เศรษฐีเงินหนา
ต้นเศรษฐีเงินหนา หรือต้นหน้าวัวเงินหนา
กลุ่มต้นไม้ : หน้าวัวใบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthurium Jermanii.
English Nickname : Tailflower
วงศ์: ARACEAE
ต้นเศรษฐีเงินหนา หรือต้นหน้าวัวเงินหนา
กลุ่มต้นไม้ : หน้าวัวใบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthurium Jermanii.
English Nickname : Tailflower
วงศ์: ARACEAE
นมวัว
ชื่ออื่นๆ
มะไฟแรด, ขี้หนอน เคาะหนาม (เชียงใหม่), นมวัว (นครราชสีมา), เหมือดคน (ภาคกลาง จันทบุรี สระบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Scleropyrum pentandrum (Dennst.) Mabb.
ชื่อพ้อง
Antidesma parasiticum Dillwyn, Bridelia horrida Dillwyn, Pothos pentandrus Dennst., Scleropyrum wallichianum Arn.
ชื่อวงศ์
Santalaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 7 เมตร ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมแข็ง ขึ้นรวมกันเป็นกลุ่มๆ กระจายทั่วลำต้น ลำต้นและกิ่งอ่อนมีสีเขียว ลำต้นที่แก่จะแตกเป็นร่องลึก เปลือกลำต้น และเปลือกใน สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรีแกมรูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้างได้ถึง 5 เซนติเมตร ยาวได้ถึง 18 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ใบแก่แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง หลังใบเรียบ เป็นมัน ท้องใบผิวเกือบเกลี้ยง ที่เส้นกลางใบมีร่องเล็กตามยาว ก้านใบมีขนนุ่ม ไม่มีหูใบ ดอกช่อเชิงลดออกจากลำต้น และซอกใบ ช่อดอกอัดแน่นรูปทรงกระบอก ช่อดอกแยกเพศหรือสมบูรณ์เพศอยู่ร่วมต้น ดอกมีขนาดเล็ก กลีบรวม5 กลีบ ซ้อนเหลื่อมกัน สีเขียวแกมเหลือง ช่อดอกเพศผู้เป็นแบบช่อหางกระรอกออกรวมกันเป็นกลุ่ม มักออกจากลำต้น ดอกมีกลิ่นเหม็น มีก้านดอกย่อยสั้นมาก ดอกเพศเมียไม่มีก้านดอก ดอกมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ เป็นช่อดอกแบบช่อกระจะ รังไข่อยู่ต่ำกว่าวงกลีบ ในดอกที่สมบูรณ์เพศมักมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน ผลสดเมล็ดในแข็ง ทรงลูกแพร์หรือรูปไข่ ขนาด 1.3-2.6 เซนติเมตร เมล็ดมี 1-3 เมล็ด รูปทรงกลม การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือการตอนกิ่ง พบตามป่าเต็งรัง ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 600-1,600 เมตร ออกดอกราวเดือนมกราคมถึงมีนาคม ติดผลราวเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย บำรุงกำลัง แก้ลมบ้าหมู ผสมรากนมราชสีห์ ต้มน้ำดื่ม บำรุงน้ำนม ราก ฝนน้ำดื่ม แก้ผิดสำแดง ผสมแก่นจันทน์แดง ฝนน้ำดื่ม แก้ไข้
ตำรายาไทย แก่น เป็นยาบำรุงน้ำนม ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วในสตรีหลังคลอด เป็นยาอายุวัฒนะได้ทั้งชายและหญิง โดยนำมาแก่นมาต้มกินเป็นยาเดี่ยว หรือผสมกับยาอื่นเป็นตำรับ เช่น ตาไก้ ช้างน้าว ตานกกด เป็นยาบำรุงร่างกายหลังเจ็บป่วย แก้กษัย ปวดเมื่อยตามตัว แก้ท้องบวม ปัสสาวะขุ่นข้น รักษาไข้ที่ไม่มีเหงื่อออก รักษาฝีในท้อง แก้ไข้ ถอนพิษสำแดง ไม่ระบุส่วนที่ใช้ รักษามาลาเรีย รักษาวัณโรค
ประเทศอินเดีย เปลือกต้น ใบ ใช้ภายนอก รักษาโรคผิวหนัง ผล แก้งูกัด ฟอกเลือด
ประเทศจีนใช้ ใบ ต้มกินรักษาโรคตา หรือนำมาหมัก หรือต้มกิน และใช้ภายนอก แก้ปวดกระเพาะอาหาร และแก้แผลถูกปืนยิง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Mitrephora tomentosa Hook.f. & Thomson
วงศ์: Annonaceaeประเภท: ไม้ต้น ผลัดใบ
ความสูง: 10 – 15 เมตร
ทรงพุ่ม: ค่อนข้างกลม
ลำต้น: กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาล
ใบ: ใบเดี่ยวเรียงสลับระนาบเดียว รูปขอบขนาน กว้าง 3 – 6 เซนติเมตร ยาว 10 – 15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน แผ่นใบหนาและเหนียว ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาล
ดอก: ดอกออกเป็นกระจุก 2 – 3 ดอกตรงข้ามใบ ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 – 4.5 เซนติเมตร สีเหลือง กลีบดอกเรียงเป็นสองชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบวงนอกยาวและบิดเป็นคลื่น กลีบวงในงุ้มเข้า ปลายกลีบมีลายเป็นแถบสีแดง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกเดือนมีนาคม – เมษายน
ผล:เป็นผลกลุ่ม มีผลย่อยจำนวนมาก ก้านผลยาว ผลกลมรูปรี ยาว 3 เซนติเมตร ผลอ่อนมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น เมื่อแก่มีสีเหลือง แต่ละผลมี 3 – 7 เมล็ด
ดิน: ดินร่วนระบายน้ำดี
แสงแดด: เต็มวัน
น้ำ: ปานกลาง
ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
การใช้งานและอื่นๆ: บางแห่งเรียกว่า ต้นนมหนู เนื้อไม้ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ดี
ชื่ออื่นๆ: จำปีหิน (ชุมพร) นมงัว (ปราจีนบุรี) ปอขี้แฮด (เชียงใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Goniothalamus laoticus (Finet & Gagnep.) Ban
วงศ์: ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด: ประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่มขนาดเล็ก ทรงพุ่มกลม โปร่ง
ฤดูการออกดอก: เดือน เม.ย. - ก.ค.
เวลาที่ดอกหอม: ตอนเย็นถึงเช้าของอีกวัน พันธุ์ไม้ชนิดนี้จะส่งกลิ่นหอมตอนช่วงที่ดอกใกล้จะโรยแล้วเท่านั้น (ช่วงที่ดอกมีสีเหลืองอมส้ม) ช่วงที่ดอกออกใหม่ๆ ไม่ส่งกลิ่นหอม
การขยายพันธุ์:
เพาะเมล็ด ต้องใช้เวลานาน 2 - 3 เดือน เพราะว่าเปลือกเมล็ดแข็ง
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ช่วงการออกดอก (ดอกทยอยบาน) นานเป็นเดือนๆ
ใช้พื้นที่ปลูกไม่มาก ประมาณ 2 x 2 ม. ก็เพียงพอ
ปลูกแทรกระหว่างไม้ใหญ่ๆ ได้ดีต้นหนึ่ง
ข้อแนะนำ:
ควรปลูกในพื้นที่มีแดดรำไร และต้องดูแลเป็นพิเศษในปีแรก ที่สวนไม้หอมพบว่า การปลูกในพื้นที่มีแดดรำไร มีการติดเมล็ด
ข้อมูลอื่นๆ:
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่โตช้า การขยายพันธุ์ช้า ดังนั้นจำนวนต้นที่แนะนำคือ ตามจำนวนที่ต้องการปลูกจริง
เป็นพันธุ์ไม้ที่ราคาค่อนข้างแพงตลอดเวลา ไม่เหมือนไม้ชนิดอื่นๆ
พันธุ์ไม้ในวงศ์ ANNONACEAE หลายชนิดจะหอมตอนช่วงที่ดอกใกล้จะร่วงโรย ควรดมกลิ่นหอมให้ถูกช่วงด้วย
หมายเหตุ:
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-8 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกหนาสีเทาอมดำ
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับสองข้างกิ่งในระนาบเดียวกัน แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายเรียวแหลม โคนใบสอบ ใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า ก้านใบยาว
ดอก ดอกเดี่ยวหรืออกเป็นกระจุก 2-5 ดอก ตามลำต้น กิ่งและตามง่ามใบ ก้านดอกยาว กลีบดอกยาวสีเหลืองนวลถึงสีชมพู
ผล ผล สีเขียวอมเหลือง ออกเป็นกลุ่ม 6-12 ผล รูปกลมรี หรือทรงกระบอก ไม่มีก้าน