• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

เสน่ห์จันทน์แดง

เสน่ห์จันทน์แดง สรรพคุณของว่านเสน่ห์จันทน์แดง

เสน่ห์จันทน์แดง

เสน่ห์จันทน์แดง ชื่อสามัญ King of Heart

เสน่ห์จันทน์แดง (เสน่ห์จันทร์แดง) ชื่อวิทยาศาสตร์ Homalomena rubescens (Roxb.) Kunth (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Calla rubescens Roxb., Chamaecladon rubescens (Roxb.) Schott, Zantedeschia rubens K.Koch) จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)

ลักษณะของเสน่ห์จันทน์แดง

  • ต้นเสน่ห์จันทน์แดง หรือ ว่านเสน่ห์จันทน์แดง มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของเอเชียและอเมริกา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเกิดจากหัวใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ประกอบด้วยก้านใบหลาย ๆ ก้าน ไม่แตกกิ่งก้านสาขา มีความสูงได้ประมาณ 45-60 เซนติเมตร นอกนั้นจะเป็นก้านใบและตัวใบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือแยกหัว เป็นพรรณไม้ในที่ร่มหรือแดดรำไร เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบน้ำขัง

ต้นเสน่ห์จันทน์แดง

ใบเสน่ห์จันทน์แดง ใบเป็นใบเดี่ยว แตกใบออกตรงส่วนยอดของลำต้น ก้านใบเป็นสีแดงและยาวกว่าแผ่นใบ โคนก้านใบเป็นกาบห่อหุ้มลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าลึก ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-8 นิ้ว และยาวประมาณ 6-12 นิ้ว แผ่นใบเป็นสีเขียวสด เส้นใบเป็นสีแดง (หากโดนแสงแดดมากเกินไปจะทำให้ใบเปลี่ยนสี) ส่วนก้านใบมีลักษณะกลมยาวเป็นสีเขียวหรือสีเขียวอมแดง หากเลี้ยงได้อย่างสมบูรณ์ก้านใบอาจเป็นสีแดงปนดำหรือเป็นสีแดงเลือดหมูตลอดทั้งก้านใบ

ใบว่านเสน่ห์จันทน์แดง

เสน่ห์จันทร์แดง

ดอกเสน่ห์จันทน์แดง ออกดอกเป็นช่อบริเวณกลางต้น ลักษณะของดอกเป็นแท่งกลมยาว ช่อดอกยาวได้ประมาณ 3-4 นิ้ว มีลักษณะอวบและจะมีกาบสีแดงห่อหุ้มเอาไว้

ดอกเสน่ห์จันทน์แดงดอกว่านเสน่ห์จันทน์แดง

ผลเสน่ห์จันทน์แดง ผลเป็นผลสดขนาดเล็ก จับดูจะนุ่ม ๆ

สรรพคุณของเสน่ห์จันทน์แดง

  • ทั้งต้นมีสารพิษชนิดหนึ่งอยู่ ฉะนั้นจึงใช้เป็นยาพิษ (ทั้งต้น)
  • ใบใช้ภายนอกเป็นยารักษาแผล (ใบ)
  • หัวหรือเหง้าใช้เป็นยาทาเฉพาะภายนอก โดยจะช่วยแก้โรคไขข้ออักเสบได้ (หัว)

ข้อควรระวัง : เสน่ห์จันทน์แดงทั้งต้นรวมทั้งใบจะมีสารพิษชนิดหนึ่ง ฉะนั้นการนำมาใช้เป็นยาควรใช้เฉพาะภายนอกเท่านั้น ห้ามนำมารับประทาน

ประโยชน์ของเสน่ห์จันทน์แดง

  • ใช้ปลูกเป็นไม้กระถางประดับทั่วไปในบริเวณบ้าน หรือปลูกตามแนวต้นไม้ใหญ่ เสน่ห์จันทน์แดงเป็นไม้ประดับที่มีรูปทรงสวยงาม เพราะความโดดเด่นของแผ่นใบที่เป็นรูปหัวใจที่มีสีเขียวเข้มตัดกับสีแดงเข้มของก้านใบ ว่านชนิดนี้เป็นว่านชนิดที่เจริญเติบโตได้ทั้งในที่ร่มและในที่มีแสงแดดจัด แต่เป็นพืชที่ไม่ค่อยทนทาน จึงต้องการการดูแลรักษาอยู่พอสมควร โดยควรปลูกในดินร่วนหรือดินทราย และควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอทั้งเช้าและเย็น
  • เสน่ห์จันทน์แดงเป็นไม้ประดับที่มีความสามารถในการดูดสารพิษในอากาศได้ปานกลาง โดยเฉพาะสารพิษจำพวกแอมโมเนีย
  • ในด้านของความเป็นมงคล ว่านเสน่ห์จันทน์แดงจัดเป็นไม้มงคลในเรื่องมหานิยม หากปลูกไว้ในบริเวณบ้าน จะเป็นศรีมีเสน่ห์แก่ครอบครัว และหากผู้ใดจะคิดเข้ามาทำร้ายใด ๆ ก็จะไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะจะทำให้คนร้ายผู้นั้นกลับมีจิตใจที่มีเมตตาขึ้นมาแทน นอกจากนี้ยังเชื่อว่าหากปลูกไว้แล้วจะโชคดี ถ้านำมาตั้งไว้ในร้านค้าจะช่วยให้ค้าขายดีมีกำไร เป็นเมตตามหานิยมแก่คนทั่วไปและหัวยังใช้แกะเป็นรูปนางกวักได้เช่นเดียวกับว่านเสน่ห์จันทน์เขียว ส่วนวิธีการปลูกนั้นให้นำอิฐหักทุบให้แหลกละเอียดตากน้ำค้างไว้ 1 คืน แล้วเอามาปนดินที่ปลูกด้วยหัวว่าน โดยให้ปลูกในวันจันทร์ และเวลารดน้ำให้เสกด้วยคาถานะโม พุทธายะ 3 จบ (ว่านเสน่ห์จันทน์แดงนี้เป็นว่านคู่กันกับว่านเสน่ห์จันทน์เขียว หากนำมาปลูกไว้คู่กันจะทำให้ขลังดีนักแล)

สังกรณี

สังกรณี สรรพคุณและประโยชน์ของต้นสังกรณี

สังกรณี

สังกรณี ชื่อวิทยาศาสตร์ Barleria strigosa Willd. จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)

สมุนไพรสังกรณี มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขี้ไฟนกคุ้ม (ปราจีนบุรี), กำแพงใหญ่ (เลย), กวางหีแฉะ (สุโขทัย), จุกโรหินี (ชลบุรี), หญ้าหงอนไก่ หญ้าหัวนาค (ภาคเหนือ), เพิงดี (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เป็นต้น

ลักษณะของสังกรณี

  • ต้นสังกรณี จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขารอบ ๆ ต้นมากมาย มีความสูงของลำต้นประมาณ 60-120 เซนติเมตร ตามต้นไม่มีหนาม ตามกิ่งก้านมีขนสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง มักพบขึ้นมากตามป่าเต็งรัง ป่าไผ่ ป่าดงดิบ และป่าดิบแล้ง

ต้นสังกรณี

  • ใบสังกรณี ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปรีค่อนข้างยาวหรือเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลมและมีติ่ง โคนใบแหลมและค่อย ๆ เรียวแหลมไปจนถึงก้านใบ ส่วนขอบใบมีขนเป็นหนามเล็ก ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ท้องใบมีขนยาวตามเส้นใบ ส่วนหลังใบมีขนบ้างประปราย ก้านใบยาวประมาณ 0.2-0.5 เซนติเมตร

ใบสังกรณี

  • ดอกสังกรณี ออกดอกเป็นช่อกระจะแน่น โดยจะออกตามง่ามใบหรือที่ปลายยอด มีดอกย่อยประมาณ 10 ดอก ดอกมีใบประดับเป็นรูปรีหรือรูปหอก มี 2 แผ่น กว้างประมาณ 4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 10 มิลลิเมตร ปลายแหลม ขอบหยักเป็นซี่ฟันถี่ เป็นชายครุย หุ้มโคนดอก ดอกย่อยเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร มีกลีบเลี้ยง 2 กลีบ เรียงตัวตรงข้ามกันเป็นคู่ เชื่อมกันที่โคน ปลายแยก คู่ด้านนอกมีลักษณะเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 1.6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ปลายแหลม ส่วนขอบหยักซี่ฟันถี่ เป็นชายครุย ส่วนคู่ด้านนอกในเป็นรูปใบหอกขนาดเล็ก มีขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 10 มิลลิเมตร ปลายเรียวแหลม ขอบกลีบมีขนต่อม กลีบดอกมีด้วยกัน 5 กลีบ เชื่อมกันเป็นหลอด รูปปากเปิด สีม่วงอ่อน หลอดกลีบดอกยาวได้ประมาณ 2.5 เซนติเมตร ด้านนอกเรียบ ส่วนด้านในขรุขระ กลีบปากด้านบนมี 4 แฉก ในแต่ละแฉกจะมีขนาดใกล้เคียงกัน ลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปรี กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ปลายแฉกมนถึงกลม ขอบเรียบ ผิวด้านนอกมีขนต่อม กลีบปากด้านล่างมี 1 กลีบ ขนาดใหญ่ เป็นรูปไข่กลับ กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายแฉกมนกลมถึงเว้าตื้น ขอบเรียบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ติดที่โคนหลอดกลีบดอก แบ่งเป็นคู่ 2 คู่ เกสรเพศผู้คู่ยาวมีก้านเกสรยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ช่วงโคนมีขนสั้น ช่วงปลายเรียบ อับเรณูเป็นรูปขอบขนานมีสีม่วง มีขนาดกว้างประมาณ 1.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร แตกตามแนวยาว ส่วนเกสรเพศผู้คู่สั้นมีก้านเกสรยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร มีขนสั้นขึ้นปกคุลมตลอดความยาว อับเรณูจะมีขนาดเล็ก กว้างประมาณ 0.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร และมีเกสรเพศผู้ทีเป็นหมันอีก 1 อัน ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร แทรกอยู่ระหว่างกลาง เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน กว้างได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร ผิวเรียบ ด้านในแบ่งเป็นช่อง 2 ช่อง ในแต่ละช่องจะมี 2 ออวุล ติดอยู่ที่แกนจานฐานดอก สูงได้ประมาณ 2 มิลลิเมตร หุ้มรอบรังไข่ ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนมกราคม

รูปสังกรณี

ดอกสังกรณี

ผลสังกรณี ออกผลเป็นฝัก ลักษณะของฝักแบนเกลี้ยง สีน้ำตาล พอแห้งจะแตกได้ ภายในผลมีเมล็ดอยู่ 4 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกลมแบน

สมุนไพรสังกรณี มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขี้ไฟนกคุ้ม (ปราจีนบุรี), กำแพงใหญ่ (เลย), กวางหีแฉะ (สุโขทัย), จุกโรหินี (ชลบุรี), หญ้าหงอนไก่ หญ้าหัวนาค (ภาคเหนือ), เพิงดี (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เป็นต้น

ลักษณะของสังกรณี

  • ต้นสังกรณี จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขารอบ ๆ ต้นมากมาย มีความสูงของลำต้นประมาณ 60-120 เซนติเมตร ตามต้นไม่มีหนาม ตามกิ่งก้านมีขนสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง มักพบขึ้นมากตามป่าเต็งรัง ป่าไผ่ ป่าดงดิบ และป่าดิบแล้ง

ต้นสังกรณี

  • ใบสังกรณี ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปรีค่อนข้างยาวหรือเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลมและมีติ่ง โคนใบแหลมและค่อย ๆ เรียวแหลมไปจนถึงก้านใบ ส่วนขอบใบมีขนเป็นหนามเล็ก ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ท้องใบมีขนยาวตามเส้นใบ ส่วนหลังใบมีขนบ้างประปราย ก้านใบยาวประมาณ 0.2-0.5 เซนติเมตร

ใบสังกรณี

  • ดอกสังกรณี ออกดอกเป็นช่อกระจะแน่น โดยจะออกตามง่ามใบหรือที่ปลายยอด มีดอกย่อยประมาณ 10 ดอก ดอกมีใบประดับเป็นรูปรีหรือรูปหอก มี 2 แผ่น กว้างประมาณ 4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 10 มิลลิเมตร ปลายแหลม ขอบหยักเป็นซี่ฟันถี่ เป็นชายครุย หุ้มโคนดอก ดอกย่อยเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร มีกลีบเลี้ยง 2 กลีบ เรียงตัวตรงข้ามกันเป็นคู่ เชื่อมกันที่โคน ปลายแยก คู่ด้านนอกมีลักษณะเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 1.6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ปลายแหลม ส่วนขอบหยักซี่ฟันถี่ เป็นชายครุย ส่วนคู่ด้านนอกในเป็นรูปใบหอกขนาดเล็ก มีขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 10 มิลลิเมตร ปลายเรียวแหลม ขอบกลีบมีขนต่อม กลีบดอกมีด้วยกัน 5 กลีบ เชื่อมกันเป็นหลอด รูปปากเปิด สีม่วงอ่อน หลอดกลีบดอกยาวได้ประมาณ 2.5 เซนติเมตร ด้านนอกเรียบ ส่วนด้านในขรุขระ กลีบปากด้านบนมี 4 แฉก ในแต่ละแฉกจะมีขนาดใกล้เคียงกัน ลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปรี กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ปลายแฉกมนถึงกลม ขอบเรียบ ผิวด้านนอกมีขนต่อม กลีบปากด้านล่างมี 1 กลีบ ขนาดใหญ่ เป็นรูปไข่กลับ กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายแฉกมนกลมถึงเว้าตื้น ขอบเรียบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ติดที่โคนหลอดกลีบดอก แบ่งเป็นคู่ 2 คู่ เกสรเพศผู้คู่ยาวมีก้านเกสรยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ช่วงโคนมีขนสั้น ช่วงปลายเรียบ อับเรณูเป็นรูปขอบขนานมีสีม่วง มีขนาดกว้างประมาณ 1.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร แตกตามแนวยาว ส่วนเกสรเพศผู้คู่สั้นมีก้านเกสรยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร มีขนสั้นขึ้นปกคุลมตลอดความยาว อับเรณูจะมีขนาดเล็ก กว้างประมาณ 0.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร และมีเกสรเพศผู้ทีเป็นหมันอีก 1 อัน ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร แทรกอยู่ระหว่างกลาง เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน กว้างได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร ผิวเรียบ ด้านในแบ่งเป็นช่อง 2 ช่อง ในแต่ละช่องจะมี 2 ออวุล ติดอยู่ที่แกนจานฐานดอก สูงได้ประมาณ 2 มิลลิเมตร หุ้มรอบรังไข่ ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนมกราคม

รูปสังกรณี

ดอกสังกรณี

  • ผลสังกรณี ออกผลเป็นฝัก ลักษณะของฝักแบนเกลี้ยง สีน้ำตาล พอแห้งจะแตกได้ ภายในผลมีเมล็ดอยู่ 4 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกลมแบน

สรรพคุณของสังกรณี

  1. ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง (ทั้งต้น)รากสังกรณีส่วนคนเมืองจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำร่วมกับสมุนไพรฮ่อสะพานควาย และดู่เครือ ใช้ดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง (ราก)
  2. ในประเทศไทยจะใช้รากปรุงเป็นยาถอนพิษไข้กาฬ โดยผสมกับเครื่องยาอื่น ๆ เป็นยาดับพิษไข้ทั้งปวง และเป็นยาแก้ไอ (ราก)
  3. รากมีรสขม นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้ ดับพิษร้อน ช่วยลดความร้อนในร่างกาย (ราก)
  4. ใบใช้เป็นยาแก้ไข้หวัดใหญ่ (ใบ)
  5. ช่วยแก้ไข้จับสั่น (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  6. ในประเทศอินเดียจะใช้รากสังกรณีปรุงเป็นยาแก้ไอ (ราก)
  7. ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการไอเป็นเลือด (ทั้งต้น)
  8. รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โลหิตกำเดา (ราก) ส่วนบางข้อมูลระบุว่าใบสังกรณีก็นำมาใช้เป็นยาแก้กำเดาได้เช่นกัน (ใบ)
  9. ใบใช้เป็นยาแก้คออักเสบ (บางข้อมูลระบุว่าช่วยแก้ต่อมทอลซิลอักเสบ และแก้วัณโรคปอดได้ด้วย) (ใบ)
  10. ช่วยขับปัสสาวะ และแก้ปัสสาวะพิการ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  11. ทั้งต้นใช้ดองกับเหล้าเป็นยาบำรุงกำหนัด (ทั้งต้น)
  12. ตำรับยาขับน้ำคาวปลาหลังการคลอดบุตรของสตรี ระบุให้ใช้รากสังกรณี รากชุมเห็ดไทย รากหรือต้นก้างปลาแดง นำมาต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาร้อน จะช่วยขับน้ำคาวปลาหลังคลอดได้ (ราก)

สิงหโมรา

สิงหโมรา สรรพคุณและประโยชน์ของว่านสิงหโมรา

สิงหโมรา

สิงหโมรา ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyrtosperma johnstonii (N.E.Br.) N.E.Br. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Alocasia johnstonii N.E.Br.) จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)

สมุนไพรสิงหโมรา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ว่านสิงหโมรา ผักหนามฝรั่ง (กรุงเทพฯ) เป็นต้น

ลักษณะของสิงหโมรา

  • ต้นสิงหโมรา จัดเป็นไม้ล้มลุก ที่มีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นสั้นพ้นผิวดินขึ้นมาเพียงเล็กน้อย ลำต้นเป็นสีชมพูอ่อน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการแยกหัว เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำได้ดี มีความชื้นสูง และชอบแสงแดดรำไร เวลาปลูกให้กลบดินแต่พอมิดหัวเท่านั้น ควรนำมาเพาะในกระถางให้ต้นโตพอสมควรก่อน แล้วค่อยย้ายไปปลูกในที่ซึ่งเป็นดินโคลนหรือดินเลนหรือจะปลูกในดินร่วน ๆ คลุกด้วยใบพืชผุพังก็ได้ รดน้ำแต่อย่าให้น้ำท่วมขัง มักพบขึ้นตามบริเวณลำธารที่พื้นเป็นดินโคลนเลนตามป่าดิบชื้นทั่วไปที่มีแสงแดดแบบรำไร

ว่านสิงหโมรา

ต้นสิงหโมรา

ใบสิงหโมรา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกใกล้ราก แทงออกมาจากหัวใต้ดิน ลักษณะของใบเป็นรูปเงี่ยงใบหอกถึงรูปหัวลูกศร ยาวได้ถึง 60 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปเงี่ยงลูกศร ส่วนขอบใบเรียบ ท้องใบและหลังใบเรียบ ส่วนก้านใบยาวประมาณ 60 เซนติเมตร มีจุดประสีขาว สีเขียว สีน้ำตาล และชมพู ส่วนขอบก้านใบมีหนามทู่ เส้นใบเป็นสีชมพูสดเมื่อยังเป็นใบอ่อน แผ่นใบมีแต้มสีน้ำตาลแดง เส้นใบเป็นสีเขียวถึงสีน้ำตาล โคนใบเป็นพูยาว กาบใบเป็นรูปเรือ สีม่วงเข้มด้านนอก สีเขียวแกมเหลืองด้านใน

ใบว่านสิงหโมรา

ดอกสิงหโมรา ออกดอกเป็นช่อเป็นแท่งกลมยาว แทงออกมาจากกาบใบ ดอกย่อยส่วนใหญ่จะเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ มีใบประดับขนาดใหญ่คล้ายกาบสีน้ำตาลหุ้มอยู่ด้านหนึ่ง

ดอกว่านสิงหโมรา

ผลสิงหโมรา ผลเป็นผลสดมีขนาดเล็ก ผลจะมีเนื้อนุ่มหุ้มอยู่ข้างนอก ส่วนภายในจะมีเปลือกหุ้มเมล็ดที่แข็งมาก

  1. ก้านใบนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ดองกับเหล้า ใช้กินเป็นยาช่วยเจริญอาหาร ช่วยฟอกเลือดบำรุงโลหิต ซึ่งเหมาะสำหรับสตรี โดยให้ดื่มกินก่อนอาหารครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ (ก้านใบ)[1],[2],[3] หรือจะใช้ส่วนของเหง้า กาบต้น หรือทั้งต้นนำมาดิงกับเหล้ากินก็มีสรรพคุณบำรุงโลหิตเช่นกัน (เหง้า,กาบต้น,ทั้งต้น)
  2. ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง (ก้านใบ,ต้นและใบ)
  3. ต้นและใบมีรสร้อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ต้นและใบ)
  4. ทั้งต้นนำมาดองกับเหล้ากินเป็นยาช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ทั้งต้น)
  5. ช่วยบำรุงกำลัง (ก้านใบ)
  6. ใช้เป็นยาแก้ลมวิงเวียนบ่อย ๆ หน้ามืด ซูบซีด ด้วยการนำต้นและใบมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ผสมกับมะตูมอ่อนและกล้วยน้ำว้าห่าม นำมาดองกับเหล้า 15 วัน หรือบดให้เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 เวลา เช้าและเย็น (ต้นและใบ)
  7. ช่วยในการย่อยอาหาร (เหง้า,ก้านใบ,กาบต้น)
  8. ทั้งต้นมีรสร้อน ใช้ดิงกับเหล้าดื่มกินเป็นยาช่วยขับน้ำคาวปลาของสตรี (เหง้า,ก้านใบ,กาบต้น,ทั้งต้น)
  9. ดอกมีสรรพคุณช่วยทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ด้วยการนำดอกมาปิ้งกับไฟให้เหลืองแล้วดองกับเหล้า ใช้กินเป็นยาแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติของสตรี (ดอก)
  10. ต้นและใบมีรสร้อน มีสรรพคุณช่วยรักษามดลูกสำหรับสตรีหลังการคลอดบุตรใหม่ (ต้นและใบ)
  11. ก้านใบนำมาดองกับเหล้ากินเป็นยาแก้โรคอยู่ไฟไม่ได้ หรือโดนเลือดลมกระทำ อันเป็นเหตุให้ผอมแห้งแรงถอย โดยท่านให้ดื่มกินก่อนอาหารครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ (ก้านใบ, ทั้งต้น)
  12. ช่อดอกนำมาปิ้งไฟแล้วดองกับเหล้า ใช้กินเป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวาร (ช่อดอก)
  13. ใบมีรสร้อน นำมาตำพอกผสมกับเหล้า ใช้เป็นยาพอกฝีที่ไม่เป็นหนองให้แห้งหายไป (ใบ)
  14. เหง้ามีรสร้อน นำมาฝนกับน้ำหรือฝนกับเหล้าแล้วนำไปปิดปากแผลที่ถูกแมงป่องหรือตะขาบกัดต่อย จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ (เหง้า)
  15. ก้านใบใช้ปรุงเป็นยาดูดพิษ และกำจัดสารพิษต่าง ๆ ภายในร่างกายได้ (ก้านใบ)
  16. ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อและบำรุงเส้นเอ็น (ก้านใบ)
  17. นอกจากนี้บางข้อมูลยังระบุด้วยว่าว่านสิงหโมรามีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิต โดยวิธีการปรุงเป็นยาให้ใช้ต้นนำมาหั่นให้ละเอียด (รวมใบ ลำต้น และเหง้าด้วย) นำมาล้างให้สะอาดแล้วนำไปตากแดดให้แห้งประมาณ 2-3 วัน หลังจากนั้นนำมาต้มกับน้ำ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่มกินเป็นประจำทุกวัน หรืออาจใช้ดื่มแทนน้ำเปล่าเลยก็ได้ (แต่ข้อมูลตรงส่วนนี้ยังไม่มีรายงานทางเภสัชวิทยามายืนยันนะครับว่ามีฤทธิ์ดังกล่าวจริงหรือไม่)
  18. ประโยชน์ของสิงหโมรา

    • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงาม ยามเจ็บไข้ ก็จับนำมาใช้ทำเป็นยาได้
    • ในด้านความเป็นมงคล มีความเชื่อว่าว่านสิงหโมรามีอานุภาพทางด้านป้องกันภูตผีปีศาจ และยังเชื่อว่าเป็นว่านคุ้มครองป้องกันภัยพิบัติต่าง ๆ ไม่ให้เข้ามาใกล้ โดยจะนิยมนำมาปลูกไว้ตามริมคลองหรือหน้าบ้านที่พักอาศัย เมื่อว่านออกดอกให้หาผ้าขาวบริสุทธิ์มาผูกรอบกระถาง ถ้าจะให้ดีควรปลูกในวันอังคารหรือวันพฤหัสบดีข้างขึ้น และให้รดน้ำที่เสกด้วยคาถา “อิติปิโสฯ” หรือ “นะโมพุทธายะ” 3 จบเสมอ ผู้ที่เป็นเจ้าของจะสมใจปองในสิ่งที่พึงประสงค์ไว้ (หนามของว่านจะใช้เป็นเครื่องกันภูตผีปีศาจได้)

สะตือ

สะตือ

 

สะตือ   LEGUMINOSAE–CAESALPINIOIDEAE

Crudia chrysantha (Pierre) K. Schum.

ชื่ออื่น       ดู่ขาว เดือยไก่ (ภาคเหนือ) แห้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ประดู่ขาว (ภาคตะวันออก)

        สะตือเป็นไม้ต้น สูง 8–25 ม. ลำต้นมักแตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง ถึงค่อนข้างกลม เปลือกสีน้ำตาลเทา เรียบหรือแตกเป็นแผ่นหนา เปลือกชั้นในสีน้ำตาลถึงแดงเข้ม กิ่งอ่อน ยอดอ่อน และใบอ่อนมีขน และเกลี้ยงในเวลาต่อมา ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียนสลับ ก้านใบรวมแกนช่อใบยาว 4–10 ซม. มีใบประกอบย่อย 4–6 ใบ เรียงสลับ แผ่นใบย่อยรูปไข่ กว้าง 2–5 ซม. ยาว 3–8 ซม. ปลายเป็นติ่ง โคนสอบ มีเส้นแขนงใบย่อย 8–10 คู่  ดอก เล็ก สีขาว ออกเป็นช่อเดี่ยวตามง่ามใบและปลายกิ่ง  ผล ค่อนข้างแบน รูปรี กว้าง 3–4 ซม. ยาว 5–6 ซม. มีเส้นนูนตามขวางด้านข้างฝักห่างๆ และมีขนสีน้ำตาลคลุมหนาแน่น ปกติมี 1 เมล็ด

        สะตือมีการกระจายพันธุ์ตามชายห้วย หนอง และแม่น้ำลำธาร ในป่าเบญจพรรณและป่าดิบ ที่ความสูงตั้งแต่ระดับทะเลปานกลางถึง 250 ม. ทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในต่างประเทศพบที่ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ออกดอกเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ ผลแก่เดือนกรกฎาคม–สิงหาคม

        เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลคล้ำ แข็งและเหนียว นิยมใช้ทำด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร เครื่องเรือนและงานก่อสร้างทั่วไป ใบใช้ต้มอาบแก้โรคอีสุกอีใส โรคหัด เปลือกต้นใช้ปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง

ลักษณะทั่วไป
ไม้ ไม้ต้นผลัดใบ สูง 8-25 เมตร ลำต้นมักแตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง ค่อนข้างกลม เปลือกสีน้ำตาลเทา เรียบหรือแตกเป็นแผ่นหนา เปลือกชั้นในสีน้ำตาลถึงแดงเข้ม กิ่งอ่อน ยอดอ่อน และใบอ่อนมีขน และเกลี้ยงในเวลาต่อมา
ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียนสลับ ก้านใบรวมแกนช่อใบยาว 4-10 เซนติเมตรซม. มีใบประกอบย่อย 4-6 ใบ เรียงสลับ แผ่นใบย่อยรูปไข่ กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 3-8 เซนติเมตรปลายเป็นติ่ง โคนสอบ มีเส้นแขนงใบย่อย 8-10 คู่
ดอก เล็ก สีขาว ออกเป็นช่อเดี่ยวตามง่ามใบและปลายกิ่ง
ผล ค่อนข้างแบน รูปรี กว้าง 3?4 เซนติเมตร ยาว 5?6 เซนติเมตร มีเส้นนูนตามขวางด้านข้างฝักห่างๆ และมีขนสีน้ำตาลคลุมหนาแน่น ปกติมี 1 เมล็ด
การกระจาย สะตือมีการกระจายพันธุ์ตามชายห้วย หนอง และแม่น้ำลำธาร ในป่าเบญจพรรณ
และป่าดิบ ที่ความสูงตั้งแต่ระดับทะเลปานกลางถึง 250 เมตร ทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในต่างประเทศพบที่ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ออกดอกเดือนมกราคม?กุมภาพันธ์ ผลแก่เดือนกรกฎาคม?สิงหาคม
ประโยชน์
1. เนื้อไม้ สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลคล้ำ แข็งและเหนียว นิยมใช้ทำด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร เครื่องเรือนและงานก่อสร้าง
2. ใบ ใช้ต้มอาบแก้โรคอีสุกอีใส โรคหัด
3. เปลือก ใช้ปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง