• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

สะตอ

สะตอ สรรพคุณและประโยชน์ของสะตอ

สะตอ ชื่อสามัญ Bitter bean, Twisted cluster bean, Stink bean

สะตอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Parkia speciosa Hassk. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Parkia macropoda Miq.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)

เมล็ดสะตอจะมีกลิ่นเหม็นเขียวรุนแรงมาก นิยมใช้ประกอบอาหารในแถบภาคใต้ และในประเทศอื่น ๆ อย่างเช่น อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ลาว พม่า และสิงคโปร์ ก็นิยมนำสะตอมาทำเป็นอาหารรับประทานเช่นกัน

วิธีดับกลิ่นสะตอ เมื่อรับประทานสะตอเข้าไปแล้ว หลังรับประทานเข้าไปจะมีกลิ่นปาก ซึ่งเราสามารถกำจัดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์นี้ได้ด้วยการรับประทานมะเขือเปราะตามไปประมาณ 2-3 ลูก ก็จะช่วยดับกลิ่นเหม็นเขียวของสะตอได้ดีในระดับหนึ่ง

แต่สำหรับผู้ที่รับประทานสะตอเป็นประจำอยู่แล้ว คุณเคยรู้หรือไม่ว่าสะตอมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง สะตออุดมไปด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินบี 1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 และวิตามินซีอีกด้วย ซึ่งวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น คราวนี้เรามาดูประโยชน์และสรรพคุณของสะตอกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง ?

ฝักสะตอ

สรรพคุณของสะตอ

  1. สะตอมีส่วนช่วยบำรุงสายตา
  2. ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  3. ช่วยป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
  4. ช่วยลดความดันโลหิต
  5. ช่วยทำให้เม็ดเลือดแดงเกาะกลุ่มกันได้ดีขึ้น
  6. มีผลต่อการแบ่งตัวของเซลล์
  7. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  8. เชื่อว่าการรับประทานเป็นประจำจะช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้
  9. ช่วยขับลมในลำไส้
  10. ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้
  11. ช่วยในการขับปัสสาวะ
  12. สะตอมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่าย
  13. แก้ปัสสาวะพิการ
  14. ช่วยแก้ไตพิการ
  15. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
  16. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา

ประโยชน์ของสะตอ

  • ใช้ประกอบอาหาร เช่น สะตอผัดกุ้ง แกงป่าใส่สะตอ สะตอผัดกะปิกุ้งสด เป็นต้น
  • ใช้แปรรูปเป็นสะตอดองได้อีกด้วย ส่วนยอดสะตอนำมารับประทานเป็นผักเหนาะ
  • ใบของสะตอใช้ทำเป็นปุ๋ยบำรุงดิน
  • ลำต้นของสะตอใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน

 

ส้มโอ

สรรพคุณและประโยชน์ของส้มโอ

ส้มโอ ชื่อสามัญ Pomelo (Pomelo มาจากคำว่า Pampelmoose ในภาษาดัตซ์ ซึ่งแปลว่า "ส้มที่มีขนาดเท่าฟักทอง")

ส้มโอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus maxima (Burm.) Merr. จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE)

ส้มโอเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศนั้นจะปลูกส้มโอมากในภาคตะวันตกและยังจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยเราอีกด้วย

สำหรับชาวจีนแล้ว ส้มโอถือว่าเป็นเครื่องสังเวยที่สำคัญอย่างมาก เพราะมีความเชื่อว่าหลังจากไหว้เสร็จ ถ้าผ่าผลส้มโอออกมาแล้วกลางลูกแห้ง ไม่มีน้ำ จะสื่อความหมายถึงความโชคดี นอกจากนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของชาวจีนที่เสียชีวิตในการกู้ชาติอีกด้วย

ส้มโอจัดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์หลากหลายและยังมีสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคต่าง ๆ เพราะอุดมไปด้วยวิตามินซีซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก และยังมีวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆที่จำเป็นต่อร่างกายอีกหลายชนิด โดยส่วนที่จะนำมาใช้ประโยชน์ก็มีหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นผล เปลือก ใบ และเมล็ด ก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลือกและผลซึ่งเป็นส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด

ส้มโอสรรพคุณส้มโอ

ประโยชน์ของส้มโอ

  1. รับประทานส้มโอช่วยขับสารพิษในร่างกายได้ (ผล)
  2. มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง (ผล)
  3. ในตำราจีนเปลือกส้มโอใช้เป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ ช่วยแก้อาการไอ ผสมในยาหอมกินแล้วทำให้สดชื่น (เปลือก)
  4. ในตำราคาไทย เปลือกส้มโอจัดอยู่ในเปลือกส้มทั้ง 8 ประการ ซึ่งประกอบไปด้วย เปลือกส้มโอ เปลือกส้มเขียวหวาน เปลือกส้มจีน เปลือกส้มซ่า เปลือกส้มตรังกานู เปลือกมะนาว เปลือกมะกรูด เปลือกมะงั่น ซึ่งมีสรรพคุณแก้ลม (ระบบไหลเวียนโลหิต) แก้เสมหะ และใช้ปรุงเป็นยาหอม (เปลือก)
  5. มีความเชื่อว่าสตรีที่ยังไม่ได้แต่งงานจะนำส้มโอมาทาหน้า เพราะเชื่อว่าจะช่วยทำให้ผิวพรรณผุดผ่อง สดใส (ผล)
  6. เชื่อว่าการรับประทานส้มโอจะช่วยทำให้ตาสดใสและเป็นประกาย (ผล)
  7. ช่วยให้เจริญอาหาร เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่เบื่ออาหาร ปากไม่รู้รสอาหาร (ผล)
  8. ส้มโอมีวิตามินซีสูง จึงช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ผล)
  9. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ด้ว
  10. ยการนำใบมาตำแล้วพอกบริเวณศีรษะ (ใบ)
  11. ช่วยแก้อาการเมาสุรา (ผล)เปลือกส้มโอเป็นส่วนประกอบของยาหอมสมุนไพร ซึ่งมีส่วนช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย ใจสั่น คลื่นไส้อาเจียน (เปลือก)
  12. ช่วยแก้หวัด (ราก, เมล็ด)
  13. ประโยชน์ของส้มโอช่วยแก้อาการไอ (เปลือก, ราก, เมล็ด)
  14. ช่วยขับเสมหะ (ดอก, เปลือก)
  15. สรรพคุณส้มโอแก้อาการไอมีเสมหะ ด้วยการใช้ผลสดนำเมล็ดออก แกะเป็นชิ้นเล็ก ๆ แช่กับน้ำเหล้าไว้หนึ่งคืน เสร็จแล้วนำไปต้มให้เละแล้วผสมกับน้ำผึ้ง นำมากวนจนเข้ากันแล้วจิบกินบ่อย ๆ (ผล)
  16. ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก (เปลือก)
  17. ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง (ใบ)
  18. ส้มโอ สรรพคุณช่วยแก้อาการจุกเสียด แน่นท้อง ปวดท้องน้อย (เปลือก, ราก, เมล็ด)
  19. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ลำไส้เล็กหดตัวผิดปกติ (เมล็ด)
  20. ช่วยขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร (ผล, ดอก, เปลือก)
  21. ช่วยแก้อาการปวดในกระเพาะอาหาร (ดอก)
  22. ช่วยแก้อาการปวดกระบังลม (ดอก)
  23. ใช้เป็นยาแก้อาการปวดข้อหรืออาการปวดบวม ด้วยการใช้ใบส้มโอนำมาตำแล้วเอาไปย่างไฟให้อุ่น แล้วนำมาพอกบริเวณที่ปวด (ใบ)
  24. ช่วยแก้อาการคันตามผิวหนัง ด้วยการนำเปลือกมาต้มน้ำอาบ (เปลือก)
  25. ช่วยรักษาโรคลมพิษที่ผิวหนัง ด้วยการใช้เปลือกประมาณ 1 ผล หั่นเป็นชิ้น ๆ แล้วต้มกับน้ำอาบ หรือทาในบริเวณที่เป็นลมพิษ (เปลือก)
  26. ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับผิวหนังอื่น ๆ ด้วยการใช้เปลือกมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาต้มกับน้ำจนมันงวด แล้วเอาน้ำที่ได้มาทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนัง (เปลือก)
  27. เปลือกใช้ตำแล้วนำมาพอกเพื่อรักษาฝี (เปลือก)
  28. เปลือกมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ช่วยลดการอักเสบ และยังช่วยฆ่าแมลง ฆ่าเห็บวัว เป็นต้น
  29. ช่วยแก้อาการไส้เลื่อน (เปลือก, เมล็ด, ราก)
  30. เรานิยมรับประทานส้มโอเป็นผลไม้สด ทำเป็นน้ำผลไม้ หรือจะนำไปประกอบอาหารก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น ยำ เมี่ยง ส้มตำ ข้าวยำ หรือของหวานเป็นต้น (ผล)
  31. เปลือกนอกสีขาวนำไปแปรรูปทำเป็นส้มโอสามรส ส้มโอแช่อิ่มได้ (เปลือก)
  32. ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางชนิด

 

สะค้าน

สรรพคุณ สะค้าน

ตะค้านเล็ก ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper ribesioides Wall. จัดอยู่ในวงศ์พริกไทย (PIPERACEAE)

สมุนไพรตะค้านเล็ก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตะค้านหยวก (นครราชสีมา), จะขัด, จะค้าน, จัดค่าน, จั๊กค่าน, ตะค้าน, สะค้าน, หนาม, หนามแน เป็นต้น

ลักษณะของตะค้านเล็ก

  • ต้นตะค้านเล็ก จัดเป็นไม้เถาขนาดกลางเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น มีรากงอกออกตามข้อ ไม่มีเนื้อไม้ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร เถายาวประมาณ 5-6 เมตร เนื้อเถามีหน้าตัดเป็นรัศมี ส่วนเปลือกเถาค่อนข้างอ่อนเนื้อสีขาว

ต้นตะค้านเล็ก

ใบตะค้านเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปแกมรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลมหรือเป็นรูปหัวใจ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบทั้งสองด้าน

ใบตะค้านเล็ก

  • ดอกตะค้านเล็ก ออกดอกเป็นช่อยาวห้อยลงตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กมาก เรียงอัดกันแน่นบนแกนช่อดอก

ดอกตะค้านเล็ก

  • ผลตะค้านเล็ก ผลเป็นผลสดขนาดเล็ก มีลักษณะกลม

ผลตะค้านเล็ก

สรรพคุณของตะค้านเล็ก

  1. เถาตะค้านเล็กมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง (เถา)
  2. เถาใช้ปรุงร่วมกับยาธาตุ เป็นยาแก้บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ เป็นยาประจำธาตุลม ส่วนผลก็มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุเช่นกัน (เถา, ผล)
  1. ใบมีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ธาตุพิการ (ใบ)
  2. ใช้เป็นยาแก้ลมในกองเสมหะโลหิต (ใบ)
  3. ดอกมีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมอัมพฤกษ์ ลมปัตคาดที่เกิดจากพิษพรรดึก (ดอก)
  4. ผลมีรสร้อนเล็กน้อย ใช้เป็นยาแก้ลมแน่นในทรวงอก (ผล)
  5. เถาและใบมีสรรพคุณเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลมและเรอ แก้แน่นจุกเสียด (เถา, ใบ)
  6. รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ (ราก)
  7. รากใช้เป็นยาแก้หืด (ราก)

ประโยชน์ของตะค้านเล็ก

  • เถาหรือลำต้นใช้เป็นเครื่องเทศในการปรุงอาหารประเภทแกงเผ็ด ช่วยเพิ่มรสเผ็ดให้กับอาหาร ทำให้อาหารมีกลิ่นหอม และมีรสชาติกลมกล่อมมากขึ้น อีกทั้งยังใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารเพื่อดับกลิ่นคาวได้อีกด้วย

เถาตะค้านเล็ก

ส้มเช้ง

ส้มเช้ง

ส้มเช้ง : Citrus Sinensis
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euphorbia neriifolia Linn.
อยู่ในวงค์ : Rutaceae

ส้มเช้ง (Som-Cang) เป็นพืชตระกูลส้มชนิดหนึ่ง หรือมีอีกชื่อเรียกว่าส้มตรา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีทรงพุ่มเล็ก กิ่งมีหนามแหลมคม ใบเลี้ยงเดี่ยว ใบมีลักษณะทรงไข่ยาวรี ดอกมีสีขาวครีม มีกลิ่นหอม ผลมีลักษณะทรงกลม เปลือกหนามีต่อมน้ำมันทั่วผล เปลือกแกะออกง่าย ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม เมื่อผลสุกจะมีสีเขียวอ่อนอมเหลือง มีเนื้อฉ่ำน้ำสีเหลืองอ่อน อยู่ข้างในแยกเป็นกลีบๆ มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน มีกลิ่นหอม ส้มเช้งที่นิยมปลูก ในประเทศไทยมีหลายพันธุ์

ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีทรงพุ่มเล็ก มีกิ่งก้านขยาย มีต้นสูงโปร่ง เป็นเนื้อไม้แข็ง เปลือกมีผิวเรียบ ลำต้นมีกิ่งมีหนามแหลมคม เปลือกมีสีน้ำตาล

ใบ เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว มีลักษณะทรงไข่ยาวรี ใบมีสีเขียวแก่ พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมาก เพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ ใบด้านบนมีสีเข้ม ใต้ใบมีสีอ่อนกว่า

กิ่ง มีลักษณะกลมๆ จะมีใบและมีหนามแหลมคมอยู่ทั่วๆ ไป มีกิ่งก้านขยาย มีสีเขียวเข้ม

ราก เป็นระบบแก้ว มีลักษณะกลม แทงลึกลงในดิน มีรากแขนงและรากฝอยขนาดเล็กๆ แทงกระจาย บริเวณรอบๆลำต้น มีสีน้ำตาล

ดอก ออกเป็นช่อ หรือออกเดี่ยว จะมีดอกอยู่เป็นกระจุก กลีบดอกมีสีขาวครีม มีกลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน และมีกลิ่นหอม ออกตามซอกใบและปลายยอดกิ่ง

ผล มีลักษณะทรงกลม เปลือกหนามีต่อมน้ำมันทั่วผล เปลือกแกะออกง่าย ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม เมื่อผลสุกจะมีสีเขียวอ่อนอมเหลือง ภายในผลมีเยื่อเปลือกหนาสีขาว เนื้อฉ่ำน้ำมีสีเหลืองอ่อน อยู่ข้างในแยกเป็นกลีบๆ จะมีเปลือกเยื่อบางๆ สีขาวหุ้มกลีบติดกัน เป็นวงกลมหุ้มแกนกลางอีกที ข้างในจะมีเนื้อเป็นถุงน้ำเล็กๆ สีเหลืองอ่อน อยู่เบียดกันแน่น และมีเมล็ดอยู่ประปราย มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน มีกลิ่นหอมสดชื่น

เมล็ด มีลักษณะรูปทรงรีแบน เมล็ดยาวเล็ก เปลือกเมล็ดแข็ง มีสีขาวนวล จะมีเมล็ดอยู่ข้างในเนื้อ

ประโยชน์และสรรพคุณส้มเช้ง

มีวิตามินเอ มีวิตามินซี มีธาตุแคลเซียม มีฟอสฟอรัส มีวิตามินบี1 มีวิตามินบี2 มีวิตามินบี3 มีวิตามินบี5 มีวิตามินบี6 มีวิตามินบี9 มีโปรตีน มีธาตุเหล็ก มีธาตุแมกนีเซียม มีคาร์โบไฮเดรต มีเส้นใย มีโพแทสเซียม มีโซเดียม มีไขมัน มีเบต้าแคโรทีน

แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้จุกเสียดปอดบวม ช่วยขับลม ช่วยการขับถ่าย ยาระบายอ่อนๆ แก้ปวดท้อง ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยแก้กระหายน้ำ แก้ไอ แก้หวัด ใช้แก้ไข้ ช่วยขับเสมหะ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้อาเจียน แก้วิงเวียน แก้ลม แก้ปวดศรีษะ ป้องกันติดเชื้อแบคทีเรีย ช่วยรักษาผมร่วง ช่วยบำรุงสายตา มีอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยบำรุงฟัน แก้เลือดออกตามไรฟัน ช่วยบำรุงสมอง แก้ไข้จับสั่น แก้พิษฝี แก้หอบหืด แก้แพ้ ขับพยาธิ แก้แพ้ ช่วยฟอกโลหิต

การปลูกขยายพันธุ์ส้มเช้ง

ส้มเช้งสามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด ดินร่วน หรือดินร่วนปนทรายจะเติบโตได้ดี ชอบแสงแดดรำไร ให้ระบายน้ำดี ปลูกในฤดูฝนจะดี การปลูกทำได้หลายวิธี การปลูกโดยใช้การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง การติดตา การเสียบกิ่ง การปักชำกิ่ง
การตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง การทาบกิ่ง จะนิยมปลูกมากว่าวิธีอื่น เพราะจะให้ผลผลิตเร็วกว่า นำกิ่งปลูกลงในแปลงได้เลย ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 4×6 เมตร

การดูแลรักษาส้มเช้ง

ส้มเช้งชอบอากาศร้อน ชอบแสงแดดรำไร ต้องให้น้ำเพียงพอ ให้ระบายน้ำดี ไม่แฉะเกินไป ต้องรดน้ำเช้าเย็น ช่วงปลูกแรกๆ ให้รดน้ำวันละครั้ง เมื่อเติบโตขึ้นก็ให้น้ำเป็นระยะๆ ให้ดูแลตัดแต่งกิ่งบ้างจะได้ไม่สูงเกิน การห่อผลทำให้เปลือกผลสวยยิ่งขึ้น

การเก็บเกี่ยวผลผลิตส้มเช้ง

ส้มเช้งจะให้ผลผลิตใช้เวลาประมาณ 3-4 ปี จะออกผลผลิต มีผลขยายขนาดเต็มที่ ผลสุกจะมีสีเขียวอ่อนอมเหลือง มีกลิ่นหอม ใช้กรรไกรตัดขั้ว แล้วต้องระวังทำหล่น อาจทำให้ผลช้ำเสียหายได้

การเก็บรักษาส้มเช้ง

เราจะนำส้มเช้ง นำมาวางไว้ในที่อากาศถ่ายเท จะได้รสชาติที่หวานหอมยิ่งขึ้น จะเก็บรักษาไว้ได้นาน โดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น