• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

อ้อยดำ

อ้อยดำ

image

ชื่ออื่นๆ  อ้อย อ้อยขม อ้อยแดง อ้อยตาแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Saccharum sinense Roxb.

ชื่อวงศ์  Graminae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 2-5 เมตร มักขึ้นเป็นกอ ลำต้นแข็งแรง ต้นมีลักษณะคล้ายต้นอ้อยทั่วไป แต่จะมีสีม่วงแดง ถึงดำ มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ลำต้นกลมยาว เห็นข้อและปล้องชัดเจน แต่ละปล้องอาจยาวหรือสั้นก็ได้ ผิวเรียบ เปลือกสีแดงอมม่วง มีตาออกตามข้อ ลำต้นแข็งเป็นมัน เนื้ออ่อน ฉ่ำน้ำ เปลือกมีรสขม น้ำไม่ค่อยหวานแหลมเหมือนอ้อยธรรมดา มักมีรากอากาศอยู่ประปราย ใบเดี่ยว ออกที่ข้อแบบเรียงสลับ และร่วงง่าย จึงพบเฉพาะปลายยอด โดยมีกาบใบโอบหุ้มข้ออยู่ ใบรูปขอบขนาน แคบยาวเรียว มีขนสากคายทั้งสองด้านของใบ แผ่นใบสีม่วงเข้ม มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 100-150 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบหุ้มลำต้น กลางใบเป็นร่อง ขอบใบจักละเอียดและคม เส้นกลางใบใหญ่ เป็นสีขาวมีขน ดอกเป็นดอกช่อใหญ่ ออกที่ปลายยอด ลำต้นจะออกดอกเมื่อแก่เต็มที่ ช่อดอกตั้งยาว 40-80 เซนติเมตร ในช่อหนึ่งมีดอกย่อยสีขาวครีม จำนวนมาก และมีขนยาว เมื่อแก่จะมีพู่ปลายเมล็ด ปลิวตามลมได้ง่าย ผลเป็นผลแห้ง ขนาดเล็ก จะออกเมื่อต้นแก่จัด

image

สรรพคุณ
ตำรายาไทย ใช้ ลำต้นทั้งสดหรือแห้ง ขับปัสสาวะ ใช้ลำต้นวันละ 1 กำมือ (สด70-90 กรัม แห้ง 30-40 กรัม หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำ รับประทาน วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) รักษาโรคนิ่ว อาการไอ แก้ไข้ คอแห้ง กระหายน้ำ แก่น ผสมกับแก่นปีบ หัวยาข้าวเย็น ต้มดื่มเป็นยาอายุวัฒนะ ยาฟอกเลือด แก้ช้ำบวม กินแก้เบาหวาน แก้ไอ ขับเสมหะ เปลือกต้น รสหวานขม แก้ตานขโมย แก้แผลเน่าเปื่อย แผลกดทับ ชานอ้อย รสจืดหวาน แก้แผลเรื้อรัง แก้ฝีอักเสบบวม ลำต้น น้ำอ้อย รสหวานขมชุ่ม แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้หืด ไอ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ไข้สัมประชวน แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไตพิการ แก้หนองใน ขับนิ่ว แก้ช้ำรั่ว แก้ท้องผูก บำรุงกระเพาะอาหาร แก้ขัดเบา บำรุงธาตุ แก้สะอึก แก้เมาค้าง ท้องผูก รักษานิ่ว บำรุงกำลัง ทำให้เจริญอาหาร เจริญธาตุ รักษาตามืดฟาง กำเดา อาการอ่อนเพลีย ผายธาตุ ตา รสหวานขม แก้ตัวร้อน แก้พิษตานซาง บำรุงธาตุน้ำ บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ ราก ใช้รักษาไส้ใหญ่แตกพิการ ทำให้วิงเวียนหน้ามืดตาลาย ทำให้เจ็บหลังเจ็บเอว ท้องอืด บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต รักษาอาการอ่อนเพลีย และรักษาเลือดลม
ตำรายาพื้นบ้านนครราชสีมา ใช้ ต้น รักษาแผลพุพอง รักษาโรคงูสวัด และขับปัสสาวะ โดยหั่นเป็นแผ่น ต้มรับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา ก่อนอาหารเช้า เย็น

เหรียง

เหรียง สรรพคุณและประโยชน์ของต้นเหรียง ลูกเหรียง

เหรียง

เหรียง ชื่อสามัญ Nitta tree

เหรียง ชื่อวิทยาศาสตร์ Parkia timoriana (DC.) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Parkia javanica auct., Parkia roxburghii G.Don) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)

สมุนไพรเหรียง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กะเหรี่ยง เรียง สะเหรี่ยง สะตือ (ภาคใต้), นะกิง นะริง (ภาคใต้-มาเลย์), เรียง เหรียง เมล็ดเหรียงเป็นต้น

เหรียง เป็นพันธุ์ไม้ที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในหมู่เกาะติมอร์และในแถบเอเชียเขตร้อน ซึ่งไล่ตั้งแต่ประเทศอินเดียไปจนถึงประเทศปาปัวนิวกินี ส่วนในประเทศไทยนั้นจะพบขึ้นได้ทั่วไปทางภาคใต้ ไล่ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป โดยมักขึ้นตามป่าดิบชื้น ในระดับพื้นที่ต่ำไปจนถึงพื้นที่สูงถึง 100 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่อาจมีบ้างที่เจริญเติบโตในระดับความสูงไม่เกิน 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล

ลักษณะของต้นเหรียง

  • ต้นเหรียง จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง มีลำต้นเป็นเปลาตรง มีความสูงได้ถึง 50 เมตร มีพูพอนสูงถึง 6 เมตร ลักษณะโดยทั่วไปจะคล้ายคลึงกับสะตอ แต่จะแตกต่างกันตรงที่พุ่มใบของต้นเหรียงมักจะเป็นพุ่มกลม ไม่แผ่กว้างมากนัก และมีพุ่มใบแน่นเป็นสีเขียวทึบกว่าพุ่มใบของสะตอ เปลือกต้นเรียบ ที่กิ่งก้านมีขนปกคลุมขึ้นอยู่ประปราย และเป็นต้นไม้ที่ชอบแสงสว่างและพื้นที่ค่อนข้างชุ่มชื้น มักจะเริ่มผลัดใบในช่วงที่ออกช่อดอก และใบจะหลุดร่วงจนหมดต้นเมื่อผลเริ่มแก่พร้อม ๆ ไปกับใบอ่อนที่จะเริ่มผลิออกมาใหม่ ส่วนวิธีการปลูกต้นเหรียงจะนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดเป็นหลัก นอกจากนี้ยังสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่น ๆ ได้อีก เช่น การตัดกิ่งปักชำและการติดตา แต่ไม่เป็นที่นิยม

ต้นเหรียง

ต้นลูกเหรียง

  • ใบเหรียง มีก้านใบยาวประมาณ 4-12 เซนติเมตร มีต่อมเป็นรูปมนยาว 3.5-5 มิลลิเมตร อยู่เหนือโคน ส่วนก้านแกนช่อใบจะยาวประมาณ 25-40 เซนติเมตร มีช่อใบแขนงด้านข้างประมาณ 18-33 คู่ ใต้รอยต่อของก้านช่อใบแขนงด้านข้างมักมีต่อมเล็ก ๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร ส่วนช่อแขนงยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร ในแต่ละช่อมีใบย่อยประมาณ 40-70 คู่ โดยใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานแคบ มีความกว้างประมาณ 5-7 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1.5-1.8 มิลลิเมตร ส่วนปลายใบแหลมโค้งไปทางด้านหน้า ฐานใบมักยื่นเป็นติ่งเล็กน้อย เส้นแขนงของใบด้านข้างไม่ปรากฏชัดเจน

ใบเหรียง

  • ดอกเหรียง ออกดอกเป็นช่อกลม มีขนาดของดอกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5 เซนติเมตร มีก้านช่อดอกยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกย่อยมีก้านดอกสั้น ๆ และมีใบประดับยาวประมาณ 4-10 มิลลิเมตรรองรับกลีบรอง กลีบดอกของดอกสมบูรณ์เพศเชื่อมติดกันเป็นหลอด โดยจะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม

รูปเหรียง

ดอกเหรียงโม่งเหรียง
  • ผลเหรียง หรือ ฝักเหรียง ผลเป็นฝักกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 22-28 เซนติเมตร ตัวฝักตรงไม่บิดเวียนเหมือนกับสะตอบางพันธุ์ และเมล็ดก็ไม่นูนอย่างชัดเจน ฝักเมื่อแก่เต็มที่เปลือกจะแข็งและมีสีดำ ในแต่ละฝักจะมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปไข่ มีขนาดประมาณ 11 x 20 เซนติเมตร หนึ่งฝักมีเมล็ดประมาณ 20 เมล็ด โดยจะออกผลหรือฝักในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม และฝักจะแก่ในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ฝักเหรียงรูปฝักเหรียง
  • เมล็ดเหรียง เปลือกเมล็ดหนามีสีดำหรือสีคล้ำ ส่วนเนื้อในเมล็ดมีสีเขียวเข้มและมีกลิ่นฉุน
รูปเมล็ดเหรียงเมล็ดเหรียง
  • ลูกเหรียง หรือ หน่อเหรียง มีลักษณะคล้ายกับถั่วงอกหัวโตแต่จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าและมีสีเขียว มีรสมันและกลิ่นฉุน เกิดมาจากการนำเมล็ดเหรียงของฝักแก่ไปเพาะในกระบะทรายเพื่อให้เมล็ดงอกรากและมีใบเลี้ยงโผล่ขึ้นมาเหมือนกับถั่วงอก จึงจะสามารถนำมารับประทานได้ (เมล็ดเหรียงนั้นมีเปลือกแข็งจึงไม่สามารถรับประทานได้โดยตรง)
ลูกเหรียงหน่อเหรียง

การเพาะลูกเหรียง

วิธีเพาะหน่อเหรียง หรือลูกเหรียง ขั้นตอนแรกให้นำเมล็ดมาตัดเป็นรอยหยักเพื่อช่วยเปิดทางให้แตกหน่อ แล้วนำไปแช่ในน้ำหนึ่งคืน หลังจากนั้นให้นำเมล็ดขึ้นมาล้างเมือกออกแล้วตั้งให้สะเด็ดน้ำ นำไปใส่กระสอบและนำไปล่อนแล้วนำไปใส่ตะกร้า ถัดมาให้นำไปแช่น้ำในตอนเช้า 1 ชั่วโมง แล้วยกขึ้นตั้งไว้และแช่ในน้ำเย็นอีก 1 ชั่วโมง เสร็จแล้วก็ยกขึ้นตั้งไว้ โดยทำแบบนี้ติดต่อกันเป็นเวลา 4 วัน เมื่อถึงเช้าวันที่ 5 ก็ให้นำเมล็ดมาแกะเอาเปลือกออก ล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำไปเพาะในกระบะทราย

สรรพคุณของเหรียง

  1. เมล็ดเหรียงมีรสมัน ช่วยบำรุงร่างกาย (เมล็ด)
  2. ช่วยทำให้เจริญอาหารได้ดี (เมล็ด)
  3. ลูกเหรียงมีวิตามินเอ วิตามินซี และแคลเซียม จึงช่วยบำรุงเหงือกและฟันให้แข็งแรง
  4. เปลือกและเมล็ดมีคุณค่าทางสมุนไพรที่ดีกว่าสะตอ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เมล็ดเพื่อเป็นยาแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง (เมล็ด)
  5. ช่วยขับลมในลำไส้ (เมล็ด)
  6. เปลือกต้นใช้เป็นยาสมานแผล ช่วยลดน้ำเหลือง (เปลือกต้น)

ประโยชน์ของต้นเหรียง

  • ลูกเหรียง หรือหน่อเหรียง หรือเมล็ดเหรียง เกิดจากการเพาะเมล็ดที่เริ่มงอก สามารถนำมารับประทานเป็นผักสดได้เช่นเดียวกับสะตอ แต่เหรียงจะมีรสที่ขมกว่า โดยใช้รับประทานสดแกล้มกับน้ำพริกหรือแกงใต้ หรือนำไปปรุงอาหาร เช่น การทำแกง แกงหมูลูกเหรียง ผัด หรือจะนำไปทำเป็นผักดองก็ได้
  • ต้นเหรียงมีลำต้นเป็นเปลาตรง มีเนื้อไม้สีขาวนวล ไม่มีแก่น เสี้ยนตรงสม่ำเสมอ มีความอ่อนและเปราะ สามารถเลื่อยผ่าได้ง่าย สามารถนำมาใช้ทำเป็นส่วนประกอบที่มีน้ำหนักเบาหรือเป็นโครงร่างของการผลิตต่าง ๆ เช่น การทำรองเท้าไม้ หีบใส่ของ ไม้หนาประกบพวกเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ เครื่องใช้สอยอื่น ๆ เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ แพ และเรือที่ขุดจากต้นไม้
  • เหรียงจัดเป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง จึงมีคุณสมบัติในการช่วยบำรุงดินได้ดี ส่วนของใบเหรียงนั้นมีขนาดเล็กจึงเหมาะแก่การนำมาใช้ปลูกควบคู่ไปกับพืชชนิดอื่น ๆ เช่น การปลูกกาแฟ ก็จะช่วยทำให้ผลผลิตของกาแฟสูงขึ้นติดต่อกัน
  • เนื่องจากต้นเหรียงสามารถเจริญเติบโตได้ดีแม้ในสภาพที่ไม่เหมาะสม จึงนิยมนำต้นเหรียงมาใช้เป็นต้นตอเพื่อใช้ในการติดตาพันธุ์สะตอ

องุ่นบราซิล

องุ่นบราซิล

องุ่นบราซิลองุ่นต้น หรือ ฌาบูชีกาบา (โปรตุเกสjabuticabaชื่อวิทยาศาสตร์Plinia cauliflora) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ชมพู่ (Myrtaceae) เป็นไม้โตช้า ไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา ใบเดี่ยว ใบอ่อนเป็นสีแดง แก่แล้วเป็นสีเขียว ดอกเป็นดอกช่อ สีขาว ผลมีลักษณะคล้ายองุ่น กลมรี ออกเป็นกระจุกแน่นตามลำต้น และกิ่งก้าน ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่เป็นสีม่วงเกือบดำ ลักษณะคล้ายผลตะขบไทย มีเมล็ดอยู่ข้างใน

ผลสุกใช้แปรรูปเป็นน้ำผลไม้ วิสกี้ ไวน์ และแชมเปญ และรับประทานสดเป็นผลไม้ในตลาดบราซิล นิยมรับประทานสด ใช้ทำแยม ทาร์ต พบสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และต้านมะเร็งในผล

ต้นหูกระจง

ต้นหูกระจง

            ประวัติความเป็นมาของต้นหูกระจง

                         ต้นหูกระจง หรือ แผ่บารมี (Terminalia ivorensis Chev.) เป็นไม้ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว และมีอายุยืน สำหรับในประเทศไทยพบต้นหูกระจงอยู่ทั้งหมด 3 สายพันธุ์ คือ หูกระจงธรรมดา หูกระจงหนาม และหูกระจงแคระ ทั้งนี้ หูกระจงธรรมดาเป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยม ในการซื้อไปปลูกเป็นไม้ประดับมากที่สุด ทั้ง ๆ ที่หูกระจงหนามมีทรงพุ่มที่สวยกว่า และใบของต้นหูกระจงหนามจะเป็นเงา และแน่นกว่าเหมาะที่จะปลูกเป็นไม้กระถาง เหตุผลที่สำคัญที่คนสนใจปลูกต้นหูกระจงหนามไม่มาก เนื่องจากความเชื่อเรื่องหนามที่ไม่เป็นมงคลต่อผู้ปลูก สำหรับหูกระจงแคระ เป็นหูกระจงที่หายากกว่าหูกระจงสายพันธุ์อื่น

        ลักษณะของต้นหูกระจง

                         ต้นหูกระจง เป็นไม้ประดับชนิดหนึ่ง ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว และมีอายุยืน ทั้งยังเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มสวยงามแตกกิ่งเป็นชั้น ๆ โดยในแต่ละชั้นจะห่างกันประมาณ 50 - 100 เซนติเมตร และใบของต้นหูกระจงหนามจะเป็นเงา และแน่นกว่าเหมาะที่จะปลูกเป็นไม้ กระถาง นอกจากนี้ แม้ต้นหูกระจงเป็นไม้ผลัดใบ แต่จะผลัดใบน้อยกว่าหูกวาง สำหรับดอกของต้นหูกระจง จะมีสีขาวคล้ายดอกกระถินณรงค์ ส่วนเมล็ดหูกระจงจะคล้ายกับเมล็ดพุทรา

         ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ 

           ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminate ivorensis A. Chev.
           ชื่อวงศ์ COMBRETACEAE
           ชื่ออื่น หูกวางแคระ
          ถิ่นกำเนิด สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (ไอเวอรี่โคสต์) ในแอฟริกา
          ลักษณะทางพฤกษศาสตร์   ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม8-10 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มแผ่เป็นชั้นๆ หนาทึบ แตกกิ่งตั้งฉากกับลำต้น เมื่อต้นโตเต็มที่ปลายกิ่งจะลู่ลง เปลือกต้นสีน้ำตาล มีรอยแตกเป็นร่อง ตามแนวยาว สีน้ำตาลอมเหลืองและมีรอยด่างขาวทั่วทั้งลำต้น

          ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่ที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง 1 -1.5ซม. ยาว 1.5-3 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบแคบ เว้า และมีต่อม 1 คู่ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาและเหนียว สีเขียวเรียบเป็นมัน ใบอ่อนสีน้ำตาลอมเขียว ก้านใบยาวประมาณ 0.4ซม.


           ดอก สีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกมีลักษณะเป็นแท่ง โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น5 แฉก รูปสามเหลี่ยม ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกสมบูรณ์เพศอยู่บริเวณโคนช่อ เกสรเพศผู้ 10 อัน

             ผล ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว รูปไข่หรือรูปรีป้อมและแบนเล็กน้อย กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-7 ซม. สีเขียว เมื่อสุกสีเหลืองอมเขียวมีเนื้อ และชั้นหุ้มเมล็ดค่อนข้างแข็งและเหนียว เมล็ดรูปรี สีน้ำตาลออกดอกติดผลเกือบตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง

      นิเวศวิทยา

                 พบปลูกเลี้ยงอยู่ทั่วไป

     วิธีการปลูกและดูแลต้นหูกระจง

                 หากต้องการปลูกต้นหูกระจงในบริเวณบ้านนั้น ควรปลูกให้ห่างตัวบ้าน เนื่องจากต้นหูกระจงมีระบบรากแข็งแรง จึงอาจส่งผลกระทบกับตัวบ้านได้ นอกจากนี้ การขยายพันธุ์ต้นหูกระจงนิยมใช้วิธีเพาะเมล็ดมากที่สุดอีกด้วย เพราะต้นหูกระจงจะเติบโตได้เร็ว 

    การดูแลต้นหูกระจง

                    เนื่องจากต้นหูกระจง เป็นต้นไม้ที่ชอบน้ำมาก ดังนั้น เมื่อนำไปปลูกในกระถางหรือลงดินแล้ว จึงควรหมั่นรดน้ำให้ชุ่ม และสม่ำเสมอ เพื่อเลี้ยงดูให้เขามีอายุยืนยาว

     การขยายพันธุ์ต้นหูกระจง

                  ส่วนใหญ่การขยายพันธุ์หูกระจงนิยมทำโดยการเพาะเมล็ด โดยการนำเอาเมล็ดหูกระจงไปแช่น้ำ จากนั้นแกะเปลือกออก โดยการเตรียมดินใส่ไว้ในหลุม เมื่อแกะเปลือกออกเรียบร้อยแล้วให้นำเมล็ดหูกระจงฝังลงไปในดินที่เตรียมไว้ รดน้ำ ใส่ปุ๋ยตามปกติ แต่การจะเพาะเมล็ดได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของเมล็ดนั้น ๆ ส่วนใหญ่แล้วการเพาะต้นหูกระจงค่อนข้างทำได้ยาก จึงทำให้มีราคาสูง

 

 

     ประโยชน์ของต้นหูกระจง

                   การใช้ประโยชน์ ต้นหูกระจงเป็นไม้ที่มีลักษณะเป็นทรงพุ่ม จึงนิยมนำมาปลูกเพื่อตกแต่งสวน หรือใช้ประดับริมถนน ตลอดจนเกาะกลางถนนเนื่องจากเป็นไม้ที่ให้ร่มเงา ทำให้บริเวณบ้านมีความร่มรื่น ช่วยบังแดดได้ดี นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่องการเสริมบารมีให้คนในบ้านมีแต่ความสุขความเจริญยิ่งขึ้นอีกด้วย

                   อย่างไรก็ตามในปัจจุบันคนในสังคมไทยยังรู้จักต้นหูกระจงไม่มากนัก และอาจจะรู้จักมากในหมู่รุ่นหลัง จึงได้จัดทำบ็อกนี้ขึ้นเพื่อการศึกษาค้นคว้าของคนรุ่นใหม่และทำให้ต้นหูกระจงนิยมปลูกในประเทศไทยมากขึ้น