• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

เสาวรส

เสาวรส สรรพคุณและประโยชน์ของเสาวรส

เสาวรส ชื่อสามัญ Passion Fruit, Jamaica honey-suckle, Yellow granadilla

เสาวรส ชื่อวิทยาศาสตร์ Passiflora edulis Sims จัดอยู่ในวงศ์กะทกรก (PASSIFLORACEAE)

เสาวรส (กะทกรกฝรั่ง) เป็นผลไม้เพื่อสุขภาพชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกาใต้ ผลมีลักษณะกลม ผลอ่อนจะมีสีเขียว แต่เมื่อสุกแล้วจะมีหลายสีแล้วแต่สายพันธุ์ คือ สีม่วง สีเหลือง สีส้ม ซึ่งในบ้านเรานี้จะปลูกทั้ง 3 สายพันธุ์ โดยในผลเสาวรสนั้นจะมีเมล็ดจำนวนมาก มีกลิ่นคล้ายฝรั่งสุก รสออกเปรี้ยวจัด แต่บางสายพันธุ์จะมีรสออกอมหวานด้วย

สำหรับประโยชน์ของเสาวรสและสรรพคุณของเสาวรสนั้นก็มีมากมายหลายข้อ เพราะเสาวรสอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุรวมอยู่หลายชนิด ซึ่งได้แก่ วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 กรดโฟลิก ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุสังกะสี และคาร์โบไฮเดรต โดยยังมีของแถมนั่นก็คือใยอาหารในปริมาณสูงรวมอยู่ด้วย ซึ่งนิยมนำมารับประทานเป็นผลไม้สด โดยเสาวรสที่ลักษณะดีนั้นต้องไม่เหี่ยว ผิวต้องเต่งตึง แต่ทั้งนี้ห้ามรับประทานในส่วนของต้นสดเด็ดขาด เพราะมีสารพิษอันตราย อาจทำให้เสียชีวิตได้ รอรับประทานผลอย่างเดียวจะดีกว่า

ประโยชน์ของเสาวรส

  1. เสาวรส ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส
  2. ช่วยในการชะลอวัย ชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง
  4. ช่วยในการบำรุงสายตา เนื่องจากมีวิตามินเอรวมอยู่ด้วย
  5. น้ำเสาวรสช่วยให้นอนหลับสบายมากยิ่งขึ้น
  6. น้ำเสาวรสช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย
  7. มีวิตามินบี 2 ซึ่งช่วยบำรุงผิวพรรณ เล็บ และเส้นผม
  8. มีแคลเซียมซึ่งมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกเสื่อมและกระดูกหัก
  9. มีโพแทสเซียมสูง ช่วยให้มีสติปัญญา จิตใจร่าเริงแจ่มใส ด้วยการส่งออกซิเจนไปเลี้ยงที่สมอง
  10. มีแมกนีเซียม ซึ่งช่วยในการเผาผลาญไขมันและเปลี่ยนเป็นพลังงาน
  11. มีฟอสฟอรัสสูง ซึ่งช่วยส่งเสริมสุขภาพเหงือกและฟันให้แข็งแรง
  12. นิยมนำมาดื่มเป็นน้ำผลไม้หรือใช้เป็นส่วนผสมในน้ำผลไม้รวม
  13. ใช้ทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น สำหรับวิธีทำน้ําเสาวรส อย่างแรกให้เตรียมเสาวรสที่สุกแล้ว 3 ลูก / น้ำเชื่อมครึ่งถ้วย / เกลือป่นหนึ่งช้อนโต๊ะ / น้ำต้มสุกแช่เย็นหนึ่งถ้วย หลังจากนั้นนำเสาวรสไปล้างให้สะอาดทั้งเปลือก แล้วนำมาผ่าครึ่งตามขวาง แล้วนำช้อนตักเมล็ดเนื้อเสาวรสและน้ำออกให้หมด แล้วนำมาปั่นกับน้ำต้มสุกจนละเอียด แล้วกรองกากและเมล็ดออกด้วยการใช้ผ้าขาวบางหรือกระชอน หลังจากนั้นนำน้ำเสาวรสที่กรองเรียบร้อยแล้วลงในเครื่องปั่น ใส่น้ำเชื่อม เกลือป่น น้ำแข็งตามลงไปปั่น เสร็จแล้วก็จะได้น้ำเสาวรสฝีมือของเราแล้ว
  14. นำมาใช้แต่งกลิ่นหรือรสชาติในโยเกิร์ต น้ำอัดลม เป็นต้น
  15. เนื้อเสาวรสนำไปทำขนมได้หลายชนิด เช่น เค้ก แยม เยลลี ไอศกรีม เป็นต้น
  16. ใช้นำไปประกอบของหวาน เช่น นำเมล็ดเสาวรสมาใช้แต่งหน้าเค้ก
  17. ใช้นำมาประกอบอาหาร เช่น การนำยอดเสาวรสไปแกงหรือกินกับน้ำพริก
  18. เมล็ดของเสาวรสสามารถนำไปสกัดเป็นน้ำมันพืชได้
  19. ใช้ทำเนยเทียมจากเมล็ดเสาวรส
  20. ใช้เป็นอาหารสัตว์ ด้วยการนำเปลือกไปสกัดสารเพกทินหรือนำมาตากแห้ง
  21. เปลือกเสาวรสสามารถนำมาใช้ทำปุ๋ยหมักได้
  22. ใช้ทำเป็นน้ำมันนวดผ่อนคลาย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เนื่องจากมีคุณสมบัติในการช่วยผ่อนคลายได้ดี
  23. ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางชนิด เช่น ผลิตภัณฑ์กันแดด ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ผลิตภัณฑ์รักษาสิว เป็นต้น
  24. ช่วยในการสมานผิว รักษาเนื้อเยื่อผิวหนัง
  25. ช่วยปรับสมดุลในร่างกายและลดอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
  26. ที่เปอร์โตริโก นิยมนำเสาวรสมาใช้ในการลดความดันโลหิต
  27. ช่วยบรรเทาอาการโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  28. ช่วยในการฟื้นฟูตับและไตให้มีสุขภาพแข็งแรง
  29. ช่วยในการกำจัดสารพิษในเลือด
  30. ช่วยบรรเทาอาการปวด
  31. ช่วยในการบำรุงปอด
  32. ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
  33. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  34. ช่วยรักษาอาการหอบหืด
  35. ใบสดนำมาใช้พอกแก้หิดได้
  36. ดอกใช้ขับเสมหะ ช่วยแก้ไอได้
  37. เมล็ดมีสารที่ทำหน้ายับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ดี

ชิงชัน

ชิงชัน

ชิงชัน ( Tamalin ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชิงชัน คือ Dalbergia oliveri Gamble ต้นชิงชัน พืชเศรษฐกิจ พืชตระกลูประดู่ สมุนไพร พืชสมุนไพร ประโยชน์ของชิงชัน สรรพคุณของต้นชิงชัน ใช้สมานแผล รักษาแผลเรื้อรัง บำรุงเลือด เหมาะกับสตรีหลังคลอด ต้นชิงชันพบได้ตามป่าดิบแล้ง แบะ ป่าเบญจพรรณ ขึ้นได้ดีในดินทุกประเภท

ต้นชิงชัน ต้นไม้ประจำจังหวัดหนองคาย เป็น ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง เป็น ไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ  เป็น พืชตระกลูเดียวกับต้นประดู่ สรรพคุณของต้นชิงชัน ใช้สมานแผล ช่วยบำรุงเลือด เหมาะกับสตรีหลังคลอดลูก ชิงชัน สามารถ ขยายพันธุ์โดยทางเมล็ด พบได้มากตาม ป่าดิบแล้ง และ ป่าเบญจพรรณ สามารถขึ้นได้ดีใน ดินทุกประเภท จะพบ ชิงชัน ใน พื้นความสูง จากระดับน้ำทะเลประมาณ 500 เมตร

ชิงชัน ภาษาอังกฤษ เรียก Tamalin หรือ Rosewood หรือ Black-wood ชิงชันมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า  Dalbergia oliveri Gamble ชื่อเรียกอื่นๆของชิงชัน อาทิเช่น ประดู่ชิงชัน ดู่สะแดน เก็ดแดง อีเม็ง พยุงแกลบ กะซิก กะซิบ หมากพลูตั๊กแตน เป็นต้น

ลักษณะของต้นชินชัน

ต้นชินชัน เป็น พืชยืนต้น ขนาดกลางถึงใหญ่ ลักษณะของต้นชิงชัน มีลักษณะ ดังนี้

  • ลำต้น มีความสูงประมาณ 25 เมตร มีเปลือกหนา สีน้ำตาล กระเทาะล่อน เป็นแผ่นขนาดเล็ก ด้านในของเปลือกเป็นสีเหลือง ส่วย ยอด
  • ใบอ่อนของต้นชิงชัน เป็นสีแดง มีขนบางๆ
  • ใบของต้นชินชัน ออกเป็นช่อ ยาวรี รูปหอก ใบมนกลม ปลายใบมนทู่และหยักเล็กน้อย
  • ดอกของชิงชัน ออกเป็นช่อดอก มีสีขาวอมม่วง ออกตามปลายกิ่ง ฝักของต้นชิงชัน ลักษณะแบน เป็นแผ่น ผิวเรียบ มีเมล็ดภายในฝัก ลักษณะเมล็ดนูน

สรรพคุณของชิงชัน

สำหรับ การใช้ ชิงชัน ทาง สมุนไพร เพื่อการรักษาโรค นั้น จะใช้ แก่นไม้ และ เปลือก ซึ่งรายละเอียด ดังนี้

  • แก่นของชิงชัน จะมีรสฝาด สามารถนำมาใช้ บำรุงเลือด เหมาะกับสตรีหลังคลอด
  • เปลือกของชิงชัน สามารถนำมาใช้ใน การสมานแผล รักษาแผลเรื้อรังได้

ส่วน ประโยชน์อื่นๆของต้นชิงชัน นั้นนิยมนำไม้มาใช้ประโยชน์ เช่น สร้างบ้าน ทำเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น สำหรับ ต้นชิงชัน นั้น จัดว่า เป็น พืชที่หายาก พบมากในป่า เป็น สมุนไพรพื้นบ้าน ที่ถูกถ่ายทอด ภูมิปัญญา การใช้ ต้นชิงชัน ใน การรักษาโรคต่างๆ เราจึงมีความจำเป้นที่จะต้อง บันทึก เรื่อง ต้นชิงชัน ในเชิง สมุนไพร เพื่อการนำไปใช้ ประโยชน์ต่อทางการแพทย์ ไว้

มะฮอกกานี

มะฮอกกานี

ชื่อวิทยาศาสตร์มะฮอกกานีใบเล็ก  swietenia macrophylla (L.) Jacq. ชื่อวงศ์ MELIACEAE ชื่อสามัญ Dominican mahogany

ลักษณะทั่วไป

ลักษณะทรงพุ่มของมะฮอกกานีใบใหญ่จะเป็นทรงกระบอก ใช้เวลานานกว่าที่กิ่งก้านจะแผ่พุ่มกว้างออกไป  โตเต็มที่จะสูงได้ถึง 15-20เมตร  ขนาดของทรงพุ่มกว้างประมาณ 4-6 เมตร ลำต้น เป็นสีน้ำตาลเข้มปนดำ เปลือกลำต้นหยาบ

ส่วนมะฮอกกานีใบเล็ก ทรงพุ่มเป็นวงรีหรือรูปไข่ สวยงามกว่า เส้นผ่านศูนย์กลางของทรงพุ่ม อยู่ที่ประมาณ 5-6เมตร ระยะห่างจากหลุมปลูกถึงตัวบ้านอย่างน้อยๆ ก็ควรจะมีถึง 7 เมตร  ต้นมะฮอกกานีใบเล็กโตเต็ม 15-18เมตร  เตี้ยกว่ามะฮอกกานีใบใหญ่เล็กน้อย  ลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้มปนดำ แต่ผิวเปลือกจะละเอียด เนียนกว่ามะฮอกกานีใบใหญ่

ใบ ดอก 

มะฮอกกานีใบใหญ่ ใบจะใหญ่กว่ามะฮอกกานีใบเล็กประมาณ 1เท่าตัว  หลังใบสีเขียวเข้ม เป็นมัน ส่วนท้องใบสีเขียวอ่อน ไม่มีฤดูผลัดใบ หรือใบร่วงโกร๋นจนหมดต้น

ใบของต้นมะฮอกกานีใบใหญ่ 

ดอก หลายคนอาจจะไม่ทราบว่า มะฮฮกกานีมีดอก ก็เพราะดอกเล็กมากๆ ดอกยังมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ด้วย หลังจากเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ไปแล้ว หรือหลังจากที่มะฮอกกานีผลิใบใหม่ขึ้นมา ก็เริ่มเห็นดอกของมะฮอกกานี ดอกจะเป็นสีเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม

การดูแลรักษา

มะฮอกกานีเป็นไม้ยืนต้นที่การกินการอยู่ค่อนข้างง่าย ชอบแดดเต็มวัน  ดินร่วน ไม่ต้องรดน้ำบ่อย  เรื่องโรคแมลงรบกวน มะฮอกกานีใบใหญ่จะมีปัญหาเรื่องหนอนกัดกินใบเล็กๆ น้อยๆ ไม่ได้สร้างปัญหามากนัก ส่วนมะฮอกกานีใบเล็ก ไม่ค่อยมีเรื่องโรคเรื่องแมลงรบกวน

จิกน้ำ

จิกน้ำ สรรพคุณและประโยชน์ของจิกน้ำ

จิกน้ำ

จิกน้ำ ชื่อสามัญ Indian oak, Freshwater mangrove

จิกน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barringtonia acutangula (L.) Gaertn. จัดอยู่ในวงศ์จิก (LECYTHIDACEAE หรือ BARRINGTONIACEAE)

สมุนไพรจิกน้ำ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า จิ๊ก (กรุงเทพ), กระโดนสร้อย (พิษณุโลก), ลำไพ่ (อุตรดิตถ์), กระโดนทุ่ง กระโดนน้ำ (หนองคาย-ภาคอีสาน), ตอง ปุยสาย (ภาคเหนือ), ตอง จิกน้ำ (ภาคกลาง), จิก, จิกนา, จิกอินเดีย, จิกมุจลินท์, เป็นต้น

จิก เป็นชื่อของกลุ่มไม้ยืนต้นที่มีอยู่มากกว่า 10 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในสกุล Barringtonia ซึ่งจิกที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยกันดีก็มีแค่ 2-3 ชนิด ได้แก่

  • จิกน้ํา หรือ กระโดนสร้อย (Barringtonia acutangula (L.) Gaertn. Subsp. spicata (Bl.) Payens)
  • จิกสวน หรือ จิกบ้าน ( Barringtonia racemosa Roxb.)
  • จิกนา หรือ กระโดนทุ่ง (Barringtonia acutangula (L.) Gaertn.)

แต่ละชนิดจะมีลักษณะโดยรวมคล้ายคลึงกัน แต่จะแตกต่างกันตรงลักษณะของดอก กลีบดอก กลีบเลี้ยงดอก ขนาดของดอก สีของดอก ลักษณะใบ เป็นต้น โดยบทความนี้เราจะพูดกันถึงเรื่อง "จิกน้ำ" ซึ่งสรรพคุณและประโยชน์ส่วนใหญ่ก็จะคล้าย ๆ กัน โดยต้นจิกชนิดอื่น ๆ ที่อาจพบได้บ้างก็ได้แก่

  • จิก (Barringtonia coccinea Kostel)
  • จิกใหญ่ (Barringtonia angusta Kurz)
  • จิกเขา (Barringtonia fusifomis King)
  • จิกดง (Barringtonia pauciflor King)
  • จิกเล หรือ โดนเล (Barringtonia asiatica (L.) Kurz)
  • จิกนม หรือ จิกนุ่ม (Barringtonia macorstachys Kurz)
  • จิกนมยาน (Barringtonia macorcarpa Hassk.)

ลักษณะของจิกน้ำ

  • ต้นจิกน้ำ เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 5-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มรีหรือแผ่กว้าง มีลำต้นเป็นปุ่มปม เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องและเป็นสันแหลมตามยาว กิ่งก้านมักคดงอ ปลายกิ่งมักลู่ลง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้และอัฟกานิสถาน ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลียในแถบรัฐควีนส์แลนด์ และสำหรับประเทศไทยบ้านเราก็จะพบต้นจิกน้ำได้ทั่วทุกภาคตามริมฝั่งน้ำ ริมคลอง ริมบึง ป่าพรุและป่าชายเลน

ต้นจิกน้ำ

รูปจิกน้ำ

  • ใบจิกน้ำ มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบออกเวียนสลับถี่ที่บริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปหอกหรือรูปไข่หัวกลับ หรือรูปรี โคนใบแหลม ปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบเป็นจักถี่ ๆ ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดงเข้มและมีขน ใบมีขนาดใหญ่เป็นมันสวย เมื่อเวลามีดอกจะทิ้งใบ เหลือเพียงแต่ใบอ่อนสีแดง

ใบจิกน้ำ

  • ดอกจิกน้ำ ออกดอกเป็นช่อกระจายที่ปลายกิ่ง ดอกห้อยลงมาเป็นระย้า ยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ดอกมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ติดทนอยู่จนเป็นผล กลีบดอกสั้น ปลายแยกเป็น 4 กลีบ มีสีแดงหรือสีชมพู หลุดร่วงได้ง่าย เมื่อบานเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้อยู่เป็นฝอย ๆ สีชมพูหรือสีแดงจำนวนมาก เมื่อดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงมีดอกจะทิ้งใบเหลือแต่ยอดอ่อนสีแดงจัด ก็ยิ่งทำให้ดูสวยงดงามเพิ่มขึ้นไปอีก และจะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม

ดอกจิกน้ำ

  • ผลจิกน้ำ ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนานหรือทรงกลม มีสันเป็นเหลี่ยม 4 สัน เรียงตามความยาวของผล ในผลมีเมล็ดจิกน้ำ อยู่ 1 เมล็ด ลักษณะคล้ายรูปไข่

ผลจิกน้ำ

สรรพคุณของจิกน้ำ

  1. ใช้รักษาเยื่อนัยน์ตาอักเสบ (เมล็ด)
  2. น้ำคั้นจากเมล็ดใช้เป็นยาหยอดตาได้ (เมล็ด)
  3. เปลือกใช้เป็นยาลดไข้และใช้รักษาไข้มาลาเรีย (เปลือก)
  4. จิกน้ํามีสรรพคุณของผลช่วยแก้หวัด แก้ไอ (ผล)
  5. ช่วยแก้อาการไอในเด็ก (เมล็ด)
  1. ช่วยทำให้อาเจียน (เมล็ด,ราก)
  2. เมล็ด ใช้เป็นยาขับลม แก้อาการร้อนใน (เมล็ด)
  3. เมล็ดจิกน้ำ ใช้เข้ายาลมช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้องได้เป็นอย่างดี (เมล็ด)
  4. น้ำจากใบช่วยแก้อาการท้องเสีย (ใบ)
  5. ใบแก่ใช้ต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้อาการท้องร่วง (ใบแก่)
  6. รากใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ (ราก)
  7. ช่วยขับระดูขาวของสตรี (เนื้อไม้)
  8. เปลือกช่วยชะล้างบาดแผล (เปลือก)
  9. ใช้เป็นยาร้อนในการคลอดบุตร (เมล็ด)

ประโยชน์ของจิกน้ำ

  1. ดอกและยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดหรือผักจิ้มกับแจ่ว ลาบ น้ำตก และขนมจีน ให้รสชาติมันปนฝาด ช่วยเพิ่มความอร่อยได้ดีมาก
  2. เปลือกและต้นของจิกน้ำมีสรรพคุณใช้เบื่อปลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิกเล จึงเป็นที่มาของชื่อภาษาอังกฤษว่า Poison fish tree ซึ่งชาวประมงนิยมนำมาใช้ในการเบื่อปลากันอย่างแพร่หลาย
  3. มักปลูกไว้เป็นไม้ประดับที่ริมน้ำริมตลิ่ง เนื่องจากมีช่อดอกที่สวยงามแปลกตา และมีความแข็งแรง ทนน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี
  4. ไม้จิกน้ำมีเนื้อสีขาวหรือสีอมแดงเรื่อ ๆ มีเสี้ยนตรง เป็นไม้ค่อนข้างอ่อนเหมาะใช้ในร่ม สามารถนำมาทำเป็นไม้อัด ไม้บาง กระดานกรุบ่อ ใช้ทำเรือเล็ก ๆ ทำเครื่องมือเกษตรและทำเครื่องเรือนได้ ฯลฯ
  5. นอกจากจะปลูกต้นจิกน้ำเพื่อความสวยงามไว้ริมตลิ่งแล้ว ต้นจิกน้ำก็ยังช่วยยึดหน้าดินริมตลิ่งได้อีกด้วย