• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

หลิว

หลิว สรรพคุณและประโยชน์ของต้นหลิว

หลิว

หลิว ชื่อสามัญ Weeping Willow

หลิว ชื่อวิทยาศาสตร์ Salix babylonica L. จัดอยู่ในวงศ์สนุ่น (SALICACEAE)

สมุนไพรหลิว มีชื่อเรียกอื่นว่า ลิ้ว (จีนแต้จิ๋ว), หยั่งลิ้ว หลิว (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของต้นหลิว

  • ต้นหลิว มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูงของลำต้นประมาณ 10-20 เมตร เรือนยอดโปร่ง เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาล กิ่งก้านสาขาเป็นสีเขียวหรือสีน้ำตาลอ่อน มีลักษณะห้อยลู่ลง ตามกิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นเล็กน้อย พรรณไม้ชนิดนี้จัดเป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่งและวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกประเภท มักขึ้นอยู่ตามริมแม่น้ำ

ต้นหลิว

รูปหลิว

รูปต้นหลิว

  • ใบหลิว ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกแคบยาวรี ปลายใบยาวแหลมเรียว โคนใบแหลม ส่วนขอบใบหยักเล็กน้อยหรือเป็นจักละเอียดเกลี้ยง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-6 นิ้ว และยาวประมาณ 3.5-6.5 นิ้ว หลังใบเป็นสีเขียว ส่วนท้องใบเป็นสีขาว มีก้านใบยาวประมาณ 6-12 มิลลิเมตร

ใบหลิว

  • ดอกหลิว ออกเป็นดอกเดี่ยว ดอกเป็นแบบแยกเพศ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละต้น โดยดอกเพศผู้จะมีขนาดยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ดอกไม่มีกลีบดอก

ดอกหลิว

สรรพคุณของต้นหลิว

  1. ช่อดอกและยอดอ่อนสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาลดไข้ (ช่อดอกและยอดอ่อน)
  2. กิ่งแห้งนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาช่วยขับลมได้ (กิ่ง)
  3. ใช้เป็นยาแก้ขัดเบา ช่วยขับนิ่ว ขับปัสสาวะ ด้วยการใช้กิ่งแห้งนำมาต้มเอาน้ำกิน (กิ่ง)
  4. กิ่งแห้งนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ตับอักเสบ (กิ่ง) ในการใช้ป้องกันโรคตับอักเสบชนิดเอ ให้ใช้กิ่งและใบสดประมาณ 60 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน โดยแบ่งกินเป็น 2 ครั้ง ติดต่อกัน 7 วัน (กิ่งและใบ)
  5. ช่วยแก้อาการบวมน้ำ ด้วยการใช้กิ่งแห้งนำมาต้มเอาน้ำกิน (กิ่ง)
  6. ใช้รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการนำกิ่งสดมาเผาไฟจนเป็นถ่าน แล้วนำมาบดให้เป็นผงละเอียด ร่อนผงผสมกับน้ำมันงาทำเป็นขี้ผึ้งเหลว ใช้เป็นยาทาบริเวณแผล เมื่อทาไปประมาณ 3-4 ชั่วโมง แผลจะค่อย ๆ แห้งตกสะเก็ดและรู้สึกเจ็บ และให้ทาซ้ำบริเวณแผลให้ชุ่ม อย่าเช็ดยาบนแผลออกเด็ดขาด เวลาเปลี่ยนยาก็ให้ทาซ้ำไปเลย ปล่อยให้สะเก็ดแผลหลุดเอง โดยให้ทายานี้วันละ 1-2 ครั้ง และไม่ต้องปิดแผล โดยยานี้สามารถใช้รักษาแผลไฟไหม้ระดับสองได้ผลดีมาก (ลวกถึงชั้นหนังแท้ ผิวหนังทำลายและพองทั่วไป) หากรักษาติดต่อกัน 3-14 วัน แผลจะหายเป็นปกติ (กิ่ง)
  7. กิ่งแห้งนำมาเผาไฟให้เป็นเถ้า แล้วเอาน้ำผสมใช้เป็นยาทารักษาบริเวณที่เป็นฝีคัณฑสูตร รำมะนาด และไฟลามทุ่ง (กิ่ง)
  8. ช่อดอกและยอดอ่อน ใช้แบบสดนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ปวด (ช่อดอกและยอดอ่อน)
  9. กิ่งแห้งนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้โรคปวดตามข้อ (กิ่ง)

ประโยชน์ของหลิว

  1. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป
  2. มีข้อมูลระบุว่า ต้นหลิวเป็นสัญลักษณ์ของโชคลาภ ความสุข ความร่ำรวย การได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง และหลิวยังเป็นพืชวิเศษที่ชาวจีนเคารพบูชาอีกด้วย (คนจีนไม่นิยมปลูกต้นหลิวไว้ในบ้าน เนื่องจากใบหลิวมีลักษณะลู่ห้อยลงมา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคนโศกเศร้า ดูแล้วทำให้อารมณ์เศร้าซึม ว่ากันว่าบ้านใดมีลูกสาวและปลูกต้นหลิวไว้ในบ้าน ลูกสาวบ้านนั้นจะไม่มีคนมาสู่ขอ)
  3. กิ่งหลิวสามารถนำมาใช้เตรียมเป็นผงถ่านพิเศษหรือกัมมันต์ได้ดี (Activated Charcoal)
  4. สาร salicin ที่สกัดได้จากต้นหลิวมีผลในการระงับอาการไข้และแก้ปวด จึงมีการนำสารชนิดนี้มาใช้เป็นแหล่งกำเนิดของกรดชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Acetyl salicylic acid ซึ่งใช้เป็นสารที่ใช้สำหรับทำยาแอสไพริน (Aspirin) หรือยาแก้ปวด รักษาอาการไข้ (ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถทำการสังเคราะห์ยาแอสไพรินขึ้นมาได้เอง โดยมีคุณสมบัติเหมือนกับสาร salicin ในต้นหลิว)

ปริศนา

ต้นปริศนา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Linociera macrophyll WALL (Chionanthus ramiflora)

ชื่อวงศ์ OLERACEAE

ชื่อสามัญ Nothern olive, Native olive

ชื่ออื่นๆ อวบดำ ตาไซใบใหญ่ พลู่มะลี โว่โพ่ หว้าชั้น เกลื่อน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ผลัดใบ ผิวเรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้น เปลือกสีน้ำตาล

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานหรือรูปรี กว้าง 3.5-7 เซนติเมตร ยาว 9-25 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบหนา ผิวเกลี้ยง สีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 1.2-3 เซนติเมตร

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ดอกสีขาวนวล กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ รูปใบหอก เกสรเพศผู้ 2 เกสร ไม่มีก้านชูอับเรณู ยอดเกสรเพศเมียมี 2 พู มีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี

ผล ผลสด รูปไข่หรือขอบขนาน ปลายมน ผิวเกลี้ยง เนื้อบาง ก้านผลอวบสั้น โคนผลมีชั้น ผลสุกสีม่วงดำ

ข้อมูลทั่วไป

มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชีย

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์

การปลูกเลี้ยง

ดินทุกชนิด ต้องการน้ำมาก ชอบแดดปานกลาง

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

การใช้ประโยชน์

มีสรรพคุณทางยา เป็นไม้มงคล ปลูกประดับสวน

พิลังกาสา

พิลังกาสา สรรพคุณและประโยชน์ของต้นพิลังกาสา

พิลังกาสา

พิลังกาสา ชื่อวิทยาศาสตร์ Ardisia polycephala Wall. ex A.DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Tinus polycephala (Wall. ex A. DC.) Kuntze)[4],[6] จัดอยู่ในวงศ์ PRIMULACEAE (MYRSINACEAE)

สมุนไพรพิลังกาสา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักจำ ผักจ้ำแดง (เชียงใหม่, เชียงราย), ตีนจำ (เลย), ลังพิสา (ตราด), ทุรังกาสา (ชมพร), ราม (สงขลา), ปือนา (มลายู-นราธิวาส), พิลังกาสา (ทั่วไป), จิงจ้ำ, จ้ำก้อง, มะจ้ำใหญ่, ตาปลาราม, ตาเป็ด, ทุกังสา, มาตาอาแย เป็นต้น

หมายเหตุ : ในพืชวงศ์เดียวกัน "พิลังกาสา" ยังเป็นชื่อพ้องของพรรณไม้อีกหลายชนิด เช่น พิลังกาสาชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ardisia elliptica Thunb. ซึ่งในชนิดนี้เราจะเรียกว่า "รามใหญ่" (มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่คล้ายคลึงกับพิลังกาสามาก และยังมีสรรพคุณทางยาที่เหมือนกันหลายอย่าง สามารถอ่านได้ที่บทความ รามใหญ่) และพิลังกาสาชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ardisia sanguinolenta Blume (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ardisia colorata Roxb.) ชนิดนี้โดยทั่วไปแล้วจะเรียกว่า "มะจ้ำก้อง" สามารถอ่านได้ที่บทความ มะจ้ำก้อง

ลักษณะของพิลังกาสา

  • ต้นพิลังกาสา เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตั้งแต่หมู่เกาะริวกิวของประเทศญี่ปุ่น และกระจายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงอินเดียภาคใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม มีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาออกรอบต้น แต่ไม่มากนัก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ชอบดินทรายหรือดินเหนียว แต่ไม่ชอบดินแฉะ โดยจะพบพรรณไม้ชนิดนี้ได้ตามป่าราบและมีประปรายอยู่ทั่วไป บ้างว่าพบได้ตามป่าโปร่ง ป่าดิบเขาทั่วไป ที่ราบสูง

ต้นพิลังกาสา

  • ใบพิลังกาสา ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นคู่ ๆ ตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบไม่มีจัก แผ่นใบเป็นสีเขียวมัน มีลักษณะหนาและใหญ่ ส่วนยอดอ่อนเป็นสีแดง

ใบพิลังกาสา

  • ดอกพิลังกาสา ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือตามส่วนของยอด ดอกเป็นสีเหลืองนวล บ้างว่าเป็นสีชมพูอมขาว หรือสีขาวแกมชมพู เมื่อดอกบานเต็มที่จะมี 5 แฉก คล้ายรูปดาว

ดอกพิลังกาสา

ดอกพิลังกาสา

  • ผลพิลังกาสา ผลมีลักษณะกลมโต มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 เซนติเมตร ออกผลเป็นกระจุกมีก้านช่อยาวห้อยย้อยลง และก้านผลยาวเรียงสลับรอบก้านช่อ ผลอ่อนเป็นสีแดง เมื่อแก่หรือสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ

ผลพิลังกาสา

สรรพคุณของพิลังกาสา

  1. ผลสุกนำมาตากแห้งบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง แล้วปั้นเป็นลูกกลอนกิน หรือใช้ผงยา 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำครึ่งแก้วดื่มช่วยบำรุงโลหิต (ผล)
  2. ช่วยแก้ธาตุพิการ (ผล)
  3. ผลใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ในกองอติสารโรค (ผล)
  4. ใบมีรสร้อน ช่วยแก้อาการไอ (ใบ)
  5. ใบใช้เป็นยาแก้ลม (ใบ)
  1. ช่วยแก้ปอดพิการ (ใบ)
  2. ใบและผลช่วยแก้ท้องเสีย (ใบ, ผล)
  3. ดอกใช้เป็นยาแก้พยาธิ (ดอก)
  4. รากใช้เป็นยาแก้กามโรค หนองใน (ราก)
  5. ช่วยแก้โรคระดูของสตรี ด้วยการนำผลสุกมาตากแห้งบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง แล้วปั้นเป็นลูกกลอนกิน (ผล)
  6. ใบใช้เป็นยารักษาโรคตับพิการ (ใบ)
  7. รากใช้เป็นยาพอกปิดแผล ถอนพิษงูกัด แก้พิษงู หรือใช้กากพอกแผล เอาน้ำกิน (ราก)
  8. เมล็ดช่วยแก้ลมพิษ (เมล็ด, ผล)
  9. ดอกใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค (ดอก)
  10. ต้นใช้เป็นยาฆ่าพยาธิผิวหนัง (ต้น)
  11. ต้นใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อน กุฏฐัง (ต้น) ส่วนผลใช้แก้โรคเรื้อน (ผล)

ประโยชน์ของพิลังกาสา

  • ผลอ่อน ใบอ่อน ยอดอ่อนมีรสชาติฝาดมัน เปรี้ยวอมหวาน ใช้รับประทานเป็นผักเหนาะได้
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยได้นำผลสุกของพิลังกาสามาทำเป็น "ไวน์พิลังกาสา" และได้นำไวน์นั้นไปตรวจวิเคราะห์ พบว่ามีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin), สารฟีโนลิค (Phenolic) และฟลาโวนอยด์ (Phenolic flavannoid) สูง จึงเหมาะจะส่งเสริมทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้ เนื่องจากสารเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันเส้นเลือดตีบและเส้นเลือดอุดตัน ฯลฯ
  • ผลของพิลังกาสาสุกจะเป็นสีม่วงเข้มจนเกือบดำ โดยสีม่วงนี้จะมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระไปทำลายเซลล์ในร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดในสมองอุดตัน นอกจากนี้ยังช่วยยับยั้งเชื้ออีโคไล (E. coli) ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคท้องร่วงและอาหารเป็นพิษได้อีกด้วย
  • ต้นพิลังกาสาเป็นที่นิยมในการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามสถานที่ราชการหรือตามสวนสาธารณะทั่วไป เพาะปลูกได้ง่าย อีกทั้งดอกยังมีความสวยงามและออกดอกดกเป็นกลุ่มใหญ่

ชงโค

ชงโค สรรพคุณและประโยชน์ของชงโค

ชงโค ชื่อสามัญ Orchid tree, Purple orchid tree, Butterfly tree, Purple bauhinia, Hong kong orchid tree

ชงโค ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia purpurea L. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

สมุนไพรชงโค มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ดอกตีนวัว, เสี้ยวหวาน กะเฮอ สะเปซี (แม่ฮ่องสอน), เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ), ชงโค เสี้ยวเลื่อย (ภาคใต้) เป็นต้น โดยเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศจีน รวมไปถึงฮ่องกง และทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะของต้นชงโค

ชงโค เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ลักษณะของใบชงโคเป็นใบเดี่ยวคล้ายรูปหัวใจ ปลายของใบเว้าลึกมาก ปลายใบทั้งสองด้านกลมมนดูคล้ายใบแฝดติดกัน (คล้าย ๆ กับใบกาหลง) ส่วนลักษณะของผลจะเป็นฝักแบนคล้ายฝักถั่ว กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร เมล็ดในฝักค่อนข้างแบน ฝักแก่จะแตกออกเป็นสองซีกตามความยาวของฝัก โดยเป็นต้นไม้ที่ผลัดใบในช่วงฤดูหนาว (ปลายปี) แล้วจะผลิใบในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม และเป็นต้นไม้ที่ชอบแสงแดด การเพาะปลูกจึงนิยมปลูกในที่มีแสงแดดตลอดทั้งวัน

ชงโคสรรพคุณ

ชงโคต้นชงโคประโยชน์ของชงโค

ลักษณะของดอกชงโค ดอกจะมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ โดยจะออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกประมาณ 6-10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบ 5 กลีบ โดยกลีบดอกจะมีสีชมพูถึงสีม่วงแดง ลักษณะของดอกจะคล้ายกับดอกกล้วยไม้ เมื่อบานเต็มที่ดอกชงโคจะกว้างประมาณ 7-9 เซนติเมตร ตรงกลางของดอกจะมีเกสรตัวผู้เป็นเส้นยาว 5 เส้น ยื่นออกไปด้านหน้า โค้งขึ้นด้านบน และมีเกสรตัวเมียอยู่ตรงกลาง 1 เส้น ยาวกว่าเกสรตัวผู้

ประวัติต้นชงโค ชื่อของชงโคนั้นมาจากใบชงโคมีลักษณะเป็นใบแฝดติดกันคล้ายรอยเท้าวัว สำหรับบ้านเรายังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร สาเหตุอาจมาจากชื่อที่ยังไม่ไพเราะ มีความหมายดีถูกใจคนไทยก็เป็นได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามต้นชงโคก็จัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง เพราะสำหรับชาวฮินดูแล้วถือว่าต้นชงโคเป็นต้นไม้ของสวรรค์ที่อยู่ในเทวโลก และยังนับถือว่าเป็นต้นไม้ของพระลักษมี (พระชายาของพระนารายณ์) จึงควรค่าแก่การเคารพบูชาและปลูกไว้ในบริเวณบ้านหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในฐานะต้นไม้ประดับ นอกจากนี้ยังเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่าง ๆ อีกหลายโรงเรียน เช่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, โรงเรียนเทพลีลา, โรงเรียนปิยะบุตร์ ฯลฯ 

ชงโคฮอลแลนด์หรือชงโคออสเตรเลีย เป็นลูกผสมระหว่าง "ชงโค" กับ "เสี้ยว" เป็นชื่อที่ตั้งมาใช้ในทางการค้าเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ ช่วยทำให้ซื้อง่ายขายคล่อง และไม่ได้เป็นพันธุ์ไม้ที่มาจากประเทศฮอลแลนด์หรือออสเตรเลียหรือมีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด โดยจะมีความแตกต่างกับชงโคทั่วไป โดยจะมีลักษณะเด่นตรงที่มีขนาดของดอกที่ใหญ่กว่า กลีบดอกใหญ่กว่า มีสีสันสดใสกว่าเล็กน้อย

ชงโคฮอลแลนด์

ประโยชน์ของชงโค

  1. ใบชงโคนำไปต้มช่วยรักษาอาการไอได้ (ใบ)
  2. ช่วยแก้พิษไข้ร้อนจากเลือดและน้ำดี (ดอก)
  3. ชงโคมีสรรพคุณใช้เป็นยาระบาย (ดอก, ราก)
  4. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (เปลือกต้น)
  5. ช่วยแก้อาการท้องร่วง (เปลือกต้น)
  6. ช่วยแก้บิด (ดอก, แก่น, เปลือกต้น)
  7. ช่วยขับลมในกระเพาะ (ราก)
  8. ช่วยขับปัสสาวะ (ใบ)
  9. ใบชงโคใช้พอกฝีและแผลได้ (ใบ)
  10. มักปลูกไว้เป็นไม้ดอกไม้ประดับบ้านและสวน เพื่อความสวยงาม ให้กลิ่นหอมชื่นใจ