• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

ฝรั่งกิมจู

ฝรั่งกิมจู สรรพคุณและประโยชน์ของฝรั่งกิมจู

ฝรั่งกิมจู ชื่อสามัญ Guava

ฝรั่งกิมจู ชื่อวิทยาศาสตร์ Psidium guajava L. จัดอยู่ในวงศ์ชมพู่ (MYRTACEAE)

 

ฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลางและในหมู่เกาะอินดีสตะวันตก และคาดว่ามีการนำเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยสายพันธุ์ในบ้านเราที่นิยมนำมารับประทานสด ๆ ก็ได้แก่ฝรั่งกิมจู ฝรั่งเวียดนาม ฝรั่งแป้นสีทอง ฝรั่งไร้เมล็ด ฝรั่งกลมสาลี่ เป็นต้น

ฝรั่งเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด โดยจัดเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงที่สุดในบรรดาผลไม้ทุกชนิด ในฝรั่งน้ำหนัก 165 กรัม จะให้วิตามินสูงถึง 377 มิลลิกรัม ! มีวิตามินซีสูงกว่าส้มถึง 5 เท่า !

ฝรั่งเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่เหมาะมากสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน ลดน้ำหนัก หรือผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากฝรั่งอุดมไปด้วยกากใยอาหาร เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้อิ่มนาน ช่วยกำจัดท้องร้อง อาการหิวที่คอยมากวนใจ เพราะกากใยจะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ช่วยปรับระดับการใช้อินซูลินของร่างกายให้เหมาะสม และกากใยยังช่วยล้างพิษโดยรวมได้อีกด้วย จึงส่งผลทำให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่งสดใส

สรรพคุณของฝรั่ง

คำแนะนำ : การรับประทานฝรั่งไม่ควรจะปอกเปลือก ทั้งนี้เพื่อคงคุณค่าของสารอาหาร และไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรรับประทานร่วมกับพริกเกลือ น้ำตาล หรืออื่น ๆ เพราะนอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้วยังทำให้เราอ้วนขึ้นอีกด้วย

ประโยชน์ของฝรั่งกิมจู

  1. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ซึ่งช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยต่าง ๆ ได้ดี
  2. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  3. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ปกป้องผิวหนังจากอนุมูลอิสระต่าง ๆ
  4. เป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน ลดน้ำหนัก หรือควบคุมน้ำหนัก
  5. ช่วยลดไขมันในเลือด
  6. ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง
  7. ใช้รักษาโรคอหิวาตกโรค
  8. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  9. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน
  10. ช่วยป้องกันอาการผิดปกติของหัวใจได้
  11. ใบฝรั่งใช้ในการดับกลิ่นปาก ด้วยการนำใบสด 3-5 ใบมาเคี้ยวแล้วคายกากทิ้ง
  12. ผลอ่อนช่วยบำรุงเหงือกและฝัน
  13. ใบฝรั่งช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน เหงือกบวม
  14. ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟันได้
  15. รากใช้แก้อาการเลือดกำเดาไหล
  1. น้ำต้มผลฝรั่งตากแห้ง ช่วยรักษาอาการเสียงแห้ง แก้คออักเสบ
  2. น้ำต้มใบฝรั่งสดช่วยรักษาอาการท้องเสีย ป้องกันโรคลำไส้อักเสบ
  3. ใบช่วยรักษาอาการท้องเดิน ท้องร่วง
  4. ชาที่ทำจากใบอ่อนใช้สำหรับรักษาโรคบิด
  5. ผลสุกใช้รับประทานเป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก
  6. ช่วยล้างพิษโดยรวมในร่างกาย
  7. ใบช่วยแก้อาการปวดเนื่องจากเล็บขบ
  8. ใช้ทาแก้ผื่นคัน แผลพุพองได้
  9. ใบใช้แก้แพ้ยุง
  10. ใบฝรั่งใช้รักษาบาดแผล
  11. ใบใช้เป็นยาล้างแผล ดูดหนอง ถอนพิษบาดแผล แก้พิษเรื้อรัง น้ำกัดเท้า
  12. รากใช้แก้น้ำเหลืองเสีย เป็นฝี แผลพุพอง
  13. ใช้ในการห้ามเลือดด้วยการใช้ใบมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่มีเลือดออก (ควรล้างใบให้สะอาดก่อน)
  14. ช่วยในการดับกลิ่นสาบจากแมลงและซากหนูที่ตาย ด้วยการใช้ฝรั่งสุก 2-3 ลูกวางทิ้งไว้ในรัศมีของกลิ่น กลิ่นดังกล่าวก็จะค่อย ๆ หายไป
  15. การรับประทานฝรั่งจะช่วยขจัดคราบอาหารบนตัวฟันได้
  16. เปลือกของต้นฝรั่งนำมาใช้ทำสีย้อมผ้า
  17. นิยมนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ฝรั่งดอง ฝรั่งแช่บ๊วย พายฝรั่ง และขนมอีกหลากหลายชนิด
  18. นำมาใช้ทำเป็นยาแคปซูลแก้ท้องเสียจากใบฝรั่ง ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม ซึ่งบรรจุแคปซูลละ 250 มิลลิกรัม

มะยมแดง

 

มะยมแดง

มะยมแดง”หรือ”มะยมฝรั่ง”(เชอร์รี่สเปน) “surinam cherry” ผลมีสีแดงและรสชาติหวาน ดูผ่านๆเหมือนลูกเชอร์รี่ เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่มีหนาม ชอบแดดที่สำคัญคือปลูกง่าย ผลทานได้ รสเปรี้ยวจี๊ดจ๊าด เวลาผลออกเต็มต้น

มะยมแดงเป็นไม้ยืนต้น สูง 3-8 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรูปไข่ หรือรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน สีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีขาวอมชมพู มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เวลามีดอกจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมโชยเข้าจมูกตอนยืนใกล้ๆ เป็นที่ชื่นใจยิ่ง

ผล รูปทรงกลมแป้นคล้ายผลมะยม รอบผลแบ่งเป็นพูย่นๆ 7-8 พู ภายในมี 1 เมล็ด ผลดิบเป็นสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกเป็นสีเหลืองและแดงตามลำดับ ผลสุกรับประทานได้ รสชาติเปรี้ยวปนหวานชุ่มคออร่อยดี ส่วนใหญ่นิยมนำเอา ผลสุกไปแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม หรือ ปั่นใส่นํ้าเชื่อมนํ้าแข็งอร่อยมาก ติดผลอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เวลาติดผลจะดกเต็มต้นดูสวยงามยิ่งนัก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง

ชื่อท้องถิ่น: มะยมแดง มะยมหวาน หมักยม หมากยม ยม
ชื่อสามัญ: Star Gooseberry
ชื่อวิทยาศาสตร์: Phyllanthus acidus (L.) Skeels
ชื่อวงศ์: Euphorbiaceae
ลักษณะวิสัย/ประเภท: ไม้ยืนต้น
ลักษณะพืช: มะยมเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผล เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด
ปริมาณที่พบ: ปานกลาง
การขยายพันธุ์: ใช้เมล็ด

มะยมเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีทั้งที่แดดจัด หรือในที่ร่มรำไร ปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย มีความชื้นพอเหมาะ ขยายพันธุ์ด้วยการ
เพาะ

การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์: สรรพคุณทางยา

* ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ
* เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน
* ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
* ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา
* ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง

คติความเชื่อ ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง กล่าวว่ามะยมเป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) เพื่อป้องกันความถ่อย ถ้อยความ และผีร้ายมิให้มากล้ำกราย ในบางตำราก็ว่า เป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ปลูกแล้วผู้คนจะได้นิยมเหมือนมี นะเมตตามหานิยม

ประโยชน์
ด้านอาหาร
ชาวไทยภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน รู้จักรับประทานมะยมเป็นผัก ชาวภาคกลางใช้ยอดอ่อนเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ส้มตำ และนำมาชุบแป้งทอด รับประทานร่วมกับขนมจีนน้ำยา นอกจากนี้ยอดอ่อนยังนำมาแกงเลียง และผลแก่นำมาแกงคั่วได้ ชาวเหนือใช้ยอดมะยมเป็นผักแกล้มรับประทานกับลาบ ส่วนชาวอีสาน นำยอดอ่อน ใบอ่อน รับประทานกับส้มตำ ลาบ ก้อย ป่น และหมูสับ (แหนมสด) และนำผลแก่ไปปรุงเป็นส้มตำ สำหรับผลมะยมแก่ นอกจากทำแกงได้แล้ว ผลมะยมแก่ยังเป็นผลไม้ โดยรับประทานสดเป็นผลไม้ จิ้มกับเกลือ น้ำปลาหวาน และสามารถปรุงเป็นน้ำมะยม แยมมะยม มะยมดอง มะยมกวน มะยมเชื่อมได้อีกด้วย

แหล่งที่พบ: ตำบลวันยาว
ข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม: ตัวอย่างอาหาร

แกงคั่วเม็ดมะยม
เครื่องปรุง เป็ดย่าง ผลมะยมแก่ พริกแห้ง หัวหอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ ลูกผักชี รากผักชี พริกไทย มะพร้าว น้ำเคยดี ใบมะกรูด เกลือ
วิธีปรุง
1. สับเป็ดย่างเป็นชิ้นใหญ่ ๆ และขาให้คงอยู่ไม่ต้องสับ
2. นำผลมะยมแก่ซอยแช่น้ำเกลือ อย่าให้เค็มมาก พอถอนรสเปรี้ยวออกบ้าง แล้วสงขึ้นพอให้สะเด็ดน้ำ พักไว้
3. พริกแห้งล้างน้ำ หั่นหอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ รากผักชีทั้งหมด ตำไปพร้อมกับลูกผักชี พริกไทย เกลือ
4. ขูดมะพร้าวคั้นกะทิ ช้อนเอาหัวกะทิลงหม้อแกง ตั้งไฟเคี่ยวไปจนแตกมัน และนำน้ำพริกที่ตำละเอียดดีแล้ว ตักใส่หม้อแกง ผัดไปจนหอม แล้วใส่เนื้อเป็ดผัดไฟให้ทั่วกัน แล้วเทกะทิที่เหลืออยู่ลงไปพอควร อย่าให้น้ำแกงใส เหยาะน้ำเคยมีน้ำตาลลงไปพร้อมกับมะยมแล้วชิมดู เมื่อรสดีแล้วจึงหั่นใบมะกรูดให้เป็นฝอย ใส่ลงคนให้ทั่วกันยกลง
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ได้: ตลอดปี

คอแลน

คอแลน สรรพคุณและประโยชน์ของคอแลน

คอแลน

คอแลน ชื่อสามัญ Korlan

คอแลน ชื่อวิทยาศาสตร์ Nephelium hypoleucum Kurz จัดอยู่ในวงศ์เงาะ (SAPINDACEAE)

คอแลน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า คอลัง กะเบน สังเครียดขอน (ภาคใต้), มะแงว มะแงะ หมักงาน บักแงว หมักแวว หมักแงว หมากแงว (ภาคตะวันออก), ลิ้นจี่ป่า (ภาคตันออกเฉียงใต้) เป็นต้น ผลไม้ชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับลิ้นจี่ ลำไย เงาะ มามอนซีโย

คอแลน เป็นผลไม้เมืองร้อน ลักษณะคล้ายกับลิ้นจี่แต่เนื้อด้านในจะคล้ายกับเงาะ เนื้อมีรสเปรี้ยว ส่วนเมล็ดมีพิษไม่สามารถรับประทานได้

ลักษณะของคอแลน

  • ต้นคอแลน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 10-20 เมตร เปลือกเรียบ มีสีน้ำตาลคล้ำ เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างทึบ ลักษณะของใบคอแลน เนื้อหนา ใบสีเขียว ออกเป็นช่อติดเรียงสลับยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร โดยใบย่อยเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับถึงรูปรี ติดตรงข้าม 1-3 คู่ โคนใบมนและเบี้ยว ขอบใบเรียบ หลังใบเกลี้ยงเป็นมัน ส่วนท้องใบสีจาง

ต้นคอแลน

  • ดอกคอแลน มีขนาดเล็ก มีสีขาวอมเขียว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ทุกส่วนของช่อดอกจะมีขนสีเทาทั่วไป โคนกลีบรองดอกจะติดกันเป็นรูปถ้วยปากกว้าง ปลายแยกเป็น 5 แฉก ส่วนกลีบดอกไม่มี มีเกสรตัวผู้ 5 อัน มีรังไข่กลมและมีขนปกคลุม
  • ผลคอแลน ลักษณะเป็นรูปรีถึงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ลักษณะของผิวจะขรุขระ เป็นปมเล็ก ๆ กระจายไปทั่ว ผลอ่อนจะเป็นสีเขียว ส่วนผลแก่จัดจะออกเป็นสีแดงเข้ม โดยในผลจะมีเมล็ด 1 เมล็ด และมีเนื้อเยื่อใส ๆ และน้ำหุ้มเมล็ดอยู่

 

คอแลนไม้คอแลน

 

รูปคอแลนลูกคอแลน

ในปัจจุบันคอแลนเป็นผลไม้ที่หารับประทานได้ยากและใกล้จะสูญพันธุ์ เพราะไม่ค่อยมีคนปลูก เนื่องจากไม่เป็นที่นิยมในการรับประทานเท่าไหร่ อาจจะเป็นเพราะมันมีรสเปรี้ยว แต่ภายหลังเกษตรกรก็ได้หันมาปลูกคอแลนที่มีรสหวานและลูกใหญ่ขึ้นมาทดแทนพันธุ์เดิม

สรรพคุณของคอแลน

  1. ช่วยทำให้ชุ่มคอ
  2. ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และเพิ่มพลังงาน
  3. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มันจึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  4. ช่วยเสริมสร้างสมาธิ แก้ปัญหาสมาธิสั้น
  5. ช่วยลดความเครียด
  6. ช่วยในการย่อยอาหาร
  7. ใช้เป็นยาระบาย
  8. ช่วยต่อสู้กับเชื้อหวัดและไวรัสไข้หวัดใหญ่

ประโยชน์ของคอแลน

  • ผลแก่ใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ มีรสหวานอมเปรี้ยว
  • ไม้คอแลน เนื้อเหนียว แข็ง และละเอียด สามารถนำไปใช้ทำเป็นเครื่องมือทางการเกษตรได้ เช่น คันไถ ด้ามเครื่องได้ ฯลฯ

 

ฝรั่งขี้นกไส้แดง

ฝรั่งขี้นก ไส้แดง

ฝรั่งไส้แดง : Pink guava
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psidium guajava
อยู่ในวงค์ : Myrtaceae

ฝรั่งสีชมพู หรือ ฝรั่งขี้นก ฝรั่งผลเล็กเหล่านี้ มีสารอาหารมากมายที่ให้ประโยชน์ต่อ สุขภาพ มีวิตามิน A ที่ช่วยบำรุงร่างกายในเรื่องการมองเห็น การเจริญเติบโตของกระดูก การสร้างเซลล์และควบคุมอุณหภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยังมีวิตามิน C ที่มีมากกว่าส้มถึง 5 เท่าในปริมาณที่เท่ากันวิตามิน C มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอและป้องกันการเสื่อมของเซลล์ ที่มักเกิดจากความเครียด การดื่ม แอลกอฮอล์ ฝุ่น และควันบุหรี่ และแสงแดด เสริมสร้างและรักษาสภาพของเนื้อเยี่อคอลลาเจน ทำให้ผิวสมบูรณ์แข็งแรง ช่วยสมานแผลและยังดีต่อเนื้อเยื่อของกระดูกและฟัน ดูดซึมธาตุเหล็ก เสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันหวัด และลดความเสี่ยงจากการเป็นมะเร็ง

ทั้งยังมีใยอาหารที่ช่วยขับเคลื่อนอาหาร ลดอาการท้องผูก ริดสีดวงทวาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ อีกทั้งมีแนวโน้มทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดต่ำ และยังช่วยป้องกันโรคหัวใจอีกด้วย คุณสมบัติที่โดดเด่นของฝรั่งขี้นกคือสาร ไลโคปีน ซึ่งมีมาก รองจากมะเขือเทศ แต่มากกว่ามะละกอถึง 2 เท่า ว่ากันว่า ไลโคปีน เมื่อทราบอย่างนี้แล้วควรหันมาปลูกและรับประทาน ฝรั่งขี้นกกันดีกว่า เพราะเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์มหาสาร และเป็นการอนุรักษ์ผลไม้ไทยๆดั่งเดิม ใบฝรั่งขี้นกนี้ยังทำเป็นยาสมุนไพรไทยได้อย่างดี เช่นเป็นส่วนประกอบของยาสีฟันสมุนไพรไทยเป็นต้น

ฝรั่งไส้แดง (Farang-Sai-Dang) เป็นฝรั่งสายพันธุ์หนึ่ง เป็นไม้ยืนต้น มีทรงพุ่มขนาดกลาง ลำต้นแข็งมีเปลือกผิวเรียบ ใบมีลักษณะทรงรี ดอกมีสีขาว มีกลิ่นหอม ผลมีลักษณะทรงกลม ทรงไข่ หรือทรงรี ตามสายพันธุ์ มีเปลือกบางผิวเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็น สีเขียวอมเหลือง ภายในผลข้างในจะมีเนื้อสีขาว เนื้อแน่นฉ่ำน้ำ มีไส้ตรงกลางมีสีชมพู หรือสีแดง มีเมล็ดเกาะติดอยู่มากมาย มีรสชาติหวานกรอบ มีกลิ่นหอม นำมาเป็นผลไม้ใช้รับประทาน ใช้ทำเป็นเครื่องดื่มต่างๆ ได้หลายเมนู ประเทศไทยมีปลูกหลายสายพันธุ์ ได้แก่ ฝรั่งแป้นสีชมพู ฝรั่งขี้นกไส้แดง ฝรั่งแป้นไส้แดง

ประโยชน์และสรรพคุณฝรั่งไส้แดง

มีวิตามินเอ มีวิตามินซี มีแคลเซียม มีวิตามินอี มีฟอสฟอรัส มีวิตามินบี2 มีวิตามินบี3 มีวิตามินบี1 มีโปรตีน มีเหล็ก มีแมกนีเซียม มีคาร์โบไฮเดรต มีเส้นใย มีโพแทสเซียม มีพลังงาน มีไขมัน มีทองแดง มีโฟลิก มีแคโรทีนอยด์ มีไลโคปีน มีเบตาแคโรทีน

ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด แก้เหงือกบวม แก้เลือดออกตามไรฟัน ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยลดไขมันในเลือด รักษาโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยชลอความชรา ช่วยบำรุงผิวพรรณ แก้ผื่นคัน แก้แพ้ยุง ช่วยล้างพิษ ช่วยรักษาแผล ช่วยรักษาแผลอักเสบ ช่วยรักษาแผลเป็นฝีหนอง ช่วยรักษาแผลพุพอง ช่วยเป็นยาระบาย ช่วยระบบในท้อง ช่วยกระเพาะลำไส้อักเสบ ช่วยรักษาโรคกระเพาะ ช่วยลดอักเสบ แก้คลื่นไส้ แก้อาเจียน ช่วยแก้ปวด แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้คอแห้ง แก้บิด แก้ท้องเดิน แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง ช่วยล้างพิษ ช่วยสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย แก้กลิ่นปาก ช่วยบำรุงฟัน ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันหวัด มีภูมิคุ้มกัน มีอนุมูลอิสระ

การปลูกขยายพันธุ์ฝรั่งไส้แดง

ฝรั่งสามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด ดินร่วนปนทรายจะเติบโตได้ดี ปลูกในฤดูฝนจะดี การปลูกฝรั่งทำได้หลายวิธี การปลูกโดยใช้การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง การติดตา การเสียบกิ่ง