• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

ทองอุไร

ทองอุไร

ชื่อวงศ์: Bignoniaceae

ชื่ออื่นๆ พวงอุไร ดอกสร้อยทอง ดอกละคร

ลักษณะทั่วไป:

ต้น ไม้พุ่มชนาดกลาง ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมถึงรูปไข่นก ทรงพุ่มโปร่ง ลำต้นตั้งตรง

ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น กว้าง 14-16 เซนติเมตร ยาว 20-23 เซนติเมตร ใบย่อย 5-11 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปใบหอกหรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-3 เซนติเมตร ยาว 5-6 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักฟันซี่ แผ่นใบบาง ผิวใบด้านบนสีเขียวสด ก้านใบยาว 9-12 เซนติเมตร

ดอก สีเหลืองสด ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 7-11 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกันปลายแยก 5 แฉก ปลายแหลม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายเเยกเป็น 5 แฉก คล้ายรูปแตร ดอกร่วงง่าย

ฝัก/ผล ผลแห้งแตก เป็นฝักกลม เรียวเล็ก ยาว 12-14 เซนติเมตร

เมล็ด เมล็ดแบนบาง สีน้ำตาลอ่อนมีปีก

ฤดูกาลออกดอก : กรกฎาคม-กันยายน

การขยายพันธ์ุ : ทองอุไร เป็นพันธุ์ไม้ที่ไม่ชอบน้ำขังควรเลือกสถานที่ในการปลูกควรเป็นที่ดอน หรือที่สูงที่ไม่เคยมีน้ำท่วมขัง ดินที่เหมาะสำหรับการปลูกก็คือดินร่วน ซึ่งมีธาตุอาหารเพียงพอต่อการเจริญเติบโต เราควรหมั่นใส่ปุ๋ยอินทรีย์อยู่เสมอเพื่อที่จะให้ดอกนั้นออกตลอดทั้งปี และควรที่จะตัดแต่กิ่งอย่างสม่ำเสมอด้วย ซึ่งการตัดแต่งก็ควรที่จัดตัดแต่งกิ่งให้เป็นทรงพุ่มซึ่งจะเหมาะสมกับต้นทองอุไรมากที่สุด นอกจากนั้นทองอุไรจะเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบแสงแดดตลอดทั้งวัน

สรรพคุณทางสมุนไพร : ใช้เป็นยารักษาโรคเบาหวาน และโรคเกี่ยวกับปัญหาทางเดินอาหารได้
ประโยชน์ : บูชาพระ ปลูกประดับตกเเต่งสวน

ความมงคล:

ทองอุไร เป็นไม้มงคลอีกชนิดหนึ่ง ที่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ รูปทรงเป็นช่อเป็นรวงงดงาม และทนแดดได้ดี คนโบราณเชื่อว่า ทองอุไรจะเสริมโชคชะตาของผู้ปลูก ให้มีความเจริญรุ่งเรือง มีเงินทองร่ำรวยมั่งคั่ง สมดั่งชื่อทองอุไร และอีกชื่อหนึ่งของทองอุไร ก็คือ “ดอกสร้อยทอง” ซึ่งก็ถือว่า เป็นมงคลนามด้วยเช่นกัน นอกจากความเชื่อในเรื่องของเงินๆทองๆ ตามชื่อไม้ล้มลุกนี้แล้ว ยังเชื่อกันว่า ทองอุไร จะเสริมวาสนาบารมี ช่วยให้ผู้ปลูกไม้นี้ ได้มีเกียรติมีลาภยศสูงส่งอีกด้วย

ตำแหน่งที่ปลูก:

วันพุธ คือ วันมงคลของไม้พันธุ์นี้ เพราะมีดีมีเด่นที่นามมงคล ของดอกซึ่งจะเหลืองอร่ามดั่งทองคำตระการตา ควรให้หัวหน้าครอบครัวเป็นผู้ลงมือปลูกทองอุไร เพื่อให้ได้พลังแห่งดวงชะตาที่ดีเยี่ยม และควรจะปลูกทองอุไร ไว้ทางทิศเหนือของตัวบ้าน จึงจะเอื้อให้อิทธิพลมงคลของไม้นี้ ได้เกื้อหนุนเสริมส่งดวงชะตา ของผู้เป็นเจ้าของบ้านได้ดี แต่ถ้าทิศเหนือเป็นทิศที่อยู่ทางด้านหลังของบ้านพอดี และไม่มีพื้นที่ปลูกได้ในบริเวณหลังบ้าน ก็อนุโลมให้ปลูกหน้าบ้านได้ แต่ให้เฉียงๆ ค่อนมาทางทิศเหนือไว้เป็นเกณฑ์

ทองกวาว

ทองกวาว สรรพคุณและประโยชน์ของต้นทองกวาว

ดอกตีนเป็ด

ทองกวาว ชื่อสามัญ Bastard teak, Bengal kino, Kino tree, Flame of the forest

ทองกวาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Butea monosperma (Lam.) Taub. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)

สมุนไพรทองกวาว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า จาน (อุบลราชธานี), จ้า (สุรินทร์), ทองต้น (ราชบุรี), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ (ภาคกลาง), กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), ดอกจาน (ภาคอีสาน), จอมทอง (ภาคใต้), กวาวต้น เป็นต้น

ลักษณะของทองกวาว

  • ต้นทองกวาว มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียใต้ จากประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ศรีลังกา เนปาล บังกลาเทศ ปากีสถาน อินเดีย และในแถบทางภาคตะวันตกของอินโดนีเซีย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 12-18 เมตร กิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลหนา ลักษณะของการแตกกิ่งก้านจะเป็นไปในทิศทางที่ไม่เป็นระเบียบ ส่วนเปลือกต้นจะเป็นปุ่มปม ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือการใช้กิ่งปักชำ

ต้นทองกวาวเปลือกทองกวาว

  • ใบทองกวาว ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับ ใบย่อยที่ปลายรูปไข่ กลีบแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ส่วนใบย่อยด้านข้างจะเป็นรูปไม่เบี้ยว มีความกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 17 เซนติเมตร และขอบใบเรียบ

ใบทองกวาว

  • ดอกทองกวาว ออกดอกเป็นช่อคล้ายกับดอกทองหลาง ดอกมีสีแดงส้มหรือแสด มีความยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร มีดอกย่อยเกาะกันเป็นกลุ่ม เมื่อดอกบานจะมีกลีบ 5 กลีบ และจะออกดอกมากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

รูปทองกวาว

ทองกวาว

  • ผลทองกวาว ลักษณะของผลเป็นฝักแบน ฝักมีสีเขียวอ่อนและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองเมื่อแก่เต็มที่ ที่ฝักมีขนอ่อนนุ่มสีขาวเป็นมัน ฝักโค้งงอเล็กน้อย ไม่แตก ส่วนด้านบนหนาแตกเป็น 2 ซีก ในฝักมีเมล็ดขนาดเล็กอยู่ภายใน 1 เมล็ด ฝักมีความยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร

ผลทองกวาว

สรรพคุณของทองกวาว

  1. รากทองกวาวมีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุ (ราก)
  2. รากทองกวาวใช้ต้มรักษาโรคประสาท (ราก)
  3. ดอกทองกวาวใช้ต้มดื่มช่วยถอนพิษไข้ได้ (ดอก)
  4. ช่วยแก้กระหายน้ำ (ดอก)
  5. ช่วยสมานแผลปากเปื่อย (ดอก)
  6. แก่นสามารถใช้ทาแก้อาการปวดฟันได้ (แก่น)
  7. ดอกใช้หยอดตาแก้อาการตาแดง เจ็บตา ปวดตา ระคายเคืองตา ตามัว ตาแฉะ ตาฟาง (ดอก)
  8. ช่วยแก้อาการท้องร่วง (ยาง)
  9. ทองกวาวมีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องขึ้น (อาการท้องอืดเพราะลมในกระเพาะอาหารเฟ้อขึ้น) (ใบ)
  10. ฝัก ใบ หรือเมล็ด นำมาต้มเอาแต่น้ำใช้เป็นยาขับพยาธิหรือพยาธิตัวกลม (ฝัก, ใบ, เมล็ด)
  11. ใช้บำบัดพยาธิภายใน (เมล็ด)
  12. ดอกใช้ต้มดื่มช่วยขับปัสสาวะ (ดอก)
  13. ใบช่วยรักษาริดสีดวง (ใบ)
  14. ดอกหรือใบใช้ต้มดื่มเป็นยาแก้ปวดได้ (ดอก, ใบ)
  15. เมล็ดนำมาบดผสมกับมะนาว นำมาทาบริเวณที่เป็นผดผื่นแดง อักเสบ คัน และแสบร้อน (เมล็ด)
  16. ใบใช้ตำพอกฝีและสิว แก้อาการปวด และช่วยถอนพิษได้ (ใบ)
  17. ดอกช่วยแก้พิษฝี (ดอก)
  18. รากทองกวาวนำมาใช้ประคบบริเวณที่เป็นตะคริวได้ (ราก)
  19. ช่วยลดกำหนัด (ดอก)
  20. สารสกัดจากเปลือกทองกวาวสามารถช่วยเพิ่มขนาดหน้าอกให้ใหญ่ขึ้นได้ แต่จะทำให้จำนวนอสุจิลดลง (เปลือก)

ประโยชน์ของทองกวาว

  1. ดอกใช้ย้อมสีผ้า โดยจะให้สีแดง
  2. ลำต้นเมื่อนำมาสับเป็นแผลจะมียางไหลออกมา สามารถนำมาใช้แทน Kimo ได้ หรือที่เรียกว่า Bengal kino
  3. เส้นใยจากเปลือกสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชือกหลวม ๆ และกระดาษได้
  4. ใบสดนำมาใช้ห่อของ
  5. ใบทองกวาวใช้ตากมะม่วงกวน
  6. ใบใช้เป็นอาหารสำหรับช้างและวัวควายได้
  7. ในอินเดียใช้ใบนำมาปั้นเป็นถ้วยไว้ใส่อาหารและขนมแทนการใช้พลาสติก
  8. เนื้อไม้สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องเรือนและเครื่องมือทางการเกษตรได้
  9. เนื้อไม้เมื่อแห้งจะมีน้ำหนักเบาและหดตัวมาก จึงสามารถใช้ทำกระดานกรุบ่อน้ำ ทำเรือขุดหรือเรือโปงใช้ชั่วคราว หรือใช้กั้นบ่อน้ำ ร่องน้ำ และกังหันน้ำได้
  10. ทองกวาวจัดเป็นไม้มงคลนาม คนไทยสมัยก่อนเชื่อว่าหากบ้านใดปลูกต้นทองกวาวไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเงินมีทองมาก คือสามารถมีทองได้ตามชาติหรือมีทองมากมายนั่นเอง นอกจากนี้ดอกทองกวาวยังมีความสวยงามเรืองรองเหมือนทองธรรมชาติอีกด้วย โดยตำแหน่งที่ปลูกก็คือทิศใต้ และถ้าปลูกในวันเสาร์ก็จะยิ่งเป็นมงคลขึ้นไปอีก หรือถ้าจะให้เป็นสิริมงคลมากยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือหรือเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดีก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก

ทองหลาง

ทองหลาง สรรพคุณและประโยชน์ของต้นทองหลางป่า

ทองหลางป่า

ทองหลางป่า ชื่อสามัญ Indian Coral tree, December tree

ทองหลางป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythrina subumbrans (Hassk.) Merr. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)

สมุนไพรทองหลางป่า มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตองหลาง (แพร่), ทองบก (น่าน), ทองมีดขูด (ภาคเหนือ), ทองหลาง (ภาคกลาง), เก๊าตอง (คนเมือง), ไม้ตองหนาม ไม้ตองน้ำ (ไทใหญ่), ยาเซาะห่ะ (อาข่า) เป็นต้น

ลักษณะของทองหลางป่า

  • ต้นทองหลางป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบในระยะสั้น ๆ มีความสูงของต้นประมาณ 10-20 เมตร และอาจสูงได้ถึง 25 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเป็นสีขาวหม่น มีหนามแหลมสั้น ๆ ขึ้นกระจายทั่วลำต้นและกิ่ง มีเขตการกระจายพันธุ์จากอินเดียจนถึงอินโดนีเซีย พบขึ้นตามป่าดิบบริเวณที่ชุ่มชื้นและตามริมห้วยในป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 100-900 เมตร

ต้นทองหลางป่า

ใบทองหลางป่า ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ใบกลางมีขนาดใหญ่กว่าใบข้าง ลักษณะของใบย่อยเป็นหัวใจ รูปไข่แกมสามเหลี่ยม หรือรูปไข่แกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม โคนใบตัดหรือมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-16 เซนติเมตร เส้นใบด้านล่างเด่นชัด ที่โคนก้านใบมีต่อม 1 คู่

ใบทองหลางป่า

ดอกทองหลางป่า ออกดอกเป็นช่อกระจะบริเวณปลายกิ่ง มีขนสั้นปกคลุม ดอกย่อยมีจำนวนมาก ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร กลีบดอกเป็นสีแดงเข้ม ดอกมีลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว ดอกล่างจะบานก่อน กลีบรองดอกเป็นหลอด กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบบนแผ่โค้งเป็นรูปเรือ ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน เชื่อมติดกันที่โคนด้านล่าง ก้านเกสรเป็นสีแดง อับเรณูเป็นสีเหลือง ติดดอกในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์

ดอกทองหลางป่า

รูปทองหลางป่า

ผลทองหลางป่า ผลมีลักษณะเป็นฝักโค้งแบน ตอนโคนแบน ไม่มีเมล็ด ตอนปลายหนา แบ่งเป็นห้อง ๆ มีเมล็ดประมาณ 1-5 เมล็ด รูปรี เมื่อแก่ฝักจะแตกอ้าออกตามทางยาวจากส่วนปลาย

ผลทองหลางป่า

สรรพคุณของทองหลางป่า

  1. ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ทองหลางป่าผสมกับหนามแน่ นำมาตำผสมกับปูนแดงใช้สุมแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ)
  2. ชาวอาข่าจะใช้ใบเป็นส่วนผสมของยารักษาวัณโรค (ใบ)
  3. ใบใช้ตำพอกรักษาฝี (ใบ)
  4. ใบนำมาบดทาแก้โรคบวมตามข้อ (ใบ)
  5. ชาวเขาเผ่าเย้าจะใช้ใบทองหลางป่า นำมาตำพอกรักษากระดูกหักและแก้อาการปวดกระดูก (ใบ)
  6. เปลือก แก่น และใบ นำมาให้หมูหรือไก่กินเป็นยาแก้อหิวาตกโรค (เปลือก, แก่น, ใบ)

ประโยชน์ของทองหลางป่า

  1. ใบอ่อนใช้รับประทานสดหรือใช้ใส่ในแกง หรือจะนำยอดอ่อนมาลวกรับประทานร่วมกับน้ำพริก ใส่ในแกง แกงหน่อ แกงขนุน ฯลฯ
  2. เนื้อไม้เป็นสีขาว ค่อนข้างอ่อน ใช้ทำของเล่นสำหรับเด็ก หรือนำมาใช้ทำรั้วบ้าน เพราะมีหนาม
  3. ดอกให้สีแดงสำหรับใช้ย้อมผ้า

ตีนเป็ดน้ำ

ตีนเป็ดน้ำ สรรพคุณและประโยชน์ของต้นตีนเป็ดน้ำ

ตีนเป็ดน้ำ

ตีนเป็ดน้ำ ชื่อสามัญ Pong pong

ตีนเป็ดน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cerbera odollam Gaertn. (คาร์เบอรา โอดอลลาม) จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)

สมุนไพรตีนเป็ดน้ำ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตุม ตูม พะเนียงน้ำ(กาญจนบุรี), สั่งลา (กระบี่), ตีนเป็ด ตีนเป็ดทะเล (ภาคกลาง), มะตะกอ(มลายู-นราธิวาส) เป็นต้น

ลักษณะของตีนเป็ดน้ำ

  • ต้นตีนเป็ดน้ำ มีถิ่นกำเนิดในอินเดียจนถึงทางตอนใต้ของจีน มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคมาเลเซีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกและนิวแคลิโดเนีย ส่วนในประเทศไทยนั้นจะพบได้เฉพาะทางภาคใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก ทรงร่ม เรือนยอดเป็นทรงกลมทึบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งต่ำ เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา มีช่องระบายอากาศเป็นร่องยาว มีน้ำยางสีขาวข้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดแก่ (เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด) ปลูกได้ดีในดินทั่วไป ชอบแสงแดดเต็มวัน เจริญเติบโตได้เร็ว ไม่ต้องการการดูแลมาก มักพบขึ้นตามบริเวณริมน้ำ ตามป่าชายเลน ป่าบึงน้ำจืด และป่าชายหาด

ต้นตีนเป็ดน้ำ

ตีนเป็ดทะเล

ใบตีนเป็ดน้ำ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปรียาวหรือเป็นรูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายใบมีติ่งหรือหางใบแหลม โคนใบสอบหรือเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.4-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8.9-30 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบเรียบเกลี้ยงเป็นมัน มีเส้นแขนงใบประมาณ 12-25 เส้น เห็นเส้นใบได้ชัดเจน ส่วนท้องใบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 3 เซนติเมตร

ใบตีนเป็ดน้ำ

ดอกตีนเป็ดน้ำ ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 8-35 เซนติเมตร แต่ละช่อมีดอกหลายดอก ประมาณ 10-14 ดอก ดอกย่อยเป็นสีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ก้านดอกยาวประมาณ 1-4 เซนติเมตร มีกลีบดอก 5 กลีบ เรียงซ้อนทับกันด้านซ้ายในตาดอก ปลายกลีบดอกแหลม ดอกบานมีแต้มเหลืองรอบปากหลอดกลีบดอก หลอดกลีบยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร แฉกกลีบยาวประมาณ 1.2-3.8 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้านติดกลางหลอดกลีบดอก ส่วนกลีบรองดอกหรือกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปแถบหรือรูปใบหอก กลีบยาวประมาณ 0.8-2.5 เซนติเมตร ปลายกลีบเรียวแหลม เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 6-7 เซนติเมตร

ดอกตีนเป็ดทะเล

ผลตีนเป็นน้ำ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม หรือค่อนข้างกลมรีเป็นสองพูตื้น ๆ ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อ มีขนาดกว้างประมาณ 6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ผิวผลเรียบเนียนเป็นมันและมีจุดเล็ก ๆ สีขาวกระจายทั่วไป ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มถึงสีม่วงเข้ม ภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ประมาณ 1-2 เมล็ด เมล็ดแข็ง เบา และลอยน้ำได้

ลูกตีนเป็ดน้ำ

ผลตีนเป็ดน้ำ

เมล็ดตีนเป็ดทะเล

สรรพคุณของตีนเป็ดน้ำ

  1. เมล็ดมีฤทธิ์ต่อหัว ช่วยบำรุงหัวใจ (เมล็ด)
  2. รากช่วยแก้ลม แก้ลมให้กระจาย (ราก)
  3. แก่นมีรสเฝื่อน ช่วยกระจายลม กระจายเลือด กระจายลมอันฑพฤกษ์ แก้ลมอัณฑพฤกษ์ (ลมที่ทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้) (แก่น)
  4. ช่วยแก้โลหิตพิการ (ดอก)
  5. ใบมีรสเฝื่อน ช่วยแก้ไข้หวัด แก้ไข้ตัวร้อน (ใบ) ดอกใช้เป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน (ดอก) เปลือกต้นและทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ ไข้หวัด แก้ไข้เพื่อดีพิการ แก้หวัด (เปลือกต้น, ทั้งต้น)[3],[5],[7] ส่วนน้ำมันจากเมล็ดใช้ทามีสรรพคุณแก้หวัด (น้ำมันจากเมล็ด)
  6. รากมีรสเฝื่อน ช่วยขับเสมหะ (ราก)
  7. รากช่วยแก้อาเจียน (ราก) ผล เมล็ด ใบ เปลือกต้น และทั้งต้นมีสรรพคุณทำให้อาเจียน (ผล, เมล็ด, ใบ, เปลือกต้น, ทั้งต้น)
  8. ใบและทั้งต้นแก้อาเจียนเป็นเลือด (ใบ, ทั้งต้น)
  9. ช่วยแก้หลอดลมอักเสบ (เปลือกต้น)
  10. ช่วยขับผายลม (ราก)
  11. ช่วยแก้อาการบิด (เปลือกต้น)
  12. ช่วยสมานลำไส้ (เปลือกต้น)
  13. ผล เมล็ด ใบ เปลือกต้น และทั้งต้นมีรสเฝื่อน ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย (ผล, เมล็ด, ใบ, เปลือกต้น, ทั้งต้น)
  14. ใบใช้เป็นยาฆ่าพยาธิ ส่วนเปลือกต้นใช้ขับพยาธิไส้เดือน (ใบ, เปลือกต้น)
  15. เปลือกต้นช่วยแก้นิ่ว ขับนิ่ว (เปลือกต้น)
  16. ดอกมีรสเฝื่อน ใช้แก้ริดสีดวงทวาร (ดอก)
  17. ยางสดจากต้น เมื่อนำมาผสมกับน้ำมันต้นไม้ยางนา ผสมเคี่ยวให้สุก ใช้เป็นยาแก้แผลเน่าเรื้อรัง (ยางสดจากต้น)
  18. ใบใช้รักษาโรคผิวหนัง แก้กลากเกลื้อน ช่วยฆ่าพยาธิผิวหนัง (ใบ) ส่วนกระพี้มีสรรพคุณแก้เกลื้อน (กระพี้)
  19. น้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นยาทาถูนวดทำให้ร้อนแดง ช่วยแก้อาการคันได้ (น้ำมันจากเมล็ด)
  20. เมล็ดและน้ำมันจากเมล็ดช่วยแก้หิด (เมล็ด, น้ำมันจากเมล็ด)
  21. ผลแห้งนำมาเผาไฟตำผสมกับน้ำมันพืช ใช้ทาแก้ตาปลา รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง (ผล)
  22. ช่วยรักษาโรคกลัวน้ำ (ผล)
  23. ช่วยระงับอาการปวด (ผล)
  24. ผลสดนำมาขยี้ใช้ทาแก้อาการปวด ปวดตามข้อ และแก้อาการปวดตามกล้ามเนื้อ (ผล)
  25. แก่นช่วยแก้อัมพาต (แก่น)

ประโยชน์ของตีนเป็ดน้ำ

  1. เมล็ดมีรสเฝื่อนเมา ใช้เป็นยาเบื่อปลา ส่วนน้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นยาฆ่าแมลง
  2. ผล เมล็ด และน้ำมันจากเมล็ดใช้ทำเป็นยาใส่ผมแก้ผมหงอก รักษาขน
  3. น้ำมันจากเมล็ดใช้ใส่ผมเป็นยาแก้เหา โดยใช้ส่วนผสมของเมล็ดตีนเป็ดน้ำกับน้ำในอัตราส่วน 1:1 เมื่อนำไปฆ่าเหาให้ใช้ชโลมผมทิ้งไว้ประมาณ 6 ชั่วโมง จะทำให้เหาทั้งหมดตายและไข่ฝ่อทั้งหมด โดยเมล็ดจากลูกตีนเป็ดน้ำจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดเหาได้ดีกว่ายาฆ่าเหาที่ใช้สารเคมีที่มีวางขายตามท้องตลาด และมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าการใช้ใบน้อยหน่า เนื่องจากใช้ระยะเวลาในการชโลมผมน้อยกว่า อีกทั้งยังมีความปลอดภัยมากกว่าอีกด้วย
  4. เมล็ดใช้ทำเป็นไม้ประดับแห้ง
  5. ต้นตีนเป็ดน้ำมีทรงพุ่มสวยงาม ผลและดอกสวย ดอกมีกลิ่นหอม ใบไม่ค่อยหลุดร่วง จึงใช้ปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาตามลานจอดรถหรือริมถนนได้ หรือจะใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามริมสระว่ายน้ำ ริมทะเล ฯลฯ ก็ได้เช่นกัน แต่ยางจากต้นเป็นอันตรายจึงไม่ควรปลูกใกล้กับสนามเด็กเล่นหรือบริเวณที่มีเด็กอยู่