• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

ประดงเลือด

กำลังเลือดม้า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นประดงเลือด

 

ชื่อเครื่องยา :กำลังเลือดม้า 

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา : ประดงเลือด
ได้จาก     : เปลือกต้น

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา : กำลังเลือดม้า

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) :มะม่วงเลือดน้อย ประดงเลือด ประดงไฟ เลือดควาย

ชื่อวิทยาศาสตร์  :Knema angustifolia (Roxb.) Warb.

ชื่อวงศ์ Myristicaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
เปลือกสีน้ำตาลเข้ม มีด่างขาวประปราย เปลือกแตกเป็นร่องยาว เนื้อไม้สีเหลือง และเปลือกในมีน้ำยางสีแดงเข้ม เปลือกต้นและเนื้อไม้ มีรสหวาน เย็น เฝื่อนเมาเล็กน้อย

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล

สรรพคุณ:
           หมอยาพื้นบ้าน: ใช้รักษาประดงต่างๆ แก้เม็ดประดงผื่นคัน แดงทั้งตัว แก้ปวดแสบปวดร้อน มีน้ำเหลืองไหล เปลือกต้นและเนื้อไม้ ใช้เป็นยาขับล้างในระบบเลือด น้ำเหลือง แก้โรคกระษัยไตพิการ แก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้ภูมิแพ้ ผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย
           ยาพื้นบ้านล้านนา: ใช้ เปลือกต้น แช่น้ำดื่ม บำรุงกำลัง เปลือกต้นหรือใบ ต้มน้ำดื่ม แก้โรคโลหิตจาง

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

ดีปลี

ดีปลี สรรพคุณและประโยชน์ของดีปลี

ดีปลี

ดีปลี ชื่อสามัญ Long pepper, Indian long pepper, Javanese long pepper

ดีปลี ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper retrofractum Vahl (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Chavica officinarum Miq., Piper chaba Hunter, Piper officinarum (Miq.) C. DC.) แต่บางข้อมูลระบุว่าเป็นชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piper longum L. จัดอยู่ในวงศ์พริกไทย (PIPERACEAE)

สมุนไพรดีปลี มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ดีปลีเชือก (ภาคใต้), ปานนุ ประดงข้อ (ภาคกลาง), พิษพญาไฟ ปีกผัวะ เป็นต้น

สมุนไพรดีปลี สมุนไพรเก่าแก่ที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง มีหลักฐานการจดบันทึกมานานกว่า 4,000 ปี มีแหล่งผลิตใหญ่อยู่ที่ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย สำหรับในประเทศไทยบ้านเราทางภาคใต้และภาคเหนือนิยมใช้ผลดีปลีมาเป็นเครื่องเทศแทนพริกและพริกไทย โดยทั้งดีปลีและพริกไทยต่างก็มีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุไฟในการย่อยอาหารเหมือน ๆ กัน แต่ดีปลีจะดีกว่าในเรื่องของลมเบ่งของมดลูก หรือลมที่ค้างในลำไส้ รวมไปถึงอาการกำเริบของเสมหะและลมปอด ส่วนพริกไทยนั้นจะดีกับลมที่ขับปัสสาวะ

ลักษณะของดีปลี

  • ต้นดีปลี มีถิ่นกำเนิดที่เกาะโมลัคคาส (Moluccas) ในมหาสมุทรอินเดีย แต่ได้มีการนำมาปลูกและแพร่กระจายในประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซีย โดยจัดเป็นไม้เถามีรากฝอยออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะและเลื้อยพัน เถาค่อนข้างเหนียวและแข็ง มีข้อนูน แตกกิ่งก้านสาขามาก เจริญเติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น มีแสงแดดรำไร

ต้นดีปลี

  • ใบดีปลี มีใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร มีเส้นใบออกจากโคนประมาณ 3-5 เส้น ส่วนก้านใบยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร

ใบดีปลี

  • ดอกดีปลี หรือ ผลดีปลี ผลสดมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ลักษณะของผลอัดกันแน่นเป็นช่อรูปทรงกระบอก โคนใหญ่กว่าปลายไม่มาก ปลายเล็กมน ผลมีความยาวประมาณ 2.5-7.5 เซนติเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-8 เซนติเมตร ผิวของผลค่อนข้างหยาบ และมีเกสรตัวเมียติดอยู่ ผลย่อยมีเมล็ดเดียว โดยเมล็ดมีขนาดเล็กมาก ลักษณะกลมและแข็ง ผงของผลมีสีน้ำตาล มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสเผ็ดร้อน ขมปร่า นิยมเก็บผลมาใช้เมื่อผลเริ่มเป็นสีน้ำตาล แล้วนำมาตากแดดให้แห้ง

ผลดีปลี

  • ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้แก่ ส่วนของดอก ใบ ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก หรือตากแดดให้แห้ง เถา และรากดีปลี

สรรพคุณของดีปลี

  1. เชื่อกันว่าดีปลีมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลังและช่วยบำรุงกำหนัด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  2. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ด้วยการใช้ดอกดีปลี 10 ดอก หัวแห้วหมู 10 หัว พริกไทย 10 เม็ด นำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งแท้ ใช้รับประทานก่อนนอนทุกคืน (ดอก)
  3. ดอกดีปลีช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ดอก, ผลแก่จัด, ราก)
  4. ผลแก่จัดช่วยบำรุงธาตุไฟ แก้ธาตุไฟหย่อนหรือพิการ ช่วยรักษาอาการกำเริบของธาตุน้ำและธาตุลม (ผลแก่จัด)
  5. ช่วยแก้ธาตุพิการ แก้ธาตุไม่ปกติ แก้ปฐวีธาตุพิการ แก้วิสติปัฏฐี แก้ปัถวีธาตุ 20 ประการ (ผล, ดอก)
  6. ใช้เป็นยากระจายลม ระบายความเจ็บปวด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  7. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ดอก, เถา)
  8. ผงของผลมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสเผ็ด ขม ปร่า สรรพคุณช่วยขับน้ำลายและทำให้ลิ้นชา (ผล)
  9. ช่วยแก้ลมอัมพฤกษ์ (เถา)
  10. ช่วยแก้ลมวิงเวียน ด้วยการใช้ดอกแก่นำมาต้มน้ำดื่ม (ดอก, ผลแก่จัด, ราก)
  11. ใช้เป็นยาระงับแก้อาการนอนไม่หลับ (ผล)
  12. ช่วยระงับอชินโรคหรือโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย หรือมักเป็น ๆ หาย ๆ (ผล)
  13. ช่วยแก้ตัวร้อน (ราก)
  14. ช่วยแก้ไข้เรื้อรังหรืออาการไข้ที่มักเป็น ๆ หาย ๆ ด้วยการใช้ดอกดีปลีล้างสะอาด นำมาบดหรือตำพอหยาบ ๆ ประมาณครึ่งแก้ว นำมาต้มกับน้ำ 4 แก้ว จนเหลือ 1 แก้ว แล้วกรองเอาแต่น้ำมาดื่มกินขณะท้องว่างวันละ 2 ครั้ง และสูตรนี้ยังช่วยลดอาการม้ามโตได้อีกด้วย (ดอก)
  15. ช่วยแก้อาการหวัด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  16. ช่วยแก้อาการหืดไอ (ดอก, ผลแก่จัด)
  17. ช่วยแก้หืดหอบ (ดอก, ราก)
  18. ช่วยแก้อาการไอหรือลดอาการไอ มีอาการระคายคอจากเสมหะ ด้วยการใช้ผลแก่แห้งครึ่งผลนำมาฝนกับน้ำมะนาว แทรกเกลือเล็กน้อยแล้วใช้กวาดคอหรือใช้จิบบ่อย ๆ (ดอก, ผลแก่จัด)
  19. ช่วยแก้หลอดลมอักเสบ (ผลแก่จัด)
  20. ช่วยแก้อาการเจ็บในลำคอ ด้วยการใช้ดอกดีปลี 3 ดอก ผิวมะนาว 1 ลูก หัวกระเทียม 3 กลีบ และพริกไทยล่อน 3 เม็ด นำทั้งหมดมาตำให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำมะนาวและคลุกให้เข้ากัน นำมาปั้นเป็นลูกกลอนขนาดเท่าเม็ดพุทรา แล้วใช้อมบ่อย ๆ (ดอก)
  21. ช่วยลดอาการเสียงแหบแห้งได้ ด้วยการใช้ผงดีปลีผสมกับสมอไทยอย่างละ 5 กรัมจนเข้ากัน แล้วผสมกับน้ำอุ่นไว้ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 2 ครั้ง (ผล)
  22. ช่วยแก้โรคลมบ้าหมู (ผล)
  23. เถาดีปลีมีรสเผ็ดร้อน ช่วยแก้เสมหะพิการ (ผล, เถา)
  24. ช่วยแก้เสมหะ ขับเสมหะ แก้เสมหะพิการ น้ำลายเหนียว ด้วยการใช้ผลแก่แห้งครึ่งผลนำมาฝนกับน้ำมะนาว แทรกเกลือเล็กน้อยแล้วใช้กวาดคอหรือใช้จิบบ่อย ๆ (ดอก, ผลแก่จัด, เถา, ราก)
  25. ช่วยแก้อุระเสมหะหรือเสมหะในทรวงอก (ผล)
  26. ดอกดีปลีช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (ดอก)
  27. ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนอันเกิดจากธาตุไม่ปกติ ด้วยการใช้ผลดีปลีแก่แห้งประมาณ 1 กำมือ (10-15 ผล) นำมาต้มเอาน้ำดื่ม 2 ถ้วยแก้วประมาณ 15 นาที แล้วใช้ดื่มแต่น้ำหลังอาหาร วันละ 3 ครั้ง ถ้าไม่มีผลให้ใช้เถาต้มแทนก็ได้ (ผลแก่จัด, เถา)
  28. เถาดีปลีช่วยแก้อาการปวดฟัน หรือจะใช้ผลนำมาฝนเอาน้ำมาทาบริเวณที่ปวดก็ได้ (ผล, เถา)
  29. ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ด้วยการใช้ผลดีปลีแก่แห้งประมาณ 1 กำมือ (10-15 ผล) นำมาต้มเอาน้ำดื่ม 2 ถ้วยแก้ว ประมาณ 15 นาที แล้วใช้ดื่มแต่น้ำหลังอาหาร วันละ 3 ครั้ง ถ้าไม่มีผลให้ใช้เถาต้มแทน หรือจะใช้ดอกแก่นำมาต้มเป็นน้ำดื่มก็ได้ (ดอก, ผลแก่จัด, เถา)
  30. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ด้วยการใช้ผลดีปลีแก่แห้งประมาณ 1 กำมือ (10-15 ผล) นำมาต้มเอาน้ำดื่ม 2 ถ้วยแก้วประมาณ 15 นาที แล้วใช้ดื่มแต่น้ำหลังอาหาร วันละ 3 ครั้ง (ผลแก่จัด, เถา, ราก)
  31. ดอกดีปลีช่วยแก้อาการท้องเสีย (ดอก)
  32. ช่วยแก้อาการท้องขึ้น (ผลแก่จัด)
  33. ช่วยแก้อาการท้องร่วง (ผล, ดอก, ราก)
  34. ช่วยขับลมในลำไส้ให้ผายและเรอ (ดอก, ผลแก่จัด, ราก)
  35. ใช้ประกอบในตำรับยารักษาโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ธาตุไม่ปกติ (ผลแก่จัด)
  36. ผลใช้เป็นยาขับพยาธิในท้องได้ (ผล)
  37. แก้มุตฆาตหรือโรคขัดปัสสาวะช้ำเลือดช้ำหนอง (เถา)
  38. ช่วยแก้ริดสีดวงทวารหนัก โดยใช้ดอกดีปลี 10 ดอก เมล็ดงาดำดิบ 20 กรัม นำมาบดให้ละเอียดผสมกับนมดื่มวันละ 1 แก้ว ติดต่อกัน 15 วัน (ผล, ดอก, เถา)
  39. ผลแก่จัดของดีปลีช่วยบีบมดลูกและใช้เป็นยาขับระดูของสตรี (ผลแก่จัด)
  40. ผลใช้เป็นยาขับรกให้รกออกมาง่ายภายหลังจากการคลอดบุตรและใช้เวลาโลหิตตกมาก (ผล)
  41. ช่วยขับน้ำดี เมื่อมีการอุดตันของท่อน้ำดี (ผล)
  42. ช่วยแก้ตับพิการ (ผล, ดอก)
  43. รากดีปลีช่วยแก้เส้นแก้พิษอัมพฤกษ์ อัมพาต ดับพิษปัตคาด (ผล, ราก)
  44. ช่วยแก้อัมพาตและเส้นปัตคาด (ดอก)
  45. ช่วยแก้พิษคุดทะราดให้ปิดธาตุ (ราก)
  46. ช่วยแก้คุดทะราด (ดอก, ราก)
  47. เถาดีปลีช่วยแก้พิษงู (เถา)
  48. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็น (ใบ)
  49. ช่วยรักษาโรคข้ออักเสบ เกาต์ ไข้รูมาตอยด์ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  50. ผลนำมาฝนเอาน้ำมาทาแก้อาการฟกช้ำบวมได้ (ผล)
  51. ผลแก่จัดใช้ปรุงเป็นยาทาภายนอก แก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ ทำให้ร้อนแดงและช่วยให้มีเลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น (ผลแก่จัด)
  52. ดอกดีปลีเป็นส่วนประกอบของตำรับยา "พิกัดเบญจกูล" ในคัมภีร์อายุรเวท ซึ่งประกอบไปด้วย ดอกดีปลี รากช้าพลู เหง้าขิงแห้ง เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง โดยเป็นตำรับยาที่ใช้ประจำธาตุต่าง ๆ และใช้แก้ในกองฤดู กองสมุฎฐานต่าง ๆ ช่วยกระจายกองลมและโลหิต แก้คูถเสมหะ แก้ลมพานไส้ ช่วยระงับโรคอันบังเกิดแต่ทวัตติงสาหาร (อาการ 32) และช่วยบำรุงกองธาตุทั้งสี่ให้สมบูรณ์ (ดอก)
  53. ผลดีปลีจัดอยู่ในตำรับยา "พิกัดตรีสันนิบาตผล" (ตรีสัพโลหิตผล) ซึ่งประกอบไปด้วย ผลดีปลี รากพริกไทย และรากกะเพราแดง ที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้สันนิบาต ช่วยบำรุงธาตุ แก้ในกองลม และช่วยแก้ปถวีธาตุ 20 ประการ (ผล)
  54. ดีปลีจัดอยู่ในตำรับยา "พิกัดตรีกฎุก" ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องยา 3 อย่าง ในปริมาณเท่ากัน อันได้แก่ ดีปลี ขิงแห้ง และพริกไทย โดยมีสรรพคุณช่วยแก้โรคที่เกิดจากวาตะ (ลม), แก้เสมหะและปิตตะ (ดี) ในกองธาตุ กองฤดู และกองสมุฏฐาน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  55. ดีปลีจัดอยู่ในตำรับยา "พิกัดตัวยาเผ็ดร้อน 6 ชนิด" ซึ่งประกอบไปด้วย ดีปลี พริกไทย ใบแมงลัก ผลกระวาน ใบโหระพา ผลผักชีลาว โดยมีสรรพคุณช่วยในการย่อยอาหาร แก้ลมจุกเสียด ช้ำบวม (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  56. ดีปลีปรากฏอยู่ในตำรับยา "ยาอาภิสะ" ซึ่งเป็นตำราพระโอสถพระนารายณ์ ที่มีดีปลีเป็นองค์ประกอบหลักร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกหลายชนิด โดยมีสรรพคุณช่วยแก้อาการไอ ผอมแห้ง แก้เสมหะในทรวงอกและลำคอ และช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  57. ดีปลีจัดอยู่ในตำรับยา "ยาหอมนวโกฐ" อันมีดีปลีเป็นองค์ประกอบร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ โดยตำรับยานี้มีสรรพคุณช่วยแก้ลมวิงเวียน อาการหน้ามืดตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียนอาเจียน และช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้อง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  58. ดีปลีจัดอยู่ในตำรับยา "ยาประสะกานพลู" ซึ่งมีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ในตำรับยา โดยมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง อาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  59. ดีปลีปรากฏอยู่ในตำรับยา "ยาประสะไพล" ที่มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ โดยมีสรรพคุณช่วยแก้ระดูมาไม่สม่ำเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติของสตรี (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  60. ดีปลีจัดอยู่ในตำรับยา "ยาเหลืองปิดสมุทร" โดยมีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีก 12 ชนิดในตำรับยา ซึ่งมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปน หรืออาการท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้ เป็นต้น (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  61. ดีปลีจัดอยู่ในตำรับยา "ยาธาตุบรรจบ" ซึ่งมีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ในตำรับยา โดยมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)

คำแนะนำในการรับประทานดีปลี

  • ไม่ควรบริโภคดีปลีในปริมาณที่มากเกินไป เพราะอาจจะทำให้กระเพาะอักเสบ แสบทวารเวลาขับถ่ายได้
  • สำหรับผู้ที่เป็นไข้ ไม่ควรรับประทานดีปลี เพราะจะทำให้เป็นร้อนในด้วย
  • และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ห้ามรับประทานดีปลีเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้แท้งบุตรได้

ประโยชน์ของดีปลี

  1. ผลอ่อนดีปลีสามารถใช้รับประทานเป็นผักสดได้
  2. ผลแก่สามารถนำมาใช้ตำน้ำพริกแทนพริกได้ หรือในบางท้องถิ่นก็นำมาใช้แต่งใส่ในผักดองเช่นเดียวกับพริก
  3. ยอดอ่อนดีปลีสามารถนำมาใช้ใส่ในข้าวยำได้
  4. ผลดีปลีแห้งมีรสเผ็ดร้อนขม สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องในการประกอบอาหาร ด้วยการนำผลสุกดีปลีมาตากแห้งแล้วใช้ปรุงรสแกงคั่ว หรือแกงเผ็ด เพื่อใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ดี และยังช่วยปรุงรสปรุงกลิ่นให้อาหารน่ารับประทาน นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้แต่งกลิ่นผักดองได้อีกด้วย
  5. เครื่องเทศดีปลีสามารถช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี
  6. ช่วยถนอมอาหารไม่ให้เกิดการบูดเน่าได้
  7. นอกจากจะปลูกไว้เป็นเครื่องเทศและเป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังปลูกไว้เป็นไม้ประดับเพื่อชมใบสีเขียวสดดูชุ่มชื่น หรือปลูกเพื่อดูผลที่เป็นสีเหลืองจวนสุกก็ได้เช่นกัน
  8. ผลดีปลีมีน้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์สามารถฆ่าแมลงด้วงงวงและด้วงถั่วได้ และอาจนำมาสกัดเป็นสารกำจัดแมลงสูตรธรรมชาติได้
  9. ดีปลีใช้ปลูกในเชิงการค้าเพื่อใช้อุตสาหกรรมการผลิตยาแผนโบราณหรือยาสมุนไพร โดยมีทั้งการปลูกเป็นพืชหลักและพืชเสริม โดยแหล่งผลิตที่สำคัญในบ้านเราได้แก่ ตำบลบ้านใหม่ ตำบลพังตรุ อำเภอท่าม่วง อำเภอท่ามะกา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ส่วนแหล่งผลิตอื่น ๆ ก็ได้แก่ จังหวัดนครปฐม จันทบุรี และนครศรีธรรมราช

ดีปลาช่อน

ดีปลาช่อน

ต้นดีปลาช่อน,,ดีปลากั้ง

“ดีปลาช่อน” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tacca chantrieri Andre อยู่ในวงศ์ Taccaceae มีชื่อ Common name ว่า “Bat Flower” และมีชื่ออื่นเรียกต่างกันตามท้องถิ่น ดังนี้ ดีงูหว้า (ภาคเหนือ); คลุ้มเลียม, ว่านหัวเลียม, ว่านหัวฬา(จันทบุรี); ดีปลาช่อน(ตราด); นิลพูสี(ตรัง); มังกรดำ(กทม); ม้าถอนหลัก(ชุมพร); ว่านพังพอน(ยะลา) และเนระพูสีไทย (ภาคกลาง) ทางสำนักงานไม่แน่ใจว่า เป็นสมุนไพรต้นเดียวกับที่ท่านกล่าวมาข้างต้นหรือไม่ จึงขออธิบายลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ “ดีปลาช่อน” ดังนี้ เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดินรูปทรงกระบอก สูง 30-50 ซม. ใบเดี่ยว เรียงสลับเรียนออกเป็นรัศมี รูปวงรี รูปขอบขนานถึงรูปใบหอก กว้าง 6-18 ซม. ด้านใบแผ่เป็นครีบ ดอกช่อซี่ร่ม มีดอกย่อย 4-6 ดอก กลีบดอก สีม่วงดำ ใบประดับ 2 คู่ สีเขียวถึงม่วงดำ เรียงตั้งฉากกัน ผลสด รูปขอบขนานแกมสามเหลี่ยม มีสันเป็นคลื่นตามยาว เมล็ดรูปไต นอกจากนี้ยังพบว่า ดีปลาช่อน เป็นสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา โดยใช้ ทั้งต้นผสมสมุนไพรอื่น (ไม่ระบุ) ฝนรวมกันกินแก้เบื่อเมา ชาวเขาเผ่าแม้ว มูเซอ ใช้ ราก ต้น เหง้า ใบ ต้มน้ำดื่ม หรือเคี้ยวกิน แก้ปวด ปวดตามร่างกาย มะเร็ง ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะอาหาร และบำรุงร่างกาย

เจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง สรรพคุณและประโยชน์ของต้นเจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง ชื่อสามัญ Rose-colored leadwort, Rosy leadwort, Fire plant, Official leadwort, Indian leadwort

เจตมูลเพลิงแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Plumbago indica L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Plumbago rosea L.) จัดอยู่ในวงศ์ PLUMBAGINACEAE เช่นเดียวกับเจตมูลเพลิงขาว

สมุนไพรเจตมูลเพลิงแดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ปิดปีแดง (เลย), ปิดปิวแดง(ภาคเหนือ), ไฟใต้ดิน (ภาคใต้), ตอชูกวอ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ตั้งชู้โว้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), คุ้ยวู่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), อุบ๊ะกูจ๊ะ (มลายู- ปัตตานี), จื่อเสี่ยฮวา หงฮวาตัน (จีนกลาง), เจ็ดหมุนเพลิง เป็นต้น

ลักษณะของเจตมูลเพลิงแดง

  • ต้นเจตมูลเพลิงแดง จัดเป็นไม้พุ่มล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความสูงของต้นประมาณ 1-1.5 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 2-3 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านสาขารอบต้นมาก กิ่งก้านมักทอดยาว ยอดอ่อนเป็นสีแดง ส่วนลำต้นมีลักษณะกลมเรียบ กิ่งอ่อนเป็นสีเขียวปนแดงและมีสีแดงบริเวณข้อ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มรำไร พื้นที่เนินสูง และไม่ชอบที่ชื้นแฉะ มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทยเกือบทุกภาค สามารถพบได้ตามป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณทั่วไป

ต้นเจตมูลเพลิงแดง

ใบเจตมูลเพลิงแดง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-13 เซนติเมตร แผ่นใบบางเป็นสีเขียว แผ่นใบมักบิด ส่วนก้านใบและแกนกลางใบอ่อนเป็นสีแดง

ใบเจตมูลเพลิงแดง

ดอกเจตมูลเพลิงแดง ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะเชิงลด ช่อดอกยาวประมาณ 20-90 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร ในช่อดอกจะมีดอกย่อยจำนวนมากประมาณ 10-15 ดอก โดยดอกจะออกเป็นช่อตั้งขึ้นที่ปลายกิ่งหรือปลายยอด กลีบดอกบางเป็นสีแดงสด มี 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ๆ ยาวประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก ลักษณะของกลีบเป็นรูปไข่กลับ ปลายกลีบกลมและมีติ่งหนามตอนปลาย ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร มีใบประดับและใบประดับย่อยลักษณะเป็นรูปไข่ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 5 ก้านติดตรงข้ามกลีบดอก มีอับเรณูยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร รังไข่เป็นรูปรี ส่วนก้านเกสรเพศเมียมีหลายขนาดและมีขนยาวที่โคน ดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปใบหอก เป็นหลอดเล็กยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร และมีขนเหนียว ๆ ปกคลุม เมื่อจับดูจะรู้สึกว่าเหนียวมือ

รูปดอกเจตมูลเพลิงแดง

รูปเจตมูลเพลิงแดง

ผลเจตมูลเพลิงแดง ออกผลเป็นฝักกลม ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรียาว ผลเป็นผลแห้ง เมื่อแก่จะแตกตามร่องได้

ผลเจตมูลเพลิงแดง

สรรพคุณของเจตมูลเพลิงแดง

  1. รากมีรสร้อน ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงไฟธาตุในร่างกาย (ราก)
  2. ช่วยแก้ธาตุพิการ (ราก)ช่วยรักษาอาการอันเกิดจากธาตุไฟทั้ง 4 เช่น หายใจถี่ มีอาการตัวเย็น นัยน์ตามัว เบื่ออาหาร ไอแห้ง ปวดท้องไม่หาย มือเท้าเป็นเหน็บชา ชอบนอนนานแล้วไม่อยากลุกขึ้น ฯลฯ (ราก)
  3. ใบนำมาป่นผสมกับพริกไทย ขมิ้นดำ ดีปลี และไพล แล้วปั้นเป็นลูกกลอนใช้เป็นยาบำรุงกำลังและขับลม (ใบ) บ้างว่าใช้รากเข้ายาบำรุงกำลัง (ราก)
  4. รากใช้เป็นยาบำรุง (ไม่ได้ระบุว่าบำรุงอะไร)
  5. ทั้งต้นหรือรากมีรสเผ็ดร้อน เป็นยาร้อน ออกฤทธิ์ต่อปอดและหัวใจ ใช้เป็นยาขับเลือด ฟอกเลือด กระจายเลือดลม (ราก, ทั้งต้น)
  6. ช่วยบำรุงโลหิต (ราก)
  7. แก้โลหิตเน่าเสีย (ราก)
  8. รากเจตมูลเพลิงแดงจัดอยู่มีตำรับยาขนานสุดท้ายที่ใช้แก้โรคหัวใจและอาการใจสั่น โดยมีส่วนผสมของสมุนไพร 13 ชนิด ได้แก่ รากเจตมูลเพลิงแดง การบูร ชะมดเชียง เทียนดำ พิมเสน หัวดองดึง อย่างละ 2 บาท กฤษณา กะลำภัก จันทน์เทศ อย่างละ 3 บาท กำยาน ขิง ดอกดีปลี อย่างละ 8 บาท และสนเทศอีก 40 บาท นำทั้งหมดมาบดเป็นผง เติมน้ำมะนาวแล้วปั้นเป็นแท่ง นำไปผึ่งในที่ร่มให้แห้ง แล้วเก็บไว้ในขวดโหล ใช้รับประทานกับกระสายน้ำมะนาวเมื่อเกิดอาการใจสั่นได้ผลดีนัก
  9. ช่วยทำให้ร่างกายเกิดความอบอุ่น (ราก)
  10. เนื่องจากรากเป็นยาที่ช่วยทำให้ร่างกายเกิดความอบอุ่น จึงนำมาใช้เป็นขี้ผึ้งปิดอกถอนพิษ แก้ปอดชื้น ปอดบวมได้ดี (ราก)
  1. ดอกใช้เป็นยาแก้โรคทำให้หนาวและเย็น (ดอก)
  2. ต้นมีรสร้อน ใช้แก้โลหิตที่เกิดแต่กองกำเดา (ต้น)
  3. คนไทยในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย จะนำผ้ามาพันรากเพื่อป้องกันไม่ให้สัมผัสกับผิวหนังโดยตรง แล้วนำมาแขวนที่คอเพื่อใช้รักษาโรคดีซ่าน (อาการตาเหลือง ตัวเหลือง) (ราก)
  4. ใบมีรสร้อน ใช้แก้ลมในกองเสมหะ (ใบ)
  5. ช่วยกระจายลม (ราก)
  6. ดอกใช้รักษาโรคตา (ดอก)
  7. ผงรากช่วยระงับอาการปวดฟัน แต่ในประเทศฝรั่งเศสจะรากนำมาเคี้ยวเพื่อระงับอาการปวดฟัน (ราก)
  8. ช่วยแก้อาการไอ (ราก)
  9. ช่วยขับเสมหะ (ราก, ใบ)
  10. รากใช้เป็นยาขมช่วยทำให้เจริญอาหาร ด้วยการใช้ผงของรากเจตมูลเพลิงแดง นำมาผสมกับผงดีปลี ลูกสมอพิเภก (บ้างว่าผสมขิงหรือเกลือด้วย) อย่างละเท่ากัน นำมาบดเป็นผงรวมกัน แล้วนำมาใช้รับประทานกับน้ำร้อนครั้งละ 2.5 กรัมหรือประมาณ 1 ช้อนแกง (บ้างว่าใช้ทั้งหมดนี้ผสมในยาธาตุจะเป็นยาช่วยย่อยและยาเจริญอาหาร) (ราก)
  11. ช่วยในการย่อยอาหาร (ใบ, ราก)
  12. รากช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้ผายเรอ แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ปวดเสียด จุกเสียด มีอาการแน่นหน้าอก ใบช่วยในการขับผายลม (ใบ, ราก)
  13. รากช่วยแก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องร่วง (ราก)บ้างก็ว่าใช้ต้นเป็นยาแก้ปวดท้อง (ต้น, ทั้งต้น[)
  14. ช่วยขับพยาธิ (ราก)
  15. รากใช้เข้ายากับพริกไทย นำมาดองกับเหล้าดื่ม จะช่วยขับปัสสาวะ (ราก)
  16. รากใช้เป็นยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (ราก)
  17. ช่วยรักษากามโรค (ราก)
  18. ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (ราก)
  19. รากใช้เป็นยาช่วยขับประจำเดือนของสตรี ช่วยขับฟอกโลหิตระดู แก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ มีอาการปวดท้องน้อยในช่วงมีประจำเดือน ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 1-2 กรัม นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว แล้วใช้รับประทานครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว (เนื่องจากรากมีฤทธิ์เพิ่มจังหวะและความถี่ในการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก คนสมัยโบราณจึงนำมาใช้ในกรณีที่สตรีคลอดบุตรแล้วรกไม่ตกออกมาด้วย) (ราก)บ้างก็ว่าใช้ต้นเป็นยาขับประจำเดือนของสตรี (ต้น)
  20. ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี (ราก)
  21. รากใช้ผสมในยาบำรุงของสตรีหลังการคลอดบุตร เพื่อช่วยให้มดลูกเข้าอู่ (ราก)
  22. ดอกมีรสร้อน ใช้เป็นยาแก้พัทธปิตตะสมุฏฐาน (น้ำดีในฝัก) อาการที่ทำให้ใจขุ่นมัว คลั่งเพ้อ วิกลจริตไป (ดอก) บ้างว่าใบก็ช่วยแก้น้ำดีในฝักเช่นกัน (ใบ)
  23. ใบมีรสร้อน ใช้เป็นยาแก้อพัทธปิตตะสมุฏฐาน (น้ำดีนอกฝัก) อาการปวดศีรษะและตัวร้อน สะท้านร้อนสะท้านหนาว จับไข้
  24. ช่วยแก้ดีไม่ปกติ (ใบ)
  25. รากใช้เป็นยาทาแก้โรคผิวหนัง ผงรากใช้เป็นยาทาภายนอกช่วยแก้โรคผิวหนังบางชนิด ทาแก้กลากเกลื้อน (ราก) ส่วนอีกตำรับยาแก้กลากเกลื้อน ระบุให้ใช้ต้นสด 20 กรัม นำมาตำให้แหลกใช้พอกบริเวณที่เป็นจนเริ่มรู้สึกแสบร้อนแล้วจึงเอาออก หรือจะใช้ต้นสดนำมาต้มกับน้ำ แล้วใช้น้ำที่ได้จากการต้มนำมาล้างผิวหนังบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน (ต้น)
  26. ผงจากรากใช้เป็นยาปิดพอกรักษาฝี ทำให้เกิดความร้อน ช่วยเกลื่อนฝีได้ (ราก) ตำรับยาแก้ฝีบวม ฝีบวมอักเสบ ให้ใช้ต้นสด 20 กรัม นำมาตำให้แหลกผสมกับเกลือเล็กน้อย ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็นฝีจนเริ่มรู้สึกว่าร้อนแล้วให้เอาออก (เพื่อไม่ให้ผิวหนังเกิดพุพอง) (ต้น)
  27. ช่วยแก้คุดทะราด (ราก)
  28. แก่นใช้เป็นยาแก้ขี้เรื้อนน้ำเต้า ขี้เรื้อนกวาง (แก่น)
  29. กระพี้ใช้เป็นยาแก้เกลื้อนช้าง (กระพี้)
  30. ใบนำมาตำใช้พอกบริเวณที่โดนตัวบุ้งที่ทำให้คัน โดยใช้ได้เหมือนใบเจตมูลเพลิงขาว แต่เจตมูลเพลิงแดงจะมีฤทธิ์แรงกว่าและใช้ได้ผลดีกว่า (ใบ)
  31. ผลหรือลูกใช้เป็นยาแก้พยาธิผิวหนัง แก้ฝี (ผล)
  32. รากใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค (ราก)
  33. ช่วยแก้อาการฟกช้ำ แก้เคล็ดขัดยอก ด้วยการใช้ต้นสด 20 กรัม นำมาตำให้แหลกผสมกับเกลือเล็กน้อย ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็นฝีจนเริ่มรู้สึกว่าร้อนแล้วให้เอาออก (ต้น)
  34. แก้บวม (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  35. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย แก้อาการปวดตามข้อ ปวดข้ออันเนื่องมาจากลมชื้นเข้าแทรก ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 5-10 กรัม นำมาตุ๋นกับกระดูกหมูรับประทานเป็นยา หรือจะรากเข้ากับตำรายาดองเหล้า ใช้รับประทานเป็นยาก็ได้เช่นกัน (ราก)
  36. ช่วยรักษาโรอัมพาต (ราก)
  37. เจตมูลเพลิงแดงจัดอยู่ในตำรับยา "เบญจกูล" ซึ่งเป็นตำรับยาที่ประกอบไปด้วยสมุนไพร 5 ชนิด อันได้แก่ รากเจตมูลเพลิงแดง รากชะพลู เหง้าขิงแห้ง เถาสะค้าน และผลดีปลี โดยเป็นตำรับยาที่เป็นยาแก้โรคในกองเตโชธาตุ (ใช้รากเจตมูลเพลิง 16 ส่วน) กองวาโยธาตุ (ใช้รากเจตมูลเพลิง 8 ส่วน) และกองอากาศธาตุ (ใช้รากเจตมูลเพลิง 2 ส่วน) และยังช่วยปรับสมดุลในร่างกายของผู้ป่วยมะเร็ง สามารถช่วยต้านเซลล์มะเร็งปอดและมะเร็งเต้านมได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันการทำงานของ NK Cells ช่วยกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ ต้านการอักเสบ ช่วยยับยั้งการอักเสบได้ทั้งแบบเรื้อรังและแบบเฉียบพลัน โดยมีกลไกการออกฤทธิ์คล้ายกับในยาในกลุ่มของสเตียรอยด์ แต่จะให้ผลดีกว่ายาสเตียรอยด์ ชนิด Phenylbutazone และยังมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา Candida albicans และยังยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดหนอง เช่น Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus
  38. เจตมูลเพลิงแดงจัดอยู่ในตำรับ "ยามันทธาตุ" (ตำรับยาแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ธาตุไม่เป็นปกติ) ซึ่งเป็นตำรับยาที่ประกอบไปด้วยสมุนไพรหลายชนิด ได้แก่ กระเทียม การบูร กานพลู โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา โกฐสอ โกฐหัวบัว จันทร์แดง จันทร์เทศ ดีปลี เทียนขาว เทียนดำ เทียนแดง เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน รากช้าพลู รากเจตมูลเพลิงแดง รากไคร้เครือ เถาสะค้าน ลูกจันทร์ ลูกผักชีล้อม ลูกผักชีลา เปลือกสมุลแว้ง เปลือกโมกมัน พริกไทยล่อน หนักอย่างละ 1 ส่วน ขิง และลูกเบญกานี หนักอย่างละ 3 ส่วน (ราก)
  39. เจตมูลเพลิงแดงจัดอยู่ในตับยา "ธรณีสัณฑะฆาต" (ตำรับยาคลายเส้น) ซึ่งเป็นตำรับยาที่ประกอบไปด้วยสมุนไพรหลายชนิด ได้แก่ กานพลู โกฐกระดูก โกฐเขมา โกฐน้ำเต้า ขิง ชะเอมเทศ ลูกกระวาน ลูกเร่ว ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ เทียนขาว เทียนดำ รากเจตมูลเพลิงแดง หัวกลอย หัวกระดาดขาว หัวกระดาดแดง หัวดองดึง หนักอย่างละ 1 ส่วน, ผักแพวแดง เนื้อลูกมะขามป้อม หนักอย่างละละ 2 ส่วน, รงทอง (ประสะแล้ว) หนัก 4 ส่วน, การบูร เนื้อลูกสมอไทย มหาหิงคุ์ หนักอย่างละ 6 ส่วน, ยาดำ หนัก 20 ส่วน และพริกไทยล่อน หนัก 96 ส่วน (ราก)
  40. เจตมูลเพลิงแดงจัดอยู่ในตำรับยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิตหรือยาแก้ลม ได้แก่ ตำรับ "ยาหอมนวโกฐ" และจัดอยู่ในตำรับยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ตำรับ "ยาประสะกานพลู"
  41. นอกจากนี้ยังมีตำรับยาอีกหลากหลายขนานที่เข้ารากเจตมูลเพลิงแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เช่น ยาหอมอินทจักร์ ตำรับยาแก้ไข้ทับระดูและระดูทับไข้ ตำรับยาแก้โรคเหงื่อออกมาก ยาแก้โรควิงเวียนหน้ามืดตาลาย ตำรับยาขนานใหญ่ แก้โรคลมอัมพาต ยาแก้โรคลมต่าง ๆ ยาแก้โรคประสาท ยาแก้โรคกระเพาะ ยาแก้ธาตุทั้งสี่แปรปรวน เป็นต้น

ประโยชน์ของเจตมูลเพลิงแดง

  • เปลือกใช้เป็นยาฆ่าแมงคาเรืองเข้าหู
  • ยอดอ่อนและใบมีรสชาติเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอม ใช้รับประทานเป็นผักสดได้ หรือนำมาใส่ข้าวยำ หรือนำไปปรุงเป็นอาหาร เช่น ทำแกงคั่ว แกงเผ็ด แกงเนื้อ เป็นต้น

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรเจตมูลเพลิงแดง

  • สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้ เพราะมีสารที่ทำให้แท้งบุตรได้ ซึ่งในประเทศไทยและมาเลเซียถือว่าสมุนไพรชนิดนี้เป็นยาทำแท้ง
  • ยางจากรากเมื่อถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังไหม้และพองได้เหมือนโดนเพลิงไฟ จึงได้ชื่อว่า "เจตมูลเพลิง" ส่วนคนใต้จะเรียกว่า "ไฟใต้ดิน" ดังนั้นในการจะจับต้องรากในขณะเก็บมาใช้ ก็ต้องสวมถึงมือเสียก่อน เพื่อป้องกันอาการปวดแสบปวดร้อน
  • เจตมูลเพลิงมีสาร Plumbagin ที่มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารและอาจเป็นพิษได้ จึงควรระมัดระวังในการใช้
  • สำหรับผู้ที่ใช้สมุนไพรเจตมูลเพลิงแดง ห้ามรับประทานเกินกว่าปริมาณที่กำหนด เพราะจะมีผลทำให้เส้นเลือดในมดลูกแตกและมีอาการตกเลือดได้