• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

ติ้ว

ติ้ว สรรพคุณและประโยชน์ของต้นติ้ว

 

ผักติ้ว หรือเรียก ติ้วขาว หรือ ติ้วขน หรือ ติ้วหนาม จัดเป็นผักป่าพื้นบ้านที่นิยมเก็บยอดอ่อน และดอกอ่อนมาประกอบอาหาร โดยเฉพาะแกง และต้มยำต่างๆ อาทิ แกงหน่อไม้ แกงหรือต้มยำปลา รวมถึงใช้รับประทานเป็นผักคู่กับอาหารอื่นๆ

ผักติ้ว เป็นชื่อเรียกทั่วไป นิยมใช้มากในภาคอีสาน และกลาง ส่วนคำว่า ติ้วขาว หรือ ติ้วขน จากการรวบรวมเอกสารทางวิชาการหลายฉบับ และจากฐานข้อมูลออนไลน์ของหน่วยงานราชการ  พบว่า ติ้วขาว หรือ ติ้วขน เป็นชื่อเรียก ผักติ้วชนิดที่กินได้เหมือนกัน และมีข้อสังเกต คือ
– คำว่า ติ้วขาว น่าจะตั้งจากลักษณะเด่นของดอกที่มีสีขาว
– คำว่า ติ้วขน น่าจะตั้งจากลักษณะเด่นของดอกที่มีขน รวมถึงใบแก่ที่มีขนเล็กๆปกคลุม และอาจสื่อรวมถึงหนามบนลำต้น ทั้งนี้ อาจเป็นชื่อเรียกเดียวกันกับติ้วชนิดอื่นๆที่กินไม่ได้

• วงศ์ : Guttiferae
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cratoxylum formosum (Jack) Dyer ssp.
• ชื่อท้องถิ่น :
ภาคกลาง ทั่วไป
– ติ้ว
– ผักติ้ว
– ติ้วขาว
– ติ้วขน
– ติ้วเหลือง
– กวยโชง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ภาคอีสาน
– ผักติ้ว
– ผักเตา เตา (เลย)
– ติ้วส้ม (นครราชสีมา)
– ราเง้ง (เขมร-สุรินทร์)
ภาคเหนือ
– ติ้วแดง
– ติ้วยาง
– ติ้วเลือด
– ติ้วเหลือง
– แต้วหิน (ลำปาง)
– กุยฉ่องเซ้า (กะเหรี่ยง-ลำปาง)
– เน็คเคร่แย (ละว้า-เชียงใหม่)
ภาคใต้
– มูโตะ (มาเลเซีย-นราธิวาส)
– แต้ว
– ตาว (สตูล)

ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
ผักติ้วพบแพร่กระจายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย ลาว พม่า และเวียดนาม ในประเทศไทยพบได้ในทุกภาค แต่พบมากในภาคเหนือ และอีสาน พบแพร่กระจายทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ และโปร่งหรือป่าเต็งรัง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
ผักติ้ว จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 2-15 เมตร หรือมากกว่า ลำต้นแตกกิ่งหลักปานกลาง แต่แตกกิ่งแขนงมาก ทำให้แลดูเป็นทรงพุ่มหนา โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน แต่ทรงพุ่มจะโปร่งในช่วงฤดูหนาวจนถึงแล้ง เพราะมีการพลัดใบ แก่นลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ส่วนกิ่งมีความเหนียว หักได้ยาก

ลำต้นผักติ้วมีลักษณะตั้งตรง ลำต้นแตกกิ่งตั้งแต่ระดับต่ำ โคนลำต้นมีหนามขนาดใหญ่ ซึ่งจะพบได้ตั้งแต่ต้นยังมีอายุน้อย หนามมีลักษณะแข็ง เป็นแท่ง ปลายหนามไม่แหลมคมมากนัก เพราะมีขนาดใหญ่ เปลือกลำต้นแตกสะเก็ดเป็นแผ่น สีน้ำตาลอมดำ ส่วนกิ่งแขนงมีขนาดเล็ก กิ่งแขนงอ่อนหรือกิ่งบริเวณปลายยอดอ่อนมีสีม่วง ส่วนกิ่งแขนงแก่จะมีสีน้ำตาลอมเทาหรือสีเทา ทั้งนี้ หากใช้มีดสับเปลือกลำต้นจะมียางสีแดงไหลออกมา

ใบ
ผักติ้วเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ แตกออกเป็นใบเดี่ยวๆเรียงเยื้องสลับข้างกันบนกิ่ง ใบมีมีรูปหอกหรือขอบขนาน มีก้านใบสีม่วงอมแดง ยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร แผ่น และขอบใบเรียบ ใบอ่อนมีสีแดงอมม่วง และเป็นมัน ปลายใบมน จากนั้น เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียว และเป็นสีเขียวเข้ม และเป็นมันเมื่อใบแก่ ใบแก่มีโคนใบสอบแคบ และปลายใบมีลักษณะแหลม แผ่นใบมีขนขนาดเล็กปกคลุม ด้านล่างใบมีต่อมน้ำมันขนาดเล็กกระจายทั่ว ขอบใบโค้งเข้าหากลางใบ และมีเส้นกลางใบมองเห็นชัดเจน ส่วนเส้นข้างใบมีประมาณ 6-8 คู่ ขนาดใบกว้างประมาณ 2.5-4.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-15 เซนติเมตร ทั้งนี้ ใบผักติ้วจะเริ่มผลิหรือร่วงประมาณเดือนธันวาคม และเริ่มแตกยอดใหม่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์พร้อมกับออกดอก

ดอก
ผักติ้วออกดอกเป็นดอกเดี่ยว แต่ออกเป็นกระจุกในตาดอกเดียวกัน ดอกแทงออกจากตาดอกบริเวณเดียวกับตากิ่งแขนงย่อย กระจุกละประมาณ 1-6 ดอก ดอกมีก้านดอกสีม่วงอมแดง ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ถัดมาเป็นตัวดอก ดอกตูมมีกลีบเลี้ยงสีเขียวประแดงม่วงหุ้มเป็นทรงกลม จำนวน 5 กลีบ เมื่อดอกบานจะแผ่กลีบดอกออก จำนวน 5 กลีบ แต่ละกลีบดอกมีสีขาว มีขนปกคลุม แผ่นกลีบดอกเรียบ ปลายกลีบตัด และเป็นหยัก (เมื่อติดผล กลีบดอกจะร่วงหมด แต่จะเหลือกลีบเลี้ยงไว้หุ้มผล) ภายในดอกตรงกลางมีเกสรตัวผู้แยกออกเป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีเกสรจำนวนมาก ปลายก้านเกสรเป็นเรณูสีเหลือง ด้านล่างเป็นรังไข่ จำนวน 3 อัน ทั้งนี้ ดอกผักติ้วจะเริ่มออกดอกประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งจะแทงออกก่อนการแตกใบใหม่ และทยอยออกดอกจนถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งช่วงหลังจะมีใบแตกคลุมจนมองเห็นเป็นทรงพุ่มเขียวแล้ว

ผล
ผลผักติ้วจะติด 1 ผล ใน 1 ดอก ผลมีรูปกระสวย ท้ายผลแหลมเล็ก ขนาดผลประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีม่วงอมแดง ผลแก่มีสีดำหรือน้ำตาลอมดำ ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงหุ้มผล และเมื่อแห้งจะปริแตกออกเป็น 3 ร่อง ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลอมดำ เมล็ดมีลักษณะโค้ง และมีปีก เรียงอัดกันแน่นหลายเมล็ด 

ประโยชน์ผักติ้ว/ติ้วขาว/ติ้วขน
1. ยอดอ่อน และดอกนิยมรับประทานสดคู่กับอาหาร อาทิ ลาบ ซุปหน่อไม้ และน้ำพริก รวมถึงใช้ประกอบอาหารใส่แกงหรือประเภทต้มยำ ต้มส้ม ให้รสเปรี้ยว และดับกลิ่นคาวได้ดี อาทิ แกงเห็ด แกงหน่อไม้ ต้มยำปลาหรือต้มส้มปลา เป็นต้น เป็นที่นิยมมากในชาวอีสาน และชาวเหนือ ปัจจุบันนิยมรับทานมากขึ้น โดยเฉพาะภาคกลาง
2. ผักติ้วเป็นไม้ในป่า แต่ช่วงออกดอกจะมีดอกสีขาวสวยงาม ออกดอกดกทั่วปลายกิ่ง ช่วงออกดอกจะมีใบน้อย ทำให้ดอกโดเด่นแลดูสวยงาม ดังนั้น บางบ้าน นอกจากปลูกเพื่อนำยอดอ่อนหรือดอกมาประกอบอาหารแล้ว ยังปลูกเพื่อเป็นไม้ดอกไม้ประดับด้วย 
3. เปลือกลำต้นหรือแก่นใช้ต้มย้อมผ้า ให้เนื้อผ้าสีน้ำตาลเข้ม 
4. เปลือกลำต้นสับเปลือกด้านนอกออก ก่อนใช้เคี้ยวร่วมกับหมากพลู 
5. เนื้อไม้แปรรูปเป็นไม้ก่อสร้างทำเสา ทำวงกบ ทำฝ้าหรือระแนง ส่วนกิ่ง และแก่นใช้หุงต้มอาหารหรือเผาถ่าน
6. ปัจจุบัน ผักติ้วเริ่มนิยมมากในทุกภาค นิยมปลูกไว้ในบ้านเพื่อเก็บรับประทาน และปลูกเพื่อการจำหน่าย ทำให้สร้างรายได้งามไม้แพ้ผักชนิดอื่น แต่จะมีฤดูเก็บในช่วงหน้าแล้งเท่านั้น

สรรพคุณผักติ้ว/ติ้วขาว/ติ้วขน
ใบ
– ช่วยต้านโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
– ใบนำมาขยำ และใช้ทาแผล ช่วยรักษาบาดแผล
– ป้องกันโรคในหลอดเลือด
– ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะ
– ช่วยบำรุงตา ป้องกันโรคตาปอดตอนกลางคืน
– ช่วยบำรุงเลือด ช่วยฟอกเลือด
– แก้ปวดเมื่อยตามข้อ
– ช่วยขับลม
– แก้อาการปวดท้อง
– ใบนำมาตำผสมกับน้ำมันมะพร้าว ก่อนใช้ทารักษาโรคผิวหนังต่างๆ

ดอก
– ช่วยต้านโรคมะเร็ง
– ดอกใช้ทารักษาบาดแผล
– ช่วยบรรเทาอาการไอ
– ช่วยบำรุงเลือด ช่วยฟอกเลือด
– แก้ปวดเมื่อยตามข้อ

แก่นลำต้น
– แก่นใช้แช่น้ำดื่ม แก้เลือดไหลไม่หยุด

ราก
– รากนำมาต้มน้ำดื่มหรือต้มร่วมกับแห้วหมู และรากปลาไหลเผือก ใช้แก้อาการปัสสาวะเล็ด อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
– ช่วยแก้อาการปวดท้อง

น้ำยาง
– น้ำยางจากเปลือกลำต้นใช้ทารักษาส้นเท้าแตก
– น้ำยางใช้ทาสมานแผล

ตองแตก

ตองแตก สรรพคุณและประโยชน์ของต้นตองแตก

ลูกตองแตก

ตองแตก ชื่อวิทยาศาสตร์ Baliospermum solanifolium (Burm.) Suresh (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Baliospermum axillare Blume, Baliospermum montanum (Willd.) Müll.Arg.) จัดอยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)

สมุนไพรตองแตก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า นองป้อม ลองปอม (เลย), ตองแต่ (ประจวบคีรีขันธ์), ทนดี (ตรัง), เปล้าตองแตก (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ถ่อนดี (ภาคกลาง), โทะโคละ พอบอเจ๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ยาบูเวอ หญ้าโวเบ่อ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น

ลักษณะของตองแตก

  • ต้นตองแตก จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร แตกแขนงจากโคนต้น ส่วนลำต้นเป็นสีเขียวมีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร หรืออาจเล็กกว่านี้ เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ยอดอ่อนมีขนสีขาว เป็นพรรณไม้ที่มีอายุอยู่ได้นานและทนทาน ตายยาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา ลงมาจนถึงพม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม อินโดจีน คาบสมุทรมาเลเซีย เกาะบอเนียว สุมาตรา ชวา มาลูกู สุราเวศรี เลสเซอร์ เกาะซันดร้า ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าไผ่ และตามที่รกร้าง จนถึงระดับความสูง 700 เมตร

ต้นตองแตก

ใบตองแตก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบมีขนาดและรูปร่างต่างกัน ใบที่อยู่ส่วนยอดจะมีลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปใบหอก มีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร ส่วนใบที่อยู่โคนต้นขอบใบจะหยักเว้าเป็น 3-5 แฉก ลักษณะของใบจะเป็นรูปไข่แกมขอบขนานหรือเกือบกลม ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ตามขอบใบจักเป็นซี่ฟันห่างกันไม่สม่ำเสมอ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 7-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-18 เซนติเมตร เนื้อใบบาง เส้นใบด้านล่างเห็นชัดกว่าด้านบน ก้านใบมีลักษณะเรียวยาว มีความยาวประมาณ 2-6 เซนติเมตร ยอดอ่อนมีขน

ใบตองแตก

ดอกตองแตก ดอกมีขนาดเล็กสีขาวเหลือง ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ช่อดอกมีลักษณะเล็กเรียว ยาวประมาณ 3.5-12 เซนติเมตร ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน โดยดอกเพศผู้จะอยู่ตอนบนของช่อและมีจำนวนมาก ดอกมีรูปร่างกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ไม่มีกลีบดอก แต่มีกลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ ฐานดอกมีต่อมประมาณ 4-6 ต่อม มีเกสรเพศผู้ประมาณ 15-20 อัน อับเรณูคล้ายรูปถั่ว ก้านดอกย่อยมีลักษณะเล็กเรียวคล้ายเส้นด้าย ยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะอยู่โคนช่อของดอก ไม่มีกลีบดอกเช่นกัน มีกลีบเลี้ยงเป็นรูปไข่ปลายแหลม ขอบจัก ฐานดอกเป็นรูปถ้วยสั้น ๆ รังไข่มี 3 พู ก้านเกสรเพศเมียจะแยกออกเป็น 2 แฉก ลักษณะม้วนออก

ดอกตองแตก

ผลตองแตก ผลมีลักษณะเป็นพู 3 พู ปลายผลเว้าหรือบุ๋ม มีก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ 2 อัน โคนผลกลม มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ขั้วผล ผลเป็นสีเขียว ส่วนโคนของผลจะมีสีเข้มกว่าตอนปลาย เมื่อแก่แล้วจะแตกออกตามยาวที่กลางพู แต่ละพูจะมีเมล็ด 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปขอบขนาน

ตองแตก

ผลตองแตก

สรรพคุณของตองแตก

  1. รากใช้เป็นยารักษาโรคโลหิตจาง (ราก)
  2. ชาวไทใหญ่จะใช้ใบตองแตกตากแห้ง นำมาชงเหมือนชาดื่มแก้อาการง่วง (ใบ)
  3. รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ ส่วนใบมีสรรพคุณเป็นยาถอนพิษไข้ เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาถ่ายพิษไข้ (ราก, ใบ, เมล็ด)
  4. ใบนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ร้อนใน (ใบ)
  5. ใบนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาช่วยขับเหงื่อ (ใบ)
  6. ใบนำมาต้มกับน้ำหรือแช่กับน้ำกินเป็นยาแก้โรคหืดหอบ (ใบ)
  7. รากมีรสขมเล็กน้อย ใช้ต้มกับน้ำดื่มหรือฝนน้ำกินเป็นยาถ่ายเสมหะเป็นพิษ (เสมหะเขียวเป็นก้อนหรือบิด) แก้เสมหะ ขับเสมหะ (ราก)
  8. รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับลม แก้อาการจุกเสียด แก้ท้องเสีย (ราก)
  9. รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถ่ายหรือยาระบายชนิดที่ไม่รุนแรงมากนัก เหมาะสำหรับคนไข้โรคริดสีดวงทวารที่ใช้ยาดำเป็นยาถ่ายไม่ได้ และเป็นยาถ่ายพิษพรรดึก (อาการต่าง ๆ ที่เกิดจากท้องผูก ถ่ายเป็นก้อนแข็งคล้ายขี้แพะ) (ราก)[1],[2],[3],[4],[5],[7] หรือจะใช้ใบแห้งนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถ่ายก็ได้ (ใบแห้ง) ส่วนเปลือกก็มีสรรพคุณเป็นยาถ่ายเช่นกัน (เปลือก)
  10. เมล็ดใช้เป็นยาถ่ายอย่างแรง (แรงกว่าราก) และภายในเมล็ดจะมีน้ำมันที่เป็นพิษมาก ซึ่งเป็นยารุยาถ่ายอย่างแรงถึงกับถ่ายเป็นน้ำ จึงไม่นิยมใช้กัน (เมล็ด)
  11. ใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคกระเพาะ (ใบ)
  12. ใบหรือเมล็ดใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (ใบ, เมล็ด)
  13. รากใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)
  14. ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำอาบ สำหรับผู้หญิงหลังคลอด ช่วงอยู่ไฟ (อยู่เดือน) (ทั้งต้น)
  15. รากใช้เป็นยาแก้อาการบวมน้ำ แก้ดีซ่าน แก้ม้ามอักเสบ (ราก)
  16. ต้นใช้เป็นยาบำรุงน้ำดี (ต้น)
  17. รากใช้ต้มกับน้ำดื่มหรือฝนน้ำกินเป็นยาถ่ายลมเป็นพิษ (อาการผื่นคันหรือตุ่มหนองที่ผิวหนัง) (ราก)
  18. ใบใช้ตำพอกแผล ห้ามเลือด (ใบ)
  19. น้ำยางจากยอดอ่อนใช้ใส่รักษาแผลทั้งสดและเรื้อรัง แผลโรคปากนกกระจอก (ใบ)
  20. รากใช้ฝนทาแก้อาการฟกช้ำ (ราก)
  21. ใช้เป็นยาแก้ฟกบวม (ใบ, เมล็ด)
  22. น้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นยาทาแก้อาการปวดตามข้อ (เมล็ด)
  23. เมล็ดใช้ภายนอกนำมาตำหรือบดทาบริเวณที่ปวดเมื่อย ทำให้ร้อนและเลือดไหลเวียน ช่วยกระตุ้นให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณที่ทา (เมล็ด)

ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม ให้ใช้ใบประมาณ 2-4 ใบ หรือใช้ราก 1 หยิบมือ ยาไทยจะนิยมใช้ราก 1 หยิบมือ นำมาต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย แล้วนำมารับประทาน

 

ตานขโมย

ตานขโมย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นตานขโมย

:Apostasia nuda R.Br.

กล้วยไม้ดิน ลำต้นและใบคล้ายหญ้า สูง 20-60 ซม. ใบ เรียงตัวเวียนรอบต้น รูปแถบ กว้าง 0.6-1.2 ซม. ยาว 15-30 ซม. ปลายใบแหลม ดอก ออกเป็นช่อ แตกแขนงจากปลายยอด มีใบ ประดับขนาดเล็ก ดอกสีเหลือง บานเต็มที่กว้าง 5-8 มม. กลีบดอก มีขนาดใกล้เคียงกัน แผ่บานและลู่ไปด้านหลัง ไม่มีการพัฒนา เป็นกลีบปาก

พบตามป่าดิบชื้นทางภาคใต้ของประเทศไทย

ลักษณะเด่นของพืช :  มีลำลูกกล้วยป้อมซึ่งมักนิยมเรียกกันว่าหัว ที่ห้วมีข้อถี่ๆ ลำหนึ่งหรือ หัวหนึ่งมีใบอยู่ 2-4 ใบ ช่อดอกเกิดด้านข้างของหัวดอกเกิดที่ปลายช่อสีเหลือง

ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

กำลังพญาเสือโคร่ง

กำลังพญาเสือโคร่ง สรรพคุณและประโยชน์ของกำลังพญาเสือโคร่ง

ดอกกำลังพญาเสือโคร่ง

กำลังพญาเสือโคร่ง ชื่อสามัญ Birch

กําลังพญาเสือโคร่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Betula alnoides Buch.-Ham. ex D.Don จัดอยู่ในวงศ์กำลังเสือโคร่ง (BETULACEAE)

กำลังพญาเสือโคร่ง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กำลังเสือโคร่ง (เชียงใหม่), พญาเสือโคร่ง, นางพญาเสือโคร่ง (คนเมือง), ลำแค ลำแคร่ ลำคิแย (ลั้วะ), เส่กวอเว (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น

ลักษณะของกำลังพญาเสือโคร่ง

  • ต้นกำลังพญาเสือโคร่ง มีถิ่นกำเนิดและพบได้มากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,000 เมตร และเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดน่าน โดยจัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ มีความสูงราว 20-40 เมตร วัดรอบลำต้นได้ประมาณ 1-2 เมตร เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเทาหรือเกือบดำ เปลือกมีต่อมระบายอากาศเป็นจุด ๆ เล็ก ๆ ขาว ๆ ลักษณะกลมหรือรีปะปนกันอยู่ เปลือกมีกลิ่นคล้ายกับการบูร เมื่อแก่จะลอกออกเป็นชั้น ๆ คล้ายกระดาษ ที่ยอดอ่อน ก้านใบ และช่อดอกจะมีขนสีเหลืองหรือสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ ขนเหล่านี้จะลดลงเรื่อย ๆ จนเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยงเมื่อแก่ ส่วนของเนื้อไม้ กระพี้ และแก่นมีสีต่างกันเพียงเล็กน้อย เนื้อไม้มีสีน้ำตาลอ่อนออกเหลืองปนขาวหรือค่อนข้างขาว เนื้ออ่อนค่อนข้างละเอียด มีเสี้ยนตรง แข็งปานกลาง มีลวดลายที่สวยงาม และสามารถไสกบตบแต่งได้โดยง่าย ขัดเงาได้ดี ต้นกำลังพญาเสื้อโคร่งขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

กำลังพญาเสือโคร่ง

ต้นกำลังพญาเสือโคร่งต้นกําลังพญาเสือโคร่ง
  • ใบกำลังพญาเสือโคร่ง ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปหอกหรือเป็นรูปหอก ขนาดใบกว้างประมาณ 1.5-6.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6.55-13.5 เซนติเมตร เนื้อใบบางคล้ายกระดาษหรืออาจจะหนา ด้านใต้ของใบมีตุ่ม ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยสองถึงสามชั้น ซี่หยักแหลม ขอบซี่เรียวแหลม โคนใบป้านหรือเกือบเป็นเส้นตรง ปลายใบเรียวแหลม ใบมีเส้นกลางใบเป็นร่องตื้น ๆ ทางด้านหลังใบเส้นแขนง 7-10 คู่ ส่วนหูใบเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือแคบ ยาวประมาณ 3-8 มิลลิเมตร ส่วนก้านใบเป็นร่องลึกด้านบนยาว 0.5-2.5 เซนติเมตร

ใบกําลังเสือโคร่ง

  • ดอกกำลังพญาเสือโคร่ง ออกดอกเป็นชายาวคล้ายกับหางกระรอก ออกตามง่ามใบแห่งละ 2-5 ช่อ ดอกย่อยไม่มีก้าน ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่แยกกัน โดยช่อดอกเพศผู้ยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร มีกลีบรองดอกเป็นรูปกลมหรือรูปโล่ มีแกนอยู่ตรงกลาง ส่วนปลายค่อนข้างแหลม มีขนอยู่ที่ขอบ เกสรตัวผู้มีอยู่ 4-7 ก้านติดอยู่ที่แกนกลาง ส่วนช่อดอกเพศเมียมีความยาวประมาณ 3-9 เซนติเมตร กลีบรองดอกไม่มีก้าน มี 3 หยัก ยาวประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร ด้านนอกมีขน รังไข่แบน กรอบนอกเป็นรูปไข่หรือเกือบกลม มีขน ท่อรังไข่จะยาวกว่ารังไข่เล็กน้อย มีความกว้างประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 2.5-4 มิลลิเมตร มีปีกบางและโปร่งแสง มักออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์

ดอกกําลังพญาเสือโคร่ง

  • ผลกำลังพญาเสือโคร่ง ลักษณะของผลแบนกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 2-14 มิลลิเมตร มี 2 ข้าง ปีกบางและโปร่งแสง ผลแก่ร่วงง่าย มักออกผลในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์

สรรพคุณของกำลังพญาเสือโคร่ง

  1. เปลือกต้นใช้ทำเป็นยาดองเหล้าดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย หรือจะใช้เปลือกต้นที่ตากแห้งแล้วใช้ผสมกับม้ากระทืบโรง โด่ไม่รู้ลืม ตานเหลือง มะตันขอ ข้าวหลามดง หัวยาข้าวเย็น ไม้มะดูก แก่นฝาง ลำต้นฮ่อสะพายควาย และจะค่าน นำมาต้มเป็นยาดื่ม (เปลือกต้น)
  2. เปลือกใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (เปลือกต้น)
  3. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (เปลือกต้น)
  4. ช่วยบำรุงเลือด (เปลือกต้น)
  5. เปลือกใช้ต้มเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (เปลือกต้น)
  6. ช่วยบำรุงกองธาตุให้เป็นปกติ (เปลือกต้น)
  7. ช่วยอาการปวดฟัน ป้องกันฟันผุ ด้วยการใช้เปลือกต้น นำมาถากออกเป็นแผ่นแล้วนำมาเผาไฟ แล้วนำผงที่ได้มาทาบริเวณที่ปวดฟันหรือฟันผุ (เปลือกต้น)
  8. เปลือกต้นช่วยขับลมในลำไส้ (เปลือกต้น)
  9. ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (เปลือกต้น)
  10. ช่วยชำระล้างไตให้สะอาดมากขึ้น (เปลือกต้น)
  11. ช่วยบำบัดอาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกของสตรีไม่สมบูรณ์ หรือมดลูกชอกช้ำหรืออักเสบอันเนื่องมาจากการถูกกระทบกระเทือน การแท้งบุตร หรือมดลูกไม่แข็งแรงให้หายเร็วเป็นปกติ (เปลือกต้น)
  12. ช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง (เปลือกต้น)
  13. รากใช้ต้มเป็นน้ำดื่มร่วมกับรากโด่ไม่รู้ล้ม ใช้ดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือจะใช้เปลือกต้นที่ตากแห้งแล้วใช้ผสมกับม้ากระทืบโรง โด่ไม่รู้ล้ม ตานเหลือง มะตันขอ ข้าวหลามดง หัวยาข้าวเย็น ไม้มะดูก แก่นฝาง ลำต้นฮ่อสะพายควาย และจะค่าน นำมาต้มเป็นยาดื่ม (ราก, เปลือกต้น)
  14. เปลือกต้นมีน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นฉุนแรงคล้ายน้ำมันระกำ หากทิ้งไว้จนเปลือกแห้ง กลิ่นจะทำให้เส้นเอ็นแข็งแรง (เปลือกต้น)
  15. เปลือกต้นมีกลิ่นหอม ใช้ดมแก้อาการหน้ามืดตาลายได้ (เปลือกต้น)

ประโยชน์ของกำลังพญาเสือโคร่ง

  • เนื้อไม้สามารถนำไปใช้ทำเป็นกระดานพื้น ทำเครื่องเรือน ใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ ทำเป็นด้ามเครื่องมือ ฯลฯ
  • นอกจากเปลือกจะใช้ทำเป็นยาแล้ว เปลือกยังมีกลิ่นหอม ใช้ทำเป็นการบูรและใช้ทำเป็นกระดาษได้
  • เปลือกนำมาบดให้ละเอียดใช้ผสมกับแป้งทำเป็นขนมปังหรือเค้กได้ (ข้อมูลจากเกษตรอินทรีย์)