• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

ชมพู่น้ําดอกไม้

ชมพู่น้ําดอกไม้ สรรพคุณและประโยชน์ของชมพู่น้ำดอกไม้

ชมพู่น้ำดอกไม้

ชมพู่น้ำดอกไม้ ชื่อสามัญ Rose Apple

ชมพู่น้ำดอกไม้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium jambos (L.) Alston จัดอยู่ในวงศ์ชมพู่ (MYRTACEAE)

สมุนไพรชมพู่น้ำดอกไม้ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะชมพู่ มะน้ำหอม (พายัพ), ชมพู่น้ำ ฝรั่งน้ำ (ภาคใต้), มะห้าคอกลอก (แม่ฮ่องสอน), มซามุด มะซามุต (น่าน), ยามูปะนาวา (มลายู-ยะลา) เป็นต้น

ลักษณะของชมพู่น้ำดอกไม้

  • ต้นชมพู่น้ำดอกไม้ เป็นชมพู่พันธุ์ดั้งเดิมของไทย มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคอินโด-มาลายัน ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค โดยจัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง เช่นเดียวกับชมพู่แดง มีความสูงของต้นประมาณ 10 เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบเป็นสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นพอเหมาะ ชอบแสงแดดส่องถึงแบบเต็มวัน ในปัจจุบันมีสายพันธุ์หลักอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ที่มาจากประเทศไทยผลจะเป็นสีเขียวอ่อน และพันธุ์ที่มาจากประเทศมาเลเซียผลจะเป็นสีแดง โดยจะให้ผลหลังการปลูกประมาณ 2 ปี มักขึ้นตามป่าราบทั่วไป พบปลูกกันบ้างตามสวนเพื่อรับประทานหรือขายเป็นสินค้า

ต้นชมพู่น้ำดอกไม้

  • ใบชมพู่น้ำดอกไม้ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมใบหอกเรียวยาว ปลายใบแหลมและมีติ่งแหลม โคนใบมนรี ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-17 เซนติเมตร แผ่นใบหนาเป็นสีเขียวเข้ม

ใบชมพู่น้ำดอกไม้

  • ดอกชมพู่น้ำดอกไม้ ออกดอกเป็นช่อกระจะ โดยจะออกที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อยประมาณ 3-8 ดอก กลีบดอกบางเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ฐานรองดอกมีลักษณะเป็นรูปกรวย ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก

ดอกชมพู่น้ำดอกไม้

  • ผลชมพู่น้ำดอกไม้ ผลเป็นผลสดใช้รับประทานได้ ผลเป็นผลเดี่ยว มีลักษณะเกือบกลม ดูคล้ายกับลูกจันสีเหลือง ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ 4 กลีบ ภายในผลกลวง ผลมีกลิ่นหอมคล้ายกับดอกนมแมว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-6 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 80-100 กรัม ผลดิบเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อแก่สุกแล้วจะเป็นสีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองทอง เนื้อด้านในบางเป็นสีขาวนวลหรือสีเขียวอ่อน ส่วนเมล็ดเป็นสีน้ำตาลและมีขนาดใหญ่ มีรสหวานหอมชื่นใจ โดยจะเริ่มออกผลในช่วงปลายฤดูหนาว (ประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน)

ผลชมพู่น้ำดอกไม้

ชมพู่น้ําดอกไม้

เมล็ดชมพู่น้ำดอกไม้

การปลูกชมพู่น้ำดอกไม้ ทำได้ด้วยการนำเมล็ดหรือกิ่งตอนลงปลูก เกลี่ยดินกลบ แล้วนำใบตองมาปิดบริเวณโคนต้นเพื่อช่วยเก็บความชื้น เมื่อปลูกเสร็จแล้ว ให้รดน้ำวันละ 2 ครั้ง ถ้าเป็นกิ่งตอนให้ทำไม้ปักยึดผูกกับต้นไว้ด้วย เพื่อป้องกันการโค่นล้มจากลม ส่วนการป้องกันไม่ให้ต้นเฉา ควรนำมาปลูกใกล้บริเวณริมคลอง เนื่องจากชมพู่น้ำดอกไม้เป็นไม้ผลที่ชอบน้ำ และควรปลูกให้ห่างจากตัวบ้านประมาณ 2 เมตร ทั้งนี้ ชมพู่น้ำดอกไม้เป็นไม้ปลูกง่าย โตเร็ว สามารถให้ผลได้ภายใน 2 ปี การดูแลรักษาก็ง่าย ไม่ต้องฉีดยาฆ่าแมลง เพียงแต่ห่อผลด้วยถุงพลาสติกเพื่อป้องกันแมลง กระรอก และนกมารบกวนเท่านั้น

สรรพคุณของชมพู่น้ำดอกไม้

  1. ผลใช้ปรุงเป็นยาชูกำลัง (ผล)
  2. ผลมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ (ผล)
  3. เปลือก ต้น และเมล็ด มีสรรพคุณเป็นยาแก้เบาหวาน (เปลือก, ต้น, เมล็ด)
  4. ช่วยแก้ลมปลายไข้ (ผล)
  5. ใบมีสรรพคุณเป็นยาลดไข้ (ใบ)
  6. ใบใช้เป็นยาแก้ตาอักเสบ (ใบ)
  7. ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย (เปลือก, ต้น, เมล็ด) เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้ท้องร่วงได้ดี (เปลือกต้น)
  8. เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคบิด (เมล็ด)
  9. ใบสดนำมาต้มกับน้ำใช้ล้างแผลสด (ใบ)
  10. ใบสดใช้ตำพอกรักษาโรคผิวหนัง (ใบ)

ประโยชน์ของชมพู่น้ำดอกไม้

  • ผลมีสีสันสวยงามใช้รับประทานได้ มีกลิ่นหอมและมีรสหวานมาก ปัจจุบันจัดเป็นพรรณไม้หายากชนิดหนึ่ง ทำให้ผลที่ขายกันมีราคาแพง[1]
  • เปลือกยังสามารถนำมาสกัดเป็นสารที่ให้สีน้ำตาลได้ด้วย

กาแฟโรบัสต้า

สรรพคุณและประโยชน์ของกาแฟโรบัสต้า

กาแฟ

กาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่ทำมาจากเมล็ดซึ่งได้จากต้นกาแฟ หรือที่มักเรียกว่า เมล็ดกาแฟคั่ว ในปัจจุบันมีการปลูกกาแฟมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก กาแฟเขียว ซึ่งเป็นกาแฟที่ไม่ผ่านการคั่วก็เป็นอีกหนึ่งสินค้าทางการเกษตรที่มีการซื้อขายกันมากที่สุดในโลก และในปัจจุบันกาแฟได้กลายเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดด้วย

สำหรับสายพันธุ์หลักของกาแฟที่ปลูกกันทั่วไปจะมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ กาแฟอาราบิก้า (Coffee arabica) และ กาแฟโรบัสต้า (Coffee canephora) โดยกาแฟอาราบิก้าจะเป็นกาแฟที่ได้รับความนิยมในการดื่มมากกว่ากาแฟโรบัสต้า เนื่องจากกาแฟโรบัสต้ามีรสชาติที่ขมกว่าและให้รสชาติได้น้อยกว่ากาแฟอาราบิก้า ด้วยเหตุผลนี้ กาแฟที่เพาะปลูกกันเป็นจำนวนมากกว่า 3 ใน 4 ของโลก จึงเป็นกาแฟอาราบิก้า

แต่อย่างไรก็ตามกาแฟโรบัสต้าก็ยังสามารถพิสูจน์ได้ว่า ก่อให้เกิดโรคได้น้อยกว่ากาแฟอาราบิก้า อีกทั้งยังสามารถปลูกได้ในสภาพแวดล้อมที่กาแฟอาราบิก้าไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ดังนั้นในธุรกิจกาแฟจึงมักจะใช้กาแฟโรบัสต้ามาทดแทนกาแฟอาราบิก้า เพราะมีราคาถูกกว่า

นอกเหนือจากกาแฟทั้งสองสายพันธุ์หลักนี้แล้วก็ยังมีกาแฟพันธุ์ Coffea liberica และ Coffea esliaca อีกด้วย โดยที่เชื่อว่าเป็นพืชท้องถิ่นของประเทศไลบีเรียและทางตอนใต้ของประเทศซูดานตามลำดับ

กาแฟอาราบิก้า

กาแฟอาราบิก้า ชื่อสามัญ Arabian coffee, Coffee, Kofi, Koffie, Brazillian coffee

กาแฟอาราบิก้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Coffea arabica L. จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)

  • ต้นกาแฟอาราบิก้า เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปแอฟริกา บริเวณประเทศเอธิโอเปีย แต่ชาวอาหรับเป็นชาติแรกที่นำกาแฟมาชงดื่ม จึงทำให้ชื่อภาษาละตินของกาแฟใช้คำว่า "อาราบิก้า" (arabica) ที่หมายถึงชาวอาหรับ โดยต้นกาแฟจัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ที่มีความสูงของต้นประมาณ 2-4 เมตร ในปัจจุบันเพาะปลูกกันมากในเขตร้อนชื้นและกึ่งเย็น

ต้นกาแฟอาราบิก้า

  • ใบกาแฟอาราบิก้า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบแหลมเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบเป็นมัน บางครั้งเป็นคลื่น มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ

ใบกาแฟอาราบิก้า

  • ดอกกาแฟอาราบิก้า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีขาว ติดกันเป็นหลอด ดอกมีกลิ่นหอม

ดอกกาแฟ

ดอกกาแฟอาราบิก้า

  • ผลกาแฟอาราบิก้า ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปไข่แกมรูปทรงกลม โดยผลอ่อนจะเป็นสีเขียว แต่เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดง

ผลกาแฟอาราบิก้า

กาแฟโรบัสต้า

กาแฟโรบัสต้า ชื่อสามัญ Robusta coffee

กาแฟโรบัสต้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Coffea canephora Pierre ex A.Froehner (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Coffea robusta L.Linden)

  • ต้นกาแฟโรบัสต้า ลำต้นเจริญเติบโตมาจากรากแก้ว มีลักษณะเป็นข้อและปล้อง โคนใบจะอยู่ตามข้อของลำต้น เมื่อต้นโตขึ้นใบจะร่วงหล่นไป โคนใบมีตา 2 ชนิด คือ ตาบนและตาล่าง ตาบนจะแตกกิ่งออกมาเป็นกิ่งแขนงที่ 1 ลักษณะเป็นกิ่งนอนขนานกับพื้นดินมีข้อและปล้อง แต่ละข้อจะมีกลุ่มตาดอกที่จะติดเป็นผลกาแฟต่อไป ส่วนตาล่างจะแตกออกเป็นกิ่งตั้ง กิ่งจะตั้งตรงขึ้นไปเหมือนลำต้น และไม่ติดผล แต่สามารถสร้างกิ่งแขนงที่ให้ดอกผลได้ ซึ่งเรียกเป็นกิ่งแขนงที่ 1 เช่นกัน และกิ่งแขนงที่ 1 ยังสามารถแตกกิ่งแขนงต่อไปได้อีกเป็นกิ่งแขนงที่ 2 และกิ่งแขนงที่ 2 ก็สามารถแตกเป็นกิ่งแขนงที่ 3 ได้อีก โดยกิ่งแขนงเหล่านี้จะเกิดในลักษณะเป็นคู่สลับเยื้องกันบนลำต้นหรือกิ่งตั้ง เมื่อมีการตัดลำต้นกาแฟ ตาล่างบนลำต้นจะแตกกิ่งตั้งขึ้นมา กิ่งก็จะแตกเป็นกิ่งแขนงที่ 1, 2 และ 3 จากนั้นก็จะมีการสร้างดอกและผลกาแฟต่อไป โดยต้นกาแฟนั้นจะสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

ต้นกาแฟโรบัสต้า

  • ใบกาแฟ ใบเป็นใบเดี่ยว เกิดที่ข้อเป็นคู่ตรงข้ามกัน โคนใบและปลายใบเรียวแหลม ส่วนขอบใบหยักเป็นคลื่น ตรงกลางใบกว้าง ผิวใบเรียบนุ่มเป็นมัน มีปากใบอยู่ด้านท้องใบ แต่ละใบจะมีปากใบประมาณ 3 ล้านถึง 6 ล้านรู โดยปากใบโรบัสต้าจะมีขนาดเล็กกว่าปากใบของกาแฟอาราบิก้า แต่จะมีจำนวนมากกว่า มีอายุใบประมาณ 250 วัน ส่วนก้านใบนั้นมีขนาดสั้น

ใบกาแฟโรบัสต้า

  • ดอกกาแฟ ปกติแล้วดอกกาแฟจะออกเป็นดอกเดี่ยวสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอกประมาณ 4-9 กลีบ ส่วนกลีบเลี้ยงมี 4-5 ใบ มีเกสร 5 อัน และมีรังไข่ 2 ห้อง ในแต่ละห้องของรังไข่จะมีไข่ 1 ใบ ผลกาแฟจึงมีเมล็ด 2 เมล็ด ดอกจะออกเป็นกลุ่ม ๆ บริเวณโคนใบบนข้อของกิ่งแขนงที่ 1, 2 หรือ 3 กลุ่มดอกแต่ละข้อจะมีดอกประมาณ 2-20 ดอก ดอกจะออกจากกิ่งแขนงจากข้อที่อยู่ใกล้กับลำต้นออกไปหาปลายกิ่งแขนง โดยปกติแล้วต้นกาแฟจะออกดอกตามข้อของกิ่ง ข้อที่ออกดอกออกผลแล้วในปีต่อไปก็จะไม่ออกดอกและให้ผลอีก

ดอกกาแฟโรบัสต้า

  • ผลกาแฟ ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงรี ก้านผลสั้น ผลดิบเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีส้ม และสีแดง ผลกาแฟจะประกอบด้วยเปลือก เนื้อที่มีสีเหลือง (เมื่อสุกมีรสหวาน) และกะลาที่ห่อหุ้มเมล็ด ช่วงระหว่างกะลากับเมล็ดจะมีเยื่อบาง ๆ ที่หุ้มเมล็ดอยู่ ซึ่งเราเรียกว่า "เยื่อหุ้มเมล็ด" ในแต่ละผลจะมี 2 เมล็ดประกับกันอยู่ ก้านที่ประกบกันจะอยู่ด้านในมีลักษณะแบน มีร่องตรงกลางเมล็ด 1 ร่อง ส่วนด้านนอกโค้ง ลักษณะของเมล็ดจะเป็นเมล็ดเดี่ยวหรือเมล็ดโทน ในบางครั้งหากการผสมเกสรไม่สมบูรณ์ จะทำให้ผลติดเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว (คิดเป็นประมาณ 5-10%) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นรูปกลมรีทั้งเมล็ด มีร่องตรงกลาง 1 ร่อง เมล็ดจำพวกนี้จะเรียกว่า "พีเบอร์รี่"

ผลกาแฟโรบัสต้า

สรรพคุณของกาแฟ

  1. มีงานวิจัยหลายงานที่ระบุว่า เมล็ดกาแฟมีสารกาเฟอีนที่มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจและกระตุ้นประสาทส่วนกลาง การดื่มกาแฟจึงช่วยกระตุ้นระบบประสาท ทำให้ตาแข็ง นอนไม่หลับ ทำให้ร่างกายสดชื่น ขจัดความเซื่องซึมและอ่อนล้าได้ โดยมีการยืนยันจากผลการทดลองที่ทำการทดลองกับนักกีฬากลุ่มหนึ่งที่ได้ดื่มกาแฟในระหว่างการฝึกซ้อม และได้พบว่านักกีฬากลุ่มดังกล่าวสามารถฝึกซ้อมกีฬาได้นานขึ้นหรืออึดมากขึ้น โดยความคึกคักที่เกิดขึ้นจะมีระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น
  2. ปริมาณกาเฟอีนในกาแฟที่เหมาะสมสามารถช่วยลดอาการหงุดหงิด อารมณ์ซึมเศร้า รวมถึงความเครียดได้ การดื่มกาแฟจึงทำให้ผู้ดื่มรู้สึกพึงพอใจและมีความสุข โดยมีรายงานผลวิจัยที่ระบุว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2-3 แก้ว จะสามารถช่วยลดความเครียดได้ประมาณ 15% แต่ถ้าหากดื่มถึงวันละ 4 แก้ว ก็จะช่วยลดความเครียดได้ถึง 20%
  3. ช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์Arabica-Robusta โดยมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเซาท์ฟลอริดา ที่เปิดเผยว่าผู้ที่มีอายุล่วงเข้าสู่วัยกลางคน ควรดื่มกาแฟวันละ 4-5 แก้ว เพื่อช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมน GCSF เนื่องจากฮอร์โมนชนิดนี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษากับคนวัยกลางคนในประเทศฟินแลนด์จำนวน 1,400 คน ที่พบว่าคนที่ดื่มกาแฟวันละ 5 ถ้วยต่อวัน สามารถลดอัตราเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ถึง 65%
  4. เป็นที่เชื่อกันว่ากาแฟมีสรรพคุณที่ช่วยชูกำลังได้
  5. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ กาเฟอีนในกาแฟมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด จึงช่วยระงับอาการปวดได้เช่นเดียวกับยาแก้ปวด อีกทั้งกาแฟยังช่วยละลายไขมันในเส้นเลือด บรรเทาอาการปวดศีรษะเนื่องจากการเมาสุรา อาการปวดศีรษะเนื่องจากเส้นประสาท รวมถึงอาการปวดศีรษะข้างเดียวหรือไมเกรน
  6. กาเฟอีนสามารถช่วยขยายหลอดเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงหัวใจได้ จึงทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดแดงบริเวณศีรษะหดตัว ซึ่งก็ช่วยลดอาการปวดศีรษะจากไมเกรนได้อีกด้วย
  7. ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ยืนยันได้ว่า การดื่มกาแฟวันละ 2-5 แก้ว สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งตับได้ เนื่องจากกาเฟอีนจะไปช่วยยับยั้งการเกิดเซลล์ผิดปกติ และกำจัดสารพิษที่ร่างกายได้รับออกไปได้ในระดับหนึ่ง งานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ศึกษาจนพบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟจะมีอัตราการเป็นโรคมะเร็งต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้ดื่ม ส่วนการศึกษาของมหาวิทยาลัยบอสตันพบว่า ผู้ป่วยที่ดื่มกาแฟอย่างน้อยวันละ 5 ถ้วย จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ต่ำกว่ากลุ่มอื่นถึง 40% ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาในประเทศญี่ปุ่นที่ทำการศึกษากับผู้หญิงเป็นระยะเวลา 12 ปี โดยพบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 3 แก้วหรือมากกว่า จะมีแนวโน้มในการลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึง 50% และจากการศึกษากับผู้ชายจำนวน 50,000 คน เป็นระยะเวลา 20 ปี พบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 6 แก้ว จะมีอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม โดยมีข้อมูลที่ระบุว่าการดื่มกาแฟนั้น จะสามารถช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้
  8. จากการศึกษาของภาคเกษตรและเคมีอาหารของสหรัฐอเมริกา ที่ได้ศึกษาจนพบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำจะมีโอกาสรอดพ้นจากโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ถึง 50% เนื่องจากกาแฟมีกาเฟอีนที่มีคุณสมบัติในการยับยั้ง hIAPP และโพลีเปปไทด์ ที่เป็นตัวการก่อให้เกิดโปรตีนผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  1. เมล็ดกาแฟ มีสรรพคุณช่วยลดน้ำระดับตาลในเลือดได้ โดยการใช้เมล็ดที่คั่วแล้ว นำมาชงกับน้ำร้อน เป็นเครื่องดื่มยามว่าง
  2. กาแฟมีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ จากการศึกษาที่ติดตามดูผู้หญิงจำนวน 27,000 คน เป็นเวลา 15 ปี พบว่าการดื่มกาแฟประมาณวันละ 1-3 ถ้วย จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจให้น้อยลงได้ถึง 26% แต่การดื่มกาแฟในปริมาณมากกว่านี้ต่อวันจะไม่ได้ผลในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจส่วนอีกการศึกษาหนึ่งที่ทำการศึกษาในกลุ่มผู้หญิงที่ดื่มกาแฟไม่เกินวันละ 5 ถ้วย พบว่ากาแฟไม่มีส่วนทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากขึ้น แม้ในรายที่มีปัญหาเส้นเลือดหดตัวหรือหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ส่วนผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 6 ถ้วยขึ้นไปทุกวันก็ไม่มีอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงเกินกว่าปกติ การดื่มกาแฟจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เพราะกาแฟมีสาร theobromine (เมล็ด)
  3. กาแฟมีนิโคติน แต่ไม่ใช่ชนิดเดียวกันกับที่พบได้ในบุหรี่ แต่เป็นวิตามินบีรวมชนิดหนึ่งที่ร่างกายต้องการ ซึ่งสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ การดื่มกาแฟจึงช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดแข็งตัว
  4. จากการศึกษากับนางพยาบาลจำนวน 83,000 คน ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ และดื่มกาแฟวันละ 4 แก้ว พบว่า กาแฟสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดการอุดตันในเส้นเลือดได้ถึง 43%
  5. มีงานวิจัยที่ระบุว่า กาเฟอีนสามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้พลังงานของร่างกาย ทำให้ไขมันเกิดการสลายตัวมากขึ้น การดื่มกาแฟจึงอาจช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนักได้ อีกทั้งกาเฟอีนและสารอื่น ๆ ที่มีอยู่ในกาแฟยังช่วยกระตุ้นการหลั่งของกรดและน้ำย่อย จึงช่วยในการย่อยอาหาร ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้คนจำนวนมากหันมาดื่มกาแฟหลังอาหารในแต่ละมื้อ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ยืนยันได้ว่ากาเฟอีนสามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบเมตาบอลิซึมและอาจทำให้น้ำหนักลดลงได้ และล่าสุดได้มีผลการวิจัยที่ได้ข้อสรุปว่า กาเฟอีนในเมล็ดกาแฟสดคั่วบดมีผลต่อการลดน้ำหนักในผู้หญิงได้จริง โดยสามารถลดน้ำหนักได้เฉลี่ย 7.7 กิโลกรัม ภายใน 22 สัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาจากชาวอเมริกันจำนวน 58,000 ราย โดยติดตามผลเป็นเวลา 12 ปี พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหญิงและชายที่ดื่มกาแฟมากขึ้น กลับมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น สาเหตุคงจากนม น้ำตาล และครีมเทียมที่ใส่ลงไปในกาแฟนั่นเอง
  6. การดื่มกาแฟหลังอาหาร สามารถช่วยละลายไขมัน ทำให้ไขมันเกิดการแตกตัว และให้พลังงานทดแทนได้ อีกทั้งกาแฟยังมีประโยชน์ต่อกระเพาะโดยตรง โดยจะช่วยทำให้น้ำย่อยที่กระเพาะและตับอ่อนมีเพิ่มขึ้น จึงทำให้ไขมันถูกเผาผลาญ การดื่มกาแฟจึงมีส่วนในการช่วยลดความอ้วนได้
  7. ช่วยเพิ่มไขมันดี (HDL) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จากผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟบ่อย ๆ จะมีไขมันชนิดดีเพิ่มขึ้น ซึ่งไขมันชนิดนี้จะเป็นตัวช่วยขับไล่คอเลสเตอรอล และช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว
  8. จากการศึกษาของ ดร.จี เวปสเตอร์ และคณะ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาท จากศูนย์การแพทย์นครฮอนโนลูลูของสหรัฐอเมริกา ได้พบว่า ผู้ชายที่ไม่ดื่มกาแฟจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคพาร์กินสันมากกว่าผู้ที่ดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 5 ถ้วย สูงถึง 5 เท่า ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของสถาบันการแพทย์อเมริกันที่พบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2-3 แก้ว เป็นประจำทุกวัน จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคพาร์กินสันได้ถึง 25% แต่สำหรับกาแฟชนิดที่สกัดเอากาเฟอีนออก จะไม่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคนี้
  9. การดื่มกาแฟสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหอบ ช่วยบรรเทาอาการหอบหืด แก้หอบหอบหืดได้ เพราะกาแฟมีสารกาเฟอีนที่ช่วยระงับอาการตึงเครียดของประสาทสัมผัสสำรอง จึงช่วยลดการเกิดโรคหอบได้
  10. ดร.ดาร์ซี โรแบร์โตลิมา ผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชวิทยาของมหาวิทยาลัยรีโอ เดจาเนโร ได้เปิดเผยว่า ผู้ที่มีปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศอันเนื่องมาจากการดื่มสุรา จากภาวะซึมเศร้า จากอายุขัย หรือจากการเสพยา สามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการดื่มกาแฟในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน
  11. ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยว่า ผู้หญิงที่ดื่มกาแฟวันละ 4 แก้ว จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีลดลงประมาณ 25% เช่นเดียวกับงานวิจัยก่อนหน้านี้ที่ได้ระบุว่า ผู้ชายที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีได โดยมีข้อมูลที่ได้ระบุว่า ผู้ชายที่ดื่มกาแฟอย่างน้อยวันละ 2 แก้ว จะช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นนิ่วในถุงน้ำดีได้ 40% และลดได้ 25% สำหรับผู้หญิงที่ดื่มกาแฟในปริมาณเท่ากัน ส่วนผู้ที่ดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 4 แก้ว จะช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้ถึง 45%
  12. มีงานวิจัยที่ได้พิสูจน์แล้วว่า กาแฟมีประโยชน์ในการช่วยป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี
  13. ช่วยลดการเกิดโรคตับจากสุรา จากสำรวจพบว่ากาแฟสามารถช่วยลดผลร้ายที่มีต่อตับได้ แต่ในส่วนนี้ยังต้องมีการวิจัยต่อไปว่า สารชนิดใดที่เป็นสารออกฤทธิ์ และมีผลต่อสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดโรคตับแข็งหรือไม่นอกจากแอลกอฮอล์ ส่วนอีกจากการศึกษาที่ทำการศึกษากับผู้ดื่มกาแฟจำนวน 125,000 คน โดยพบว่าการดื่มกาแฟเพียงวันละ 1 แก้ว ก็สามารถทำให้ความเสี่ยงของการเป็นโรคตับแข็งลดลง 20% และถ้าดื่มวันละ 4 แก้ว ก็จะสามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงได้สูงถึง 80%
  14. กาแฟมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ โดยมีข้อมูลที่ระบุว่า การดื่มกาแฟประมาณ 5 ถ้วยครึ่ง (ประมาณ 550 มิลลิกรัม) จะไม่ออกฤทธิ์ในการขับปัสสาวะแต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตาม กาเฟอีนยังมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะได้หากดื่มเกินครั้งละ 575 มิลลิกรัม หรือประมาณ 6 ถ้วย ดังนั้นในขณะออกกำลังกายหรือหลังออกกำลังกาย จึงไม่ควรดื่มกาแฟในปริมาณมาก เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำได้
  15. การดื่มกาแฟวันละ 2 แก้ว อาจช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกายได้ถึง 58% จึงทำให้ยาแก้ปวดหลายประเภทนั้นมีส่วนผสมของกาเฟอีนอยู่ด้วย 65 มิลลิกรัม (เช่น aspirin, ibuprofen เป็นต้น) นอกจากนี้กาเฟอีนยังสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ถึง 40%
  16. ช่วยลดโอกาสเป็นโรคเกาต์ สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเกาต์ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แนะนำให้ดื่มกาแฟวันละ 3-6 แก้วอย่างต่อเนื่อง เพราะจากผลการวิจัยของสถาบันการแพทย์แห่งหนึ่ง ที่ได้ยืนยันว่า กาเฟอีนมีส่วนช่วยบรรเทาอาการอักเสบของข้ออันเนื่องมาจากกรดยูริกที่เกินขนาดอย่างได้ผล โดยผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 6 แก้ว จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเกาต์ได้ถึง 60%
  17. จากการศึกษาของ University of Bari ที่ประเทศอิตาลี พบว่าการดื่มกาแฟวันละ 1-2 แก้ว จะช่วยป้องกันโรคหนังตากระตุกได้ และช่วยลดอัตราการกระตุกให้ช้าลงได้ในผู้ป่วย
  18. ใช้แก้อหิวาตกโรค (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  19. จากการศึกษาของนายแพทย์วินเซนต์ ทูบิโอโล แห่งศูนย์การแพทย์ยูซีแอลเออ-ฮาร์เบอร์ เขาได้ตั้งทฤษฎีใหม่ว่า การได้รับกาเฟอีนในขนาด 400 มิลลิกรัมต่อวัน อาจช่วยลดอาการแพ้เกสรจากดอกไม้ได้

ประโยชน์ของกาแฟ

  1. เมล็ดกาแฟถูกนำมาผลิตจนเป็นเครื่องดื่มที่แพร่หลายไปทั่วโลก ในประเทศไทยมีการผลิตกาแฟอาราบิก้าและกาแฟโรบัสต้าได้มากพอ ทำให้บางปีก็มีการส่งออกไปขายยังต่างประเทศด้วย แต่ยังต้องมีการนำเข้ากาแฟคุณภาพดีเข้ามาผสม เพื่อใช้ผลิตเป็นผงกาแฟสำเร็จรูปสำหรับการบริโภคในประเทศเช่นกัน
  2. กาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นตัวช่วยต้านสารพิษที่เกิดจากภายในและภายนอกร่างกาย
  3. ช่วยขับไล่ความแก่ชรา แม้ว่าร่างกายจะต้องการออกซิเจนมากก็จริง แต่ถ้ามีออกซิเจนมากเกินไปก็อาจทำให้มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งสูงและทำให้แก่ชราเร็ว โดยเฉพาะในกาแฟที่เข้มข้นจะทำให้ออกไซด์แตกตัวและลดการเกิดมะเร็งได้
  1. ปริมาณที่เหมาะสมของกาเฟอีนที่มีอยู่ในกาแฟสามารถช่วยกระตุ้นให้สมองเกิดการตื่นตัว ช่วยเร่งความเร็วในการประมวลผลข้อมูลในสมอง จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงานที่ต้องใช้สมาธิ ใช้เหตุผลและความจำส่วนกลิ่นหอมของกาแฟก็ช่วยกระตุ้นสมองให้ทำงานได้เร็ว มีสมาธิ และมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้นได้เช่นกัน (เนื่องจากกลิ่นของกาแฟสามารถทำให้เลือดไหลเวียนในสมองเพิ่มขึ้นได้) ซึ่งงานวิจัยจากภาครังสีวิทยาของอเมริกาเหนือ ที่ได้พบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2 แก้ว จะสามารถช่วยพัฒนาความจำและปฏิกิริยาการโต้ตอบที่ดีขึ้นได้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่ระบุว่า ผู้หญิงที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เมื่อดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 3 แก้ว จะมีความจำที่ดีขึ้นกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มหรือดื่มกาแฟน้อยกว่านี้
  2. ช่วยลดอาการเมื่อยล้าจากการออกกำลังกาย มีการสันนิษฐานกันว่า กาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งของสารสื่อประสาทเคทีโคลามีน ซึ่งจะไปกระตุ้นการสลายไขมันในเนื้อเยื่อให้เกิดเป็นพลังงาน คาร์โบไฮเดรตที่อยู่ในรูปของไกลโคเจนจึงยังเป็นแหล่งพลังงานสำรองที่สะสมในกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายมีความทนทานต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้แรงได้มากขึ้น
  3. ในด้านของโภชนาการ การดื่มกาแฟจะช่วยทำให้ร่างกายได้รับของเหลวเข้าไปในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน อีกทั้งในเนื้อกาแฟยังมีไนอะซินซึ่งเป็นวิตามินบีชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากนี้การดื่มกาแฟยังช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายได้อีกด้วย
  4. สารประกอบที่มีชื่อว่า Trigonelline เป็นสารที่ทำให้กาแฟมีกลิ่นหอมและมีรสขม สารชนิดนี้มีประสิทธิภาพช่วยป้องกันแบคทีเรียและการก่อตัวของแบคทีเรีย จึงมีผลช่วยป้องกันฟันผุได้
  5. จากการศึกษาเป็นเวลา 10 ปี กับผู้หญิงจำนวน 86,000 คน พบว่าผู้หญิงที่ดื่มกาแฟวันละ 2 แก้ว จะสามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงในการฆ่าตัวตายในเพศหญิงได้ถึง 60%
  6. นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน เยเซอร์ ดอร์รี ได้เสนอว่า กลิ่นของกาแฟสามารถช่วยลดอาการอยากอาหารและช่วยฟื้นฟูประสาทรับกลิ่นได้ และทฤษฎีดังกล่าวยังสามารถใช้ได้กับสัตว์ทดลองอีกด้วย
  7. ส่วนประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ของกาแฟ ยังพบว่า คุณประโยชน์บางอย่างอาจส่งผลต่อเพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น เช่น กาแฟได้รับการพิสูจน์แล้วว่า สามารถช่วยลดการฆ่าตัวตายในเพศหญิงได้ และช่วยป้องกันนิ่วและโรคถุงน้ำดีในผู้ชาย และช่วยลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวานได้ทั้งสองเพศ โดยจะลดประมาณ 30% ในเพศหญิง แต่จะลดมากกว่า 50% ในเพศชาย เป็นต้น และการดื่มกาแฟดูเหมือนว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดขนาดของหน้าอก ช่วยลดความรู้สึกหนาวได้เนื่องจากมีกาเฟอีน
  8. เมล็ดกาแฟ สามารถช่วยทำให้ลมหายใจหอมสดชื่นได้ วิธีการก็คือเอาเมล็ดกาแฟมาอมไว้ชั่วครู่ ลมหายใจของคุณก็จะมีกลิ่นสะอาดและสดชื่นอีกครั้ง
  9. ช่วยกำจัดกลิ่นอาหาร ถ้ามือของคุณมีกลิ่นปลา กลิ่นกระเทียม หรือกลิ่นอาหารแรง ๆ เมล็ดกาแฟเพียงเล็กน้อยก็สามารถช่วยกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ วิธีก็คือให้เทเมล็ดกาแฟลงบนมือแล้วถือเข้าด้วยกันสักครู่ แล้วน้ำมันจากเมล็ดกาแฟจะช่วยดูดซับกลิ่นออกไป หลังจากนั้นก็ให้ล้างมือด้วยน้ำอุ่นและสบู่ให้สะอาดอีกครั้ง[10]
  10. ปัจจุบันมีการนำเมล็ดกาแฟที่เก็บได้จากผลสุกแล้วเอาเนื้อออกมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มากมาย เช่น กาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟพร้อมดื่ม ผสมในขนมอบ ไอศกรีม ลูกกวาด ทอฟฟี่ หรือนำมาสกัดเอากาเฟอีน เพื่อใช้ผสมในยาและเครื่องดื่มต่าง ๆ เช่น โค้ก เป็นต้น

เม็ก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium gratum Wight  S.N. Mitra var. gratum
วงศ์ : Myrtaceae
ชื่ออื่น : ผักเสม็ด, ผักเม็ก (นครราชสีมา); ไคร้เม็ด (เชียงใหม่); เม็ก (ปราจีนบุรี); เม็ดชุน (นครศรีธรรมราช) ;เสม็ด (สกลนคร, สตูล);เสม็ด เขา, เสม็ดแดง (ตราด); เสม็ดชุน (ภาคกลาง); ยีมือแล (มลายู – ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 
ไม้พุ่มต้นไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง แตกสะเก็ดแผ่นบางๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม ใบรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม

ดอก ออกเป็นช่อซี่ร่มเล็กๆ สีเหลืองอ่อน ออกที่ปลายยอด ออกดอกเดือน มีนาคม-เมษายน

ผล กลม สีขาว มีขนาดเล็ก ออกผลเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน

ส่วนที่ใช้ : ใบสด

สรรพคุณและวิธีใช้ :

ทางยาสมุนไพร คือ น้ำมันจากใบ มีกลิ่นคล้ายการบูร เรียกว่า “น้ำมันเขียว” ใช้นวดแก้เคล็ด เมื่อย ปวดบวม แก้หมัด เหา ชุบสำลีอุดฟันแก้ปวดฟัน

ทางอาหาร คือ กินเป็นยาขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบ ขับลม กินมากเป็นยาขับพยาธิ
ใช้ใบสด ตำป่นปิดพอกแก้เคล็ดยอก ฟกบวมได้ดี ใช้ผลมะกรูด หรือใบพลู รมควันใต้ใบเสม็ดพออุ่นๆ นาบท้องเด็กแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อในเด็ก แก้ปวดท้องได้ดีมาก

ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ใบอ่อน ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก ลาบ ยำ รส เปรี้ยวใช้ทานกับขนมจีนหรือเป็นผักจิ้ม น้ำพริก นอกจากนี้ยังนำมาปรุงกับเครื่อง ปรุงต่าง ๆ เช่น ปลาร้า มะนาว ข้าวคั่ว หอมแดง พริก ฯลฯ คลุกเคล้าให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ เรียก ซุบผัก เม็ก

ผักเม็กมีรสฝาดปนเปรี้ยวนิดๆ ยอดสีขาวจะ อร่อยกว่ายอดสีแดง นิยมรับประทานกันมาแต่โบราณจนถึง ปัจจุบัน

ส่วนที่พึงระวัง สำหรับการรับประทานผักเม็ก คือ ในผักเม็กมีสารออกซาเลต (Oxalate) สูง หากรับประทานสดหรือรับประทานจำนวนมากอาจเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วได้ ซึ่งแก้ไขโดยการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนหรือประเภทเนื้อ









ชมพู่มะเหมี่ยว

สรรพคุณและประโยชน์ของชมพู่มะเหมี่ยว

ชมพู่มะเหมี่ยว หรือ มะเหมี่ยว (Pomerac) จัดเป็นชมพู่ชนิดหนึ่งที่นิยมนำผลสุกมารับประทานสด เนื่องจาก เนื้อผลหนา เนื้อมีความนุ่ม มีรสเปรี้ยวอมหวาน และมีกลิ่นหอม นอกจากนั้น ยังใช้ประโยชน์เพื่อประกอบอาหาร และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ แยม ไวน์ และน้ำผลไม้ เป็นต้น

• วงศ์ : MYRTACEAE
• วิทยาศาสตร์ : Eugenia malaccensis Linn.
• ชื่อสามัญ :
– Pomerac
– Malay Apple
• ชื่อท้องถิ่น :
– ชมพู่มะเหมี่ยว
– มะเหมี่ยว
– ชมพู่สาแหรก
– ชมพู่แดง

ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
ชมพู่มะเหมี่ยว/มะเหมี่ยว มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียเหมือนกับชมพู่ชนิดอื่นๆ จากนั้นค่อยแพร่มายังประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย ปัจจุบัน ชมพู่มะเหมี่ยวพบปลูกในทุกภาคของไทย

e8029005-44

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
ชมพู่มะเหมี่ยว เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งมาก และเป็นกิ่งขนาดใหญ่ มีกิ่งขนาดเล็กเฉพาะปลายยอด เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน ผิวลำต้นขรุขระ และสากมือ

%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%8a%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b8%b9%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%a7

ใบ
ใบชมพู่มะเหมี่ยว ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวตรงข้ามสลับกันเป็นคู่ๆบนกิ่ง ใบอ่อนหรือยอดอ่อนมีสีชมพู ใบแก่ขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม ใบมีรูปรี โคนใบมน ปลายใบแหลม กว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร แผ่นใบ และขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา เป็นมัน และค่อนข้างแข็งเหนียว แผ่นใบมีเส้นกลางใบสีขาวอมเขียวชัดเจน และมีเส้นแขนงใบ 20-26 คู่ ปลายเส้นแขนงใบสิ้นสุดก่อนถึงขอบใบ

ดอก
ดอกชมพู่มะเหมี่ยวออกเป็นช่อ และออกเป็นช่อกระจุกใกล้กันบนกิ่งขนาดใหญ่ แต่ละช่อมีดอกประมาณ 3-5 ดอก ดอกตูมมีลักษณะเป็นก้อนทรงกลมที่ห่อหุ้มด้วยกลีบเลี้ยง ดอกบานจะประกอบด้วยกลีบเลี้ยงสีน้ำตาล จำนวน 5 กลีบ ถัดมาเป็นกลีบดอกที่มีลักษณะวงกลม จำนวน 5 กลีบ แผ่นกลีบดอกมีสีชมพูเข้ม ถัดมาตรงกลางเป็นก้านเกสรตัวผู้จำนวนมาก ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร สีก้านเกสรเป็นสีชมพูเข้ม ส่วนด้านในสุดจะเป็นเกสรตัวเมีย และรังไข่ที่ฝังอยู่บริเวณฐานดอก และก้านเกสรตัวผู้จะร่วงหลังจากดอกบานแล้วเต็มที่แล้ว

%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%8a%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b8%b9%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%a7

ผล และเมล็ด
ผลชมพูมะเหมี่ยวมีรูประฆัง อวบอ้วน ขนาดผลประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอมขาว และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้ม และเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงอมแดง เนื้อผลหนา และนุ่ม มีสีขาว ภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยเมล็ด 1-5 เมล็ด เกาะกันเป็นก้อนใหญ่ จนมีลักษณะเป็นพู ตัวเมล็ดแยกออกจากเนื้อผล ไม่เกาะกับเนื้อผล เปลือกเมล็ดมีสีน้ำตาลอมดำ เมล็ดในผลสุกจะปริแตกเป็นร่องของแต่ละเมล็ดจนให้เห็นเนื้อเมล็ด และต้นอ่อนด้านในที่มีสีขาวอมเขียว

%e0%b8%8a%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b8%b9%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%a7

ประโยชน์ชมพู่มะเหมี่ยว/มะเหมี่ยว
1. ผลสุกชมพู่มะเหมี่ยว นิยมรับประทานเป็นผลไม้สด เนื่องจากมีเนื้อหนา กรอบ และมีรสเปรี้ยวอมหวาน
2. ยอดอ่อนชมพู่มะเหมี่ยว ใช้รับประทานคู่กับอาหาร อาทิ ซุปหน่อไม้ ลาบ หรือเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก
3. ผลห่ามของชมพูมะเหมี่ยวใช้ประกอบอาหารจำพวกแกงต่างๆ
4. ผลสุกชมพู่มะเหมี่ยวนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ แยม น้ำชมพูมะเหมี่ยว และไวน์ เป็นต้น
5. เนื่องจากดอกชมพู่มะเหมี่ยวมีสีชมพูเข้มสวยงาม จึงใช้ปลูกเป็นไม้ประดับร่วมด้วยกับการปลูกเพื่อรับประทานผล