• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

เซียนเช่า

เซียนเช่า” ความเชื่อดีมีสรรพคุณ

“เซียนเช่า” ความเชื่อดีมีสรรพคุณ

หนังสือ “เทศาภิบาล” ของกระทรวงมหาดไทยระบุว่า วัตถุมงคลสำหรับใส่ในบาตรน้ำมนต์ของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์สังฆนายกฯ วัดมกุฎกษัตริยาราม ที่ใช้ในการประกอบพิธีทำน้ำมนต์ต่างๆ มีด้วยกัน 8 อย่าง ได้แก่ ใบเงินใบทอง ใบหนาด หญ้าแพรก ผักส้มป่อย ผักชัยพฤกษ์ ผิวมะกรูด และ ใบของต้น “พรหมจรรย์” ซึ่งก็หมายถึงต้น “เซียนเช่า” ที่ชาวจีนถือเป็นไม้มงคลนั่นเอง และมีชื่อเรียกเฉพาะหมู่ชาวจีนอีกชื่อว่าต้น “พรหมจรรย์”โดย ต้น “เซียนเช่า” หรือต้น “พรหมจรรย์” ดังกล่าว ชาวจีนเชื่อกันว่า ถ้าปลูกไว้ในบ้านจะสามารถป้องกันภูตผีปีศาจ สิ่งชั่วร้าย เสนียดจัญไรคุณไสยที่มองไม่เห็นต่างๆ ไม่ให้กล้ำกรายเข้าบ้านหรือเข้าไปทำร้ายผู้อยู่อาศัยได้อย่างเด็ดขาด คล้ายๆ กับต้น “หนาด” ของไทย ส่วนใหญ่นิยมปลูกคู่กับต้นทับทิม เวลากลับจากไปร่วมงานศพใช้กิ่ง “เซียนเช่า” แช่น้ำร่วมกับใบทับทิมล้างหน้า ล้างมือล้างเท้าก่อนเข้าบ้าน ป้องกันวิญญาณผู้ตายติดตาม โดยเฉพาะหากจำเป็นต้องไปงานศพ คนที่ไม่ถูกกันจะ ช่วยป้องกันวิญญาณไม่ให้ตามมาราวีได้

ชะมวง

ชะมวง สรรพคุณและประโยชน์ของต้นชะมวง

ชะมวง

ชะมวง ชื่อสามัญ Cowa

ชะมวง ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia cowa Roxb. ex Choisy จัดอยู่ในวงศ์มังคุด (CLUSIACEAE หรือ GUTTIFERAE)

สมุนไพรชะมวง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ส้มป้อง มะป่อง (คนเมือง), หมากโมก (อุดรธานี), มวงส้ม (นครศรีธรรมราช), กะมวง มวง ส้มมวง (ภาคใต้), กานิ (มลายู-นราธิวาส), ตระมูง (เขมร), ยอดมวงส้มม่วงส้มโมงส้มป่องเป็นต้น

ลักษณะของชะมวง

  • ต้นชะมวง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นทรงพุ่มรูปกรวยคว่ำทรงสูง มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร บ้างว่าสูงประมาณ 15-30 เมตร ลำต้นเกลี้ยงและแตกกิ่งใบตอนบนของลำต้น กิ่งย่อยผิวเรียบ เปลือกลำต้นเป็นสีดำน้ำตาลมีลักษณะขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีชมพูถึงแดง มีน้ำยางสีเหลืองขุ่นไหลเยิ้มออกมาจากเปลือกต้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการตอนกิ่ง พบทั่วไปตามป่าชื้นที่ระดับต่ำ เป็นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี มีเขตการกระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้นตามที่ลุ่มต่ำทั่วไป และจะพบได้มากทางภาคใต้ ภาคตะวันออก และทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 800 เมตรขึ้นไป (บ้างว่า 600 เมตรขึ้นไป)

ต้นชะมวง

บชะมวง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมใบหอกหรือแกมขอบขนาน โคนใบสอบแหลม ปลายใบป้านหรือแหลมเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีความกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-13 เซนติเมตร ใบอ่อนเป็นสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมสีม่วงแดง ส่วนใบแก่เป็นสีเขียวเข้ม (สีน้ำเงินเข้ม) บริเวณปลายกิ่งมักแตกเป็น 1-3 ยอด หลังใบเรียบลื่นเป็นมัน ท้องใบเรียบ เนื้อใบมีลักษณะค่อนข้างหนาและเปราะ เส้นใบเห็นได้ไม่ชัด แต่ด้านหลังใบจะเห็นเส้นกลาง ส่วนก้านใบเป็นสีแดงมีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร

กะมวง

ส้มมวงใบชะมวง
  • ดอกชะมวง ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่กันคนละต้น ออกดอกตามซอกใบและตามกิ่ง ดอกตัวผู้จะออกตามกิ่งเป็นกระจุก มีดอกย่อยประมาณ 3-8 ดอก ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนมากเรียงกันเป็นรูปสีเหลี่ยม ส่วนกลีบดอกเป็นสีเหลืองนวลและมีกลิ่นหอม มีกลีบดอกแข็งหนา 4 กลีบ และกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ลักษณะเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายกลีบกลม ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ส่วนดอกตัวเมียจะออกเป็นดอกเดี่ยวตามปลายกิ่ง ดอกมีเกสรตัวผู้เทียมเรียงอยู่รอบรังไข่ มีก้านเกสรติดกันเป็นกลุ่ม ที่ปลายก้านมีต่อม 1 ต่อม ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน
ดอกชะมวงรูปดอกชะมวง
  • ผลชะมวง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมแป้น ผิวผลเรียบเป็นมัน มีขนาดประมาณ 2.5-6 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงส้มหม่น และตามผลมีร่องตื้น ๆ ประมาณ 5-8 ร่อง ด้านบนปลายบุ๋ม และมีชั้นกลีบเลี้ยงประมาณ 4-8 แฉกติดอยู่ เนื้อหนา สีเหลือง ภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ประมาณ 4-6 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปรีหนา เรียงตัวกันเป็นวงรอบผล ผลสุกมีรสเปรี้ยวใช้รับประทานได้ แต่มียางมากและทำให้ติดฟันได้ โดยจะติดผลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน

ผลชะมวง

สรรพคุณของชะมวง

  1. ช่วยฟอกโลหิต (ผลอ่อน, ใบ) แก้โลหิต (ใบ)
  2. ช่วยรักษาธาตุพิการ (ผล,ใบ,ดอก)
  3. ราก ใบ และผลอ่อนมีรสเปรี้ยว เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ตัวร้อน (ผลอ่อน, ใบ, ดอก, ราก)
  4. ช่วยถอนพิษไข้ (ราก)
  5. ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ราก)
  6. ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ผล, ใบ)
  7. ช่วยแก้อาการไอ (ผล, ใบ) บ้างก็ว่าเนื้อไม้ช่วยแก้อาการไอได้เช่นกัน (เนื้อไม้)
  8. ช่วยแก้เสมหะ กัดเสมหะ กัดฟอกเสมหะ (ผลอ่อน, ใบ, ดอก, ราก) เสมหะเป็นพิษ (ราก)ช่วยขับเสมหะ (เนื้อไม้)
  9. ใช้เป็นยาระบายท้อง (ผลอ่อน, ใบ, ดอก) ส่วนตำยาพื้นบ้านอีสานจะใช้รากชะมวง ผสมกับรากกำแพงเจ็ดชั้น รากตูมกาขาว และรากปอด่อน นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาระบาย (ราก)[11] บ้างก็ว่าเนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาระบายเช่นกัน (เนื้อไม้)
  10. ช่วยในการย่อยอาหาร (ดอก)
  11. รากช่วยแก้บิด (ราก) หรือจะใช้ผลนำมาหั่นเป็นแว่นตากแห้ง ใช้ดินเป็นยาแก้บิดก็ได้เช่นกัน (ผล)
  12. ใบชะมวงใช้ผสมกับยาชนิดอื่น ๆ ใช้ปรุงเป็นยาขับเลือดเสีย (ใบ)
  13. ช่วยขับโลหิตระดูของสตรี (ใบ)
  14. ช่วยแก้ดีพิการ (ดอก)
  15. แก่นใช้ฝนหรือแช่กับน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการเหน็บชา (แก่น)
  16. เมื่อไม่นานมานี้ (ก.พ. 56) ได้มีการค้นพบสารชนิดใหม่จากใบชะมวง และได้มีการตั้งชื่อว่า “ชะมวงโอน” (Chamuangone) ซึ่งสารดังกล่าวมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งได้ดี (ทดสอบกับเซลล์มะเร็งปอดและเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว) ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคทางเดินอาหาร (เชื้อ Helicobacter pylori) ช่วยยับยั้งเชื้อโพรโทซัว Leishmania major (เป็นโรคระบาดที่เคยพบในภาคใต้) ได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์ชะมวง

  1. ผลชะมวงสุกสีเหลืองใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ โดยจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน หรือจะนำผลมาหั่นเป็นแว่นตากแดดใส่ปลาร้าเพื่อเพิ่มรสชาติก็ได้
  2. ยอดอ่อนหรือใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ป่นแจ่ว หรือนำไปใช้ปรุงอาหาร เช่น ต้มส้ม ต้มส้มปลาไหล ต้มส้มปลาแห้ง ทำแกงชะมวง ต้มซี่โครงหมูใบชะมวง ใช้แกงกับหมู หมูชะมวง หรือนำมาใส่ในแกงอ่อม เป็นต้น
  3. ผลและใบอ่อนใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทาน โดยจะมีรสเปรี้ยวคล้ายกับมะดัน (การรับประทานมาก ๆ จะเป็นยาระบายท้องเหมือนดอกขี้เหล็ก)
  4. ผลและใบแก่เมื่อนำมาหมักจะให้กรด ซึ่งนำมาใช้สำหรับการฟอกหนังวัวหรือหนังควายที่ใช้แกะสลักรูปหนังตะลุงได้เป็นอย่างดี
  5. ต้นชะมวงสามารถใช้ปลูกเป็นไม้ประดับและไม้ให้ร่มเงาได้ดี
  6. ลำต้นหรือเนื้อไม้ชะมวงสามารถนำมาแปรรูปใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ หรือใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ได้ เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง ฯลฯ
  7. เปลือกต้นและยางของต้นชะมวงจะให้สีเหลืองที่เหมาะสำหรับการนำมาใช้สกัดทำสีย้อมผ้า
  8. น้ำยางสีเหลืองจากต้นชะมวง สมัยก่อนนำมาใช้ผสมในน้ำมันชักเงา
  9. ยอดอ่อนชะมวงเมื่อนำไปหมักกับจุลินทรีย์จะทำให้เกิดรสเปรี้ยว ใช้เป็นยาปราบศัตรูพืชได้ เช่น เพลี้ย

 

ชิงชัน

ชิงชัน ประโยชน์และสรรพคุณของต้นชิงชัน

 

ชิงชัน (Rosewood, Black-wood) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น เป็นต้นไม้ที่มีความสำคัญประจำจังหวัดหนองคาย สามารถพบอยู่ในป่าดิบแล้ง หรือป่าเบญจพรรณทั่วไป มักจะเจริญอยู่ร่วมกับไม้ไผ่และไม้สัก โดยสามารถเจริญเติบโตได้ดีกับดินทุกชนิดในทุกภาคของประเทศไทย (ยกเว้นในภาคใต้), ลาว และพม่า ไม้ชิงชัน จัดเป็นไม้ที่มีคุณภาพดีอีกชนิดหนึ่ง นอกเหนือจาก ไม้สัก ไม้พะยูง ไม้เต็ง ไม้แดง ไม้ประดู่ ฯลฯ ไม้ที่อยู่ในสกุลไม้ชิงชัน มีอยู่ทั้งสิ้น ประมาณ 80 ชนิด แต่ในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 30 ชนิด แต่ที่หวงห้ามมีเพียง 3 ชนิด คือ พะยูง (D.cochinchinensis) ชิงชัน (D.oliveri) และกระพี้เขา (D.cultrata) เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกว่า ไม้ตระกูลนี้มีเนื้อไม้และแก่นที่สวยงาม แข็งแรง ทนทาน จึงนิยมใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องดนตรี เครื่องใช้ต่างๆ เครื่องแกะสลัก ฯลฯ ได้มากมาย

 ชิงชันมีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า ประดู่ชิงชัน, ดู่สะแดน, เก็ดแดง, อีเม็ง, พยุงแกลบ, กะซิก, กะซิบ, หมากพลูตั๊กแตน มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Dalbergia oliveri Gamble จัดอยู่ในวงศ์ FABACEAE (LEGUMINOSAE–PAPILIONOIDEAE)

ชิงชัน-1
     ลักษณะของชิงชัน สำหรับต้นชิงชันนั้นเป็นไม้ขนาดใหญ่ถึงขนาดกลาง โดยมีลำต้นสูงประมาณ 25 เมตร เปลือกของต้นนั้นมีสีน้ำตาลอมเทา เปลือกหนา ซึ่งมีรากแก้วที่ยาวมาก และมีปมรากถั่ว ส่วนใบมีสีแดง บางใบเกลี้ยง บางใบอาจมีขนขึ้นอยู่เบาบาง รูปทรงรี ปลายมน หรือหยักเว้าน้อยๆ และดอกของต้นชิงชันนั้นจะออกดอกทุกปีในประมาณเดือนมีนาคม – พฤษภาคม และเมล็ดโดยส่วนมากมักจะมีเพียงเมล็ดเดียว หรือ 2 – 3 เมล็ด สีน้ำตาล มีรูปร่างคล้ายกับรูปไต

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ชิงชัน-2
ประโยชน์และสรรพคุณทางสมุนไพรของชิงชัน
    แก่น – ช่วยในการบำรุงโลหิตในผู้หญิงได้ดี ให้รสฝาดร้อน
    เปลือก – สามารถนำไปต้มแล้วนำมาชะล้างหรือสมานบาดแผล แผลจะไม่ปวดไม่บวม รวมทั้งรักษาแผลเรื้อรังด้วย ทำได้โดยนำเปลือกต้นชิงชันมาตำ แล้วนำไปโปะจุดที่เป็นแผล

ชิงชัง-3

ประโยชน์อื่น
      เนื่องจากเนื้อไม้สวยงาม มีความหนาแน่นสูง มีอายุการใช้งานมากกว่า 25 ปี จึงมีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้เป็นไม้โครงสร้างในการก่อสร้าง เป็นไม้พื้น ตัวถังรถ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องดนตรี ด้ามเครื่องมือ เครื่องกีฬา เครื่องมือเกษตร ตกแต่งภายใน เป็นไม้ข้อต่อ ใช้ทำเสา แกะสลัก ของเล่น ไม้หมอนรถไฟ ฯลฯ

      นอกจากประโยชน์ที่ได้รับจากเนื้อไม้โดยตรงแล้ว ไม้ชนิดนี้ยังอาจเป็นไม้ที่ปลูกเพื่อการปรับปรุงพื้นที่ได้ เนื่องจากเป็นไม้ในตระกูลถั่ว สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ และจากการที่มีระบบรากลึกจึงทำให้ทนแล้ง และใช้ประโยชน์จากน้ำและธาตุอาหารพืชในระดับต่ำกว่าพืชชนิดอื่นได้ ซึ่งเป็นข้อดีในการปลูกร่วมกับพืชที่มีระบบรากตื้น

     “ชิงชัน” ต้นไม้ที่มีประโยชน์ทางด้านสมุนไพร และใช้ประโยชน์ได้ดีในเรื่องของเนื้อไม้สวยงาม มีความหนาแน่นสูงมีประโยชน์ต่องาน ที่สำคัญยังส่งผลดีต่อบรรยากาศ และระบบนิเวศน์ธรรมชาติทั่วไป เป็นต้นไม้อีกชนิดที่คู่ควรแก่การอนุรักษ์มากเลยทีเดียว

เจ้าหญิงสีชมพู

เจ้าหญิงสีชมพู

เจ้าหญิงสีชมพู หรือ เจ้าสาวสีชมพู (อังกฤษPink flowered doughwood, Pink euodiaชื่อวิทยาศาสตร์Melicope elleryana) ไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (Rutaceae)

เจ้าหญิงสีชมพู เป็นไม้พื้นเมืองของประเทศออสเตรเลีย แถบนิวเซาท์เวลส์และควีนส์แลนด์ และยังพบได้ที่ปาปัวนิวกินี และหมู่เกาะโซโลมอน โดยพบได้ในป่าดิบชื้น ที่พบในธรรมชาติมีความสูงได้ถึง 25 เมตร

เจ้าหญิงสีชมพู มีจุดเด่น คือ ดอกเป็นช่อสีชมพู ออกดอกนานถึง 3 เดือน ในช่วงฤดูร้อน แต่ไม่มีกลิ่นหอม ใบเป็นรูปไข่มีลักษณะมันเงา เป็นไม้ที่ปลูกง่าย ดูแลรักษาง่าย จึงนิยมปลูกกันเป็นไม้ประดับ ความสูงของต้นที่นำมาปลูกอยู่ระหว่าง 6-10 เมตร ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เมล็ดมีความยาว 7-8 มิลลิเมตร สีเทาน้ำตาล เปลือกด้านนอกสีดำเป็นเงา