• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

ประดู่แดง

ประดู่แดง

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllocarpus septentrionalis Donn Sm.
ชื่อวงศ์ LEGUMIMOSAE – CAESALPIMIOIDEAE
ชื่ออื่น วาสุเทพ
ถิ่นกำเนิด อเมริกากลางและอเมริกาใต้
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม 6-8 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปทรงแผ่และห้อยย้อยลง เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา มีสะเก็ดขนาดเล็กตามแนวขวาง สีน้ำตาลอมดำ

ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับ แกนกลางใบประกอบยาว 13-15 ซม.ใบย่อย 3-5 คู่ เรียงตรงข้ามและเรียงจากขนาดเล็กไปใหญ่ จากโคนถึงปลาย รูปไข่หรือรูปรีแกมรูปใบหอก กว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 4-6 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบแหลมและเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบบาง แต่ค่อนข้างเหนียว สีเขียวสดเกลี้ยง

ดอก สีแดงอมส้ม มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่น ที่รอยแผลของก้านใบและปลายกิ่ง ช่อดอกตั้งยาว 5-7 ซม. ดอกย่อยรูปดอกหางนกยูง กลีบเลี้ยง กลีบ รูปไข่ สีแดง กลีบดอก กลีบ เกสรเพศผู้ 9-10 อัน สีแดง เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 1.5-2 ซม. ออกดอก เดือน ม.ค.-ก.พ.

ผล ผลแห้ง เป็นฝักทรงแบนแผ่เป็นปีก รูปรีแกมรูปขอบขนาน คล้ายใบ กว้าง 1-3 ซม. ยาว 5-8 ซม. ฝักเหนียวมีเส้นนูนคล้ายเส้นใบ มีกระเปาะกลมหรือรูปรีนูนเด่น สีเขียวอ่อน เมื่อสุกสีน้ำตาลแดง เมล็ด ค่อนข้างกลมแบน สีน้ำตาลอ่อน ส่วนมากมี เมล็ดต่อฝัก ติดผลเดือน มี.ค.-เม.ย. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

การใช้ประโยชน์ ปลูกตามแนวถนน ให้ดอกสีแดงดูงามตา และดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ

ประดู่เลือด

ประดู่เลือด

ชื่อพื้นบ้าน : ประดู่ป่า ประดู่เลือด ประดู่เสน
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ptercarpus macrocarpus Kurz.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
ลักษณะทั่วไป :
เนื้อไม้สีแดงอมเหลือง เสี้ยนสนเป็นริ้ว เนื้อละเอียดปานกลาง
มีลวดลายสวยงาม แข็งแรงทนทาน ใช้ทำ พื้น ต่อเรือ เครื่องเรือนที่สวยงาม เครื่องดนตรี เช่น ซอ ลูกและรางระนาด
เปียโน เปลือกให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง แก่น ให้สีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า

 

เก๋ากี้

เก๋ากี้ (โกจิเบอร์รี่) งานวิจัยและสรรพคุณ

เก๋ากี้

ชื่อสมุนไพร  เก๋ากี้
ชื่ออื่นๆ  โกจิเบอร์รี่ , Wolfberry ,ฮ่วยกี้
ชื่อวิทยาศาสตร์  Lycium barbarum
วงศ์  SOLANACEAE

ถิ่นกำเนิดเก๋ากี้(โกจิเบอร์รี่)

เก๋ากี้ที่มานำสกัดเป็นตัวยานั้นมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 2000 ปีแล้ว เนื่องจากเป็นยาที่มีสรรพคุณนานัปการ ภาษิตจีนบทหนึ่งกล่าวถึงเก๋ากี้ไว้ว่า “เก๋ากี้โลกอยู่ที่เมืองจีน เก๋ากี้จีนต้องที่หนิงเซี่ย” อธิบายความให้เข้าใจง่ายๆ ว่าเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยเป็นแหล่งกำเนิดและแหล่งผลิตเก๋ากี้ที่สำคัญของจีนและของโลก โดยเฉพาะตำบลจงหนิงที่เมื่อถึงฤดูเก็บเม็ดเก๋ากี้แล้ว จะเห็นสวนเก๋ากี้ที่เต็มไปด้วยต้นเก๋ากี้สูงท่วมหัวเรียงรายเป็นทิวแถว ขนาดของเก๋ากี้ที่จงหนิงใหญ่และมีความสดมาก
ในปี ค.ศ.1995 ทางรัฐบาลประกาศให้ตำบลจงหนิงเป็น “บ้านเกิดเก๋ากี้จีน” ดังนั้นเก๋ากี้ที่ผลิตจากพื้นที่แถบนี้ล้วนเป็นเก๋ากี้ที่ได้รับการการันตีเรื่องคุณภาพ ในบริเวณอื่นๆ ของประเทศก็มีการปลูกเช่นกันอย่างมณฑลเหอเป่ย์ มณฑลซานตง มณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียง ฯลฯ


ประโยชน์และสรรพคุณเก๋ากี้(โกจิเบอร์รี่)

  1. ช่วยบำรุงร่างกาย ทำให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานดีขึ้น
  2. แก้อาการอ่อนเพลีย
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  4. ช่วยให้หัวใจแข็งแรง
  5. ช่วยสร้างเม็ดเลือดที่แข็งแรงเพิ่มขึ้น
  6. ช่วยระบบเจริญพันธุ์ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  7. ช่วยลดอาการคลื่นไส้ของหญิงมีครรภ์
  8. ลดอาการอักเสบของโรคไขข้ออักเสบ เพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ และกระดูก
  9. ช่วยให้เหงือกแข็งแรง
  10. ช่วยปรับปรุงระบบการย่อย
  11. ลดความเครียด อาการปวดศีรษะ แก้อาการวิงเวียนศีรษะ
  12. ช่วยในการนอนหลับให้นอนได้ยาวนานขึ้น
  13. ช่วยในเรื่องความจำ ทำให้รู้สึกสดชื่น
  14. บรรเทาอาการนอนไม่หลับ ปรับปรุงคุณภาพของการนอน
  15. ช่วยให้การออกกำลังกายได้นานขึ้น
  16. ช่วยขจัดความเมื่อยล้าและความเฉื่อยชา
  17. ช่วยบำรุงตับ และไต
  18. ช่วยบำรุงสายตา ของเลนส์ตา และจอภาพเรตินา 
  19. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
  20. ป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้ 
  21. ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยดูแลเรื่องผิวพรรณ ชะลอความชรา
  22. ต้านเซลล์มะเร็ง ลดความเสี่ยงต่อภาวะมะเร็ง 
  23. ลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ต้านเบาหวาน ช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต 
  24. ช่วยส่งเสริมการทำงานของตับให้เป็นปกติ
  25. เสริมความจำและคลายเครียดให้สดชื่นแจ่มใส
  26. ช่วยระบบเจริญพันธุ์ ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอโรน (Testosterone) ในเลือด


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เก๋ากี้(โกจิเบอร์รี่)

ไม้พุ่ม สูง 1-2 ม. มีหนามคมตามง่ามใบ 
• ใบ เดี่ยว เรียงสลับ ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุก กระจุกละ 3 ใบ ถ้าออกเป็นกระจุกใบกลางใหญ่กว่า 2 ใบข้างซึ่งมีขนาดไล่เลี่ยกัน ใบรูปรี รูปช้อน รูปไข่ หรือรูปคล้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดมุมมน กว้าง 0.3-2 ซม. ยาว 0.8-6 ซม. ปลายมนหรือแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ เส้นแขนงใบข้างละ 2-4 เส้น ก้านใบสั้นและแผ่ออกเล็กน้อย 
• ดอก เดี่ยว ออกตามง่ามใบ ก้านดอกยาว 0.5-1.8 ซม. กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นรูประฆัง ยาว 2-8 มม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอกสีเหลือง โคนติดกันเป็นหลอด ยาว 1-1.5 ซม. ปลายหลอดแยกเป็น 5 กลีบ สีม่วง รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม ยาวประมาณ 8 มม. เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดอยู่ที่ครึ่งบนของหลอดกลีบดอก ส่วนล่างของก้านชูอับเรณูมีขนยาวอ่อนนุ่ม ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-1.2 ซม. รังไข่รูปไข่ 
• ผล สุกสีแดงสดเนื้อนุ่ม รูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 5-8 มม. ยาว 1-2 ซม. สุกสีแดง 
• เมล็ด เล็ก มีจำนวนมาก สีขาว รูปไต เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มม.

เบญจรงค์ 5 สี

เบญจรงค์ 5 สี

เบญจรงค์ 5 สี (ชมพู)

 

เบญจรงค์ 5 สี มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น บุษบาริมทาง ตำลึงหวาน อ่อมแซ่บ ก็เรียก เป็นสมุนไพรที่มีสีม่วง เป็นทั้งผักและสมุนไพร สรรพคุณทางยาของเบญจรงค์ 5 สี ช่วยแก้ปวดบวม แก้ปวดตามข้อ ถ่ายพยาธิ แก้หอบหืด ลำต้นใช้รักษาโรคข้อรูมาติซึม รากของเบญจรงค์ 5 สีใช้แก้ผื่นผิวหนัง ส่วนที่นิยมนำไปใช้ที่สุดคือการใช้แก้โรคเบาหวาน

ผักอ่อมแซบหรือเบญจรงค์ 5 สี หรือ ตำลึงหวานหรือลืมผัวหรือ บุษบาริมทางหญ้าเบญจรงค์ก็คือต้นอ่อมแซบนั่นเอง เป็นพืชคลุมดินธรรมดา ไม้ล้มลุก สูง30-60ซม. บางครั้งเป็นเถา มีดอกหลากสีบอบบาง ได้แก่ สีเหลือง สีขาว สีม่วงขาว สีม่วงเข้ม และสีชมพูคนอีสานชอบเอามาทำแกงอ่อม ส่วนใหญ่จะขึ้นเองแล้วก็งอกงามไปเรื่อยๆ โรคแมลงไม่ค่อยมี แต่มีคุณค่าทางอาหาร และทางสมุนไพร กินสดหรือจะปรุงเป็นเมนูต่างๆเช่น ผัดไฟแดง แกงจืด แกงอ่อม ชุปแป้งทอด ลวก-กินสดจิ้มน้ำพริก และนำมาใช้ผสมกับใบย่านาง หญ้าม้า เตยหอม เพื่อทำน้ำคลอโรฟิล ไว้ดื่มตอนท้องว่าง ตามสูตรของหมอเขียว

วงศ์ ACANTHACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Asystasia gangetica (L.) T. Anders.
ชื่อสามัญ Baya
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ ต้นอ่อมแซบ ตำลึงหวาน หรือ บุษบาริมทาง บาหยา ย่าหยา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เบญจรงค์เป็นไม้ล้มลุก ใบเป็นเดี่ยวรูปหัวใจออกตรงกันข้ามกัน ผิวใบด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีขนนุ่ม โคนมนหรือเว้า ปลายใบแหลม ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยลักษณะโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ มีสีม่วง สีขาว หรือสีเหลือง อ่อมแซบชาวบ้านมักคิดว่าเป็นวัชพืช เพราะแพร่ขยายพันธุ์เร็วมาก ดอกเบจรงค์ มีหลายสี ชมพู ขาว เหลือง แต่บางชนิดในหนึ่งดอกมี 2 สี เป็นพืชตระกูลถั่ว

ไม้ล้มลุก สูง 30-60 ซม. บางครั้งเป็นเถา ลำต้นและกิ่งเป็นเหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี รูปไข่ หรือคล้ายรูปสามเหลี่ยม ยาว 2-5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบตัดหรือกลม ขอบใบเรียบหรือหยักมน แผ่นใบมีขนสั้นนุ่มหรือเกลี้ยง ก้านใบยาวได้ประมาณ 2 ซม. ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจะด้านเดียว ใบประดับรูปใบหอก ยาวประมาณ 3 มม. มีขนยาว กลีบเลี้ยง 5 กลีบ แฉกลึก กลีบรูปใบหอก ยาว 5-9 มม. มีขนกระจาย กลีบดอกรูปแตร ปลายบานออกมี 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม สีเหลืองอ่อน สีขาวครีม สีชมพู หรือสีม่วง หลอดกลีบยาวได้ประมาณ 2 ซม. เรียวแคบจรดโคน ปากหลอดกลีบเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มีขนด้านนอก กลีบกลมขนาดประมาณ 1.5 ซม. เกสรเพศผู้ 4 อัน สั้น 2 อัน ยาว2 อัน ไม่ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก อับเรณูรูปขอบขนาน ยาวไม่เท่ากัน ยาว 2.5-3 มม. รังไข่ 2 ช่อง รูปขอบขนาน มีขนปกคลุม แต่ละช่องมีออวุล 2 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ยาวประมาณ 2 ซม. มีขนที่โคน ยอดเกสรขนาดเล็ก ผลแบบแคปซูล รูปขอบขนาน ยาว 2.5-2.8 ซม. รวมก้านผล มีขนสั้นนุ่ม เมล็ด 4 เมล็ด เกลี้ยง

วิธีการปลูก
นำกระถางกระดาษมาเจาะรูที่ก้นเพื่อระบายน้ำใส่ดินให้พอดี หรือจะปลูกลงดินก็ได้ เลือกต้นอ่อมแซบที่จะมาปลูก โดยการเลือกกิ่งแก่ ริดใบที่แก่ออกเหลือใบอ่อน ปักลงดิน รดน้ำให้ชุ่มวันละ 1 ครั้ง เพาะขยายพันธุ์ การตัด ลำต้นไปปักกับดิน

ประโยชน์ด้านอาหาร ดอก ใบ ยอดอ่อน ก้าน ใบ ผัดไฟแดง แกงจืด แกงอ่อม ชุปแป้งทอด ลวก-กินสดจิ้มน้ำพริก

สรรพคุณ

ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว – นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน
ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่างละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน
ดับร้อนและแก้ไข้ – ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี
รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต – ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต
รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก – ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
บำรุงผม – ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม
ใบ แก้ปวดบวม ปวดตามข้อ ขับพยาธิ ใบและดอก สมานลำไส้ ลดไข้ บรรเทาอาการเจ็บท้องคลอดลูก แก้พิษงู และแก้ม้ามโตในเด็กที่เกิดใหม่
ราก : แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้พิษฝีภายใน แก้ไข้เหนือขับลมให้ซ่านออกมาทั่วตัว