• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

แคนา

แคนา สรรพคุณและประโยชน์ของต้นแคนา

แคนา

แคนา ชื่อวิทยาศาสตร์ Dolichandrone serrulata (Wall. ex DC.) Seem. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Bignonia serratula Wall. ex DC., Bignonia serrulata Wall. ex DC., Spathodea serrulata (Wall. ex DC.) DC., Stereospermum serrulatum DC.) จัดอยู่ในวงศ์แคหางค่าง (BIGNONIACEAE)

สมุนไพรแคนา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แคขาว แคเก็ตวา แคเก็ตถวา แคเค็ตถวา (เชียงใหม่), แคภูฮ่อ (ลำปาง), แคป่า (เลย, ลำปาง), แคทราย (นครราชสีมา), แคยาว แคอาว (ปราจีนบุรี), แคยอดดำ (สุราษฎร์ธานี), แคตุ้ย แคแน แคฝา แคฝอย แคหยุยฮ่อ แคแหนแห้ (ภาคเหนือ), แคนา (ภาคกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของแคนา

  • ต้นแคนา หรือ ต้นแคป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงของลำต้นได้ถึง 10-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง มักแตกกิ่งต่ำ เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนอมสีเทาและอาจมีจุดดำประ ผิวต้นเรียบหรือล่อนเป็นเกล็ดขนาดเล็ก ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำราก โดยสามารถพบต้นแคนาได้ตามป่า ตามทุ่ง ตามไร่นา และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศลาว พม่า เวียดนาม และในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และทางภาคกลาง โดยอาจจะได้ประปรายในป่าเบญจพรรณ และพบได้บ่อยตามนาข้าวทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ระดับความสูงไม่เกิน 300 เมตร

ต้นแคป่า

ใบแคนา มีใบเป็นใบประกอบแบบขนชั้นเดียวปลายคี่ ออกตรงข้ามกันประมาณ 3-5 คู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบหยักเป็นแบบซี่ฟันตื้น ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-7 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-16 เซนติเมตร ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นอยู่ประปรายบนก้านใบ ส่วนก้านใบย่อยมีความยาวประมาณ 7-10 มิลลิเมตร

  • ดอกแคนา ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะสั้น ดอกมีขนาดใหญ่ ลักษณะของดอกเป็นรูปแตรสีขาว โดยจะออกดอกตามปลายกิ่ง ดอกยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 1.8-4 เซนติเมตร ในแต่ละช่อจะมีดอกอยู่ประมาณ 2-10 ดอก กลีบเลี้ยงหนาและเหนียว ปลายเรียวเล็กและโค้งยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร หุ้มดอกตูมมิด เชื่อมติดกันเป็นหลอดโค้งปลายแหลม เมื่อดอกบานจะมีรอยแตกทางด้านล่าง มีลักษณะเป็นกาบหุ้มกลีบดอกติดกันเป็นท่อ ส่วนปลายขยายออกเป็นรูประฆัง และจะแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกัน ยาวประมาณ 16-18 เซนติเมตร ส่วนหลอดกลีบดอกจะยาวประมาณ 13-14 เซนติเมตร ส่วนโคนจะแคบเป็นหลอด สีเขียวอ่อน ส่วนบนจะบานออกคล้ายกรวยเป็นสีขาวแกมสีขมพู แฉกกลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ที่ขอบกลีบจะย่นเป็นคลื่น ๆ ดอกเป็นสีขาว ดอกตูมเป็นสีเขียวอ่อน ๆ โคนกลีบมีสีน้ำตาลปน ดอกมีเกสรตัวผู้ 4 ก้าน ติดอยู่ด้านในของท่อกลีบดอก ปลายแยก มีขนาดสั้น 2 ก้านและยาว 2 ก้าน และยังมีเกสรตัวผู้ที่เป็นหมันอีก 1 ก้าน มีรูปร่างเป็นเส้นเรียวเล็กคล้ายเส้นด้าย มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนอับเรณูยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เป็นสีเทาดำ และจานฐานดอกเป็นรูปเบาะ เป็นพูตื้น ๆ และมีเกสรตัวเมียอยู่ 1 ก้าน โดยดอกแคนาจะค่อย ๆ บานทีละดอก ดอกมีกลิ่นหอม บานในตอนกลางคืน และจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน

ดอกแคป่า

ดอกแคนา

แคป่า

ดอกแคขาว

  • ผลแคนา ผลเป็นฝัก ออกฝักช่อละประมาณ 3-4 ฝัก ลักษณะของฝักแบนเป็นรูปขอบขนาน ฝักโค้งและบิดเป็นเกลียว มีความยาวประมาณ 40-60 เซนติเมตร ส่วนเมล็ดเป็นรูปสี่เหลี่ยม ยาวประมาณ 2.2-2.8 เซนติเมตรรวมปีกบางใส

ฝักแคนา

สรรพคุณของแคนา

  1. รากมีรสเย็น ช่วยบำรุงโลหิต (ราก)
  2. เมล็ดใช้เป็นยาแก้อาการปวดประสาท (เมล็ด)
  3. ช่วยในการนอนหลับ (ดอก)
  4. ช่วยแก้โรคชัก (เมล็ด)
  5. ช่วยแก้ไข้ลมหัวได้เช่นเดียวกับดอกแคบ้าน (ดอก)
  6. ใบนำมาต้มกับน้ำเป็นยาบ้วนปาก (ใบ)
  7. ดอกมีรสหวานเย็น ใช้เป็นยาขับเสมหะ โลหิต และลม (ดอก)
  8. ช่วยแก้เสมหะและลม (ราก)
  9. ใช้ต้มรับประทานแก้อาการท้องร่วง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  10. ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ โดยใช้กับสตรีหลังคลอดบุตร (เปลือกต้น)
  11. ช่วยขับผายลม (ดอก)
  12. ช่วยในการขับถ่ายให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น (ดอก)
  13. ช่วยแก้พยาธิ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  14. ช่วยแก้ริดสีดวงงอก (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  15. ช่วยแก้อาการตกเลือด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  16. ใบใช้ตำพอกรักษาแผล (ใบ)
  17. ช่วยแก้ฝีราก (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  18. ใช้เป็นยาแก้บวม (ไม่ระบุส่วนที่ใช้

ประโยชน์ของแคนา

  1. ดอกแคนาสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้ โดยนำมาทำเป็นแกงส้ม หรือจะนำดอกมาลวก หรือต้มจิ้มกินกับน้ำพริกก็ได้เช่นกัน
  2. รสขมของดอกแคนาจะช่วยทำให้รับประทานอาหารอร่อยยิ่งขึ้น
  3. ต้นแคนาเป็นต้นไม้ทรงพุ่ม ใบและฝักแลดูสวยงาม เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้สำหรับให้ร่มเงาและเป็นไม้ประดับเสริมจุดเด่นให้สวนที่ปลูกได้
  4. ใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น วัว ควาย (ข้อมูลไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าใช้ส่วนไหน แต่เข้าใจว่าเป็นดอก)
  5. เนื้อไม้ของต้นแคนาสามารถนำมาใช้ทำสิ่งก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้ เช่น ทำเป็นเสา ไม้กระดาน ฝาเพด้าน พื้น ฯลฯ

จันทน์ชะมด

จันทน์ชะมด

รูปจันทน์ชะมด

จันทน์ชะมด
ชื่อสมุนไพรไทยอื่นๆเช่น จันทน์,จันทน์ขาว,จันทน์พม่า,จันทน์หอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ของสมุนไพรไทย Mansonia gagei. วงศ์ STERCULIACEAE.
เป็นสมุนไพรไทยไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง ผลัดใบ ลำต้นตรง เปลือกเรียบสีเทา กิ่งอ่อนมีขนเล็กน้อย
ใบสมุนไพรไทยนี้ เป็นใบเดี่ยวรูปรี ติดเรียงสลับ โคนใบตัดหรือหยักเว้าเข้าเล็กน้อย ปลายใบสอบแหลม เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวอ่อนๆ เส้นใบ 3 เส้น ออกจากจุดโคนใบมีเส้นแขนง 4-6 คู่ ขอบใบส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบลักษณะเป็นคลื่น มีขนประปราย
ดอกสมุนไพรไทยนี้ เป็นดอกสีขาวขนาดเล็ก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งและงามใบ กลีบดอกรูปซ้อนมี 5 กลีบ ไม่ติดกัน กลีบฐานดอกติดกันเป็นรูปเหยือกน้ำ ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก ด้านนอกมีขน ส่วนด้านในเกลี้ยง เกสรตัวผู้ 10 อัน รังไข่ 5 พู อบู่เบียดกันเป็นรูปเหยือกน้ำ มีขนคลุมแน่น
ผลสมุนไพรไทยนี้ เป็นผลรูปกระสวย มีปีกรูปสามเหลี่ยมติดที่ปลายผล มักอยู่เป็นคู่

รูปใบจันทน์ชะมด

ใบจันทน์ชะมด

สรรพคุณสมุนไพรไทยนี้ต่อสุขภาพ
ต้นสมุนไพรไทยนี้ ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้บิด แก้ธาตุพิการ ขับโลหิตระดู
เนื้อไม้สมุนไพรไทยนี้ แก้คลื่นเหียนอาเจียน บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน แก้วิงเวียน หน้ามืด ตามัว ชูกำลัง ทำใจคอให้สดชื่นสดใส บำรุงประสาท แก้ไข้ แก้เหงื่อตกหนัก แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงตับปอดให้เป็นปกติ บำรุงเนื้อหนังให้สดใส แก้ตับปอดพิการ ขับพยาธิ แก้ไข้อันบังเกิดแกตับและดี บำรุงเลือดลม แก้ไข้เพื่อดี แก้ไข้เพ้อคลั่ง แก้สันนิบาตโลหิต
แก่นสมุนไพรไทยนี้ บำรุงหัวใจ แก้ลมอาเจียน แก้ลมวิงเวียน แก้ลม แก้ไข้กำเดา แก้ดีพิการ แก้ไข้ ชูกำลัง แก้คลื่ยนเหียนอาเจียน แก้ร้อนใน บำรุงน้ำดี แก้โลหิต แก้ดี แก้อ่อนระโหย แก้กระหายน้ำ บำรุงผิว ทำให้หัวใจชื่นบานสดใส แก้ไข้เพื่อดี แก้ตับพิการ แก้อ่อนเพลีย
ใบสมุนไพรไทยนี้ บำรุงประสาท บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น แก้ไข้ แก้ปอด ตับ ดีพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เหงื่อตกหนัก ขับพยาธิ แก้จุกเสียด แก้แน่นเฟ้อ ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แก้บิด แก้ธาตุพิการ ขับโลหิตระดู
ทั้งต้น ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้ธาตุพิการ ขับโลหิตระดู
น้ำมันหอมระเหย เป็นยาแก้ลม มีฤทธิ์เป็นยาบำรุงหัวใจ
ไม่ระบุส่วนที่ใช้ ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง ชูกลิ่นให้ยาหอมดี เป็นยาหอม บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียนอาเจียน ชูกำลัง แก้ไข้ แก้ลม บำรุงครรภ์ บำรุงน้ำดี แก้พยาธิ แก้สะอึก
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ยับยั้งระบบประสาทพาราซิมพาเตติกที่ลำไส้ ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบที่ลำไส้ ลดอัตราการเต้นของหัวใจ เพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ ต้านฮีสตามีน

 

ชมพูพันธุ์ทิพย์

ต้นชมพูพันทิพย์

ชื่อที่เรียก : ชมพูพันธุ์ทิพย์
ชื่ออื่น ๆ : ชมพูอินเดีย ธรรมบูชา ตาเบบูย่าพันธุ์ทิพย์ แตรชมพู 
ชื่อสามัญ : Pink Trumpet shrub, Pink Trumpet Tree, Pink Tecoma
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tabebuia rosea (Bertol.) DC. 
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE

Picture

ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับทองอุไรและศรีตรัง สูงราว 8-12 เมตร ใบเป็นแบบผสม มีใบย่อย 5 ใบ แผ่ออกคล้ายใบปาล์ม ปลายใบแหลม ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร กิ่งก้านสาขาแผ่ออกเป็นพุ่มค่อนข้างแน่น เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกลมแผ่กว้างเป็นชั้น ๆ เปลือกต้นเรียบ สีเทาหรือสีน้ำตาล ต้นที่มีอายุมากเปลือกจะแตกเป็นร่อง

ประโยชน์ : ชมพูพันธุ์ทิพย์เป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย ทนทานต่อดินฟ้าอากาศทนน้ำท่วมขัง และโรคแมลง โตเร็ว มีดอกดกสวยงาม จึงนิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับ และให้ร่มเงาในบริเวณสถานที่ราชการ สวนสาธารณะ และตามถนนหนทาง แต่กิ่งเปราะไม่เหมาะปลูกใกล้สนามเด็กเล่น ดอกร่วงมาก 
ใบต้มแก้เจ็บท้องหรือท้องเสีย ตำให้ละเอียดใส่แผล ลำต้น ใช้ทำฟืน และเยื่อใช้ทำกระดาษได
ชมพูพันธุ์ทิพย์ ทิ้งใบในฤดูหนาว ช่วงเดือพฤศจิกายน-มกราคม จะเห็นดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ร่วงหล่นกระจายอยู่รอบ ๆ ต้น งดงามพอ ๆ กับที่บานอยู่บนต้น หลังจากนั้นจะออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ดอกออกเป็นช่อตามกิ่งก้าน ช่อละ 5-8 ดอก ดอกย่อยลักษณะคล้ายดอกผักบุ้งหรือปากแตร คือโคนดอกเป็นหลอดยาวปลายดอกบานออกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกบาง ย่นเป็นจีบ ๆ และร่วงหล่นง่าย ดอกย่อยแต่ละดอกกว้างราว 8 เซนติเมตร ยาวราว 15 เซนติเมตร
Picture
 

สาละ

สาละ

 ซาล, สาละ 
ชื่อพฤษศาสตร์ Shorea robusta C.F. Gaertn. 
ชื่อสามัญ Shal, Sakhuwa, Sal Tree, Sal of India 
วงศ์ Dipterocarpaceae


 
[ใบ ดอก และป่าต้นสาละ]

ถิ่นกำเนิด พบในประเทศเนปาล และพื้นที่ทางเหนือของประเทศอินเดีย มักขึ้นเป็นกลุ่ม ในบริเวณที่ค่อนข้างจะชุ่มชื้น เป็นไม้ที่อยู่ในวงศ์ยาง พบมากในลุ่มน้ำยมุนา แถบแคว้นเบงกอลตะวันตก และแคว้นอัสสัม ลักษณะพืช เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ ลำต้น เปลาตรง เปลือกสีเทาแตกเป็นร่อง เป็นสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ปลายกิ่งมักจะลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ใบ เดี่ยว ดกหนาทึบ รูปไข่กว้าง โคนใบเว้าเข้า ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้นๆ ผิวใบเป็นมันขอบใบเป็นคลื่น ดอก ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลชนิดแห้ง แข็ง มีปีก 5 ปีก ปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก บนแต่ละปีกมีเส้นตามความยาวของปีก 10-15 เส้น

สาละเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์มาก ชาวอินเดียนำมาสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ทำเกวียน ทำไม้หมอนรถไฟ ทำสะพาน รวมถึงทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น ส่วนเมล็ดนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ และน้ำมันที่ได้จากเมล็ดนำมาทำอาหาร เช่น ทำเนย และใช้เป็นน้ำมันตะเกียง รวมทั้งใช้ทำสบู่ด้วย

สรรพคุณด้านสมุนไพรของต้นสาละ พบว่ายาง สามารถใช้เป็นยาสมานแผล ยาห้ามเลือด ใช้แก้โรคผิวหนัง ตุ่มพุพอง โรคซิฟิลิส โกโนเรีย วัณโรค โรคท้องร่วง บิด โรคหูอักเสบ เป็นต้น ผล ใช้แก้โรคท้องเสีย ท้องร่วง