• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

มะม่วงมหาชนก

 มะม่วงมหาชนก

มะม่วงมหาชนก

มะม่วงมหาชนก ประวัติความเป็นมา

          มะม่วงชื่อสง่างามแถมสีสันยังจัดว่าน่ากินพันธุ์นี้ได้รับพระราชทานชื่อมาจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมะม่วงมหาชนกเป็นพันธุ์ที่ได้จากต้นที่ปลูกด้วยการเพาะเมล็ดพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มะม่วงพันธุ์ซันเซท กับพันธ์ุหนังกลางวัน ที่สวนของอาจารย์ประพัฒน์ สิทธิสังข์ อําเภอ สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยคุณเดช ทิวทอง ได้นําไปทดลองปลูกไว้ที่สวนในอําเภอลี้ จังหวัดลําพูน ภาคเหนือตอนบนเป็นที่แรก นับเป็นต้นกำเนิดของมะม่วงมหาชนกตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

          มะม่วงมหาชนกมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Mahachanok หรือ Rainbow Mango ส่วนชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Mangifera indica L. โดยมะม่วงมหาชนกมีแคลอรีต่อ 1/4 ผล หรือน้ำหนัก 65 กรัม อยู่ที่ประมาณ 51-55 กิโลแคลอรี และในปริมาณ 1/4 ผลของมะม่วงมหาชนก จะมีปริมาณน้ำตาลประมาณ 10.9 กรัม หรือราว ๆ 2.7 ช้อนชา ซึ่งถือว่าหวานมากเลยทีเดียว

มะม่วงมหาชนก

มะม่วงมหาชนก สรรพคุณไม่ธรรมดา

          สรรพคุณของมะม่วงมหาชนกไม่ธรรมดาเลยจริง ๆ ค่ะ เพราะถูกยืนยันประโยชน์โดยงานวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่เห็นสีสันแปลกตาของมะม่วงมหาชนกตอนสุก จนนำไปสู่การศึกษาเกี่ยวกับสารอาหารที่มีอยู่ในมะม่วงมหาชนกเพื่อนำไปใช้ในการวิจัยและพัฒนา พร้อมทั้งนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ เนื่องจากเล็งเห็นว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในปัจจุบันต้องการทานอาหารจากธรรมชาติ ที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์และสามารถป้องกันโรคได้มากขึ้นกว่าอดีต

มะม่วงเขียวเสวย

มะม่วงเขียวเสวย

มะม่วงเขียวเสวย (Khiew Sawoey) เป็นมะม่วงยอดนิยมทั้งในประเทศ และต่างประเทศ นิยมรับประทานผลดิบหรือผลแก่เป็นหลัก เนื่องจาก ผลในระยะนี้จะมีสีขาวขุ่นหรือขาวขุ่นอมครีม เนื้อแน่น มีความกรอบ และมีรสหวานมัน จนได้รับขนานนามว่า “ราชินีของมะม่วงไทย”

อนุกรมวิธาน (4)
Class : Dicotyledon
Order : Sapinclales
Family : Anacardiaceae

• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangifera indica L. c.v.
• ชื่อสามัญ : Mango (Khiew Sawoey)
• ชื่อท้องถิ่น : มะม่วงเขียวเสวย

ประวัติ และการแพร่กระจาย

มะม่วงเขียวเสวย เป็นมะม่วงท้องถิ่นที่มีต้นกำเนิดในประเทศไทย เป็นมะม่วงกลายพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเมล็ด เป็นพันธุ์ใหม่ที่เพาะได้โดยบังเอิญเมื่อประมาณปี 2475 ของชาวสวนแห่งหนึ่งในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จากนั้น มีการเพาะเมล็ดเพื่อขยายพันธุ์ปลูกในแถบมากขึ้น ทำให้มีมะม่วงเขียวเสวยลักษณะที่แตกต่างกันมากขึ้น และให้ชื่อเรียกพันธุ์มะม่วงเขียวเสวยต่างๆ อาทิ เขียวสะอาด เขียวไข่กา เป็นต้น ซึ่งหากต้นใดที่ให้ลักษณะที่ต่างไปจากเดิมมาก โดยเฉพาะรสชาติ เกษตรก็จะโค่นทิ้ง (3), (8)

ปัจจุบัน มะม่วงเขียวเสวยพบปลูกในทุกภาค โดยเฉพาะการปลูกเพื่อรับประทานเองเพียงไม่กี่ต้นตามหน้าบ้าน หลังบ้าน และหัวไร่ปลายนา ส่วนการปลุกในแปลงใหญ่เพื่อการค้าพบปลูกมากในภาคกลาง และภาคเหนือ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น
มะม่วงเขียวเสวย เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง มีอายุประมาณ 10-25 ปี ลำต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกหลักกิ่ง และกิ่งแขนงน้อย จนแลดูเป็นทรงพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้นแตกเป็นสะเก็ดขนาดเล็ก สีดำอมเทา

 

%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%a21

ใบ
ใบมะม่วงเขียวเสวย ออกเป็นใบเดี่ยวๆ เรียงสลับกันที่ปลายกิ่ง ใบค่อนข้างรียาว สีเขียวเข้ม และเป็นมัน ขนาดใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร โคนใบสอบมน ปลายใบแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบ เส้นกลางใบมีสีขาวชัดเจน

ดอก
มะม่วงเขียวเสวย ออกดอกเป็นช่อแขนง ซึ่งแต่ละแขนงประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยในช่อเดียวกันจะมีดอก 2 ชนิด คือ ดอกเพศผู้ ซึ่งมีจำนวนมาก (91.80%) และดอกกะเทย (8.20%) ที่สามารถพัฒนาเป็นผลได้ ทำให้มะม่วงพันธุ์นี้ติดผลน้อย ทั้งนี้ มะม่วงเขียวเสวย เป็นพันธุ์ที่ออกดอกช้า ดอกมะม่วงเขียวเสวยหลังการผสมเกสรแล้ว ทั้งกลีบเลี้ยง กลีบดอก และเกสรจะร่วงหล่นไปหมด คงเหลือรังไข่ที่พัฒนาเป็นผลรูปไข่ขนาดเล็ก และจานดอกที่เหี่ยวแห้งติดด้านล่างผล

ผล และเมล็ด
ผลมะม่วงเขียวเสวย มีลักษณะรียาว และแบนเล็กน้อย บริเวณขั้วผลมีขนาดใหญ่ และค่อยเล็กลงไปด้านท้ายด้านหลังผลมีลักษณะนูนออก และด้านหน้าผลคอดเล็กลง ขนาดผลกว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีน้ำหนักต่อผลประมาณ 300-335 กรัม ผลมะม่วงเขียวเสวย เมื่อยังอ่อนจะมีเปลือกสีเขียวเข้ม ส่วนเนื้อผลมีสีขาว และมีรสเปรี้ยว เมื่อแก่ เปลือกมีสีเขียวอมเทาหรือมีนวล ส่วนเนื้อมีสีขาวขุ่น มีรสหวานมัน และเมื่อสุก เปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน เนื้อด้านในมีสีเหลือง เนื้อละเอียด และค่อนข้างแน่น ไม่เละง่าย

ส่วนเมล็ดด้านในมีลักษณะเรียวยาว และค่อนข้างแบนตามลักษณะของผล เปลือกหุ้มเมล็ดหนาแข็ง และมีร่องเป็นริ้วตามแนวตั้ง

%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%a2

 

มะม่วงเบา

มะม่วงเบา

มะม่วงเบา หรือที่คนใต้เรียกว่า ‘ลูกม่วงเบา’ เป็นมะม่วงที่กินแบบดิบได้ทั้งคาวและหวาน นำมาปั่นเป็นเครื่องดื่มก็ให้ความสดชื่น

อยู่ๆ ในช่วง 4-5 ปีมานี้ มะม่วงเบา ผลไม้ท้องถิ่นของภาคใต้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากราคาของมะม่วงเบาที่สูงขึ้น จำนวนร้านค้าทั้งออฟไลน์และออนไลน์ก็เพิ่มขึ้นด้วย หนึ่งในเหตุผลที่สำคัญน่าจะมาจากกลิ่นและรสที่เป็นเอกลักษณ์ของมะม่วงเบานั่นเอง

มะม่วงกลุ่มพราหมณ์ ผลเล็กกว่าฝ่ามือ

จากฐานข้อมูลมะม่วงของกรมวิชาการเกษตรที่รวบรวมไว้ระหว่างปี 2522-2541 บอกไว้ว่า ประเทศไทยมีมะม่วงประมาณ 150 สายพันธุ์ บางสายพันธุ์มีชื่อเรียกหลายชื่อตามแหล่งปลูก

ในบรรดามะม่วงนับร้อยสายพันธุ์  ‘เบา’ เป็นมะม่วงที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม ‘พราหมณ์’ ร่วมกับมะม่วงที่มีชื่อไม่คุ้นหูอีกมากมายอย่าง ‘นกกระจิบ’ ‘กะล่อนทอง’ และ ‘ทองหยด’

จะหาความแตกต่างของมะม่วงกลุ่มนี้กับกลุ่มอื่นๆ ต้องดูกันที่รูปร่างของผลและใบ หลักๆ แล้ว ผลของมะม่วงกลุ่มพราหมณ์เป็นรูปไข่ ส่วนทรงของใบนั้น กลางใบจะป้อม ปลายใบจะเรียวแหลมเช่นเดียวกับฐานใบ ส่วนขอบใบจะเรียบ เมื่อพิจารณาลงลึกไปอีกเพื่อหามะม่วงเบา ก็ต้องดูว่า ทรงใบขอบขนาน ฐาน และปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น

ต้นมะม่วงเบาสูงประมาณ 5-10 เมตร ใบยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร กว้าง 5-7 เซนติเมตร บางและค่อนข้างเหนียว มีก้านใบยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ส่วนดอกออกเป็นช่อ แต่ละดอกมีห้ากลีบ ผลมะม่วงเบากว้างยาวประมาณ 4-5  เซนติเมตร วางบนมือผู้ใหญ่ก็ยังมีพื้นที่เหลือ หนักประมาณ 50-60 กรัม ส่วนเปลือกมะม่วงเบาจะเรียบเกลี้ยง มันวาว สีเขียวสด ผ่าเข้าไปเห็นเมล็ดคล้ายถั่วแดงหรือไตยาวประมาณ 4 เซนติเมตร

มะม่วงเบาถือว่าออกดอกมาก ติดผลมาก ออกตลอดปี หากอายุถึง 10 ปีแล้ว ต้นหนึ่งจะให้ผลประมาณ 500 ลูก สามารถออกผลได้ตลอดทั้งปี

สดชื่นเมื่อกินสด

ต้นกำเนิดของมะม่วงพันธุ์นี้มาจากมาเลเซียและภาคใต้ของไทย ปลูกและกินกันมากในเกือบทุกจังหวัดตั้งแต่นครศรีธรรมราชลงมา ราว 20 ปีก่อน แทบทุกบ้านจะต้องปลูกมะม่วงเบา ช่วงฤดูร้อนก็จะออกผลเยอะให้มีขายกันเป็นปี๊บ ส่วนชื่อพันธุ์ที่เรียกว่า ‘เบา’ นั้น หมายถึงผลิตผลทางการเกษตรที่ให้ผลเร็วนั่นเอง

นอกจากรูปร่างแล้ว สิ่งที่ทำให้มะม่วงเบาโดดเด่นเห็นจะเป็นรสชาติเปรี้ยวจี๊ด เจือกลิ่นหอมบางๆ ใสๆ ฉ่ำน้ำ ยามที่เป็นผลดิบอยู่ หากสุกแล้วก็จะมีรสเปรี้ยวอมหวานนิดๆ แต่คนนิยมกินดิบมากกว่า

จะกินแบบสดๆ ก็ง่ายมาก ล้างมะม่วงเบาดิบให้สะอาด หั่นตามใจชอบ ไม่ต้องปอกเปลือก จิ้มกินกับน้ำตาลปี๊บ พริกป่น คลุกกะปิซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็เป็นของติดบ้านอยู่แล้ว หรือให้ง่ายกว่านั้น จิ้มมันกุ้งแบบคนใต้ เพียงแค่นี้ก็ได้สัมผัสรสเปรี้ยวจี๊ด กรุบกรอบ อร่อยเข็ดฟัน ได้กลิ่นหอมบางๆ จากเปลือกที่ติดอยู่ด้วย

หากจะเพิ่มความซับซ้อนขึ้นอีกนิด หลายบ้านนิยมกินเป็นยำมะม่วงแบบใส่มะพร้าวคั่วหอมๆ ลงไปด้วย ต้องสับมะม่วงเป็นเส้นเล็กๆ เตรียมหัวหอมแดงซอย กุ้งแห้งทอด เม็ดมะม่วงหิมพานต์ทอดใส่ลงไปในกะปิที่ตำกับพริกขี้หนูสวน น้ำตาลปี๊บ และเกลือ คลุกให้เข้ากัน ก็จะได้ยำมะม่วงเบาที่หอมมันจากมะพร้าวคั่วเพิ่มขึ้นมาอีก

เพิ่มรสเปรี้ยวหอมที่เป็นเอกลักษณ์

รสเปรี้ยวจี๊ดของมะม่วงเบาสามารถนำไปใช้แทนน้ำมะนาวหรือน้ำส้มมะขามในอาหารหลายจาน ที่คุ้นกันดีก็เช่น มะม่วงดิบในน้ำพริก หรือข้าวคลุกกะปิในฤดูร้อนที่มะนาวออกน้อย แต่เป็นช่วงที่มะม่วงเบาออกเยอะพอดี ก็เอามาแทนกันได้ สำหรับคนใต้ ใส่มะม่วงเบาลงในอาหารคาวหลายอย่าง เช่น ข้าวยำ ขนมจีนน้ำยา ข้าวราดแกงไตปลา

อาหารจานเด็ดของคนใต้ที่ใช้มะม่วงเบาอีกอย่างหนึ่งคือ แกงส้มมะม่วงเบา ทำจากเครื่องแกงส้มแบบใต้ที่ได้มาจากการตำพริก หอมแดง พริก ขมิ้น เกลือป่น และกะปิ เข้าด้วยกัน ใส่ลงไปหม้อน้ำ ตั้งไฟจนเดือด แล้วใส่มะม่วงเบาที่ผ่าเอาเม็ดออกและแช่น้ำเกลือกันดำมาแล้วลงไป รอจนเนื้อนิ่มแล้วค่อยใส่เนื้อสัตว์ เช่น ปลาหรือกุ้งลงไป ราดกินกับข้าวสวยร้อนๆ

ตะลิงปลิง

ตะลิงปลิง สรรพคุณและประโยชน์ของตะลิงปลิง

รูปตะลิงปลิง

ตะลิงปลิง ชื่อสามัญ Bilimbi, Bilimbing, Cucumber tree, Tree sorrel

ตะลิงปลิง ชื่อวิทยาศาสตร์ Averrhoa bilimbi L. จัดอยู่ในวงศ์กระทืบยอด (OXALIDACEAE)

สมุนไพรตะลิงปลิง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มูงมัง (เกาะสมุย), กะลิงปริง ลิงปลิง ลิงปลิง ปลีมิง (ระนอง), บลีมิง (นราธิวาส), มะเฟืองตรน, หลิงปลิง (ภาคใต้) เป็นต้น

ลักษณะของตะลิงปลิง

  • ต้นตะลิงปลิง มีถิ่นกำเนิดในแถบชายฝั่งทะเลของบราซิล เป็นไม้ผลที่นิยมปลูกทั่วไปเพราะลำต้นมีพวงแน่นที่สวยงาม และยังเป็นพืชร่วมวงศ์กับมะเฟือง แต่จะแตกต่างกันอย่างชัดเจนตรงขนาดของผล โดยผลมะเฟืองจะมีขนาดใหญ่กว่าผลตะลิงปลิง ต้นตะลิงปลิงนั้นจัดเป็นพืชในเขตร้อนและเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 5-15 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีชมพู ผิวเรียบมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ตามกิ่ง ลักษณะของใบตะลิงปลิงเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบสีเขียวอ่อนมีขุยนุ่มปกคลุม ใบคล้ายรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ในหนึ่งก้านจะมีใบย่อยประมาณ 11-37 ใบ ขนาดใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร ส่วนลักษณะของดอกตะลิงปลิง จะออกดอกเป็นช่อหลายช่อ ตามกิ่งและลำต้น โดยในแต่ละช่อจะมีความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว ลักษณะดอกมีกลีบ 5 กลีบ ดอกสีแดงเข้ม มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบสีเขียวอมชมพู มีเกสรกลางดอกสีขาว

ต้นตะลิงปลิง

ตะลิงปลิง

ดอกตะลิงปลิง

  • ผลตะลิงปลิง ลักษณะกลมยาวปลายมน ผลยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร เป็นพูตามยาว ออกผลเป็นช่อห้อย ผิวของผลมีลักษณะเรียบสีเขียว แต่เมื่อสุกแล้วจะกลายเป็นสีเหลือง เนื้อข้างในเป็นเนื้อเหลว มีรสเปรี้ยว และมีเมล็ด ลักษณะของเมล็ดตะลิงปลิงจะแบนยาว มีสีขาว

ลูกตะลิงปลิง

สรรพคุณของตะลิงปลิง

  1. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ผล)
  2. ช่วยแก้พิษร้อนใน แก้กระหายน้ำ (ราก)
  3. ผลใช้ผสมกับพริกไทย นำมารับประทานจะช่วยขับเหงื่อได้ (ผล)
  4. ตะลิงปลิงมีสรรพคุณช่วยฟอกโลหิต (ผล)
  5. ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ผล)
  6. ในประเทศฟิลิปปินส์ใช้ใบพอกรักษาคางทูม (ใบ, ราก)
  7. สมุนไพรตะลิงปลิงมีสรรพคุณเป็นยาลดไข้ (ผล)
  8. ช่วยดับพิษร้อนของไข้ (ราก)
  9. ดอกตะลิงปลิงนำมาชงเป็นชาดื่มช่วยแก้อาการไอ (ดอก, ผล)
  10. ช่วยละลายเสมหะ แก้เสมหะเหนียวข้น (ผล)
  11. ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร (ผล, ราก)
  12. ช่วยแก้อาการเลือดออกตามกระเพาะอาหารและลำไส้ (ราก)
  13. ช่วยรักษาอาการอักเสบของลำไส้ (ใช้ใบต้มดื่ม, ราก)
  14. ช่วยรักษาซิฟิลิส (Syphilis) (ใช้ใบต้มดื่ม, ราก)
  15. ช่วยบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร (ผล, ราก)
  16. ใช้เป็นยาบำรุงแก้อาการปวดมดลูก (ผล)
  17. ช่วยบรรเทาอาการของโรคเกาต์ (ราก)
  18. ใบใช้รักษาโรครูมาตอยด์ (ใบ)
  19. ช่วยแก้ไขข้ออักเสบ (ใบ, ราก)
  20. ช่วยฝาดสมาน (ผล, ราก)
  21. ใบช่วยรักษาอาการอักเสบ (ใบ)
  22. ใบตะลิงปลิงใช้พอกแก้อาการคัน ลดอาการบวมแดงให้หายเร็วขึ้น หรือใช้ต้มอาบก็ได้ (ใบ, ราก)
  23. มีผลงานวิจัยที่ประเทศสิงคโปร์พบว่าสารสกัดน้ำของสารสกัดเอทานอลของใบตะลิงปลิง สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดของสัตว์ทดลองได้เป็นอย่างดี
  24. งานวิจัยในประเทศฟิลิปปินส์ชี้ว่าน้ำคั้นจากผลตะลิงปลิงมีฤทธิ์ในการคุมกำเนิด โดยได้ทดลองกับสุกรและหนู พบว่าร้อยละ 60 ของหนูทดลองหลังผสมพันธุ์แล้วไม่ติดลูก โดยเชื่อว่าสเตอรอยด์ไกลโคไซด์และกรดออกซาลิกในน้ำคั้นมีส่วนในการออกฤทธิ์คุมกำเนิดดังกล่าว

ประโยชน์ของตะลิงปลิง

  • ประโยชน์ตะลิงปลิง ผลสามารถนำมารับประทานร่วมกับพริกเกลือหรือนำไปใส่แกงก็ได้ ทำเป็นตะลิงปลิงตากแห้ง หรือทำเป็นเครื่องดื่มนํ้าตะลิงปลิง
  • ใบสามารถนำพอกใช้รักษาสิวได้ (ใบ, ราก)