• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

ส้มเขียวหวาน

สรรพคุณและประโยชน์ของส้มเขียวหวาน

ส้มเขียวหวาน

ส้มเขียวหวาน ชื่อสามัญ Mandarin orange, Mandarin, Mandarine, Tangerine

ส้มเขียวหวาน ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus reticulata Blanco (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Citrus chrysocarpa Lush., Citrus crenatifolia Lush., Citrus crenatifolia var. lycopersiciformis Lush., Citrus deliciosa Ten., Citrus × nobilis var. koozi Sieb. ex Yu.Tanaka, Citrus × nobilis var. papillaris (Blanco) Wester, Citrus papillaris Blanco, Citrus papillaris var. chrysocarpa (Lush.) Alston, Citrus tangerina Yu.Tanaka) จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE)

ส้มเขียวหวาน มีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า มะเขียว มะบาง (เชียงใหม่), ส้มขี้ม้า (นครราชสีมา), ส้มแก้วเกลี้ยง ส้มแก้วโบราณ ส้มจันทบูร ส้มตรังกานู ส้มแป้นกระดาน ส้มแป้นขี้ม้า ส้มแสงทอง (กรุงเทพฯ), ส้มจุก ส้มแป้นเกลี้ยง ส้มแป้นหัวจุก (ปัตตานี), มะขุน มะแง มะจุก ส้มจุก ส้มเชียงตุง (ภาคเหนือ), ส้มเหม็น (ภาคกลาง), ซาโบโค ซ่าซุยโบโข่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ลีมากุเละนีปี้ห์ ลีมากุเละลอเก๊าะ (มลายู-ปัตตานี), ลีมาจีนา ลีมายือโบ (มลายู), จวี๋ ชิงผี เฉินผีจวี๋ จวี๋เหอ (จีนกลาง), เปลือกส้มเขียวหวาน, ส้มจีนเปลือกล่อน เป็นต้น

ลักษณะของส้มเขียวหวาน

  • ต้นส้มเขียวหวาน มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดย่อม มีความสูงของต้นได้ประมาณ 3-5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก กิ่งอ่อนมีหนาม

ต้นส้มเขียวหวาน

  • ใบส้มเขียวหวาน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่มนรี ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบหรือมีฟันเลื่อยเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5.5-8 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเรียบเป็นมัน เนื้อใบแข็ง มีต่อมน้ำมันอยู่ตามแผ่นใบ

ใบส้มเขียวหวาน

  • ดอกส้มเขียวหวาน ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อบริเวณง่ามใบและปลายยอดกิ่ง มีกาบใบ 5 ใบ มี 5 กลีบ ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีขาวอมเหลือง ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 18-24 อัน ส่วนเกสรเพศเมียมีประมาณ 3-5 อัน มีรังไข่ 9-15 อัน

ดอกส้มเขียวหวาน

  • ผลส้มเขียวหวาน ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม เนื้อนิ่ม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-7 เซนติเมตร เปลือกนอกเป็นสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลืองหรือสีเหลืองแดง ผิวผลเรียบเกลี้ยงและเป็นมัน เปลือกอ่อน ผิวหนา และมีน้ำมันที่เปลือก ภายในมีเนื้อลักษณะฉ่ำน้ำ แบ่งออกเป็นกลีบ ๆ มีสีส้ม แต่ละกลีบจะมีเมล็ดสีขาวอยู่ภายใน เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายแหลม สีขาวนวล (เปลือกสีเขียวนิยมนำมาตากแห้งใช้เป็นยา มีรสปร่าหอมร้อน)

ผลส้มเขียวหวาน

รูปส้มเขียวหวาน

เนื้อส้มเขียวหวาน

หมายเหตุ : ในวงศ์เดียวกันยังมีส้มอีกชนิดหนึ่ง คือ Citrus tangerina Hort. ซึ่งมีลักษณะและสรรพคุณที่ใกล้เคียงกัน สามารถนำมาใช้แทนกันได้

สรรพคุณของส้มเขียวหวาน

  1. เปลือกผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ใจสั่น (เปลือกผล)
  2. ผลมีสรรพคุณช่วยลดปริมาณของคอเลสเตอรอลในเลือด (ผล)
  3. ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการของโรคไข้หวัด (ผล)
  4. ช่วยบรรเทาอาการกระหายน้ำ (ผล)
  5. ใช้เป็นยาแก้ไอ ช่วยขับเสมหะ (เปลือกผล)
  1. ช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นหน้าอก (เปลือกผล)
  2. ช่วยแก้อาการปวดชายโครง (เปลือกผล)
  3. เมล็ดใช้เป็นยาแก้อาการปวดเต้านม เต้านมอักเสบ (เมล็ด)
  4. เปลือกผลมีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้อาหารไม่ย่อย ท้องขึ้นท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่น (เปลือกผล)
  5. ช่วยทำให้ระบบการย่อยอาหารภายในร่างกายเป็นไปอย่างปกติ (ผล)
  6. ช่วยแก้อาการปวดท้อง (เปลือกผล, เมล็ด)
  7. ช่วยแก้อาการปวดอัณฑะ (เมล็ด)
  8. เปลือกผลใช้เป็นยาขับลมในตับ กล่อมตับ คลายการบีบตัวของตับ (เปลือกผล)
  9. ช่วยป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรีย (ผล)
  10. เมล็ดใช้เป็นยาแก้ปวดกระษัยลม (เมล็ด)
  11. เปลือกผลใช้เป็นยารักษาโรคผมร่วง (เปลือกผล)
  12. ตำรายาไทยเปลือกส้มเขียวหวานถูกจัดอยู่ในตำรับยา "เปลือกส้ม 8 ประการ" ประกอบไปด้วย เปลือกส้มเขียวหวาน, เปลือกส้มจีน, เปลือกส้มซ่า, เปลือกส้มโอ, เปลือกส้มตรังกานู, เปลือกมะงั่ว, เปลือกมะกรูด และเปลือกมะนาวหรือเปลือกส้มโอมือ มีสรรพคุณเป็นยาแก้เสมหะโลหะ แก้ลมกองละเอียด กองหยาบ ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ทางลม (เปลือกส้ม)
  13. ส่วนในบัญชียาสมุนไพร ก็มีปรากฏการใช้เปลือกส้มเขียวหวานในตำรับยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) โดยปรากฏอยู่ในตำรับ "ยาหอมเทพจิตร" ที่มีส่วนปะกอบของเปลือกส้มเขียวหวานอยู่ใน "เปลือกส้ม 8 ประการ" ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ ซึ่งมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง และช่วยบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น (เปลือกผล)

ประโยชน์ของส้มเขียวหวาน

  1. ผลใช้รับประทานสดเป็นผลไม้ ใช้ทำน้ำส้ม ผลไม้กระป๋อง ฯลฯ ส่วนเปลือกผลสามารถนำมาใช้ทำน้ำมันสลัด สกัดเพกทิน[4]
  2. ส่วนประโยชน์ในด้านสุขภาพของการรับประทานส้มเขียวหวานก็เหมือนกับส้มทั่วไป เช่น ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน รักษาโรคเหงือก ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น บำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล ช่วยขจัดความหมองคล้ำ ชะลอการเกิดริ้วรอย มีบ้างที่นำมาใช้รักษาสิว เป็นต้น

แว่นแก้ว

แว่นแก้ว สรรพคุณและประโยชน์ของผักแว่นแก้ว

แว่นแก้ว

แว่นแก้ว ภาษาอังกฤษ Water pennywort

แว่นแก้ว ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia rotunda L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Kaempferia longa Jacq., Kaempferia versicolor Salisb., Zerumbet zeylanica Garsault) จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)

ผักแว่นแก้ว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า บัวแก้ว, ผักหนอก, ผักหนอกใหญ่, ผักหนอกเทศ เป็นต้น

ลักษณะของแว่นแก้ว

  • ต้นแว่นแก้ว เดิมทีแล้วมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ปัจจุบันได้แพร่กระจายไปทั่วในประเทศเขตร้อน[1] ในประเทศไทยจะพบได้มากทางภาคเหนือและภาคกลาง[5] โดยจัดเป็นพืชล้มลุกริมน้ำหรือโผล่เหนือน้ำ มีลักษณะคล้ายบัวบก เป็นพืชที่มีอายุยาวหลายปี ลำต้นเป็นไหลกลมยาวเรียว มีลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นและแตกรากและใบตามข้อ มีความสูงของต้นประมาณ 5-15 เซนติเมตร มักขึ้นตามที่ชื้นแฉะเป็นกลุ่ม ๆ เจริญเติบโตได้เร็วและชอบแสงแดด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการแยกต้นอ่อน

ต้นแว่นแก้ว

บัวแก้ว

รูปแว่นแก้ว

ลักษณะแว่นแก้ว

ใบแว่นแก้ว เป็นใบเดี่ยว มีลักษณะกลม ก้านใบยาวเรียวติดกับตัวใบที่บริเวณกลางใบ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-5 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวสด ขอบเป็นหยักเว้าตื้นและกว้าง ผิวด้านบนเรียบและเป็นมัน

สมุนไพรแว่นแก้ว

  • ดอกแว่นแก้ว มีขนาดเล็กสีขาว ลักษณะเป็นช่อแบบซี่ร่มตามซอกโคนใบ ก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยจะแตกจากก้านช่อ ดอกจะออกเป็นกระจุก ช่อละ 2-3 กระจุก ในแต่ละกระจุกจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 12-15 ดอก โดยดอกย่อยมีขนาดประมาณ 0.3 เซนติเมตร แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ และมีเกสรตัวผู้อยู่ 5 ก้าน[1],[4]
ดอกแว่นแก้วผักหนอก
  • ผลแว่นแก้ว ผลเป็นผลแห้ง แก่แล้วแตกเป็น 2 ซีก ในแต่ละซีกจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด และเมล็ดมีขนาดเล็ก

สรรพคุณผักแว่นแก้ว

  1. แว่นแก้วมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษไข้ (ทั้งต้น)
  2. ใบนำมาต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการช้ำในได้ (ใบ, ทั้งต้น)
  3. ทั้งต้นใช้แก้อาการตาแดง (ทั้งต้น)
  4. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (ทั้งต้น)
  5. ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (ทั้งต้น)
  6. ช่วยในการขับปัสสาวะ (ทั้งต้น)
  7. ใช้เป็นยาแก้บวม (ทั้งต้น)

ประโยชน์ผักแว่นแก้ว

  • นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับในตู้ปลา อ่างปลา ปลูกเป็นไม้กระถางเพื่อให้ความสวยงาม และยังดูแลรักษาง่ายอีกด้วย[1],[2]
  • ใบหรือผักแว่นแก้ว สามารถนำมารับประทานได้ โดยใช้รับประทานเป็นผัก ใช้เป็นผักจิ้มเครื่องหลน ใช้เป็นเครื่องเคียง หรือนำไปแกง หรือใช้รับประทานกับลาบแบบสด ๆ หรือนำไปคั้นทำเป็นน้ำดื่ม

 

ศรีตรัง

ศรีตรัง

ต้นศรีตรัง Jacaranda

ชื่อไทย : ศรีตรัง
ชื่อสามัญ : Green ebony/ Jacaranda
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Jacaranda obtusifolia Humb. & Bonpl.
ชื่อวงศ์ :BIGNONIACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :เป็นไม้ยืนต้น วงศ์เดียวกับชมพูพันธุ์ทิพย์ สูงประมาณ 4-10 เมตร จากวิกีพีเดียบอกว่า เจ้าต้นศรีตรังนี้มี 2 ชนิดด้วยกัน คือ ชนิดที่มีช่อดอกที่ปลายยอด กับชนิดที่มีช่อดอกออกตามซอกใบตามกิ่งก้านและปลายยอด ซึ่งเป็นชนิดที่นิยมปลูกกันในบ้านเรา ทรงพุ่มค่อนข้างโปร่ง ถ้าจะปลูกไว้เป็นร่มเงาอาจจะพึ่งพาอะไรไม่ได้มากค่ะ เพราะเวลาที่เขาออกดอก เขาจะทิ้งใบทั้งต้นเหลือแต่ดอกไว้อย่างเดียว

ใบ :ประกอบแบบขนนกสองชั้น ปลายคี่ ก้านใบรวมยาว 40-50 ซม. ใบย่อยจำนวนมาก เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนานแกมรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด กว้าง 0.5-0.7 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน แผ่นใบทั้งสองด้านขนาดไม่เท่ากัน

ต้นศรีตรัง Jacaranda

ดอก :สีม่วง ออกดอกเป็นช่อแขนงขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง ช่อดอกรูปพีระมิด ยาว 5-9 ซม. ดอกย่อยจำนวนมาก เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 1.5-2.5 ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 2-4 ซม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ คล้ายรูประฆัง ดอกทยอยบาน และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ

ต้นศรีตรัง Jacaranda

ผล :เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2-2.5 ซม. เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก เมล็ด แบนขนาดเล็ก มีปีก

ต้นศรีตรัง Jacaranda

สภาพทางนิเวศวิทยา :นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิด เป็นไม้ท้องถิ่นของอเมริกาใต้ ตอนเหนือของอเมริกาใต้ เวเนซุเอลา การกระจายพันธุ์ การใช้งานด้านภูมิทัศน์
การปลูกและการขยายพันธุ์ : ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง โตช้า เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง ระบายน้ำดี ชอบอากาศเย็นและชื้น เช่น ทางภาคเหนือและภาคใต้ ต้นจะออกดอกสวยงามเหมาะจะปลูกในที่ที่มีฝนตกชุก โดยการเพาะเมล็ด ต้นมีอายุ 4-6 ปี จึงจะออกดอก
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : ไม่ได้ระบุรายละเอียดการใช้ประโยชน์
ประเภทของการใช้ประโยชน์ : ไม่ได้ระบุประเภทการใช้ประโยชน์

ว่านมหากาฬ

สรรพคุณและประโยชน์ของว่านมหากาฬ ! (ต้นว่านมหากาฬ)

ว่านมหากาฬ

ว่านมหากาฬ ชื่อวิทยาศาสตร์ Gynura pseudochina (L.) DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gynura bodinieri Levl.) จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)

สมุนไพรว่านมหากาฬ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า คำโคก (ขอนแก่น, เลย), หนาดแห้ง (นครราชสีมา), ผักกาดกบ (เพชรบูรณ์), ว่านมหากาฬ (กรุงเทพฯ), ผักกาดกบ (เพชรบุรี), ผักกาดนกเขา (สุราษฎร์ธานี), ดาวเรือง (ภาคกลาง), แจะออเมีย (เมี่ยน), ชั่วจ่อ (ม้ง), เครือผักปั๋ง (ลั้วะ), หนิวเสอซันฉิ (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของว่านมหากาฬ

  • ต้นว่านมหากาฬ จัดเป็นไม้ล้มลุก เลื้อยทอดไปตามพื้นดิน ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 10-30 เซนติเมตร ลำต้นอวบน้ำ มีหัวอยู่ใต้ดิน รากเนื้อนิ่มอ่อน เปลือกรากเป็นสีเหลือง ฉ่ำน้ำ เนื้อในเป็นสีขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและวิธีการแยกหน่อ ขึ้นได้ในดินทั่วไป แต่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีอาการอุดมสมบูรณ์ ชอบความชื้นปานกลางและแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นได้ตามป่าเบญจพรรณทั่วไป มีอัตราการเจริญเติบโตปานกลาง ควรรดน้ำเช้าและเย็น และหมั่นดูแลความชุ่มชื้น (แต่อย่าให้แฉะ เพราะจำทำให้ใบเน่าได้) ส่วนปุ๋ยให้ใส่เพียงเดือนละครั้ง พรรณไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด คือ สีเขียวล้วน สีแดงเข้ม และสีแดงเรื่อ ๆ

ต้นว่านมหากาฬ

ใบว่านมหากาฬ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลัก ลักษณะของงใบเป็นรูปใบหอกกลับ ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบหยักห่าง ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-30 เซนติเมตร ใบแผ่ออกอยู่บนพื้นดิน แผ่นใบหนาและแข็ง ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มปนสีน้ำตาลอมม่วง เส้นใบเป็นสีเขียวอ่อนตัดกับสีพื้นใบ มีขนสั้นปกคลุมอยู่ทั่วไป และผิวใบด้านล่างเป็นสีเขียว ส่วนใบอ่อนเป็นสีม่วงแก่ ส่วนก้านใบสั้นเมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีขาว

ใบว่านมหากาฬ

มหากาฬ

ดอกว่านมหากาฬ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร แทงขึ้นมาจากพื้นดิน ดอกย่อยเป็นสีส้มเหลืองมีหนามเล็ก ดอกเป็นรูปทรงกระบอก ลักษณะเป็นฝอยคล้ายดอกดาวเรือง แต่มีมีขนาดเล็ก

ดอกมหากาฬ

ว่านมหากาฬ ชื่อวิทยาศาสตร์ Gynura pseudochina (L.) DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gynura bodinieri Levl.) จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)

สมุนไพรว่านมหากาฬ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า คำโคก (ขอนแก่น, เลย), หนาดแห้ง (นครราชสีมา), ผักกาดกบ (เพชรบูรณ์), ว่านมหากาฬ (กรุงเทพฯ), ผักกาดกบ (เพชรบุรี), ผักกาดนกเขา (สุราษฎร์ธานี), ดาวเรือง (ภาคกลาง), แจะออเมีย (เมี่ยน), ชั่วจ่อ (ม้ง), เครือผักปั๋ง (ลั้วะ), หนิวเสอซันฉิ (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของว่านมหากาฬ

  • ต้นว่านมหากาฬ จัดเป็นไม้ล้มลุก เลื้อยทอดไปตามพื้นดิน ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 10-30 เซนติเมตร ลำต้นอวบน้ำ มีหัวอยู่ใต้ดิน รากเนื้อนิ่มอ่อน เปลือกรากเป็นสีเหลือง ฉ่ำน้ำ เนื้อในเป็นสีขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและวิธีการแยกหน่อ ขึ้นได้ในดินทั่วไป แต่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีอาการอุดมสมบูรณ์ ชอบความชื้นปานกลางและแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นได้ตามป่าเบญจพรรณทั่วไป มีอัตราการเจริญเติบโตปานกลาง ควรรดน้ำเช้าและเย็น และหมั่นดูแลความชุ่มชื้น (แต่อย่าให้แฉะ เพราะจำทำให้ใบเน่าได้) ส่วนปุ๋ยให้ใส่เพียงเดือนละครั้ง พรรณไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด คือ สีเขียวล้วน สีแดงเข้ม และสีแดงเรื่อ ๆ

ต้นว่านมหากาฬ

  • ใบว่านมหากาฬ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลัก ลักษณะของงใบเป็นรูปใบหอกกลับ ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบหยักห่าง ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-30 เซนติเมตร ใบแผ่ออกอยู่บนพื้นดิน แผ่นใบหนาและแข็ง ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มปนสีน้ำตาลอมม่วง เส้นใบเป็นสีเขียวอ่อนตัดกับสีพื้นใบ มีขนสั้นปกคลุมอยู่ทั่วไป และผิวใบด้านล่างเป็นสีเขียว ส่วนใบอ่อนเป็นสีม่วงแก่ ส่วนก้านใบสั้นเมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีขาว

ใบว่านมหากาฬ

มหากาฬ

  • ดอกว่านมหากาฬ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร แทงขึ้นมาจากพื้นดิน ดอกย่อยเป็นสีส้มเหลืองมีหนามเล็ก ดอกเป็นรูปทรงกระบอก ลักษณะเป็นฝอยคล้ายดอกดาวเรือง แต่มีมีขนาดเล็ก

ดอกมหากาฬ

ดอกว่านมหากาฬ

  • ผลว่านมหากาฬ ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดล่อน ปลายมีขน

สรรพคุณของว่านมหากาฬ

  1. ทั้งต้นและรากมีรสขม เป็นยาเย็น มีพิษเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อตับ ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้เซื่องซึมระส่ำระสาย ทำให้เลือดเย็น และช่วยฟอกเลือด (ทั้งต้นและราก)
  2. หัวมีรสเย็น ใช้กินเป็นยาดับพิษร้อน พิษกาฬ พิษอักเสบ พิษเซื่องซึม แก้ไข้ ระส่ำระสาย หรือกระสับกระส่าย (หัว)
  3. ตำรายาไทยจะใช้รากเป็นยาแก้ไข้ โดยนำมาต้มกับน้ำดื่มเรื่อย ๆ ต่างน้ำชา อาการไข้จะทุเลาและหายไปในที่สุด (ราก,หัว)
  4. ใบนำมาคั้นเอาน้ำกินแก้คอเจ็บคอและอมกลั้วคอ (ใบ)
  5. ช่วยแก้เลือดกำเดา ด้วยการใช้ยาแห้งจากทั้งต้น รากบัวหลวง และหญ้าคา อย่างละ 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรวมกันรับประทาน (ทั้งต้น)
  6. ใช้เป็นยาแก้อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด (ทั้งต้นและราก)
  7. หัวใช้เป็นยาแก้โรคบิด (หัว)
  8. หัวมีสรรพคุณเป็นยารักษาแผลอักเสบและรักษามดลูกของสตรี ถ้านำมาบดให้เป็นผงชงกับชาให้สตรีหลังคลอดดื่ม จะช่วยขับประจำเดือนได้ด้วย (หัว)
  9. ช่วยขับระดูของสตรี (ใบ)
  10. ใช้เป็นยาห้ามเลือดจากบาดแผลได้ดี (ใบ,หัว,ทั้งต้น)
  11. ใบสดใช้ตำพอกรักษางูสวัด เริม ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 5-6 ใบ นำมาล้างน้ำให้สะอาด ตำในภาชนะที่สะอาด ใส่พิมเสนเล็กน้อย หรือใช้ใบโขลกผสมกับเหล้า ใช้น้ำทาหรือพอกบริเวณที่เป็น (ใบ) ส่วนหัวมีสรรพคุณช่วยแก้เริม (หัว)
  12. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้โรคไฟลามทุ่ง (ทั้งต้น)
  13. หัวใช้ตำพอกหรือฝนกับน้ำปูนใส ทารักษาแผลพุพองและฝี โดยให้ทาวันละ 3-4 ครั้ง (หัว)
  14. ใบสดนำมาโขลกผสมกับเหล้าใช้เป็นยาพอกฝี หรือหัวลำมะลอก (ใบ) ส่วนอีกวิธีให้ใช้ต้นสดนำมาตำให้พอแหลก ใช้พอกรักษาฝี ฝีมีหนอง ช่วยถอนพิษฝีหนอง (ต้น)
  15. ใบสดมีฤทธิ์ทำให้เย็น ใช้ตำพอกเป็นยาถอนพิษ และแก้อาการปวดแสบปวดร้อน (จากสัตว์ที่มีพิษกัด เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ตัวต่อ ผึ้ง เป็นต้น) (ใบ)
  16. รากและใบสดใช้ตำพอกแก้ปวดบวม รวมถึงช่วยถอนพิษปวดแสบปวดร้อน (ราก,ใบ)
  17. ช่วยแก้อาการฟกช้ำ ให้ใช้ต้นสดนำมาตำให้พอแหลก แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น (ต้น)
  18. ทั้งต้นใช้เป็นยาพอกเนื้องอกที่เต้านมและยังเป็นยาบรรเทาอาการปวดและแก้อาการบวม (ทั้งต้น)
  19. ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอก ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำให้พอแหลกผสมกับเหล้า ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็น (ต้น)
  20. ทั้งต้นและรากมีสรรพคุณเป็นยาคลายเส้น (ทั้งต้นและราก)
  21. ชาวเมี่ยนจะใช้ใบนำมาต้มใส่ไก่ใช้รับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย หรือให้สตรีที่อยู่ไฟรับประทานเพื่อช่วยบำรุงน้ำนมและบำรุงโลหิต (ใบ)

ข้อควรระวังในการใช้ว่านมหากาฬ

  • สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน
  • ว่านมหากาฬเป็นยาที่มีพิษเล็กน้อย ห้ามรับประทานมากเกินกว่าปริมาณที่กำหนด และไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป

ประโยชน์ของว่านมหากาฬ

  • ชาวลั้วะจะใช้ใบเพื่อนำไปประกอบอาหาร เช่น ต้มใส่หมูหรือไก่ ส่วนชาวเมี่ยนจะใช้ใบสดนำมารับประทานร่วมกับลาบ
  • ใช้ปลูกลงแปลงประดับในสวน เพราะใบมีลวดลายสวยงาม หรือปลูกคลุมดิน ปลูกริมน้ำตก หรือลำธารก็ได้
  • ในด้านความเป็นมงคล มีความเชื่อว่าว่านมหากาฬเป็นว่านที่มีอำนาจ หากนำมาปลูกเลี้ยงไว้ในบริเวณบ้าน จะสามารถช่วยป้องกันอันตรายทั้งได้ และยังทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงมีอำนาจบารมีเป็นที่น่าเกรงขามของคนทั่วไป
  • ว่านมหากาฬเป็นพืชที่สามารถสะสมโลหะหนักสังกะสีและแคดเมียมได้สูง จึงมีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้เพื่อฟื้นฟูสภาพดินในเหมืองแร่ ฟื้นฟูสภาพดินที่ปนเปื้อนโลหะหนัก (ดร.วรนันต์ นาคบรรพต)