใช้รักษาโรคตับอักเสบมานานกว่า 20 ปีแล้ว และยังมีการศึกษาทางคลินิกพบว่ารากชะเอมเทศนั้นสามารถช่วยลดระดับเอนไซม์ตับ (Amino-Transferase) ซึ่งทำให้เซลล์ตับดีขึ้น
  34. ช่วยทำให้ร่างกายฟื้นตัวจากไวรัสตับอักเสบได้เร็วขึ้น (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าเป็นราก)
  35. ใบชะเอมเทศใช้เป็นยารักษาดีพิการ (ใบ)
  36. ช่วยรักษาพิษของฝีดาษ (ดอก)
  37. ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง (ราก)
  38. ดอกชะเอมเทศใช้แก้อาการคัน (ดอก, ราก)
  39. ช่วยรักษาผื่นเอ็กซีมา โดยครีมชะเอมเทศนั้นสามารถนำมาใช้ทาเพื่อรักษาโรคผิวหนังอักเสบจากผื่นเอ็กซีมาได้ (มะบุว่าทำจากส่วนไหน แต่เข้าใจว่าทำจากราก)
  40. รากชะเอมเทศมีฤทธิ์ช่วยแก้อาการปวด ช่วยลดอาการอักเสบต่าง ๆ (ราก)
  41. รากมีฤทธิ์ช่วยต้านไมโครแบคทีเรีย อะมีบา เชื้อรา เชื้อไวรัส ไวรัสของพืช ยีสต์ พยาธิไส้เดือน ขับพยาธิตัวตืด ช่วยยับยั้งการสร้างอะฟลาทอกซิน และช่วยลดอาการฟันผุ (ราก)
  42. ใช้รักษาพิษจากยาหรือพิษจากพืชชนิดต่าง ๆ (ราก)

ข้อมูลทางคลินิกของชะเอมเทศ

  1. ช่วยรักษาเยื่อตาอักเสบ และเยื่อหุ้มลูกตาชั้นนอกอักเสบ (Scleritis)
  2. ช่วยรักษาเส้นเลือดดำขอด
  3. ช่วยรักษาโรคไข้มาลาเรีย
  4. ช่วยรักษาโรควัณโรคปอด
  5. ช่วยรักษาอาการหอบหืดเนื่องจากหลอดลมอักเสบ
  6. ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารหรือในลำไส้เล็ก
  7. ช่วยรักษาอาการลำไส้บีบตัวผิดปกติ ซ้อนกันเป็นก้อน
  8. ช่วยรักษาโรคพยาธิใบไม้ในเลือดอย่างเฉียบพลัน
  9. ช่วยรักษาปากมดลูกอักเสบเน่าเปื่อย
  10. ช่วยรักษาอาการปัสสาวะออกมามากผิดปกติหรือเป็นเบาจืด
  11. ช่วยรักษาโรคตับอักเสบชนิดที่ติดต่อได้
  12. ช่วยรักษาโรคผิวหนังอักเสบเป็นผดผื่นคัน
  13. ช่วยรักษาผิวหนังบริเวณแขนและขาแตกเป็นขุย
  14. ช่วยรักษาแผลที่เกิดจากการถูกความเย็นจัด

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของชะเอมเทศ

  1. เมื่อได้รับประทานชะเอมเทศแล้วสารสกัดจะไปเคลือบเยื่อเมือกตามบริเวณที่อักเสบตามลำคอ จึงช่วยลดการระคายเคืองและช่วยบรรเทาอาการไอได้สมุนไพรชะเอมเทศ
  2. ช่วยกำจัดเชื้อไวรัสที่ก่อกวนทางเดินหายใจ จึงช่วยบรรเทาอาการไอและเจ็บคอ ขับเสมหะและทำให้น้ำมูกลดลง
  3. กลีเซอไรซินไม่มีผลต่อการเผาผลาญไขมันในคนปกติ แต่สำหรับคนไข้ที่มีความดันโลหิตสูง เมื่อได้รับกลีเซอไรซินไปแล้วจะทำให้ระดับของคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง และยังช่วยลดความดันโลหิตได้ด้วย
  4. กรดกลีเซอเรตินิคมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในไขกระดูกชนิด Oberling-Guerin ที่ได้เพาะเลี้ยงในไขกระดูกของหนูใหญ่สีขาว
  5. กลีเซอไรซินและเกลือแคลเซียมกลีเซอไรวิเนต เมื่อนำมาฉีดเข้าหลอดเลือดดำจะไปเพิ่มฤทธิ์การขับปัสสาวะของธีโอฟิลลีน (Theophylline)
  6. สารกลีเซอริซินมีฤทธิ์กระตุ้นต่อมอะดรีนาลีนให้ผลิตฮอร์โมนบางชนิด จึงช่วยรักษาอาการอ่อนเพลียแบบเรื้อรังได้ อาการปวดกล้ามเนื้อ และความผิดปกติอื่น ๆ ที่เกิดจากฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) จากต่อมหมวกไต และยังช่วยรักษาอาการผิดปกติได้ทุกประเภท
  7. มีฤทธิ์ในการช่วยรักษาแผลเรื้อรังในระบบทางเดินอาหาร มีฤทธิ์ต่อการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร และมีฤทธิ์ในการคลายกล้ามเนื้อเรียบ
  8. มีฤทธิ์ต่ออาการดีซ่านที่เกิดจากการทดลอง โดยกลีเซอไรซินและกรดกลีเซอเรตินิค จะทำให้บิลิรูบิน (Bilirubin) ในพลาสมาของหนูใหญ่สีขาวและกระต่ายที่เกิดจากการผูกท่อน้ำดีให้มีปริมาณลดลง และการขับบิลิรูบินออกมาทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น
  9. ชะเอมเทศมีฤทธิ์อะดรีโนคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Adrenocorticosteroids) มีฤทธิ์คล้ายกับคอร์ติโตสเตียรอยด์ มีสารสกัดเข้มข้น โพแทสเซียมกลีเซอไรซิเนตหรือแอทโมเนียมกลีเซอไรซิเนต และกรดกลีเซอเรตินิค (Glycyrhetinic acid) โดยสารเหล่านี้ล้วนแต่มีฤทธิ์เหมือนกันกับดีออกซีคอร์ติโซน (Deoxycortisone) ซึ่งจะช่วยทำให้การขับถ่ายปริมาณของปัสสาวะและเกลือโซเดียมลดลง และมีฤทธิ์คล้ายกับกลูโคคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Glucocorticosteroids) กรดกลีเซอเรตินิคจะไปช่วยยับยั้งการทำลายกรดอะดรีโนคอร์ติโคสเตียรอยด์ในร่างกาย จึงทำให้ระดับของคอร์ติโคสเตียรอยด์ในเลือดสูงขึ้น
  10. ชะเอมเทศอาจช่วยรักษาภาวะอาการประจำเดือนผิดปกติและภาวะหมดประจำเดือน โดยสารกลีเซอไรซินนั้นเป็นเอสโตรเจนอย่างอ่อน จึงอาจช่วยในการจับตัวรับเอสโตรเจนในร่างกายได้ เมื่อร่างกายมีเอสโตรเจนมากเกินไป กลีเซอไรซินจะช่วยลดฤทธิ์ของเอสโตรเจนลง แต่ถ้าหากร่างกายมีระดับเอสโตรเจนต่ำ (วัยหมดประจำเดือน) กลีเซอไรซินจะทำหน้าที่แทนเอสโตรเจนอย่างอ่อน
  11. ช่วยรักษาอาการอักเสบและอาการแพ้ โดยกรดกลีเซอเรตินิคนั้นมีฤทธิ์ช่วยรักษาอาการบวมอักเสบได้ในหนูใหญ่
  12. สารที่สกัดที่ได้จากชะเอม FM100 มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการปวดและอาการชัก
  13. กลีเซอไรซินและน้ำต้มสกัดจากชะเอมมีฤทธิ์ในการรักษาพิษของสตริกนีน โดยสามารถลดความเป็นพิษและอัตราการต้านจากสตริกนีนได้ ฤทธิ์นี้อาจเนื่องมาจากกรดกลูคูโรนิกซึ่งมีอยู่ในชะเอมเทศ
  14. ฤทธิ์อื่น ๆ โซเดียมกลีเซอไรซิเนตทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และกลีเซอไรซินยังมีฤทธิ์ช่วยลดไข้ในหนูเล็กขาวและในกระต่ายทดลองที่ทำให้เกิดขึ้นได้
กำเช่า
ลักษณะของชะเอมเทศ

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรชะเอมเทศ

  • การรับประทานผลิตภัณฑ์หรือมีส่วนผสมจากชะเอมเทศติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลทำให้ความดันโลหิตสูง (190 - 200/120 มม.ปรอท) อีกทั้งยังมีอาการปวดหัว อ่อนแรงตามข้อต่อ และส่งผลทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำลง ดังนั้นผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงหรือผู้ที่มีภาวะของโพแทสเซียมต่ำไม่ควรใช้ชะเอมเทศในขนาดที่เกินกว่า 50 กรัมต่อวัน นานเกินกว่า 6 สัปดาห์ เพราะอาจจะส่งผลทำให้เกิดการสะสมน้ำในร่างกาย เกิดอาการบวมที่มือและเท้า และไม่ควรใช้ชะเอมเทศร่วมกับยาขับปัสสาวะ (กลุ่ม Thiazide) หรือยากลุ่ม Cardiac glycosides เนื่องจากชะเอมเทศจะส่งผลทำให้สารโพแทสเซียมถูกขับออกมามากขึ้น และควรหลีกเลี่ยงการใช้ชะเอมเทศร่วมกับยาขับปัสสาวะ Spironolactone หรือ Amiloride เพราะจะทำให้ประสิทธิผลของการรักษาโรคความดันโลหิตลดน้อยลง
  • นอกจากจะห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ที่เลือดมีระดับโพแทสเซียมต่ำแล้ว ยังรวมไปถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตบกพร่องเรื้อรัง รวมไปถึงสตรีมีครรภ์อีกด้วยที่ไม่ควรใช้สมุนไพรชะเอมเทศ
  • ชะเอมเทศมีพิษน้อย แต่การรับประทานติดต่ออย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นและมีอาการบวมเกิดขึ้นตามมาได้

ประโยชน์ของชะเอมเทศ

  • รากชะเอมเทศมีสารสำคัญคือสาร Glycyrrhizin (Glycyrrhizic acid หรือ Glycyrrhizinic acid) และสาร 24-hydroxyglyrrhizin โดยสารเหล่านี้เป็นสารที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 50-100 เท่า จึงถูกนำมาใช้เพื่อแต่งรสชาติอาหาร ใช้แต่งรสหวานในขนมและลูกอม ใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพร ใช้แต่งกลิ่นรสยาให้หวานและช่วยกลบรสยา (เนื่องจากในรากจะมีแป้งและความหวานอยู่มาก ควรเก็บไว้อย่าให้แมลงหรือมอดมากิน เพราะถ้าผุจะทำให้เสื่อมคุณภาพลงได้)[3],[5]
  • ชะเอมเทศยังสามารถนำมาใช้เป็นไวต์เทนนิงจากธรรมชาติได้อีกด้วย โดยสารสกัดที่ได้จากรากนั้นมีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยลดความเข้มของเม็ดสี ลดฝ้ากระบนใบหน้า ช่วยทำให้ผิวหน้าสว่างกระจ่างใสขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ และช่วยลดและต้านการอักเสบของผิว จึงสามารถนำมาใช้ทดแทนสารเคมีที่ช่วยทำให้ผิวหน้ากระจ่างใสได้ แถมยังไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อผิวหน้าและไม่ก่อให้เกิดเป็นสิวอุดตันอีกด้วย
  • เนื่องจากชะเอมเทศมีสรรพคุณช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับลำคอและกล่องเสียง จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มนักร้อง นักพูด หรือผู้ที่ต้องใช้เสียงเป็นประจำ เนื่องจากชะเอมเทศนั้นจะช่วยกระตุ้นการสร้างสารหล่อลื่นในบริเวณลำคอเหนือกล่องเสียงได้เป็นอย่างดี
  • ชะเอมเทศเป็นสมุนไพรที่นักกีฬาหรือผู้ใช้แรงงานนิยม โดยมักถูกนำไปเป็นส่วนผสมในตำรับยาสมุนไพรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตำรับยาบำรุงกำลังไปจนถึงตำรับยาทั่วไป เนื่องจากชะเอมเทศเป็นสมุนไพรที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง รวมไปถึงการช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบย่อยอาหาร ช่วยในระบบการเผาผลาญภายในร่างกาย ช่วยในเรื่องการดูดซึมสารอาหาร และยังช่วยในการสร้างเม็ดเลือดอีกด้วย

ชำมะเลียงขาว

ชำมะเลียงขาว สรรพคุณและประโยชน์ของต้นชำมะเลียงบ้าน

ชำมะเลียง

ชำมะเลียง ชื่อสามัญ Luna nut หรือ Chammaliang

ชำมะเลียง ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepisanthes fruticosa (Roxb.) Leenh. จัดอยู่ในวงศ์เงาะ (SAPINDACEAE)

 

สมุนไพรชำมะเลียง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า โคมเรียง (ตราด), พูเวียง(นครราชสีมา), มะเถ้า ผักเต้า (ภาคเหนือ), หวดข้าใหญ่ ภูเวียง (ภาคอีสาน), ชำมะเลียง ชำมะเลียงบ้าน พุมเรียง พุมเรียงสวน (ภาคกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของชำมะเลียง

  • ต้นชำมะเลียง มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 4-7 เมตรและสูงได้ถึง 8 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแตกเป็นร่อง ๆ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อน มีขนสีน้ำตาล ชำมะเลียงเป็นพันธุ์ไม้ผลพื้นเมืองที่ขยายพันธุ์ได้ง่าย ทนทานต่อโรคและแมลงได้ดี โดยขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ในดินเค็ม มีการแพร่กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ ตามป่าโปร่ง ตามแนวชายป่า หรือริมลำธาร ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 1,000 เมตร และพบได้มากในแถบพื้นที่ชายทะเล พบได้ในทุกภาคของประเทศ แต่จะพบได้มากในภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้

ต้นชำมะเลียง

ใบชำมะเลียง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 5-7 คู่ ออกเยื้องกันเล็กน้อย ลักษณะของแผ่นใบย่อยเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือสอบเข้า ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7-21 เซนติเมตร แผ่นใบหนา หลังใบเรียบเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร และบริเวณก้านใบจะมีหูใบลักษณะเป็นแผ่นกลม ๆ เด่นชัด

ใบชำมะเลียง

ดอกชำมะเลียง ออกดอกเป็นช่อแบบ Raceme ออกตามกิ่งและลำต้น ช่อดอกห้อยลง ช่อดอกยาวได้ถึง 75 เซนติเมตร ดอกย่อยของแต่ละช่อจะมีทั้งดอกที่สมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ดอกเป็นสีขาวครีม ดอกเมื่อบานจะมีขนาดกว้างประมาณ 5-7 มิลลิเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบแยกกัน ที่ฐานจะเรียวเล็ก กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปรีคล้ายกลีบเลี้ยงแต่จะบางกว่าและอยู่สับหว่างกลีบเลี้ยง ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 8 ก้าน ติดอยู่ด้านหนึ่งของฐานรองดอกที่นูนขึ้น มีขนาดยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร มีก้านชูอับเรณูสั้น ๆ ส่วนดอกเพศเมียมีเกสรเพศเมีย 1 ก้าน มีรังไข่ติดอยู่เหนือฐานรองดอก และมีเกสรเพศผู้ที่ไม่เจริญ 8 ก้านติดอยู่รอบ ๆ รังไข่ รังไข่มี 3 พู 3 ห้อง ในแต่ละห้องจะมีออวุล 1 อัน สำหรับกลีบเลี้ยงดอกนั้นจะเป็นสีม่วง มี 5 กลีบ ลักษณะกลีบเลี้ยงเป็นรูปรี มีขนาดกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคมดอกชำมะเลียง

ผลชำมะเลียง หรือ ลูกชำมะเลียง ผลออกเป็นช่อ ๆ ในหนึ่งช่อจะมีผลเป็นพวง พวงละประมาณ 20-30 ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม รูปไข่ หรือรูปไข่ถึงรูปรีป้อม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของผลประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผิวผลเรียบเป็นมัน ผลสดเป็นสีเขียวอมม่วงแดง เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ เนื้อผลฉ่ำน้ำ มีรสหวาน ใช้รับประทาน ภายในผลมีประมาณ 1-2 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ปนขอบขนาน ผิวเรียบเป็นสีดำ มีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร โดยจะติดผลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม และผลจะแก่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์

ผลชำมะเรียงลูกชำมะเลียง

สรรพคุณของชำมะเลียงขาว

  1. รากมีรสเบื่อจืดและขมเล็กน้อย ใช้เป็นยาแก้ไข้ ใช้กินแก้ไข้เหนือ ไข้กาฬ ไข้พิษ ไข้สันนิบาต ไข้สั่น ไข้กำเดา (ราก)
  2. แก้เลือดกำเดาไหล (ราก)
  3. ช่วยแก้อาการร้อนใน (ราก)
  4. ช่วยแก้อาการกระสับกระส่าย แก้ระส่ำระสาย (ราก)
  5. ช่วยทำให้ระบบทางเดินอาหารเป็นปกติ (ราก)
  6. ช่วยแก้อาการท้องผูก แก้ไม่ผูกไม่ถ่าย (ราก)
  7. ผลสุกหรือผลแก่ช่วยแก้ท้องเสีย คนโบราณจะใช้ผลแก่สีดำที่มีรสฝาดหวานให้เด็กรับประทานเป็นยาแก้โรคท้องเสีย (ผล)

ประโยชน์ของชำมะเลียงขาว

  1. ใบอ่อน ยอดอ่อนสามารถนำมาใช้ทำแกงใส่ผักรวม (ชะอม สลิด แส้ว หนัง ฮาก) ทำแกงเลียง ใส่ปลาย่าง หรือใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก หรือนำมาลวกต้มจิ้มกินกับน้ำพริกมะม่วง น้ำพริกปลาร้าหรือยำ
  2. ผลสุกมีรสหวานฝาด ใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ (แต่ระวังหนอนด้วยนะครับ) แต่ก่อนจะรับประทานผลควรนำมาคลึงเบา ๆ ให้ทั่วผล จะช่วยลดรสฝาดลงได้บ้าง และข้อมูลจากวิกิพีเดียไทยระบุไว้ว่า ผลถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้ท้องผูกได้
  3. ผลสามารถนำมาใช้ทำเป็น “น้ำชำมะเลียง” ได้ ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้ ชำมะเลียงสุกงอม 1 ถ้วย, น้ำเชื่อม 1/3 ถ้วย, เกลือ 1 ช้อนชา และน้ำต้มสุกอีก 1 ถ้วยครึ่ง โดยวิธีการทำอย่างแรกให้เลือกผลชำมะเลียงที่ผลโต ๆ และสุกงอม นำมาล้างให้สะอาด ใส่ลงในภาชนะ เติมน้ำต้มสุกลงไปเล็กน้อย แล้วยีให้เมล็ดออกจากเนื้อ เติมน้ำที่เหลือลงไป กรองเอาเมล็ดและเปลือกออก หลังจากนั้นให้เติมน้ำเชื่อมและเกลือลงไปเป็นอันเสร็จ ก็จะได้น้ำชำมะเลียงสีม่วงและชิมรสชาติได้ตามชอบ
  4. สีม่วงที่ได้จากผลสามารถนำมาใช้เป็นสีผสมอาหารได้
  5. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ เพราะใบมีสีเขียวเข้มตลอดปี เมื่อผลิใบใหม่จะเป็นสีเขียวอ่อนแกมเหลืองสดใส ส่วนผลก็มีสีสันสวยงาม โดยนิยมปลูกแซมไว้ตามสวนผลไม้ทั่วไป หรือใช้ปลูกเพื่อการจัดสวนตามบ้าน ตามสถานที่ราชการ หรือใช้ปลูกเป็นพืชอาหารสัตว์ป่าในป่าอนุรักษ์ก็ได้

ชะเอมไทย

ชะเอม สรรพคุณและประโยชน์ของต้นชะเอมไทย

ชะเอมไทย

ชะเอมไทย

ชะเอมไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Albizia myriophylla Benth. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)

สมุนไพรชะเอมไทย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตาลอ้อย (ตราด), อ้อยสามสวน(อุบลราชธานี), ย่านงาย เซเบี๊ยดกาชา (ตรัง), อ้อยช้าง (สงขลา, นราธิวาส), ชะเอมป่า (ภาคกลาง), ส้มป่อยหวาน (ภาคเหนือ), เพาะซูโฟ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), กอกกั๋น เป็นต้น

ลักษณะของชะเอมไทย

  • ต้นชะเอมไทย จัดเป็นไม้เถายืนต้นขนาดกลาง มีหนามทั่วไปตามลำต้นและกิ่งก้าน ลักษณะของเถาจะมีตุ่มหนามด้าน ๆ ขนาดเล็กอยู่ตามลำต้นและกิ่งก้าน เปลือกผิวมีลักษณะขรุขระและมีสีน้ำตาล เนื้อไม้มีสีเหลืองอ่อนและมีรสหวาน สามารถพบได้ตามป่าดงดิบเขาและป่าโปร่งทั่วไป

รูปชะเอมไทย

ใบชะเอมไทย ใบมีขนาดเล็กละเอียดเป็นฝอย ๆ โดยเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น มีความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร เรียงสลับกัน ส่วนใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน มีก้านใบร่วมยาวประมาณ 17 เซนติเมตร ส่วนก้านใบหลักจะยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ที่โคนก้านใบป่องออก ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ใบชะเอมไทย

ดอกชะเอมไทย ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ลักษณะเป็นพู่ มีกลีบดอกสีขาวและมีกลิ่นหอม มีก้านช่อดอกยาว ดอกจะรวมกันเป็นกระจุกที่ปลายก้าน ส่วนกลีบดอกมีขนาดเล็ก เชื่อมติดกันเป็นหลอด มีเกสรตัวผู้ยาว มีสีขาว และมีจำนวนมาก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ใบชะเอมไทย

ผลชะเอมไทย ออกผลเป็นฝัก ฝักมีลักษณะแบน ปลายแหลม มีเมล็ดนูนเห็นได้ชัด ในหนึ่งฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 5-6 เมล็ด ฝักมีความยาวประมาณ 12 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ส่วนก้านฝักยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร มีสีเหลืองถึงสีน้ำตาล ตรงฝักบริเวณที่มีเมล็ดจะมีรอยนูนขึ้นเห็นได้ชัดเจน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผลชะเอมไทย

สรรพคุณของชะเอมไทย

  1. เนื้อไม้ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เนื้อไม้)
  2. ช่วยบำรุงกำลัง (เนื้อไม้)
  3. ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อให้เจริญ (เนื้อไม้)
  4. ช่วยแก้โรคตา (ต้น)
  5. ช่วยแก้โลหิตอันเน่าในอุทรและช่วยเจริญซึ่งหทัยวาตให้สดชื่น (ราก)
  6. ดอกแก้ดีและโลหิต (ดอก)
  7. ช่วยแก้กำเดาให้เป็นปกติ (ราก)
  8. เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้อาการไอ โดยใช้รากชะเอมไทยยาวประมาณ 2-4 นิ้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น หากอาการไม่ดีขึ้นให้รับประทานติดต่อกัน 2-4 วัน (เปลือกต้น, ราก)
  9. ช่วยขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว (เนื้อไม้, ผล,ราก)ทำให้เสมหะงวด (ดอก) โดยใช้รากชะเอมไทยยาวประมาณ 2-4 นิ้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น หากอาการไม่ดีขึ้นให้รับประทานติดต่อกัน 2-4 วัน
  10. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ (ต้น, เนื้อไม้)
  11. เนื้อไม้มีรสหวาน ช่วยรักษาโรคในลำคอ (เนื้อไม้)
  12. ช่วยทำให้ชุ่มคอแก้อาการกระหายน้ำ (ราก, เนื้อไม้)
  13. ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (เนื้อไม้)
  14. เนื้อไม้ช่วยแก้ลม (เนื้อไม้)ถ่ายลม (ต้น)
  15. ดอกมีรสขมร้อน ช่วยในการย่อยอาหาร (ดอก)
  16. รากใช้เป็นยาระบาย (ราก)
  17. ใบมีรสร้อนและเฝื่อน ช่วยขับโลหิตระดูของสตรี (ใบ)
  18. ลำต้นชะเอมไทยใช้เข้ากับเครือไส้ไก่ เครือตากวง และเครือหมาว้อ ใช้ต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้โรคตับ (ต้น)
  19. ช่วยทำให้ผิวหนังสดชื่น (ต้น)
  20. ชะเอมไทยจัดเป็นส่วนผสมในตำรับยา "พิกัดทศกุลาผล" ซึ่งมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อดีและเสมหะ ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงปอด บำรุงกำลัง บำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น ช่วยแก้ไข้ แก้รัตตะปิตตะโรค ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ลมอัมพฤกษ์และอัมพาต โดยเป็นตำรับยาที่มีการจำกัดจำนวนตัวยาในตระกูลเดียวกันทั้ง 10 อย่าง อันได้แก่ ชะเอมไทย, ชะเอมเทศ, ผักชีล้อม, ผักชี (ผักชีลา), อบเชยไทย, อบเชยเทศ, ลำพันขาว, ลำพันแดง, เร่วน้อย, เร่วใหญ่
  21. รากชะเอมไทย มีลักษณะคล้ายกับชะเอมเทศ สามารถนำรากชะเอมไทยมาใช้ปรุงเป็นยาแทนชะเอมเทศได้ (ราก)