• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

กระพี้จั่น

กระพี้จั่น

ชื่อไทย                  กระพี้จั่น

ชื่อท้องถิ่น             จั่น พี้จั่น (ทั่วไป) ปี้จั่น (ภาคเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์       Millettia brandisiana Kurz

วงศ์                         FABACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 8 – 20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลม โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาล หรือน้ำตาลเทาแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามกิ่งมีรอยแผลทั่วไป

ลักษณะใบ ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายใบคี่  เรียงเวียนสลับ ใบย่อยรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1 – 1.5 เซนติเมตร ยาว 3 – 4.5 เซนติเมตร เรียงตรงข้าม โคนใบมน สอบเรียว หรือเบี้ยว ขอบใบเรียบ ปลายใบทู่ แผ่นใบบาง

ลักษณะดอก ช่อแยกแขนง ออกตามกิ่งและง่ามใบ ดอกย่อยสีม่วงแกมขาว หรือสีชมพูอมม่วง รูปถั่ว กลีบเลี้ยงสีม่วงดำเชื่อมติดกันคล้ายรูประฆัง ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ยาว 0.4 – 0.5 เซนติเมตร มีขนอ่อนปกคลุม ดอกตูมสีน้ำตาลเข้มหรือม่วงดำ มีกลีบดอก 5 กลีบ 4 กลีบมีรูปร่างยาวรีรูปขอบขนาน กว้าง 0.3 – 0.5 เซนติเมตร ยาว 1.0 – 1.5 เซนติเมตร และอีก 1 กลีบมีรูปร่างกลมบิดม้วน กว้าง 1.5 เซนติเมตร ยาว 1.8 – 2.0 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้ 10 อัน

ลักษณะผล ผลแห้งแก่แล้วแตกสองแนว ฝักแบน โคนแคบกว่าปลาย กว้าง 2 – 2.5 เซนติเมตร ยาว 9 – 12 เซนติเมตร เปลือกเกลี้ยงหนาคล้ายแผ่นหนัง ขอบเป็นสัน เมล็ดสีน้ำตาลดำ 1 – 4 เมล็ด

ระยะการออกดอกติดผล

ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนเมษายน ติดผลเดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม

เขตการกระจายพันธุ์

มีถิ่นกำเนิดที่เอเชียเขตร้อน ในประเทศไทยพบตามป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังทั่วทุกภาค ที่ความสูง 50 – 300 เมตร จากระดับน้ำทะเล

การใช้ประโยชน์           

เป็นไม้ประดับเนื่องจากมีช่อดอกที่สวยงาม เมื่อถึงฤดูกาลออกดอกกระพี้จั่นจะทิ้งใบ และผลิดอกสีม่วงอมครามกระจ่างไปทั้งต้น

เนื้อไม้: ใช้ในการก่อสร้าง ใช้ทำเครื่องมือช่าง หรือเครื่องมือการเกษตร ทำเยื่อกระดาษ

ลำต้น: ต้มดื่มบำรุงเลือด

ใบ: ใบอ่อนสามารถนำมารับประทานได้

แหล่งข้อมูล: สำนักงานหอพรรณไม้ – กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน)

ฮ่อสะพายควาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Thailentadopsis tenuis (Craib) Kosterm.
ชื่อวงศ์   Leguminosae-Mimosoideae
ชื่อพ้อง  Pithecellobium tenue Craib 
ชื่ออื่น   กำลังช้างสาร, เหล็กไนผึ้ง (กาญจนบุรี)
 
ลักษณะ
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้นมีหนามทั่วไป กิ่งก้านเป็นเหลี่ยม

ใบ หูใบเปลี่ยนรูปเป็นหนามแข็ง ยาว 0.5-2 ซม. ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น แกนกลางยาว 1-3 ซม. มีครีบเป็นปีก กว้างได้ประมาณ 0.5 ซม. ใบประกอบย่อยมี 1 คู่ ยาวประมาณ 2 ซม. มีครีบเป็นปีก กว้างประมาณ 0.3 ซม. ตามรอยต่อก้านใบและก้านใบย่อยแรกมีต่อมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.1 ซม. บางต่อมีก้าน มีหูใบย่อยเปลี่ยนรูปเป็นหนามตามปลายแกนกลางใบประกอบ ใบย่อยมี 1-3 คู่ เรียงตรงข้าม ไร้ก้าน รูปรีหรือรูปไข่กลับ เบี้ยว ปลายใบแหลมยาวสั้นๆ ปลายเป็นติ่งหนาม โคนใบกลมหรือรูปลิ่ม เบี้ยว แผ่นใบบาง

ดอกออกเป็นช่อเชิงหลั่นหรือช่อแบบซี่ร่มแยกแขนง ออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลีบดอกและกลีบเลี้ยงมีจำนวนอย่างละ 5 กลีบ กลีบเชื่อมติดกัน กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ยาวได้ประมาณ 0.2 ซม. เกลี้ยง ปลายกลียเป็นหยักตื้นๆ รูปสามเหลี่ยม ขนาดประมาณ 0.5 มม. กลีบดอกรูประฆังยาวประมาณ .6 ซม. เกลี้ยง ปลายแยกเป็นกลีบรูปไข่ ขนาดเกือบเท่าๆกัน ยาวประมาณ 0.2 ซม. เกสรเพศผู้สีขาว มีจำนวนมาก ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาวเท่าๆ หลอดกลีบดอก อับเรณูไม่มีต่อม รังไข่เกลี้ยง ยาวประมาณ 0.1 ซม. มีก้านยาวได้ประมาณ 0.2 ซม.

ผลเป็นฝักแบน คอดเล็กน้อย เมื่อสุกสีน้ำตาล ฝักอ่อนบิดเป็นเกลียว ฝักแก่เกือบตรง แบน กว้างได้ประมาณ 2 ซม. ยาวได้ประมาณ 20 ซม. เว้าตามเมล็ด เมล็ดรูปรี ยาวประมาณ 1.3 ซม. หนาประมาณ 0.3 ซม. เว้าทั้งสองด้าน

ยาพื้นบ้านใช้ ต้น ต้มกับน้ำซาวข้าว ดื่มแก้ไข้ แก้ร้อนใน หรือผสมกับแก่นฝาง ต้นพญาท้าวเอว โด่ไม่รู้ล้มทั้งต้น ต้นเครืองูเห่า ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเส้น ปวดเอว

 

 

 

 

กระชายดํา

กระชายดํา สรรพคุณและประโยชน์ของกระชายดำ

กระชายดำ

กระชายดำ (โสมไทยโสมกระชายดำ) ชื่อสามัญ Black galingale

กระชายดํา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Kaempferia parviflora Wallich. ex Baker. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ K. rubromarginata (S.Q. Tong) R.J. Searle และ Stahlianthus rubromarginatus S.Q. Tongl.) จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)

สมุนไพรกระชายดำ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขิงทราย (มหาสารคาม), กะแอน ระแอน ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัย ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง (ภาคเหนือ) เป็นต้น

ลักษณะของกระชายดำ

  • ต้นกระชายดำ มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้หนาแน่นในแถบมาเลเซีย สุมาตรา เกาะบอร์เนียว อินโดจีน และในประเทศไทย มีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในเอเชียเขตร้อน ในประเทศจีนตอนใต้ อินเดีย และพม่า สำหรับประเทศไทยนั้นมีการปลูกกระชายดำมากในจังหวัดเลย ตาก กาญจนบุรี และจังหวัดอื่น ๆ ทางภาคเหนือ โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เหง้ากระชายดำ นั้นมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม เป็นปุ่มปมเรียงต่อกัน และมักมีขนาดเท่า ๆ กัน มีหลายเหง้าและอวบน้ำ ผิวเหง้ามีสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม และอาจพบรอยที่ผิวเหง้าเป็นบริเวณที่จะงอกของต้นใหม่ ส่วนเนื้อภายในของเหง้ามีสีม่วงอ่อน สีม่วงเข้ม ไปจนถึงสีม่วงดำ เหง้ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสชาติขมเล็กน้อย โดยกระชายดําที่ดีนั้นจะต้องมีสีม่วงเข้มถึงสีดำ กระชายดำเป็นพืชที่ชอบที่ร่ม ดินร่วนซุยหรือเป็นดินปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี ชอบอากาศหนาวเย็น และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแบ่งเหง้า สามารถขยายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี แต่ถ้าต้องการให้หัวหรือเหง้ามีคุณภาพต้องปลูกและเก็บเกี่ยวตามฤดูกาล คือปลูกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม

ต้นกระชายดำ

ใบกระชายดำ มีใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปไข่ มีความกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบหยักตามเส้นใบ ผิวใบเป็นร่องคลื่นตลอดใบตามแนวของเส้นใบ ใบมีสีเขียวสด ส่วนโคนก้านใบมีลักษณะเป็นกาบหุ้มลำต้นไว้ ขอบก้านใบมีสีแดงตลอดความยาวของก้าน ส่วนกลางก้านเป็นร่องลึก

ดอกกระชายดำ ดอกออกเป็นช่อแทรกขึ้นมาจากโคนกาบใบ ก้านช่อดอกมีความยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร กลีบดอกที่ส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาวประมาณ 3-3.2 เซนติเมตร ที่ปลายแยกเป็นแฉก เกสรตัวผู้เป็นหมัน มีสีขาว ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน มีความกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 10-13 มิลลิเมตร ส่วนกลีบปากมีสีม่วง

สรรพคุณของกระชายดำ

  1. รูปกระชายดำจากการค้นคว้าเอกสารงานวิจัยพบว่า สมุนไพรไทยกระชายดำนั้นมีสรรพคุณมากมาย และสามารถช่วยรักษาโรคต่าง ๆ ได้เกือบ 100 ชนิด
  2. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอความแก่ มีคุณค่าทางคงกระพันชาตรี ด้วยการใช้เหง้านำมาหั่นเป็นแว่น แล้วนำไปตากแดดจนแห้ง นำมาบดให้เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้กินเช้าเย็น
  3. ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ด้วยการใช้เหง้าผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นเป็นยาดองเหล้า (เหง้า)
  4. ว่านกระชายดำช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เหง้า)
  5. ช่วยบำรุงผิวพรรณของสตรีให้สวยสดใส ดูผุดผ่อง (เหง้า)
  6. ช่วยบำรุงฮอร์โมนเพศชาย หากสุภาพสตรีรับประทานแล้วจะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนทางเพศ (เหง้า)
  7. ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงสมรรถภาพทางเพศชาย แก้กามตายด้าน ด้วยการใช้เหง้าสดนำมาดองกับเหล้าขาวและน้ำผึ้งแท้ (ในอัตราส่วน 1 กิโลกรัม : เหล้าขาว 3 ขวด : น้ำผึ้ง 1 ขวด) ดองทิ้งไว้ประมาณ 9-15 วัน แล้วนำมาใช้ดื่มวันละ 1-2 เป๊ก (เหง้า) (กระชายดําไม่ได้เป็นยาปลุกอารมณ์ทางเพศ แต่ช่วยทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้ง่ายและบ่อยขึ้น มีระยะเวลาในการแข็งตัวที่นานขึ้น และสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีปัญหาดังกล่าวก็สามารถรับประทานเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงได้)
  8. ช่วยกระตุ้นระบบประสาท บำรุงประสาท ทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย (เหง้า)
  9. ช่วยในการนอนหลับ แก้อาการนอนไม่ค่อยหลับในตอนกลางคืน ช่วยทำให้นอนหลับดีขึ้น (เหง้า)
  10. ช่วยบำรุงหัวใจช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจ แก้โรคหัวใจ (เหง้า)
  11. ช่วยบำรุงโลหิตของสตรี (เหง้า)
  12. ช่วยในระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกาย ทำให้โลหิตไหลเวียนได้ดีขึ้น (เหง้า)
  13. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (เหง้า)
  14. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต รักษาสมดุลของความดันโลหิต (เหง้า)
  15. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (เหง้า)
  16. ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ (เหง้า)
  17. ช่วยแก้หอบหืด (เหง้า)
  18. ช่วยแก้อาการใจสั่นหวิว แก้ลมวิงเวียน (เหง้า)
  19. เหง้าใช้ต้มดื่มแก้โรคตา ช่วยรักษาสายตา (เหง้า)
  20. ช่วยรักษาแผลในช่องปาก ปากเป็นแผล ปากเปื่อย ปากแห้ง (เหง้า)
  21. ช่วยแก้โรคตานซางในเด็ก แก้ซางตานขโมยในเด็ก (เหง้า)
  22. ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก (เหง้า)
  23. ช่วยรักษาโรคในช่องท้อง มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ (เหง้า)
  24. ช่วยขับลม แก้อาการจุกเสียด (เหง้า)
  25. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ปวดมวนในท้อง อาการท้องเดิน (เหง้า) หากมีอาการท้องเดินให้ใช้เหง้านำมาปิ้งไฟให้สุกแล้วนำมาตำให้ละเอียด ใช้ผสมกับน้ำปูนใสแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มครั้งละ 3-5 ช้อนแกงหลังจากการถ่ายเนื่องจากมีอาการท้องเดิน (เหง้า)[7]
  26. ช่วยรักษาโรคท้องร่วง (เหง้า)
  27. ช่วยในการย่อยอาหาร รักษาระบบการย่อยอาหารให้เกิดความสมดุล (เหง้า)
  28. กระชายดำแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (เหง้า)
  29. ช่วยรักษาโรคบิด แก้อาการบิดเป็นมูกเลือด (เหง้า)
  30. สรรพคุณกระชายดำ ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอันเนื่องมาจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา (เหง้า)
  31. ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา แก้ปัสสาวะพิการ (เหง้า)
  32. ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี (เหง้า)
  33. ช่วยขับประจำเดือน แก้อาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี (เหง้า)
  34. เหง้าใช้โขลกผสมกับเหล้าขาวคั้นเป็นน้ำดื่ม ช่วยแก้โรคมดลูกพิการ มดลูกหย่อนได้ (เหง้า)
  35. ช่วยแก้ฝีอักเสบ (เหง้า)
  36. ช่วยรักษากลากเกลื้อน (เหง้า)
  37. ช่วยแก้อาการปวดหลัง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อ และมีอาการเหนื่อยล้า (เหง้า)
  38. ช่วยรักษาโรคปวดข้อ (เหง้า)
  39. ช่วยรักษาโรคเกาต์ (เหง้า)
  40. ช่วยแก้อาการเหน็บชา (เหง้า)
  41. กระชายดำช่วยขับพิษต่าง ๆ ในร่างกาย (เหง้า)
  42. ช่วยรักษาอาการมือเท้าเย็น (เหง้า)
  43. กระชายดำมีฤทธิ์ในการช่วยรักษาเชื้อราที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคผิวหนัง (เหง้า)
  44. เหง้าใช้ต้มกับน้ำให้สตรีหลังคลอดบุตรดื่ม จะช่วยขับน้ำนม รักษาอาการตกเลือด และช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น (เหง้า)

ประโยชน์ของกระชายดำ

ประโยชน์กระชายดำ ในปัจจุบันนอกจากเราจะใช้กระชายดำเพื่อเป็นยาสมุนไพรทั้งแบบหัวสดและแบบแห้ง ยังมีการนำไปบดเป็นผงบรรจุซองไว้ชงกับน้ำร้อนเพื่อใช้เป็นเครื่องดื่มเสริมสุขภาพ "น้ำกระชายดำ" และยังนำมาทำเป็น "ลูกอมกระชายดำ" แต่ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันก็คือการนำมาทำเป็น "ไวน์กระชายดำ" หรือนำไปผลิตเป็นยาสมุนไพร "กระชายดําแคปซูล" (แคปซูลกระชายดํา), "กระชายดําผง", "ยาน้ำกระชายดำ" หรือแปรรูปเป็น "กาแฟกระชายดํา"

ข้อควรระวังในการใช้กระชายดำ

  • ห้ามใช้กระชายดำในเด็กและในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ
  • ผลข้างเคียงของกระชายดำ การรับประทานในขนาดสูงอาจทำให้เกิดอาการใจสั่นได้
  • การรับประทานเหง้ากระชายดำติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เหงือกร่น
  • กระชายดำสามารถรับประทานได้ทั้งหญิงและชายโดยไม่เกิดผลข้างเคียงใด ๆ ยิ่งสำหรับผู้สูงอายุก็พบว่านิยมใช้กันมานานมากแล้ว
  • แม้จะมีงานวิจัยในสัตว์ทดลองที่ระบุว่ากระชายดำไม่พบว่ามีความเป็นพิษ แต่ยังไม่มีรายงานการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้กระชายดำในคน จึงควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อความปลอดภัย

อะโวคาโด

สรรพคุณและประโยชน์ของอะโวคาโด  (Avocado)

อะโวคาโดอาโวคาโดอาโวกาโดอโวคาโด้ (Avocado) หรือ ลูกเนย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Persea americana Mill จัดอยู่ในวงศ์อบเชย (LAURACEAE)

อะโวคาโดเป็นต้นไม้พื้นเมืองของเม็กซิโกในรัฐปวยบลา ในประเทศไทยมีการนำมาปลูกครั้งแรกที่จังหวัดน่าน ก่อนจะแพร่ขยายไปทั่วประเทศ โดยอะโวคาโดเป็นผลไม้ที่มีเนื้อมันเป็นเนย ลักษณะของผลจะมีรูปร่างคล้ายสาลี่ หรือรูปไข่จนถึงรูปกลม

อะโวคาโด เป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานกันมากในแถบยุโรปและอเมริกา เพราะมีสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุหลากหลายที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก แต่สำหรับบางคนแล้วกลับไม่ชอบรับประทานอะโวคาโดเอาเสียเลย เพราะเป็นผลไม้ที่ไม่มีรสหวาน และมีไขมันสูง ผลไม้ชนิดนี้จึงถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย

แม้ว่าผลอะโวคาโดน้ำหนัก 100 กรัม (ประมาณครึ่งผล) จะมีไขมันสูงถึง 14.66 กรัม ! (ถ้าเทียบกับผลไม้ชนิดอื่นจะมีไขมันน้อยมากหรือไม่มีไขมันเลย) แต่คุณทราบหรือไม่ว่าการรับประทานอะโวคาโดไม่ได้ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เมื่อเทียบกับการรับประทานไขมันอื่นในปริมาณเท่ากัน แถมการรับประทานอะโวคาโดยังช่วยลดน้ำหนักได้อีกด้วย และไม่ทำให้อ้วน แถมยังช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL) ได้อย่างชัดเจนอีกด้วย !

ประโยชน์ของอะโวคาโด

ประโยชน์ของอะโวคาโด

  1. อะโวคาโดมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นตัวช่วยปกป้องเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกายไม่ให้ถูกทำลาย
  2. ประโยชน์ของอโวคาโดอะโวคาโดเป็นผลไม้ที่สามารถช่วยลดริ้วรอยแห่งวัยได้ดีกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ จึงช่วยคงความอ่อนเยาว์ได้เป็นอย่างดี
  3. ช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้
  4. อะโวคาโดช่วยลดน้ำหนัก การรับประทานอะโวคาโดสามารถช่วยลดน้ำหนักตัวและลดระดับไขมันชนิดเลว (LDL) ลงได้อย่างชัดเจน
  5. อะโวคาโดเป็นแหล่งของกรดไขมันชนิดดี (HDL) ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก เพราะมีคุณสมบัติในการช่วยลดไขมันเลวในหลอดเลือดได้ จึงช่วยป้องกันการสะสมของไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดโอกาสเสี่ยงของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบและโรคหัวใจวาย
  6. ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้
  7. ในผลอะโวคาโดมีวิตามินซีซึ่งช่วยป้องกันหวัดได้
  8. อะโวคาโดมีสรรพคุณช่วยป้องกันการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน
  9. ช่วยป้องกันการเกิดโรคปากนกกระจอก
  10. อะโวคาโดมีโปรตีนสูงกว่าผลไม้ชนิดอื่น เป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย มีเส้นใยอาหารสูง จึงช่วยในการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี
  11. ไขมันในอะโวคาโดสามารถช่วยดูดซึมสารแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) ซึ่งเป็นตัวช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระอันทรงพลังได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นไลโคปีน เบตาแคโรทีน หรือลูทีนในผักผลไม้ต่าง ๆ
  12. การรับประทานอะโวคาโดเป็นประจำจะช่วยป้องกันและลดความถี่ของการเกิดโรคเหน็บชาได้
  13. อะโวคาโดมีประโยชน์อย่างมาก ซึ่งเหมาะให้ลูกน้อยรับประทานเป็นอาหารเสริม แม้ว่าจะมีแคลอรีสูงแต่ก็อุดมไปด้วย DHA และไขมันดี (HDL) ในปริมาณที่สูงเช่นกัน
  14. อะโวคาโด เมนูอะโวคาโดมีโฟเลตสูง ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญสำหรับหญิงตั้งครรภ์อย่างมาก เพราะจำเป็นสำหรับทารกในครรภ์
  15. น้ำมันอะโวคาโดเป็นน้ำมันที่ดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ดีที่สุดหากเทียบกับน้ำมันอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด อัลมอนด์ หรือแม้กระทั่งน้ำมันมะกอก
  16. น้ำมันอะโวคาโดสามารถนำมาใช้นวดศีรษะเพื่อช่วยเร่งการงอกของเส้นผมได้
  17. อะโวคาโด ประโยชน์นิยมรับประทานเป็นผลไม้สด หรือรับประทานร่วมกับไอศกรีม นมข้นหวาน น้ำตาล เค้ก สลัด ฯลฯ
  18. เนื้อของอะโวคาโดสามารถนำมาปรุงอาหารแทนเนยได้
  19. สามารถนำมาสกัดน้ำมันทำเป็นเครื่องสำอางได้
  20. อะโวคาโดสดสามารถใช้บำรุงผิวพรรณและเส้นผมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีผิวแห้ง ซึ่งจะช่วยทำให้คุณมีผิวพรรณที่ชุ่มชื้น เปล่งปลั่ง มีชีวิตชีวาได้