• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

หมุย

ต้นหมุย

มีชื่อวิทยาศาสตร์  ว่า Clausena cambodiana Guill.

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักหมุย : เป็นพืชทรงพุ่ม และเป็นไม้พื้นบ้าน สูงประมาณ 3 เมตรดอกออกเป็นช่อใบเป็นใบคู่ มีอยู่ด้วยกัน 3 สายพันธุ์ ชื่อหมุยช้าง, หมุยขม, หมุยหอม และผักหมุยที่ส่วนใหญ่นิยมกินคือ “หมุยหอม” โดยจะเก็บใบอ่อนและยอดอ่อนกินเป็นผักสด จิ้มกับน้ำพริกและเป็นผักเหนาะ กินกับขนมจีนน้ำยาและแกงเผ็ดต่างๆ

ผักหมุยพบได้ ทุกภาคของประเทศไทย
โดยผักหมุยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละภาคต่างๆ คือ ภาคตะวันออกเรียกกันว่า ลิ้นชี่สาบกาฉี้และสาบแร้ง ภาคเหนือเรียกกันว่า หมอน้อยสามโชก, หวดจี้ย้อย ภาคตะวันตกเรียกว่า “มุยขาว” ภาคใต้เรียกว่าหมุยช้าง, สมุย และชมุย ในภาคอีสานเรียกว่า สมัครดง, ดอกสมัคร, สะแบกเพิ้นฟานดง

สรรพคุณทางยาของผักหมุย คือ รากของหมุย ใช้แก้ไข้แก้พิษ ผิวต้นหมุยใช้รักษาบาดแผล แก้พิษงู

 

หนุมานนั่งแท่น

 สรรพคุณประโยชน์ของต้นหนุมานนั่งแท่น  (ว่านหนุมานนั่งแท่น)

หนุมานนั่งแท่น

หนุมานนั่งแท่น ชื่อสามัญ Gout Plant, Guatemala Rhubarb, Fiddle-leaved Jatropha

หนุมานนั่งแท่น ชื่อวิทยาศาสตร์ Jatropha podagrica Hook. จัดอยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)

สมุนไพรหนุมานนั่งแท่น มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หัวละมานนั่งแท่น (ประจวบคีรีขันธ์), ว่านเลือด (ภาคกลาง), ว่านหนุมาน, ว่านหนูมานนั่งแท่น เป็นต้น

ลักษณะของหนุมานนั่งแท่น

  • ต้นหนุมานนั่งแท่น เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกากลาง พบได้ตั้งแต่ที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลถึงระดับ 800 เมตร โดยจัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นประมาณ 1.5-3 เมตร ลำต้นพองที่โคน ลำต้นอวบน้ำผิวไม่เรียบ เป็นสีน้ำตาลอมเขียว และมีเหง้าอยู่ใต้ดินลักษณะกลมยาว อาจเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย ต้นมีน้ำยางสีขาวขุ่นใส ๆ ไม่เหนียวเหนอะหนะ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและใช้หัวหรือเหง้าที่อยู่ใต้ดิน เจริญเติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น ชอบแสงแดดจัดแบบเต็มวัน สามารถทนต่อความแล้งได้ดี

ต้นหนุมานนั่งแท่น

ใบหนุมานนั่งแท่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง โคนใบเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเว้าเป็นแฉก 3-5 แฉก ใบมีขนาดกว้างและยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ติดแผ่นใบแบบก้นปิด หูใบแตกแขนงยาวได้ถึง 5 มิลลิเมตร

ว่านหนุมานนั่งแท่น

ดอกหนุมานนั่งแท่น ออกดอกเป็นช่อกึ่งช่อเชิงหลั่น ยาวได้ถึง 26 เซนติเมตร แกนช่อดอกยาวได้ถึง 20 เซนติเมตร โดยจะออกที่ปลายยอด มีใบประดับเป็นรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ดอกย่อยเป็นสีแดงมีจำนวนมาก กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีส้มหรือสีแดง ดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยงเป็นรูปไข่กว้าง ยาวประมาณ 0.6 มิลลิเมตร กลีบดอกเป็นรูปไข่กว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร จานรองดอกเป็นรูปโถ เกสรเพศผู้จะยาวประมาณ 6-8.5 มิลลิเมตร ก้านชูเกสรเชื่อมกันที่โคน ส่วนดอกเพศเมีย กลีบเลี้ยงจะเป็นรูปรี ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกยาวประมาณ 6-7 มิลลิเมตร ก้านชูและก้านชูช่อดอกเป็นสีแดง

รูปหนุมานนั่งแท่น

ดอกหนุมานนั่งแท่น

ผลหนุมานนั่งแท่น ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมรีหรือรูปกระสวย ผิวผลเรียบ แบ่งเป็นพู 3 พู ปลายมน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีดำ เมื่อผลแห้งจะไม่แตก ภายในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปกระสวยหรือรูปรี มีขนาดกว้างประมาณ 6 มิลลิเมตร และยาว 12 มิลลิเมตร เมล็ดมีเยื่อสีขาวอยู่ที่ขั้ว

ผลหนุมานนั่งแท่น

สรรพคุณของหนุมานนั่งแท่น

  1. หัวหรือเหง้าใช้กินเป็นยาบำรุงพละกำลังสำหรับผู้ที่ใช้กำลังแบกหามหรือทำงานหนัก (เหง้า)
  2. เหง้ามีสรรพคุณเป็นยาฟอกโลหิต (เหง้า)
  3. ยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้น้ำยางเป็นยาทารักษาแผลมีดบาด แผลถลอก และใช้ห้ามเลือด ส่วนวิธีใช้ขั้นตอนแรกก็ให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดเสียก่อน แล้วซับแผลด้วยสำลีให้แห้ง แล้วใช้มือเด็ดบริเวณก้านกลางใบ โดยให้เลือดใบที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป เมื่อน้ำยางเริ่มไหลออกมาก็ให้ใช้นิ่วมือรองยางที่หยดลงมา แล้วนำไปป้ายบริเวณแผลวันละ 2-3 ครั้ง แผลก็เริ่มแห้งและตกสะเก็ดภายใน 1-2 วัน(น้ำยาง) ส่วนเหง้าก็มีสรรพคุณเป็นยาสมานแผลเช่นกัน (เหง้า)
  4. ตำรับยาพื้นบ้านจะใช้น้ำยางจากต้นหนุมานนั่งแท่นเป็นยาทารักษาฝี (น้ำยาง)
  5. นำเหง้ามาโขลกให้ละเอียดใช้เป็นยาพอกทาตามข้อมือข้อเท้า นวดแก้อาการเคล็ดขัดยอก (เหง้า

พิษของหนุมานนั่งแท่น

  • ส่วนที่เป็นพิษ : เมล็ดและยาง โดยมีสารพิษที่ออกฤทธิ์คล้ายกับ toxalbumin,curcin พิษจาก resin alkaloid glycoside
  • อาการเป็นพิษ : น้ำยางเมื่อถูกผิวหนังจะเกิดอาการแพ้ระคายเคือง บวมแดงแสบร้อน ส่วนเมล็ดหากรับประทานเข้าจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย หายใจเร็ว การเต้นของหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อชักกระตุก ความดันโลหิตต่ำ (พิษคล้ายละหุ่ง) โดยเมล็ดตะมีรสอร่อยหากรับประทานเพียง 3 เมล็ด ก็ทำให้เป็นอันตรายได้ และถ้าเข้าตาจะทำให้ตาอักเสบ ตาบอดชั่วคราวได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณมากจะอาจทำให้ตาบอดถาวร (และห้ามนำเมล็ดหรือผลมารับประทานเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้)
  • การรักษาพิษ : ให้ล้างน้ำยางออกจากผิวหนังโดยใช้สบู่ และอาจใช้ยาสเตียรอยด์ทา แต่ถ้ารับประทานเข้าไปให้เอาส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมออกโดใช้ถ่านกัมมันต์ (activated charcoal) ล้างท้อง หรือรีบทำให้อาเจียน และรักษาไปตามอาการ

ประโยชน์ของหนุมานนั่งแท่น

  • สมุนไพรหนุมานนั่งแท่นเป็นยาที่ถูกนำมาใช้รักษาแผลในม้า โดยพบว่าได้ยางหนุมานสามารถรักษาแผลให้หายได้ดีกว่าและเร็วกว่ายาเนกาซันท์ ยาปฏิชีวนะ และยาสมานแผลทั่วไป และยังเป็นยาเพียงชนิดเดียวที่ใช้รักษาบาดแผลเนื้องอกได้ ในขณะที่ยาอื่นรักษาไม่ได้ ส่วนแผลเน่าเปื่อยก็รักษาให้หายได้โดยใช้ระยะเวลาที่สั้นกว่ายาอื่นเท่าตัว (แม่โจ้)
  • ในด้านของความเชื่อ ในสมัยก่อนมีการนำมาใช้ในทางคงกระพันชาตรี ด้วยการนำหัวว่านมาแกะเป็นรูปพญาวานร แล้วเสกด้วยคาถาพุทธคุณ "อิติปิโส ภะคะวา - ภะคะวาติ" 3-7 จบ แล้วอมไว้หรือพกติดตัวไว้ จะทำให้ศัตรูแพ้พ่าย ถ้านำมาแกะเป็นรูปพญานาคราช ให้เสกด้วย "เมตตา" 3-7 จบ เมื่อไปเจรจากับผู้ใด จะมีแต่ผู้รักใคร่ ปราถนาสิ่งใดก็สำเร็จทุกประการ ถ้านำมาแกะเป็นรูปพระพรหมแผลงศร ให้เสกด้วยคาถา "อิติปิโส ภะคะวา - ภะคะวาติ" 3-7 จบ ใครจะมาทำร้ายทิ่มแทงเราก็จะล้มทับตัวเอง อาวุธที่มีก็จะพลัดหลุดจามือ จนสุดท้ายต้องหลบหนีไปเอง ถ้านำหัวว่านมาแกะเป็นรูปภควัมบดีปิดหูปิดตา คือปิดทวารทั้งเก้า ให้เสกด้วยคาถา "อิติปิโส ภะคะว่า - ภะคะวาติ" 7 จบ แล้วนำมาอมไว้ในปาก ผู้อื่นจะมองไม่เห็น ทำร้ายไม่ได้ หรือหากต้องการสิ่งใดก็จะสมดัง ปราถนา และถ้านำมาแกะเป็นรูปพระ แล้วเสกด้วยคาถา "อะ อิ อุ ธะ 7 จบ ก็จะช่วยป้องกันอันตรายได้ทั้งปวง"[4]
  • นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับและว่านมงคลชนิดหนึ่งตามบ้านและวัดทั่วไป นิยมขยายพันธุ์ด้วยการใช้หัวหรือเหง้า โดยนำดินร่วนปนทรายปนกับผงอิฐดินเผาทุบให้แหลกละเอียด ตากน้ำค้างทิ้งไว้หนึ่งคืน ผสมใบพืชตระกูลถั่ว หญ้าสับ วางหัวว่านไม่ต้องกลบดินจนมิด (ให้หัวโผล่ และให้แสงแดดรำไร) ตอนจะรดน้ำให้ว่าคาถา "นะโมพุทธายะ" 3 จบ และถ้าจะให้ดีควรปลูกในวันพฤหัสบดีข้างขึ้น เวลานำไปใช้ให้บอกกับต้นไม้ด้วยว่าจะใช้รักษาอะไร เช่น "ขอยารักษาแผลหน่อยนะ" แล้วน้ำยางจะไหลออกมามาก[4] ส่วนอีกความเชื่อหนึ่งระบุว่าถ้าจะขุดหัวว่านมาใช้ ให้เสกด้วยคาถา "สัพพาสี - ภาณามเห" 3 หรือ 7 จบ รดน้ำรอบต้นแล้วขุด ในขณะที่ขุดให้เสกด้วยคาถา "หะนุมานะ โสธาระ" ซึ่งเป็นคาถาผูกอีก 3 หรือ 7 จบ จึงเก็บหัวว่านมาใช้ และตอนนำมาใช้ก็ต้องเสกด้วยคาถา "นะโมพุทธายะ" 3 จบก่อนทุกครั้ง เชื่อว่าจะมีอานุภาพฟันแทงไม่เข้า

หมัน

ต้นหมัน

ต้นหมัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cordia cochinchinensis Pierre.

ชื่อวงศ์ Boraginaceae

ชื่ออื่นๆ เก้าศรี สะหลีหลวง สะหลี ย่อง ปู

หมันเป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงกลาง สูง 10-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกต้นสีเทาเข้มปนดำ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่กลับ กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 9.5-15.5 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือแหลมทู่ โคนใบสอบ เส้นแขนงใบข้างละ 5-6 เส้น ก้านใบยาว 2.5-5 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อแบบแยกแขนงตามซอกใบ กิ่งหรือปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 10-25 เซนติเมตร สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 4-5 แฉก เกสรเพศผู้มี 5 อัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-6 มิลลิเมตร ผลเป็นแบบผลสดมีเนื้อ ทรงกลม ปลายผลมีติ่งแหลม ขนาด 1.5-2.2 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีชมพูอมส้ม เนื้อผลเป็นยางเหนียวใส ภายในมีเมล็ดเดี่ยวรูปไข่

ประโยชน์  เปลือกใช้ทำปอ ใช้ทำหมันตอกยาแนวเรือ ของเหลวในผลที่ห่อหุ้มเมล็ดเหนียวมากใช้ทำกาว

หนานเฉาเหว่ย

หนานเฉาเหว่ย

หนานเฉาเหว่ย ป่าช้าเหงา ป่าช้าหมอง สมุนไพรดี ที่ควรกินอย่างระวัง

"หนานเฉาเหว่ย" หรือ "หนานเฝยเฉ่า" (Nan fui chao) ,หนานเฟยซู่,ป่าเฮ่อหมอง(ป่าช้าเหงา),บิสมิลลาฮ 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Vernonia amygdalina 
Family name ชื่อวงศ์ ASTERACEAE
English (vernonia tree,bitter leaf)

ในปัจจุบัน การแพทย์แผนโบราณที่ใช้พืชสมุนไพรในการรักษาโรค กำลังกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง เนื่องจากหลายๆ คนคิดว่าการใช้ธรรมชาติบำบัดจะช่วยบำรุงสุขภาพ ส่งเสริมฤทธิ์ของยา และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้การรักษาโรคได้ แต่อย่างไรก็ตาม สมุนไพรหลายชนิดก็ยังไม่มีการวิจัยที่รับรองสรรพคุณอย่างแน่ชัด รวมถึงการทานสุ่มสี่สุ่มห้า ก็อาจเกิดผลข้างเคียงที่อันตรายได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นสมุนไพร หนานเฉาเหว่ย หรือที่แปลเป็นไทยว่า ป่าช้าเหงาป่าช้าหมอง ซึ่งว่ากันว่ามีสรรพคุณสารพัด แต่หากทานอย่างไม่ระวัง ก็อาจเป็นโทษต่อสุขภาพได้

รู้จักกับสมุนไพร หนานเฉาเหว่ย

หนานเฉาเหว่ย (ชื่อวิทยาศาสตร์ Gymnanthemum extensum) หรือชื่ออื่นๆ คือ ป่าช้าเหงา ป่าช้าหมอง ป่าเฮ่วหมองเป็นสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พบได้ตามป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณ และปัจจุบันปลูกกันแพร่หลายมากขึ้นทางภาคเหนือของประเทศไทย พืชหนานเฉาเหว่ยเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 6 – 8 เมตร มีใบรูปรี ปลายแหลม โคนป้านมน ใบอ่อนและแก่มีรสขมจัด ออกดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อนตามซอกใบและปลายยอดในช่วงต้นฤดูฝน ดอกมีกลิ่นหอม ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม ผิวเกลี้ยง แบ่งเป็นพู 3 พู ในแต่ละพูจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา ได้แก่ ใบ ซึ่งสามารถทานสด หรือต้มกับน้ำดื่มก็ได้

สรรพคุณของหนานเฉาเหว่ย

งานวิจัยที่รับรองสรรพคุณของหนานเฉาเหว่ย ยังอยู่ในระดับเซลล์เพาะเลี้ยงและสัตว์ทดลองเท่านั้น ยังไม่มีการวิจัยสรรพคุณในคนแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่าสมุนไพรหนานเฉาเหว่ย น่าจะมีฤทธิ์เป็นยาและมีสรรพคุณต่อร่างกาย ดังนี้

  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด มีงานวิจัยที่พบว่าใบหนานเฉาเหว่ย หรือป่าช้าเหงา สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดในสัตว์ทดลองได้ ซึ่งน่าจะออกฤทธิ์ในคนแบบเดียวกัน โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีน้ำตาลในเลือดสูง แต่ใบหนานเฉาเหว่ยนั้นมีฤทธิ์แรงมาก การทานมากเกินไปจึงอาจทำให้น้ำตาลตก จนหน้ามืด หมดแรง หมดสติ และช็อกได้
  • ช่วยลดความดันโลหิต หนานเฉาเหว่ยมีฤทธิ์ช่วยขยายหลอดเลือด และทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี จึงช่วยลดความดันโลหิต โดยเฉพาะในคนที่มีความดันโลหิตสูง และมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคที่ตามมา เช่น โรคหลอดหลอดเลือดสมอง และโรคไตเรื้อรังได้อีกด้วย แต่การทานมากเกินก็อาจทำให้ความดันตกจนเป็นอันตรายได้
  • ช่วยลดระดับไขมันในเลือด การทดลองในสัตว์ พบว่าหนานเฉาเหว่ยสามารถลดระดับไขมันในเลือดได้ จึงน่าจะมีส่วนช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง
  • มีฤทธิ์ต่อต้านเซลล์มะเร็ง การทดลองในเซลล์เพาะเลี้ยง พบว่าสารสกัดจากสมุนไพรหนานเฉาเหว่ย สามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเต้านม และมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ โดยผ่านการกระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็ง แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีอะไรพิสูจน์ได้ว่าการทานหนานเฉาเหว่ยจะเป็นผลดีต่อการรักษามะเร็งในคนหรือไม่

ข้อควรระวังในการบริโภคหนานเฉาเหว่ย

แม้หนานเฉาเหว่ยจะเป็นสมุนไพรมากสรรพคุณ แต่ก็อาจไม่ได้เหมาะกับทุกคน และการทานอย่างไม่ระมัดระวังก็อาจก่อให้เกิดโทษได้ จึงมีข้อแนะนำและข้อควรระวังสำหรับการทานหนานเฉาเหว่ย ดังนี้

  • คนที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำ ความดันโลหิตต่ำ ผู้ป่วยโรคตับ โรคไต หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร ไม่ควรรับประทานหนานเฉาเหว่ย
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ไม่ควรรับประทานหนานเฉาเหว่ยแทนยา หรือหยุดยาแผนปัจจุบันแล้วมาทานหนานเฉาเหว่ยอย่างเดียว โดยเฉพาะคนที่ควบคุมโรคได้ดีอยู่แล้ว เพราะจะทำให้น้ำตาลและความดันตกจนเป็นอันตรายได้ แต่สามารถทานหนานเฉาเหว่ยเพื่อบำรุงร่างกายเป็นครั้งคราวได้
  • หากทานหนานเฉาเหว่ยแล้วมีอาการหน้ามืด ใจสั่น เหงื่อออกมาก หมดแรง ให้หยุดทานแล้วไปพบแพทย์
  • หนานเฉาเหว่ยอาจมีพิษต่ออัณฑะ ชายวัยเจริญพันธุ์จึงไม่ควรรับประทานหนานเฉาเหว่ยติดต่อกันเป็นเวลานาน

วิธีบริโภคหนานเฉาเหว่ยให้ปลอดภัย

  • ทานใบสด โดยให้เลือกใบขนาดไม่ใหญ่นัก ทานไม่เกินวันละ 1 – 3 ใบ และไม่ควรทานทุกวัน ให้เว้น 2 – 3 วันจึงทานครั้งหนึ่ง
  • นำใบมาต้มกับน้ำดื่ม โดยเลือกใบขนาดเท่าฝ่ามือ 3 ใบ ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ให้พอเดือด (ไม่ควรต้มนานเกิน 5 นาที) และดื่มเพียงวันละ 1 แก้ว หลังตื่นนอน ไม่ควรดื่มทุกวัน และไม่ควรดื่มแทนน้ำ
  • ไม่ควรบริโภคติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น อาจทานติดต่อกัน 1 เดือน แล้วเว้น 1 เดือน และจึงเริ่มทานใหม่

อย่างไรก็ตาม ถ้าทานหนานเฉาเหว่ยแล้วมีอาการผิดปกติ ให้หยุดทานทันที และหากใครมีโรคประจำตัวซึ่งไม่แน่ใจว่าทานสมุนไพรได้หรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ