• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

บุหงาส่าหรี

บุหงาส่าหรี (Chinese Rose)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Citharexylum spinosum Linn.
ชื่อวงศ์ Verbenaceae
ชื่ออื่น บุหงาบาหลีบุหงาส่าหรี

บุหงาส่าหรีเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ลักษณะทรงพุ่มโปร่ง แตกกิ่งก้านสาขามากมาย เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล มีความสูงของลำต้นประมาณ 3-10 เมตร ใบมีลักษณะเป็นรูปหอก โคนใบสอบ ปลายใบแหลม แผ่นใบเรียบ มักออกเป็นใบเดี่ยวแบบตรงกันข้าม เส้นกลางใบหนา ก้านใบมีสีส้ม ส่วนดอกของบุหงาส่าหรีมีกลิ่นหอมมาก โดยเฉพาะในตอนกลางคืนไปจนถึงตอนสายๆ มักออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อดอกมีความยาวประมาณ 10-20 ซม. กลีบดอกมีสีขาวจำนวน 5 กลีบ โดยจะทยอยบานจากโคนช่อไปสู่ปลายช่อ ลักษณะช่อดอกจะห้อยลงมา และบานอยู่ในช่อได้นานประมาณ 8-10 วัน เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกที่บานแล้วมีประมาณ 1 ซม. สามารถให้ดอกได้ตลอดทั้งปี

การขยายพันธุ์ 
ทำได้โดยวิธีการตอนกิ่ง หรือปักชำ

วิธีปลูกและการดูแลรักษา 
บุหงาส่าหรีสามารถเจริญงอกงามได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ทนทานต่อสภาพอากาศและศัตรูพืชได้ดี ดูแลรักษาง่าย ควรตัดแต่งกิ่งให้มีทรงพุ่มที่สวยงามอยู่เสมอๆ ใบของบุหงาส่าหรีมักจะเปลี่ยนเป็นสีส้มและร่วงมากในฤดูร้อนหรือถ้าอยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง แต่ก็จะกลับมาผลิดอกสวยงามทั้งต้นหากได้รับน้ำอย่างเพียงพอในภายหลัง

บุหงาส่าหรีให้ดอกได้ตลอดปี ดอกให้กลิ่นหอมมาก จึงมักนิยมปลูกไว้เป็นไม้ประดับตามอาคารบ้านเรือน และตามสถานที่ต่างๆ หรือนำไปสกัดทำเป็นน้ำหอม หรือจะใช้อบผ้าให้มีกลิ่นหอมก็ได้ ด้วยช่อดอกที่มีสีขาวยาวเรียว ทรงสวย แถมยังมีกลิ่นหอม จึงนิยมนำไปใช้ประกอบในพิธีงานมงคลต่างๆ เช่น ใช้ประดับผมของเจ้าสาว ฯลฯ และยังเชื่อกันว่า ถ้าปลูกต้นบุหงาส่าหรีไว้ในบ้านก็จะทำให้ครอบครัวนั้นมีความสุขและเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

บ๊วยจีน

บ๊วยจีน สรรพคุณและประโยชน์ของบ๊วยจีน

บ๊วย

บ๊วย ภาษาอังกฤษ Chinese plum, Japanese apricot, Ume

บ๊วย ชื่อวิทยาศาสตร์ Prunus mume Siebold & Zucc. จัดอยู่ในวงศ์ ROSACEAE ในตระกูลพรุน เช่นเดียวกับพลัม ลูกท้อ เชอร์รี่ อัลมอนด์ และนางพญาเสือโคร่ง

บ๊วย เป็นผลไม้เมืองหนาวที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศจีน ต่อมาภายหลังได้แพร่กระจายไปหลายประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ไทย ลาว พม่า เวียดนาม ไต้หวัน ฯลฯ สำหรับในประเทศไทยมีการเพาะปลูกกันมานานแล้ว โดยได้แพร่เข้ามาทางภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงราย โดยสายพันธุ์ที่นิยมเพาะปลูกกันได้แก่

  • บ๊วยพันธุ์เชียงราย หรือ บ๊วยพันธุ์แม่สาย บ๊วยชนิดนี้จัดเป็นพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมของไทย ต้องปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 500 เมตรขึ้นไป และยังมีข้อเสียก็คือ ผลมีขนาดเล็กไม่ตรงกับความต้องการของโรงงานแปรรูป
  • บ๊วยพันธุ์ปิงติง สายพันธุ์นี้เป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากไต้หวัน เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป
  • บ๊วยพันธุ์เจียนโถ พันธุ์นี้เป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากไต้หวันเช่นเดียวกัน และเหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป
  • บ๊วยพันธุ์บารมี 1 หรือ บ๊วยพันธุ์ขุนวาง 1 สายพันธุ์นี้เป็นพันธุ์ที่ถูกคัดเลือกมาจากศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ จุดเด่นก็คือ ลักษณะของผลจะมีขนาดใหญ่และเหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป
  • บ๊วยพันธุ์บารมี 2 หรือ บ๊วยพันธุ์ขุนวาง 2 สายพันธุ์นี้เป็นพันธุ์ที่ถูกคัดเลือกมาจากศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่เช่นกัน นอกจากจะให้ผลที่มีขนาดใหญ่แล้ว ยังให้ผลผลิตที่สูงอีกด้วย และเหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป

ต้นบ๊วย

ลักษณะของบ๊วย

  • ต้นบ๊วย จัดเป็นไม้ผลยืนต้นที่สามารถเพาะปลูกได้ง่าย ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนัก มีโรคและแมลงรบกวนน้อย และให้ผลผลิตสูงตามอายุและขนาดลำต้น โดยต้องการอุณหภูมิในการปลูกต่ำประมาณ 7.2 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้น สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเสียบกิ่งหรือด้วยวิธีการปักชำ

รูปต้นบ๊วย

  • ใบบ๊วย ใบมีขนาดเล็ก มีสีเขียวอมเทา ขอบใบเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย

ลูกบ๊วย

  • ดอกบ๊วย ดอกมีกลิ่นหอม มีสีขาวหรือสีชมพู

ลักษณะบ๊วย

ดอกบ๊วยรูปดอกบ๊วย
  • ผลบ๊วย หรือ ลูกบ๊วย ผลมีลักษณะกลมสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลบ๊วยโดยทั่วไปแล้วจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร เนื้อมีรสขมอมเปรี้ยวและมีกลิ่นหอม ผลสุกเนื้อนิ่ม ในผลมีเมล็ดแข็ง ในประเทศญี่ปุ่นและไต้หวันผลจะแก่และเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม ส่วนในประเทศไทยจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนเมษายน

ลูกบ๊วยสด

ผลบ๊วย

รูปบ๊วย

บ๊วยดำ

โอวบ๊วย หรือ บ๊วยดำ ภาษาจีนกลางเรียกว่า "อูเหมย" ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Smoked plum โดยนำส่วนของผลบ๊วยที่ใกล้จะสุกมาทำเป็นยา หรือในชื่อของเครื่องยา Fructus Mume[8] (ผู้เขียนเข้าใจว่าเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากบ๊วย แต่จะมีสรรพคุณแตกต่างกันออกไป ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมาจากสถาบันการแพทย์แผนไทยและจีน)

สรรพคุณบ๊วยดำ

  1. โอวบ๊วยมีรสเปรี้ยว ฝาด และสุขุม มีฤทธิ์ช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ปอด ช่วยระงับอาการไอ แก้ไอแห้ง อาการไอเรื้อรัง
  2. โอวบ๊วยมีฤทธิ์ช่วยเสริมธาตุน้ำ ช่วยแก้ร้อนแบบพร่อง แก้อาการร้อนใน ช่วยแก้กระหายน้ำ
  3. ช่วยลดอาการไข้
  4. ช่วยสมานลำไส้ ช่วยระงับอาการท้องร่วง แก้อาการท้องร่วงเรื้อรังและมีเลือดปน บิดเรื้อรัง
  5. ช่วยป้องกันโรคติดต่อในลำไส้ได้
  6. มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิ แก้พยาธิ
  7. ช่วยห้ามเลือดได้ดี
  8. บ๊วยดำประกอบด้วยกรดมาลิก กรดซิตริก กรดซักซินิก ไฟโตสเตอรอล และในเมล็ดจะมีน้ำมัน โดยบ๊วยดำสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่าง ๆ ได้หลายชนิด เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อบิด เชื้อวัณโรค เชื้ออหิวาตกโรค เชื้อไทฟอยด์หรือไข้รากสาดใหญ่

ขนาดและวิธีใช้ : ใช้ประมาณ 6-12 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่ม

ข้อห้ามใช้ : ควรระมัดระวังในการใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีไข้และร้อนแกว่ง

 

สรรพคุณของบ๊วย

  1. ช่วยเพิ่มกำลัง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย เพราะการที่คนเรารู้สึกมีอาการเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย ก็เนื่องมาจากกรดในเลือดสูง ร่างกายจึงไม่สามารถปรับสมดุลความเป็นด่างได้ทัน แต่เพราะบ๊วยที่ความเป็นด่างที่ค่า pH 7.35 ซึ่งใกล้เคียงกับเลือดของเรา ดังนั้นการรับประทานบ๊วยจึงช่วงถ่วงดุลความด่างได้
  2. ช่วยลดการกระหายน้ำ ช่วยลดการสูญเสียเหงื่อในร่างกาย
  3. ช่วยป้องกันเป็นลมแดด สำหรับผู้ที่ทำงานหรือออกกำลังกายกลางแจ้ง เนื่องจากบ๊วยโดยเฉพาะบ๊วยเค็มจะมีโซเดียมอยู่มาก จึงช่วยเติมเกลือแร่ให้กับร่างกาย โดยควรกินพร้อมกับการดื่มน้ำแบบค่อย ๆ จิบก็จะช่วยได้มาก
  4. ช่วยลดมลพิษและอาหารที่เป็นพิษต่อร่างกาย และช่วยลดกรดในกระเพาะ
  5. ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบ โรคฟัน แก้ปัญหาเรื่องการเกิดกลิ่นปาก
  6. ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
  7. ช่วยปรับสมดุลในกระเพาะอาหารให้มีความแข็งแรง
  8. ช่วยเสริมสร้างระบบการย่อยอาหาร แก้อาการอาหารไม่ย่อย หรือหากมีอาการท้องร่วง จุกเสียดแน่นท้อง การรับประทานบ๊วยจะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้
  9. ช่วยรักษาอาการท้องร่วงเรื้อรังได้
  10. ช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
  11. ช่วยขับพยาธิบางชนิดในลำไส้ได้
  12. บ๊วยเป็นหนึ่งในอาหารที่เป็นตัวช่วยในระบบขับถ่ายน้ำในร่างกาย เพราะการรับประทานอาหารที่มีรสจัด เค็มจัด หรือเผ็ดจัด จะทำให้การขับถ่ายน้ำไม่ค่อยดี อาจทำให้เกิดโรคในระบบการขับถ่ายน้ำตามมา เช่น โรคถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคบวมน้ำ โรคไต เป็นต้น ซึ่งการรับประทานบ๊วยจะช่วยลดอาการดังกล่าวได้
  13. ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา (น้ำบ๊วย)
  14. ช่วยแก้อาการแพ้ท้องของสตรีมีครรภ์ 
  15. ผลบ๊วยแช่น้ำเกลือนำมาคั้นเอาแต่น้ำใช้ดื่มรักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติของสตรีได้

ประโยชน์ของบ๊วย

  • แม้ว่าบ๊วยจะเป็นผลไม้ที่ใช้รับประทานสดไม่ได้ แต่ก็สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เพื่อใช้บริโภคได้ เช่น บ๊วยเค็ม บ๊วยดอง หรือบ๊วยเจี่ย บ๊วยแช่อิ่ม บ๊วยอบแห้ง ทำแยม น้ำบ๊วย ยาอมรสบ๊วย ฯลฯ หรือนำไปใช้ทำเป็นอาหาร เช่น ปลานึ่งบ๊วย น้ำจิ้มบ๊วย ซอสบ๊วย เป็นต้น
  • การรับประทานบ๊วยจะช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน เมารถ เมาเรือ หรือเมาเครื่องบินได้ หากคุณต้องเดินทางไกลอยู่บ่อย ๆ พกบ๊วยติดตัวไว้จะช่วยได้มาก
  • ช่วยแก้อาการเมาค้างเนื่องมาจากการดื่มเหล้าดื่มสุรา
  • หากคุณมีอาการง่วงนอน บ๊วยถือว่าเป็นของทานเล่นที่ช่วยแก้ปัญหานี้ได้ เพราะจะช่วยผ่อนคลายอาการง่วงนอนได้เป็นอย่างดี

บ๊วยเค็ม

ข้อควรระวังในการรับประทานบ๊วย

  • สำหรับผู้ที่มีปัญหาเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดอาหารที่มีความเค็ม ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ "บ๊วยเค็ม" เพราะความเค็มเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคชนิดนี้และอาจทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น
  • บ๊วยหวานมีการตรวจพบว่ามีสารซัคคาริน (ขัณฑสกร) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานในอาหารแห้ง โดยตรวจพบที่ด่านแม่สายมากถึง 80% การได้รับสารชนิดนี้มากจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร มีอาการระคายเคืองในช่องปาก และเป็นโรคกระเพาะอาหารได้
  • สำหรับคนทั่วไปและโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับหญิงตั้งครรภ์ การรับประทานบ๊วยเค็มในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้ร่างกายมีปริมาณของโซเดียมจากเกลือสูงกว่าปกติ ทำให้มีอาการกระหายน้ำ เป็นร้อนใน เพิ่มความเสี่ยงต่อการมีภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้ไตและหัวใจทำงานหนักขึ้น แนะนำว่าควรเลือกรับประทานอาหารที่มีรสเค็มปานกลาง และลดปริมาณของอาหารที่มีโซเดียมสูง

วิธีทำน้ำบ๊วย

  1. อย่างแรกให้เตรียมวัตถุดิบดังนี้ คือ บ๊วยดองน้ำเกลือ 10 เม็ด / น้ำตาลทราย ½-1 ถ้วยตวง / เกลือป่น 1-2 ช้อนชา / น้ำสะอาด 6 ถ้วย
  2. เมื่อเตรียมเสร็จแล้ว ให้นำบ๊วยมายีเอาแต่เนื้อ ใส่น้ำลงในหม้อและใส่น้ำตาล ตั้งไฟพอเดือด เมื่อน้ำตาลละลายให้ใส่บ๊วย ต้มสักครู่จนน้ำมีสีเหลืองอ่อน ๆ
  3. หลังจากนั้นให้ใส่เกลือแล้วคนให้ทั่ว ชิมรสให้มีเปรี้ยว หวาน และเค็มเล็กน้อย เสร็จแล้วปิดฝาทิ้งไว้รอจนเย็น แล้วนำมาเทใส่ขวดและแช่ตู้เย็น เป็นอันเสร็จ
  4. หากจะนำมาดื่มก็เพียงแค่ตักน้ำแข็งใส่แก้ว แล้วเทน้ำบ๊วยใส่แก้ว ดื่มได้ทันที

บัวหลวง

บัวหลวง สรรพคุณและประโยชน์ของดอกบัวหลวง

บัวหลวง

บัวหลวง ชื่อสามัญ Lotus, Sacred lotus, Egyptian lotus

บัวหลวง ชื่อวิทยาศาสตร์ Nelumbo nucifera Gaertn. จัดอยู่ในวงศ์บัวหลวง (NELUMBONACEAE)

สมุนไพรบัวหลวง มีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า โกกระณต, บัว, บัวอุบล, บัวฉัตรขาว, บัวฉัตรชมพู, บัวฉัตรสีชมพู, บุณฑริก, ปุณฑริก, ปทุม, ปัทมา, สัตตบงกช, สัตตบุษย์, โช้ค (เขมร) เป็นต้น

นอกจากนี้บัวหลวงยังมีอยู่ด้วยกันหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งต่างก็มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามขนาดและลักษณะของดอก ได้แก่

  • ดอกสีชมพู จะเรียกว่า โกกระณต ปทุม ปัทมา
  • ดอกสีขาว จะเรียกว่า บุณฑริก ปุณฑริก
  • ดอกเล็กสีชมพู จะเรียกว่า บัวเข็มชมพู บัวปักกิ่งชมพู บัวหลวงจีนชมพู
  • ดอกเล็กสีขาว จะเรียกว่า บัวเข็มขาว บัวปักกิ่งขาว บัวหลวงจีนขาว
  • ดอกสั้นป้อมสีชมพูกลีบซ้อน จะเรียกว่า บัวฉัตรสีชมพู บัวสัตตบงกช
  • ดอกสั้นป้อมสีขาวกลีบซ้อน จะเรียกว่า บัวฉัตรขาว บัวสัตตบุษย์

ลักษณะของบัวหลวง

  • ต้นบัวหลวง จัดเป็นไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีทั้งเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินและเป็นไหลอยู่เหนือดินใต้น้ำ ลักษณะของเหง้าเป็นท่อนยาว มีปล้องสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลือง มีความแข็งเล็กน้อย หากตัดตามขวางจะเห็นเป็นรูปกลม ๆ อยู่หลายรู โดยส่วนของไหลจะเป็นส่วนเจริญไปเป็นต้นใหม่ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ในระดับน้ำลึก 30-50 เซนติเมตร และสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดหรือวิธีการแยกไหล มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย

ต้นบัวหลวง

ต้นดอกบัวหลวง

ใบบัวหลวง ใบเป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนจะลอยปริ่มน้ำ ส่วนใบแก่แผ่นใบจะชูขึ้นเหนือน้ำ ลักษณะของใบเป็นรูปเกือบกลมและมีขนาดใหญ่ โดยมีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ขอบใบเรียบและเป็นคลื่น ผิวใบด้านบนเป็นนวลเคลือบอยู่ ก้านใบจะติดอยู่ตรงกลางของแผ่นใบ ก้านใบมีลักษณะแข็งและเป็นหนาม หากตัดตามขวางจะเห็นรูอยู่ภายใน และก้านใบจะมีน้ำยางสีขาว เมื่อหักก้านจะมีสายใยสีขาว ๆ สำหรับใบอ่อนจะเป็นสีเทานวล ปลายจะม้วนงอขึ้นเข้าหากันทั้งสองด้าน

ใบบัวหลวง

ดอกบัวหลวง ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว มีสีขาว สีชมพู มีกลิ่นหอม มีกลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็กและสีขาวอมเขียวหรือเป็นสีเทาอมชมพู ร่วงได้ง่าย ส่วนกลีบดอกจะมีจำนวนมากและเรียงซ้อนกันอยู่หลายชั้น ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่กว้างประมาณ 5-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7-9 เซนติเมตร เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 20-25 เซนติเมตร ในดอกจะมีเกสรตัวผู้สีเหลืองอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีความยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร และล้อมรอบอยู่บริเวณฐานรองดอกซึ่งมีลักษณะเป็นรูปกรวยหงาย หรือที่เรียกว่า "ฝักบัว" ที่ปลายอับเรณูจะมีระยางคล้ายกระบองเล็ก ๆ สีขาว ส่วนเกสรตัวเมียจะมีรังไข่ฝังอยู่ในฐานรองดอก เมื่ออ่อนเป็นสีเหลือง หากแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว ช่องรังไข่จะเรียงเป็นวงบนผิวหน้าตัด มีจำนวน 5-15 อัน ส่วนก้านดอกมีสีเขียว ลักษณะยาวและมีหนามเหมือนก้านใบ โดยก้านดอกจะชูขึ้นเหนือน้ำและชูขึ้นสูงกว่าก้านใบเล็กน้อย ดอกบัวหลวงจะเริ่มบานในตอนเช้า โดยจะออกดอกและผลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม (ดอกมีสารอัลคาลอยด์ (alkaloids) ชื่อ nelumbine ส่วน Embryo มี lotusine ส่วนเกสรมีสารฟลาโวนอยด์หลายชนิด เช่น quercetin, isoquercitrin, luteolin, luteolin glucoside และยังพบว่ามีสารอัลคาลอยด์ด้วย)

ดอกบัวหลวง

ดอกบัวรูปดอกบัวหลวงรูปภาพดอกบัวหลวง

เกสรบัวหลวง

ฝักบัวหลวง ในฝักมีผลอ่อนสีเขียวนวลจำนวนมาก ผลจะฝังอยู่ในส่วนที่เป็นฝักรูปกรวยในดอก ในรูปกรวยของดอกนั้นเมื่ออ่อนจะเป็นสีเหลือง เมื่อแก่แล้วจะขยายใหญ่ขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีเทาอมเขียว โดยจะมีผลสีเขียวอ่อนฝังอยู่ในฝักรูปกรวยเป็นจำนวนมาก

ฝักบัวหลวงฝักบัวหลวงแก่

ผลบัวหลวง หรือ เมล็ดบัวหลวง ออกผลเป็นกลุ่มหรือที่เรียกว่าฝัก ลักษณะผลเป็นรูปกลมรี ผลอ่อนมีสีเขียวนวลและมีจำนวนมาก เมล็ดมีความกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ในเมล็ดมีดีบัวหรือต้นอ่อนที่ฝังอยู่กลางเมล็ดมีสีเขียว (เมล็ดมีสารอัลคาลอยด์ (alkaloids) และ beta-sitostero

รูปบัวหลวง

  • ดีบัวหลวง คือ ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ในเม็ดบัวหลวง ดีบัวมีลักษณะคล้ายสาก มีความยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร มีใบอ่อน 2 ใบ ใบหนึ่งสั้น ส่วนอีกใบยาว ใบมีสีเขียวเข้มหรือสีเขียวอมเหลือง ปลายใบมีลักษณะม้วนเป็นรูปคล้ายลูกศร มีต้นอ่อนตรง ขนาดเล็กมากอยู่ระหว่างใบอ่อนทั้งสอง มีความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร โคนต้นมีสีเหลืองอ่อนหรือเป็นสีเหลืองอมเขียว ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร เนื้อหนาเปราะ ร้อนหน้าตัดจะมีรูเล็ก ๆ จำนวนมาก ดีบัวมีรสขมจัด แต่ไม่มีกลิ่น (ดีบัวมีสารในกลุ่มอัลคาลอนด์อยู่หลายชนิด เช่น Demethylcoclaurine, Isoliensinine, Liensinine, Lotusine, Methyl corypalline, Neferine, Nuciferine, Pro Nuciferine และยังมีสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ เช่น Galuteolin, Hyperin, Rutin)

สรรพคุณของบัวหลวง

  1. รากและเม็ดบัวมีรสหวานเย็นและมันเล็กน้อย ช่วยบำรุงกำลัง ใช้เป็นยาชูกำลัง (ราก, เม็ดบัว, ดอก)
  2. ช่วยบำรุงร่างกาย แก้กษัย (เม็ดบัว, ใบอ่อน, กลีบดอก)
  3. เม็ดบัวมีคุณค่าทางอาหารสูง ช่วยเพิ่มพลังงานและไขมันในร่างกาย จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เพิ่งหายป่วยใหม่ ๆ ที่ยังมีอาการอ่อนเพลียอยู่ หรือใช้เป็นอาหารบำรุงกำลังของหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้อง มีอาการอ่อนเพลีย หรืออาเจียน (เม็ดบัว)หรือจะใช้รากต้มเป็นน้ำกระสายดื่มแก้อาการอ่อนเพลียก็ได้ (ราก) ทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย (เม็ดบัว)
  4. ดอกบัวสดสีขาวใช้ต้มกับน้ำดื่มติดต่อกัน จะมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการอ่อนเพลีย ทำให้สดชื่นขึ้น และช่วยลดอาการใจสั่น (ดอก, เกสร กลีบดอก)
  5. ช่วยบำรุงโลหิต (เม็ดบัว, ใบแก่)
  6. ช่วยลดความดันโลหิตสูงและลดไขมันในเส้นเลือด ด้วยการใช้ใบสดหรือแห้งนำมาหั่นเป็นฝอยต้มกับน้ำพอท่วมจนเดือดประมาณ 10-15 นาที ใช้ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 ครั้ง โดยให้ดื่มติดต่อกันอย่างน้อย 20 วัน และตรวจวัดความดันเป็นระยะพร้อมทั้งสังเกตอาการ ได้แก่ อาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มึนงง ปวดท้ายทอย หากดื่มแล้วความดันโลหิตลดลงก็ต้องหมั่นตรวจวัดความดันอย่างน้อยเดือนละ 2-3 ครั้ง พร้อมทั้งสังเกตอาการดังกล่าวไปด้วย ถ้าหากพบว่ามีอาการผิดปกควรรีบไปพบแพทย์ (ใบ) หรือจะใช้ดีบัวประมาณ 1.5-6 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่ม ก็มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตได้เช่นกัน อีกทั้งยังช่วยขยายเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจในกรณีที่เส้นเลือดตีบ (ดีบัว)
  7. ช่วยบำรุงประสาทและสมอง (เม็ดบัว, เกสร)
  8. ช่วยผ่อนคลายความเครียด อาการหงุดหงิดนอนไม่หลับ ช่วยทำให้นอนหลับสบาย ด้วยการใช้ดีบัวประมาณ 1.5-6 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่ม (ดีบัว)
  9. รากบัวหลวงช่วยเสริมฤทธิ์ยานอนหลับ ทำให้หลับสบาย โดยมีฤทธิ์ไม่แรงมากนัก (ราก)
  10. เม็ดบัวมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยป้องกันมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งตับ (เม็ดบัว)
  11. ช่วยชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ และผิวพรรณ (เม็ดบัว)
  12. เกสรบัวหลวงนำมาใช้ปรุงเป็นยาหอม เป็นยาชูกำลัง บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่นใจ แก้อาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ เป็นยาสงบประสาท และช่วยขับเสมหะ โดยใช้เกสรแห้งนำมาบดเป็นผงครั้งละ 0.5-1ช้อนชา ใช้ชงกับน้ำร้อนดื่ม หากเป็นเกสรสด ให้ใช้ประมาณ 1 หยิบมือ นำมาชงกับร้อน 1 แก้ว (ขนาดประมาณ 240 มิลลิลิตร) ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที แล้วนำมาดื่มในขณะที่ยังอุ่นครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 รอบ (เกสรตัวผู้)
  13. ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ (ดอก, เกสรตัวผู้, เม็ดบัว)
  14. ดีบัวมีสาร Methylcorypalline ซึ่งเป็นตัวช่วยทำให้เส้นเลือดขยาย ใช้เป็นยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ แก้เส้นเลือดตีบในหัวใจเนื่องจากมีไขมันไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด เพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ และช่วยบำรุงหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้ดีบัวแห้ง 1 หยิบมือ นำมาชงกับน้ำร้อน 1 แก้วปกติ แล้วใช้ดื่มในขณะที่ยังอุ่น ๆ ก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง หรือจะปั้นเป็นเม็ดขนาด 0.5 กรัม ใช้รับประทานครั้งละ 3-5 เม็ด ก่อนอาหารเช้าและเย็นก็ได้ แถมยังช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยแก้ไข้และช่วยบำรุงร่างกายได้อีกด้วย (ดีบัว)
  15. ช่วยคุมธาตุในร่างกาย (เกสรตัวผู้)
  16. เหง้าหรือรากบัวใช้ต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติในเด็ก (ราก)
  17. ช่วยลดไข้ (ราก, ดีบัว) ช่วยแก้ไข้ (เกสรตัวผู้, ใบแก่, ดอก)
  18. ช่วยแก้ไข้รากสาดและไข้มีพิษร้อน (ดอก, เกสร)
  19. ช่วยระงับอาการหวัดคัดจมูก ลดเสมหะ ด้วยการใช้ใบบัวมาหั่นเป็นฝอยแล้วผึ่งแดดให้แห้ง ใช้ทำเป็นมวนสูบเพื่อช่วยบรรเทาอาการหวัดคัดจมูก (ใบ)
  20. ใบแก่ใช้สูดกลิ่น ช่วยแก้ริดสีดวงจมูก (ก้านดอก, ใบแก่)
  21. ช่วยแก้อาการไอ (ราก)
  22. ช่วยแก้เสมหะ (ราก, เหง้า, เม็ดบัว, ดอก, เกสรตัวผู้)
  23. ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (เกสร, เม็ดบัว, ราก)
  24. ช่วยแก้อาการติดเชื้อในช่องปาก ด้วยการใช้ดีบัวประมาณ 1.5-6 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่ม (ดีบัว)
  25. ช่วยแก้ลม (เกสร)
  26. ช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นเลือด (ดีบัว)
  27. ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล (เกสรตัวผู้)
  28. ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ราก, เม็ดบัว) หรือจะใช้ใบนำมาหั่นเป็นฝอยชงดื่มแทนน้ำชา ก็ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำได้เช่นกัน (ใบ) หรือจะใช้ดีบัวนำมาต้มเอาน้ำดื่มก็ช่วยแก้กระหายน้ำด้วยเช่นกัน และยังช่วยอาการกระหายหลังอาเจียนเป็นเลือดได้ด้วย (ดีบัว)
  29. ช่วยบำรุงปอด (เกสรตัวผู้)
  30. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (เกสรตัวผู้, ฝัก, เปลือกฝัก)
  31. ช่วยแก้อาการท้องเดิน (ยางจากก้านใบและก้านดอก, เปลือกฝัก)
  32. กลีบดอกชั้นในและก้านใบ ใช้เป็นยาแก้อาการท้องร่วง (ใบ, กลีบดอกชั้นใน) ส่วนชาวอินเดียจะให้เด็กดื่มน้ำรากบัว เพื่อช่วยระงับอาการท้องร่วง (ราก, สายบัว)
  33. เม็ดบัวช่วยรักษาอาการท้องร่วงและบิดเรื้อรัง (เม็ดบัว)
  34. ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ (เม็ดบัว)
  35. ช่วยสมานแผลในมดลูก (เปลือกฝัก)
  36. ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะบ่อย (ดอก, เกสรตัวผู้, ราก)
  37. กลีบดอกชั้นในนำมาตำใช้พอกแก้โรคซิฟิลิส (กลีบดอกชั้นใน)
  38. ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี (เกสรตัวผู้)
  39. ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ (เกสรตัวผู้, เม็ดบัว)
  40. ช่วยบำรุงถุงน้ำดี (ดีบัว)
  41. ช่วยแก้ดีพิการ (ราก, เม็ดบัว)
  42. ช่วยบำรุงตับ (เกสรตัวผู้)
  43. ช่วยบำรุงไต ม้าม ตับ (เม็ดบัว)
  44. ดีบัวช่วยแก้อหิวาตกโรค โดยชงดีบัวในน้ำร้อน แล้วดื่มในขณะที่ยังอุ่นครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 ครั้ง (ดีบัว)
  45. ช่วยแก้พุพอง (ราก, เม็ดบัว)
  46. รากหรือเหง้าช่วยห้ามเลือด ทำให้เลือดหยุด (ราก, ดอก, กลีบดอก, ก้านใบ)
  47. ใช้เป็นยาฝาดสมาน ช่วยสมานแผล (ดอก, เกสรตัวผู้, เปลือกฝัก)
  48. ช่วยแก้อาการน้ำกามเคลื่อนหรืออาการฝันเปียก (เกสรตัวผู้, เม็ดบัว, ดีบัว)
  49. ช่วยแก้อาการผดผื่นคัน (ดอก)
  50. ช่วยแก้พิษเห็ดเมา (ฝัก)
  51. บัวทั้งต้นใช้แก้พิษจากการรับประทานเห็ดพิษและอาการเป็นพิษจากพิษสุราเรื้อรัง ด้วยการใช้ทั้งต้นประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มรับประทาน (ทั้งต้น)
  52. ในบางตำราระบุว่าใบบัวสามารถใช้รักษาอาการปวดบวมและอาการอักเสบได้ ด้วยการนำใบบัวหลวงมาล้างให้สะอาดแล้วโขลกให้ละเอียด จากนั้นสกัดด้วยแอลกอฮอล์ แล้วนำสารสกัดที่ได้มาทาบริเวณที่มีอาการ (ใบ)
  53. ช่วยบำรุงไขข้อ เส้นเอ็น แก้โรคข้อต่าง ๆ (เม็ดบัว)
  54. ช่วยแก้อาการช้ำใน (ดอก)
  55. ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี (เม็ดบัว, ดีบัว, ดอกบัว)
  56. ใบแก่ใช้รับประทานจะช่วยเพิ่มแรงเบ่งขณะคลอดบุตรของสตรี (ใบแก่) ช่วยทำให้คลอดบุตรง่าย (ดอกบัว)
  57. ช่วยขับรกออกมาให้เร็วขึ้น (ฝัก)

ประโยชน์ของบัวหลวง

  1. รากบัวหลวง (เหง้าบัว) สามารถนำมาใช้ปรุงเป็นอาหารได้ทั้งคาวหวาน เช่น เหง้าบัวผัดน้ำมัน เหง้าบัวอ่อนต้มหรือตุ๋นกระดูกหมูกับเครื่องยาจีน นำมาเชื่อมแห้งรับประทานเป็นของหวาน ทำเป็นน้ำรากบัว หรือนำมาต้มเป็นน้ำสมุนไพรรากบัว
  1. ไหลบัว (หลดบัว) สามารถนำมาประกอบอาหารได้ทั้งสดและแห้ง เช่น การนำมาทำแกงเลียง แกงส้ม ต้มกะทิ ผัดเผ็ดต่าง ๆ ฯลฯ
  2. สายบัวนำมาปรุงเป็นอาหารหรือใช้แทนผักได้หลายชนิด เช่น แกงส้มสายบัวกับปลาทู แกงส้มสายบัว ต้มกะทิปลาทู ฯลฯ
  3. ดอกนำมาบูชาพระหรือนำมาใช้ในทางศาสนา เนื่องจากดอกบัวหลวงเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามทางพระพุทธศาสนา มีความเกี่ยวข้องโดยตรงสำหรับการบูชาพระรัตนตรัย อันได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
  4. กลีบดอกนิยมนำไปทำเมี่ยงดอกบัว ยำดอกไม้ หรือทำเมนูกลีบัวชุบแป้งทอด
  5. กลีบดอกแห้งในอดีตใช้มวนเป็นบุหรี่
  6. สารสกัดจากเกสรนำมาใช้ทำเป็นเครื่องสำอางที่เป็นตัวช่วยชะลอการสร้างเม็ดสีผิว ทำให้ผิวหนังเต่งตึงและอ่อนนุ่ม เช่น ครีมกันแดด ครีมบำรุงผิวทั้งกลางวันกลางคืน
  7. เกสรตัวผู้เมื่อนำมาตากแห้ง สามารถใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องยาไทยและจีนได้หลายชนิด เช่น ยาลม ยาหอม ยานัตถุ์ ฯลฯ
  8. ใบบัวหลวงนำมาใช้สำหรับห่อข้าว ห่ออาหาร ห่อขนม ซึ่งจะช่วยเพิ่มความหอมน่ารับประทานยิ่งขึ้น หรือจะนำมาห่อผักสดเก็บในตู้เย็น หรือใช้ในงานประดิษฐ์ต่าง ๆ ส่วนใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริกได้
  9. ใบบัวแก่เมื่อนำมาตากแห้ง ใช้เป็นส่วนผสมของยากันยุง
  10. ก้านใบและก้านดอกบัวสามารถนำมาใช้ทำเป็นกระดาษ และเส้นใยใช้ทำไส้ตะเกียง
  11. เม็ดบัวทั้งอ่อนและแก่สามารถนำมารับประทานหรือใช้ประกอบอาหารได้หลากหลาย ที่รู้จักกันดีก็คือ น้ำอาร์ซี ข้าวอบใบบัว เม็ดบัวต้มน้ำตาลทรายแดงผสมในเต้าฮวยหรือเต้าทึง สังขยาเม็ดบัว เม็ดบัวเชื่อม สาคูเม็ดบัว ขนมหม้อแกงเม็ดบัว เป็นต้น และยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นแป้งได้เป็นอย่างดี
  12. เปลือกบัวนำมาใช้เป็นวัสดุในการปลูกเห็ดชนิดหนึ่ง หรือที่เรียกว่า "เห็ดบัว"
  13. เปลือกเมล็ดและฝักแก่ใช้ทำเป็นปุ๋ย
  14. เนื่องจากดอกบัวหลวงมีความสวยและมีกลิ่นหอม จึงนิยมปลูกไว้ประดับในสระน้ำหรือปลูกไว้ในกระถางทรงสูง

นมแมว

นมแมว สรรพคุณและประโยชน์ของต้นนมแมว

 à¸™à¸¡à¹à¸¡à¸§

นมแมว ชื่อวิทยาศาสตร์ Rauwenhoffia siamensis Scheff. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Melodorum siamense (Scheff.) Bân)จัดอยู่ในวงศ์กระดังงา (ANNONACEAE)

สมุนไพรนมแมว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า น้ำจ้อย (ยโสธร), ตราแป (มลายู) เป็นต้น

ลักษณะของนมแมว

  • ต้นนมแมว จัดเป็นไม้พุ่มรอเลื้อยไม่ผลัดใบ เลื้อยไปได้ไกลประมาณ 2-5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านได้มาก เกิดเป็นพุ่มใหญ่ ๆ เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอมสีเหลือง เนื้อไม้มีความเหนียวมาก กิ่งอ่อนมีขนลักษณะเป็นรูปดาวสีน้ำตาลขึ้นอยู่หนาแน่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง ควรปลูกในพื้นที่ชื้น เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ชอบน้ำปานกลาง และแสงแดดปานกลางถึงร่มรำไร ต้นนมแมวเป็นพืชเฉพาะถิ่น มีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักพบขึ้นในป่าดิบ ตามชายป่าชื้น และตามป่าเบญจพรรณทางภาคกลางและภาคใต้

ต้นนมแมว

  • ใบนมแมว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-22.5 เซนติเมตร

ใบนมแมว

  • ดอกนมแมว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบใกล้บริเวณปลายยอด กลีบดอกหนา มีกลีบ 6 กลีบ เรียงกันเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 ดอก มีขนปกคลุม กลีบนอกเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1.3 เซนติเมตร ส่วนกลีบในคล้ายกับกลีบนอก แต่จะมีขนาดเล็กกว่า กลีบดอกเป็นสีเหลืองนวลและมีกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ ดอกจะส่งกลิ่นหอมในช่วงเย็น และมีกลิ่นหอมแรงในเวลากลางคืน ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมากเบียดกันแน่นเป็นกระจุก ส่วนกลีบเลี้ยงหรือกลีบรองดอกเป็นสีเขียวมี 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือเป็นรูปไข่กว้าง ปลายมน มีขนาดประมาณ 4-5 มิลลิเมตร มีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี แต่จะให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม
  • ผลนมแมว ออกผลเป็นกลุ่ม ในแต่ละกลุ่มจะมีผลย่อยประมาณ 8-15 ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมรี และมีตุ่มปลายผลคล้ายกับเต้านมของแมว ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ผลเมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง เปลือกผลนิ่ม มีกลิ่นหอม ใช้รับประทานได้โดยจะมีรสหวาน และภายในผลมีเมล็ดประมาณ 6-8 เมล็ด

สรรพคุณของนมแมว

  1. เนื้อไม้และรากใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ[4] ไข้หวัด ไข้ทับระดู และไข้เพื่อเสมหะ (เนื้อไม้และราก)
  2. รากนมแมวใช้ผสมกับรากหนามพรมและรากไส้ไก่ ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ริดสีดวงจมูกได้ดีมาก (ราก)
  3. คนสมัยก่อนจะใช้ยอดใบอ่อนประมาณ 5-7 ใบผสมกับน้ำปูนขาวและน้ำ แล้วขยี้ส่วนผสมทั้งหมดจนแตกเป็นเนื้อละเอียดจนเป็นฟองสีเหลือง แล้วนำมาทาบริเวณท้อง จะช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อในเด็กเล็กได้ (ใบ)[6]
  4. ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี (ราก)
  5. รากนมแมวนำมาตำผสมกับน้ำปูนใส ใช้ทาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ราก)
  6. ผลนำมาตำผสมกับน้ำใช้ทาแก้เม็ดผื่นคันตามร่างกาย (ผล)
  7. รากใช้เป็นยาแก้โรคผอมแห้งของสตรีอันเนื่องมาจากคลอดบุตรแล้วอยู่ไฟไม่ได้ (ราก)
  8. ตามความเชื่อของคนโบราณจะใช้ยอดใบอ่อนประมาณ 5-7 ใบนำมาผสมกับน้ำปูนขาวและน้ำพอประมาณ แล้วขยี้เป็นเนื้อละเอียดแตกเป็นฟองสีเหลือง ใช้ทารอบเต้านม จะช่วยทำให้เด็กที่หย่านมยาก หย่านมได้ เพราะใบอ่อนของต้นนมแมวนั้นมีรสขม ซึ่งทำให้เด็กไม่ชอบ และทำให้หย่านมได้ง่าย (ใบ)

ประโยชน์ของนมแมว

  1. ผลสุกมีรสหวาน ใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้
  2. ดอกมีน้ำมันหอมระเหย นำมาแช่กับน้ำไว้ล้างหน้าจะช่วยทำให้สดชื่น
  3. น้ำมันหอมระเหยจากดอกมีกลิ่นหอม สามารถนำมาใช้ในการแต่งกลิ่นอาหารและเครื่องสำอางได้ ซึ่งในอดีตดอกนมแมวมีการนำมาใช้แต่งกลิ่นขนมไทยเพื่อให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น โดยเฉพาะขนมที่ใส่น้ำเชื่อมหรือน้ำกะทิ เช่น ขนมจำพวกลอดช่อง เป็นต้น ซึ่งความนิยมใช้กลิ่นของดอกนมแมวในอดีตนั้นมีมากจนเกิดผลผลิตที่เป็นน้ำหอมกลิ่นดอกนมแมวออกวางจำหน่ายในท้องตลาด เพื่อใช้ปรุงแต่งกลิ่นขนมไทยโดยเฉพาะ โดยมีชื่อเรียกทั่วไปว่า "น้ำนมแมว" ซึ่งก็หมายถึงน้ำหอมกลิ่นดอกนมแมวนั่นเอง และไม่ใช่น้ำนมของแมวที่เป็นสัตว์เลี้ยงแต่อย่างใด แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ทราบว่าจะยังมีขายอยู่หรือไม่ เพราะความนิยมใช้น้ำนมแมวเพื่อปรุงกลิ่นหอมของอาหารนั้นลดลงมากกว่าในอดีตหลายเท่านัก เพราะคนในยุคปัจจุบันจะหันไปใช้กลิ่นของดอกไม้จากต่างประเทศกันมากขึ้น และนอกจากจะใช้แต่งกลิ่นอาหารหรือขนมแล้วยังนำมาใช้ในการแต่งกลิ่นเครื่องสำอางอีกด้วย
  4. ดอกนมแมวมีขนาดเล็ก พกพาติดตัวได้ง่ายและไม่ชอกช้ำเพราะมีกลีบดอกหนา ให้กลิ่นหอมแรงเฉพาะตัว จึงเหมาะสำหรับใช้ห่อผ้าหรือผูกผมคล้ายกับดอกจำปี
  5. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามสวนสาธารณะ สถานที่ราชการ หรือตามบริเวณบ้าน ฯลฯ เพาะปลูกดูแลได้ง่าย ทนทาน มีอายุยืน น้ำท่วมก็ตาย อีกทั้งดอกมีกลิ่นหอมสดชื่น และออกดอกได้ตลอดทั้งปี จึงนิยมปลูกกันมากในที่ราบลุ่มทางภาคกลาง