• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

ประดู่

ประดู่ สรรพคุณและประโยชน์ของต้นประดู่บ้าน 

ประดู่

ประดู่

ประดู่ ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood

 

ประดู่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus Willd. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)

สมุนไพรประดู่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ดู่บ้าน (ภาคเหนือ), ประดู่บ้าน ประดู่ลาย ประดู่กิ่งอ่อน อังสนา (ภาคกลาง), สะโน (มาเลย์-นราธิวาส), ดู่, ประดู่ป่า, ประดู่ไทย เป็นต้น

ลักษณะของต้นประดู่

  • ต้นประดู่ เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย และอยู่ในแถบอันดามัน มัทราช เบงกอล ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ต้นประดู่จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูงประมาณ 20-25 เมตร หรืออาจสูงกว่า จะผลัดใบก่อนการออกดอก แตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่มกว้าง และปลายกิ่งห้อยลง เปลือกลำต้นหนาเป็นสีน้ำตาลเทา แตกหยาบ ๆ เป็นร่องลึก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ต้องการน้ำปานกลาง เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทางภาคใต้ สามารถปลูกได้ทั่วไป

ต้นประดู่

ต้นประดู่บ้าน

  • ใบประดู่ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกรวมกันเป็นช่อ ๆ ใบออกเรียงสลับ แต่ละช่อจะมีใบย่อยประมาณ 7-13 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปมนรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือค่อนข้างแหลม ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-13 เซนติเมตร แผ่นใบหนาเป็นสีเขียว ผิวใบมีขนสั้น ๆ ปกคลุมด้านท้องใบมากกว่าด้านหลังใบ ก้านใบอ่อนมีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย เส้นแขนงใบถี่โค้งไปตามรูปใบ เป็นระเบียบ โคนก้านใบมีหูใบ 2 อัน ลักษณะเป็นเส้นยาว

ใบประดู่

  • ดอกประดู่ ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ โดยจะออกบริเวณซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง โคนก้านมีใบประดับ 1-2 อัน ลักษณะเป็นรูปรี กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ติดกันเป็นถ้วยสีเขียว ปลายแยกเป็นแฉก 2 แฉก แบ่งเป็นอันบน 2 กลีบติดกัน และอันล่าง 3 กลีบติดกัน ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ สีเหลืองแกมแสด ลักษณะของกลีบเป็นรูปผีเสื้อ ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูติดกันเป็น 2-3 กลุ่ม ส่วนเกสรเพศเมียมี 1 อัน ดอกมีกลิ่นหอมแรง จะบานและร่วงพร้อมกันทั้งต้น โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน

ประดู่บ้าน

ดอกประดู่

  • ผลประดู่ ผลเป็นผลแห้งแบบ samaroid ลักษณะของผลเป็นรูปกลมหรือรีแบน ที่ขอบมีปีกบางคล้ายกับใบโดยรอบคล้าย ๆ จานบิน แผ่นปีกบิดและเป็นคลื่นเล็กน้อย นูนตรงกลางลาดไปยังปีก ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-7 เซนติเมตร ส่วนบริเวณปีกยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ที่ผิวมีขนละเอียด ตรงกลางนูนป่องเป็นที่อยู่ของเมล็ด โดยภายในจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด เมล็ดมีความนูนประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียวแกมเหลือง เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ผิวสัมผัสขรุขระเมื่อผลแก่ ส่วนเมล็ดมีลักษณะคล้ายกับเมล็ดถั่วแดง ผิวเรียบสีน้ำตาล ยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร

ผลประดู่

ผลประดู่บ้าน

เมล็ดประดู่

หมายเหตุ : ต้นประดู่ชนิดนี้ (ต้นประดู่บ้าน) เป็นต้นประดู่ที่พบเห็นได้ทั่วไป และเป็นพรรณไม้คนละชนิดกันกับต้นประดู่ดั้งเดิมของไทยหรือที่คนทั่วไปเรียกว่า "ต้นประดู่ป่า" (Pterocarpus macrocarpus Kurz.)

สรรพคุณของประดู่

  1. เปลือกต้นมีรสฝาดจัด มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย (เปลือกต้น)
  2. แก่นเนื้อไม้ประดู่ มีรสขมฝาดร้อน มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงธาตุในร่างกาย (แก่น)
  3. แก่นเนื้อไม้ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ แก้พิษไข้ (แก่น) ส่วนรากใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้พิษไข้ (ราก)
  4. แก่นเนื้อไม้ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้เสมหะ (แก่น)
  5. ใบนำมาตากแห้งใช้ชงกับน้ำร้อนเป็นชาใบประดู่ นำมาดื่มจะช่วยบรรเทาอาการระคายคอได้ (ใบ)
  6. ช่วยแก้เลือดกำเดาไหล ด้วยการใช้แก่นเนื้อไม้นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยา (แก่น)
  7. ผลมีรสฝาดสมาน มีสรรพคุณเป็นยาแก้อาเจียน (ผล)
  8. เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้ปากเปื่อย ปากแตก (เปลือกต้น)ส่วนยางก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคปากเปื่อยได้เช่นกัน (ยาง)
  9. ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องร่วง (ผล)
  10. เปลือกต้นและยางมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการท้องเสีย (เปลือกต้น, ยาง)
  11. ใช้เป็นยาแก้โรคบิด (เปลือกต้น)
  12. แก่นมีสรรพคุณเป็นยาขับยาเสมหะ (แก่น)
  13. ใบอ่อนนำมาตำให้ละเอียด ใช้เป็นยาพอกแผล พอกฝี จะช่วยทำให้ฝีสุกหรือแห้งเร็ว (ใบอ่อน)
  14. ใบอ่อนใช้ตำพอกแก้ผดผื่นคัน (ใบอ่อน) ส่วนแก่นก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ผื่นคันเช่นกัน (แก่น)
  15. ยางไม้ประดู่มีสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "Gum Kino" สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้โรคท้องเสียได้ (ยางไม้)
  16. แก่นเนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้โรคคุดทะราด ด้วยการนำแก่นไม้มาต้มกับน้ำกิน (แก่น)
  17. เปลือกต้นมีรสฝาด มีสรรพคุณเป็นยาสมานบาดแผล (เปลือกต้น)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของประดู่

  • เมื่อนำส่วนของเปลือก ราก และใบมาสกัดด้วยตัวทำละลาย พบว่าสารที่พบได้ในทุกส่วนของประดู่ คือ Flavonoid Tannin และ Saponin ส่วนสารสำคัญที่ได้จากการค้นคว้าข้อมูลอื่น พบว่ามีสาร Angiolensin Homopterocarpin, Formonoetin, Isoliquirtigenin, Narrin , Pterostilben, Pterocarpin, Pterofuran, Pterocarpon, Prunetin, Santalin, P-hydroxyhydratropic acid, β-eudesmol ส่วนใบพบว่ามีคลอโรฟิลล์ 3 ชนิด คือ Chlorophyll a Chlorophyll b และ Xanthophyll
  • ประดู่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย แก้อาการปวด ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว ยับยั้งการแบ่งเซลล์ ยับยั้งเอนไซม์ Ornithine decarboxylase และยับยั้ง Plasmin ฤทธิ์คล้ายเลคติน ทำให้เม็ดเลือดแดงเกาะกลุ่มกัน
  • จากการทดสอบความเป็นพิษ โดยใช้สารสกัดด้วยเอทานอลจากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นประดู่ 50% เมื่อนำมาฉีดเข้าท้องของหนูถีบจักรทดลอง พบว่าขนาดที่ทำให้หนูตายคือขนาดมากกว่า 1 กรัม

ประโยชน์ของต้นประดู่

  1. ใบอ่อนและดอกประดู่สามารถนำมาลวกรับประทานเป็นอาหารได้ และยังสามารถนำมาชุบแป้งทอดรับประทานกับน้ำจิ้มเป็นอาหารว่างได้อีกด้วย
  2. ไม้ประดู่ เป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ มีคุณภาพดี เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง เนื้อละเอียดปานกลาง ปลวกไม่ทำลาย สีสวย มีลวดลายสวยงาม ตกแต่งขัดเงาได้ดี นิยมนำมาใช้สร้างบ้านเรือน ทำฝาบ้าน พื้นบ้าน ทำเสา ทำคาน ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือนต่าง ๆ หรือนำมาใช้ทำเกวียน ทำเรือคานและเรือทั่ว ๆ ไป รวมทั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ของเรือด้วย เพราะไม้ประดู่มีคุณสมบัติทนน้ำเค็ม ทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ด้ามมีด จานรองแก้ว ทัพพี ฯลฯ เครื่องดนตรี เช่น ซอด้วง ระนาด เป็นต้น นอกจากนี้ประดู่บางต้นยังเกิดปุ่มตามลำต้น หรือที่เรียกว่า "ปุ่มประดู่" จึงทำให้ได้เนื้อไม้ที่มีคุณภาพสูงและงดงาม แต่จะมีราคาแพงมากและหาได้ยาก นิยมนำมาใช้ทำเครื่องเรือนและเครื่องมือเครื่องใช้ได้อย่างดีเยี่ยม

ผักเชียงดา

 สรรพคุณประโยชน์ของผักเชียงดา

ผักเชียงดา

ผักเชียงดา

ผักเชียงดา ชื่อวิทยาศาสตร์ Gymnema inodorum (Lour.) Decne. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)

ผักเชียงดา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เชียงดา, เจียงดา, ผักเจียงดา, ผักเซียงดา, ผักกูด, ผักจินดา, ผักเซ่งดา, ผักม้วนไก่, ผักเซ็ง, ผักว้น, ผักฮ่อนไก่, ผักอีฮ่วน, เครือจันปา เป็นต้น

ลักษณะของผักเชียงดา

  • ต้นผักเชียงดา จัดเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุข้ามปี ความยาวของเถาขึ้นอยู่กับอายุ ลำต้นเป็นสีเขียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-5 เซนติเมตร ทุกส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นจะมีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ระบายน้ำดี เป็นผักพื้นบ้านที่ชาวเหนือในแถบจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา นิยมปลูกไว้หน้าบ้านเพื่อนำยอดไปประกอบอาหารส่วนในต่างประเทศพบได้ที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา เวียดนาม มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน และแอฟริกา

ต้นผักเชียงดา

ใบผักเชียงดา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกจากข้อเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปกลมรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 9-11 เซนติเมตร และยาวประมาณ 14.5-18.5 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีอ่อนกว่า ผิวใบเรียบไม่มีขน ก้านใบยาวประมาณ 3.5-6 เซนติเมตร

ใบผักเชียงดา

ดอกผักเชียงดา ออกดอกเป็นช่อแน่นสีขาวอมเขียวอ่อน ดอกย่อยมีขนาดเล็กกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-6 มิลลิเมตร

ดอกผักเชียงดา

ผลผักเชียงดา ออกผลเป็นฝัก

ผลผักเชียงดา

สรรพคุณของผักเชียงดา

  1. ผักเชียงดามีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุ ช่วยป้องกันการแตกของเม็ดเลือดแดง และการเสียของ DNA ข้ออักเสบรูมาตอยด์และเกาต์
  2. ผักเชียงดามีสารออกฤทธิ์ที่ช่วยควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติและชาวบ้านยังนิยมกินผักเชียงดาหน้าร้อน เพื่อช่วยลดความร้อนในร่างกายอีกด้วย
  3. หมอยาพื้นบ้านในจังหวัดจะใช้ผักเชียงดาเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อยอันเนื่องมาจากการทำงาน
  4. ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  5. ช่วยชำระล้างสารพิษตกค้างในร่างกาย
  1. ใช้รักษาเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้สมดุล ช่วยสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ตับอ่อน ด้วยการนำผักเชียงดามาปรุงเป็นอาหารรับประทาน จากการศึกษาพบว่า การรับประทานผงผักเชียงดาก่อนอาหารประมาณวันละ 8-12 กรัม (แบ่งการรับประทานเป็น 3 มื้อ มื้อละ 4 กรัม) จะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานให้เป็นปกติได้ หรือจะรับประทานเป็นผักสดอย่างน้อยวันละประมาณ 50-100 กรัม หรือ 1 ขีด ก็สามารถช่วยป้องกันและบำบัดโรคเบาหวานได้เช่นกัน[5]
  2. ช่วยควบคุมและปรับระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ
  3. ช่วยลดและควบคุมปริมาณไขมันในร่างกายให้สมดุล
  4. ผักเชียงดาสามารถนำไปใช้ลดน้ำหนักได้ เพราะผักชนิดนี้สามารถช่วยให้มีการนำน้ำตาลไปเผาผลาญมากกว่าการนำไปสร้างเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีรายงานว่า ผักเชียงดาสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริง
  5. ผักเชียงดามีสรรพคุณช่วยบำรุงสายตา แก้ตาฝ้าฟาง มีอาการเคืองตา เนื่องจากผักชนิดนี้มีวิตามินสูง
  6. ช่วยแก้หูชั้นกลางอักเสบ (ต้น)
  7. ใบนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกบริเวณกระหม่อมเพื่อรักษาไข้ อาการหวัด ปรุงเป็นยาลดไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ หรือนำไปประกอบในตำรายาแก้ไข้อื่น ๆ
  8. ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ (ผล)
  9. ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้และหอบหืด
  10. ต้นสรรพคุณเป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ แก้ไอ แก้ปอดอักเสบ (ต้น)
  11. ช่วยแก้โรคบิด (ต้น)
  12. การรับประทานผักเชียงดาใบแก่ จะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น และชาวบ้านยังนิยมนำมาแกงรวมกับผักตำลึงและยอดชะอมเพื่อใช้รักษาอาการท้องผูกอีกด้วย
  13. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ต้น)
  14. ต้นแห้งหรือต้นสดใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น)
  15. ช่วยขับระดูของสตรี
  16. ช่วยฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรง ช่วยบำรุงและปรับสภาพการทำงานของตับอ่อนให้เป็นปกติ
  17. ช่วยบำรุงและซ่อมแซมหมวกไต และระบบการทำงานของไตให้สมบูรณ์
  18. ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (ต้น)
  19. ใบใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนังทุกชนิด ทำให้น้ำเหลืองแห้ง และแก้กามโรค
  20. ใบสดใช้ตำพอกฝีหรือหัวลำมะลอก งูสวัด เริม ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน
  21. หัวมีรสมันขม มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษอักเสบ พิษร้อน ช่วยดับพิษกาฬ แก้พิษไข้เซื่องซึม และแก้เริม (หัว)
  22. ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อจากโรคเกาต์
  23. ในบ้านเรามีการใช้ผักเชียงดาเป็นทั้งยาสมุนไพรและเป็นอาหารเพื่อรักษาโรคโดยกลุ่มหมอเมืองทางภาคเหนือมานานแล้ว กล่าวคือ การใช้เป็น "ยาแก้หลวง" (คล้ายยาครอบจักรวาลของแผนปัจจุบัน) ถ้าคิดไม่ออกก็บอกผักเชียงดา เช่น แก้เบาหวาน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ตัวร้อน แก้ไข้สันนิบาต (ชักกระตุก) แก้หวัด ภูมิแพ้ หอบหืด แก้แพ้ยา แพ้อาหาร ปวดข้อ เป็นยาระบาย ช่วยระงับประสาท หรือเมื่อมีอาการคิดมากหรือจิตฟั่นเฟือน ฯลฯ ส่วนการนำมาใช้เป็นยาก็ให้นำผักเชียงดามาสับแล้วนำไปตากแห้งบดเป็นผง ใช้ชงเป็นชาดื่ม หรือจะนำมาบรรจุลงในแคปซูลก็ได้

หมายเหตุ : การนำมาใช้เป็นยาในหน้าแล้ง ให้ใช้รากมาทำยา ส่วนในหน้าฝนให้ใช้ส่วนของเถาและใบ โดยนำมาสับตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง ใช้ชงเป็นชาดื่ม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักเชียงดา

  • สารสำคัญ ได้แก่ สาร Vioflavonoid สารในกลุ่ม Carotenoid (ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดต้อกระจก) มี Flavonoid, คาเทชิน, โปรแอนโทไซนานิดิน (Proanthocyanidin), มีสารต้านอนุมูลอิสระ คือ Curcumin, Furmeric, เบต้าแคโรทีน, และมีวิตามินซีมากกว่าแคร์รอต
  • จากการศึกษาผลของผักเชียงดาในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี พบว่า การดื่มชาผักเชียงดาภายใน 15 นาทีหลังจากได้รับสารละลายกลูโคส จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับตอนที่ไม่ได้ดื่มชาผักเชียงดา ส่วนฤทธิ์การลดระดับน้ำตาลในเลือดนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณของผักเชียงดาด้วย และเมื่อให้อาสาสมัครดื่มชาเป็นระยะเวลา 28 วัน ก็ไม่พบว่ามีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และไม่พบการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของตับ แต่การให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 12 ราย ดื่มชาผักเชียงดาหลังอาหารวันละ 3 มื้อเพิ่มเติมจากยาเบาหวานที่ได้รับ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ตลอดจนไม่กระทบต่อการทำงานของตับและไต และไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงแต่อย่างใด แต่การศึกษานี้ยังมีข้อจำกัดคือจำนวนของผู้ป่วยและระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาที่มีค่อนข้างน้อย จึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมและประเมินผลต่อไป
  • ผักเชียงดามี Gymnemic acid (สกัดมาจากส่วนรากและใบของผักเชียงดา) โดยสารชนิดนี้มีลักษณะโครงสร้างเหมือนน้ำตาลกลูโคส จึงเข้าไปจับกับตัวรับที่ลำไส้แทนโมเลกุลของกลูโคส และช่วยสกัดกั้นสารน้ำตาลตัวจริงที่เข้ามาสู่ร่างกายได้ และยังสามารถช่วยควบคุมสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดที่พึ่งอินซูลินและชนิดไม่พึ่งอินซูลิน โดยมีรายงานว่า มีผู้ป่วย "บางราย" สามารถรับประทานผักเชียงดาเพียงอย่างเดียวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้โดยไม่ต้องพึ่งยาแผนปัจจุบัน เนื่องจากผักชนิดนี้มีฤทธิ์ฟื้นฟูเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ที่เป็นอวัยวะช่วยสร้างอินซูลินให้อยู่ในระดับปกติ
  • จากการทดลองกับสุนัข กระต่าย และหนูที่ทำให้เป็นเบาหวาน พบว่ามีปริมาณอินซูลินเพิ่มขึ้นเมื่อตรวจดูตับอ่อน และยังพบว่า มีปริมาณของเบต้าเซลล์เพิ่มขึ้น จึงเป็นไปได้ว่าผักเชียงดาสามารถช่วยซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ตับอ่อนได้ ส่วนการศึกษาในมหาวิทยาลัยมัทราส ประเทศอินเดีย ได้ศึกษาผลของผักเชียงดาในหนูทดลองที่ให้สารพิษที่ทำลายเซลล์เบต้าในตับอ่อนของหนู โดยพบว่า หนูที่ได้รับผักเชียงดาทั้งในรูปของสารสกัดและผงแห้ง มีระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาเป็นปกติภายใน 20-60 วัน ระดับอินซูลินกลับมาเป็นปกติ และจำนวนของเบต้าเซลล์ก็เพิ่มขึ้นด้วย
  • มีการวิจัยในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานที่ใช้อินซูลิน 27 ราย โดยให้กินสารสกัดที่ทำให้บริสุทธิ์ขึ้น 400 มิลลิกรัมต่อวัน พบว่าปริมาณความต้องการอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานลดลง และในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้ใช้อินซูลิน 22 ราย เมื่อให้สารสกัด 400 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 18-20 เดือน ร่วมกับยารักษาเบาหวาน พบว่าปริมาณการใช้ยารักษาเบาหวานลดลง โดยมีผู้ป่วยจำนวน 5 ราย ใน 22 ราย ที่สามารถหยุดให้ยาเบาหวานโดยใช้แต่สารสกัด Gymnema เพียงอย่างเดียว
  • มีรายงานการทดลองใช้ต้น Gymnema sylvestre ซึ่งเป็นพืชในสกุลเดียวกันกับผักเชียงดาที่มีขึ้นอยู่ในประเทศอินเดีย โดยบริษัทในประเทศญี่ปุ่นได้ผลิตพืชชนิดนี้ออกขายในรูปของยาชงเพื่อรักษาโรคเบาหวาน แต่จากรายงานการทดลองทั้งในคนและสัตว์ ได้แสดงให้เห็นว่า สมุนไพรชนิดนี้สามารถช่วยสร้างและซ่อมแซมเบต้าเซลล์ ซึ่งเป็นเซลล์อินซูลิน
  • เมื่อปี พ.ศ.2546 นักวิทยาศาสตร์ได้รายงานถึงผลของสารสกัดผักเชียงดาในหนูทดลอง ซึ่งนอกจากจะมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยเพิ่มปริมาณของอินซูลินแล้ว ยังช่วยลดปริมาณของอนุมูลอิสระในกระแสเลือดของหนูทดลองที่เป็นหวานได้อีกด้วย อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณของสารกลูต้าไธโอน วิตามินซี และวิตามินอี ในกระแสเลือดของหนูได้อีกด้วย และยังพบว่า สารสกัดดังกล่าวนั้นมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่ายาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาเบาหวานที่มีชื่อว่า "ไกลเบนคลาไมด์" (glibenclamide)

ประโยชน์ของผักเชียงดา

  1. จากการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองของผักพื้นบ้านจำนวน 43 ชนิด ที่บริโภคกันในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผักเชียงดามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด และยังเป็นผักที่มีวิตามินอีสูงที่สุดอีกด้วย
  2. ยอดผักเชียงดาสดจะมีรสมัน หากนำมาต้มให้สุกจะมีรสหอมหวาน ชาวบ้านทางภาคเหนือจึงนิยมปลูกผักเชียงดาไว้ตามริมรั้ว โดยนิยมนำใบอ่อนและยอดอ่อน มารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ลาบ ส้มตำ หรือนำมาทำแกง แกงส้ม แกงแค แกงเขียว แกงโฮะ แกงขนุน แกงเลียงกับปลาแห้ง หรือใส่ในต้มเลือดหมู แกงใส่ผักหวาน แกงรวมกับผักชะอม ผักกูด ผักเฮือด ฯลฯ หรือนำมาผัดน้ำมันหอย ทำผัดผักเชียงดา ผัดร่วมกับมะเขือ ฯลฯ แต่โดยปกติแล้วจะไม่ผัดผักเชียงดาล้วน ๆ เพราะจะมีรสขม (ผักเชียงดาในหน้าแล้งจะอร่อยกว่าในหน้าฝน เพราะผักเชียงดาในหน้าฝนจะมีรสเฝื่อน ไม่ค่อยอร่อย)
  3. คุณค่าทางโภชนาการของผักเชียงดา 100 กรัม ประกอบไปด้วย พลังงาน 60 แคลอรี, ความชื้น 82.9%, โปรตีน 5.4 กรัม, ไขมัน 1.5 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 6.2 กรัม, ใยอาหาร 2.5 กรัม, เถ้า 1.6 กรัม, วิตามินเอ 5,905 หน่วยสากล, วิตามินบี 1 981 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.32 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 1 มิลลิกรัม, วิตามินซี 153 มิลลิกรัม, แคลเซียม 78 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 2.3 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 98 มิลลิกรัม
  4. ในปัจจุบันเริ่มมีเกษตรกรรวบรวมผักเชียงดามาปลูกในแปลงปลูกขนาดใหญ่ เพื่อเก็บยอดไว้ขายในเชิงการค้าแล้ว
  5. ในปัจจุบันบริษัทยาของประเทศญี่ปุ่นได้ผลิตพืชชนิดนี้เป็นชาชงสมุนไพร หรือในรูปแบบแคปซูลหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อรักษาเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยยับยั้งการดูดซึมของกลูโคส ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แคปซูลผักเชียงดาจะมีวางจำหน่ายในร้านผลิตภัณฑ์สุขภาพทั่วไป โดยในรูปแบบผงแห้งจะมีการควบคุมมาตรฐานของ gynemic acid ต้องมีไม่ต่ำกว่า 25% คือใน 1 แคปซูลส่วนใหญ่แล้วจะมีผงยาเชียงดาอยู่ประมาณ 500 มิลลิกรัม

ผักจินดา

หมายเหตุ : ควรเลือกรับประทานผักเชียงดาใบอ่อน ที่ไม่ผ่านความร้อน จึงจะได้ประโยชน์ด้านคุณค่าทางอาหารมากที่สุด แต่ถ้าต้องการให้ระบบขับถ่ายในร่างกายดีขึ้น ควรรับประทานผักเชียงดาใบแก่

ข้อควรระวัง : การรับประทานผักเชียงดาอาจทำให้เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เมื่อใช้ร่วมกับยาลดระดับน้ำตาล ดังนั้นจึงควรแจ้งแพทย์ผู้รักษาให้ทราบเมื่อใช้ผักเชียงดาร่วมในการรักษาเบาหวาน

 

ไผ่ร้อยกอ

ไผ่จืด หรือ ไผ่ร้อยกอ .. สมุนไพรน่ารู้

ไผ่ร้อยกอ หรือไผ่จืด ทั้งต้นรสจืด 

มีชื่อ วิทยาศาสตร์เฉพาะว่า POGONATHERUM PANICEUM (LAMK) HACK อยู่ในวงศ์ POACEAE 
เป็นพืชตระกูลหญ้า ต้นสูง 1 เมตร มีเหง้าหรือหน่อใต้ดิน ลำต้น เป็นข้อปล้องเหมือนไผ่ แตกเป็นกอหนาแน่น 
แต่ละกอไม่น้อยกว่า 100 ต้น จึงถูกเรียกว่า ไผ่ร้อยกอ ไม่มีขน ใบเดี่ยวออกสลับรูปรีหรือรูปใบหอก
ปลายแหลม โคนมน สีเขียวสด
ส่วนที่มาของชื่อ "ไผ่จืด" เนื่องจากทั้งต้นมีรสจืด

สรรพคุณ 
*บรรเทาอาการแพ้ต่างๆ ช่วยขับสารพิษจากร่างกาย 
*ช่วยแก้ร้อนใน ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดเบาหวาน ช่วยแก้อาการบวมนํ้า 
*ช่วยแก้กระหาย 

*หญิงหลังคลอดอยู่ไฟไม่ได้ ชาวบ้าน ดื่มประจำจะช่วยขับนํ้าคาวปลา ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ดี ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีนํ้ามีนวล 
*คนเมาค้างดื่ม แล้วจะช่วยให้หายได้ 
*ช่วยลดน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน

วิธีการใช้สมุนไพร
นิยมใช้ต้นสด ตัดไผ่สูงจากพื้น ประมาณ 2 นิ้ว 1 กำมือ ต้มได้ 1 หม้อกา 
ใช้น้ำประมาณ 2 ลิตร ต้มจนเดือด สามารถดื่มกินได้ตลอดเวลา 
หรือตัดต้นสดมาตาก แห้ง 1กำมือ ต้มได้ 1 หม้อกา ใช้น้ำประมาณ2 ลิตร ต้มจนเดือด 
ดื่มหมดแล้วเติมน้ำต้มดื่มได้อีกครั้งหนึ่ง
สีเหลืองใสสวยน่าจิบ รสชาติคล้ายน้ำชา

ปรู

ปรู สรรพคุณและประโยชน์ของต้นปรู

ปรู

ปรู ชื่อสามัญ Ankota ปรู ชื่อวิทยาศาสตร์ Alangium salviifolium (L.f.) Wangerin ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าเป็นชนิด Alangium salviifolium subsp. hexapetalum (Lam.) Wangerinโดยจัดอยู่ในวงศ์ CORNACEAE (ALANGIACEAE)

สมุนไพรปรู มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะตาปู๋ (เชียงใหม่), มะเกลือกา(ปราจีนบุรี), ปู๋ ปรู๋ (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ผลู ปลู (ภาคกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของต้นปรู

  • ต้นปรู หรือ ต้นปรู๋ เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลางถึงมาก และชอบแสงแดดตลอดทั้งวัน มักพบขึ้นได้ตามบริเวณป่าโปร่งของประเทศที่มีอากาศร้อน โดยจัดเป็นพรรมไม้พุ่มขนาดกลางหรือเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลักษณะเรือนยอดโปร่ง ค่อนข้างกว้าง มีรูปร่างไม่แน่นอน มีความสูงของต้นประมาณ 8-10 เมตร ลักษณะของต้นและกิ่งก้านเกลี้ยง หรืออาจมีขนเล็กน้อยตามกิ่งอ่อน ลำต้นมักบิดและคดงอ ส่วนโคนต้นมักเป็นพูต่ำ ๆ เปลือกต้นด้านนอกเป็นสีน้ำตาลแดง แตกล่อนเป็นสะเก็ด ส่วนเปลือกด้านในและกระพี้เป็นสีเหลืองอ่อน และแก่นกลางเป็นสีน้ำตาลเขียว จะผลัดใบหมดก่อนผลิดอก มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบได้ตามป่าเบญจพรรณทั่วไปทางภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคเหนือ ยกเว้นทางภาคใต้ ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 200-500 เมตร

ต้นปรู๋

ต้นปรู

  • ใบปรู ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปขอบขนาน หรือเป็นรูปหอกกลับ ปลายใบแหลมหรือมีติ่งแหลมออกมา โคนใบแคบแหลมหรือสอบเรียว ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยักหรือเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร ใต้ท้องใบจะมีเส้นใบประมาณ 3-6 คู่ มองเห็นได้ชัดเจน เส้นใบย่อยเป็นแบบเส้นขั้นบันได เนื้อใบบางเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง มีก้านใบยาวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร ใบอ่อนจะมีขนและเป็นสีเขียวอ่อนใส ส่วนใบแก่จะเป็นสีเขียวเข้ม

ใบปรู

ใบปรู๋

  • ดอกปรู ออกดอกเป็นช่อรวมกันเป็นกระจุกตามซอกใบหรือตามกิ่งเหนือรอยแผลใบ ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกเป็นสีขาวนวลหรือเป็นสีเหลืองอ่อน และมีกลิ่นหอม ดอกมีขนขึ้นอยู่ประปราย กลีบดอกมีประมาณ 5-7 กลีบ ดอกตูมขอบกลีบดอกจะประสานกันเป็นรูปทรงกระบอกยาว ส่วนกลีบรองกลีบดอกเป็นรูปขอบขนานแคบ ๆ ด้านนอกมีขนสีน้ำตาล และแยกแผ่ออกเป็นรูปกังหันในระดับเดียวกันประมาณ 5-6 แฉก มีขนาดประมาณ 0.2-0.5 เซนติเมตร ส่วนโคนจะเชื่อมติดกันลักษณะเป็นท่อรูปกรวย โดยกลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่กลีบดอกจะม้วนตัวโค้งกลับมาทางโคนก้านดอก ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 10-18 ก้าน ส่วนมากมี 12 ก้าน โคนก้านเกสรมีขนยาว ๆ ส่วนเกสรเพศเมียเกลี้ยง มีรังไข่เป็นรูปรี ภายในมีช่องเดียวและมีไข่อ่อนหนึ่งหน่วย และจะออกดอกเต็มต้นหลังการผลัดใบหมด โดยจะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม

ดอกปรู

  • ผลปรู ออกผลเป็นกระจุก ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือเป็นรูปรี ปลายผลมีกลีบรองกลีบดอกติดอยู่ ส่วนกลางผลมีสันแข็งตลอดความยาวของผล ผลมีขนาดกว้างประมาณ 0.9 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ผลจะไม่แตก แต่จะเป็นร่องตามยาวหลายร่อง (สัน) ภายในผลมีเมล็ดเดี่ยวและมีเนื้อเยื่อสีแดง ๆ บาง ๆ หุ้มเมล็ดแข็ง ผลมีรสหวานอมเปรี้ยว มีกินหอม ใช้รับประทานได้ โดยจะเป็นผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน

ลูกปรู

ผลปรู

สรรพคุณของปรู

  1. ตำรายาไทยใช้แก่นหรือเนื้อไม้เป็นยาบำรุงกำลัง (แก่น, เนื้อไม้)
  2. เปลือกต้นมีรสฝาด ใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาบำรุงธาตุไฟ ปิดธาตุ (เปลือกต้น) ส่วนผลมีรสร้อนเบื่อ สรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ (ผล)
  3. ช่วยบำบัดอาการเป็นไข้และช่วยขับเหงื่อ ด้วยการใช้เปลือกรากนำมาต้มเป็นยารับประทาน (เปลือกราก)
  4. ใช้แก้หอบหืด แก้อาการไอ ไอหืด ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำรับประทาน (เปลือกต้น)
  5. เปลือกรากนำมาต้มรับประทานเป็นยาแก้พิษ เป็นยาทำให้อาเจียน (เปลือกราก)
  6. เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้อาการจุกเสียด แก้ท้องร่วง ลงท้อง ท้องเสีย ท้องเดิน (เปลือกต้น) ส่วนผลก็แก้อาการจุกเสียดได้เช่นกัน (ผล)
  7. ใช้เปลือกรากต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาระบาย (เปลือกราก)
  8. ช่วยในการขับพยาธิ ด้วยการใช้เปลือกรากนำมาต้มกับน้ำรับประทาน (เปลือกราก) ส่วนผลมีรสฝาด มีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิเช่นกัน (ผล)
  9. เนื้อไม้มีรสฝาดเฝื่อน ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงลำไส้ (เนื้อไม้)
  10. แก่นหรือเนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร (แก่น, เนื้อไม้)
  11. แก่นมีรสจืดเฝื่อน ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (แก่น)
  12. เปลือกรากสดนำมาตำให้ละเอียดหรือคั้นเอาแต่น้ำใช้ล้างแผล แก้โรคผิวหนัง (เปลือกราก)
  13. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของต้นปรู

    • พบว่ามีสารอัลคาลอยด์อยู่หลายชนิด ได้แก่ anabasine, cephaeline, psychotrine เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ จึงควรมีการศึกษาทางพิษวิทยาของสารเหล่านี้ด้วย
    • มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต เพิ่มความแรงของการบีบตัวของหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบบีบตัว ทำให้หลอดเลือดหดตัว มีฤทธิ์ลดการอักเสบ คลายกล้ามเนื้อมดลูก ต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย โปรโตซัว ต้านยีสต์ และต้านมะเร็ง

    แก่นปรู

     

    ประโยชน์ของปรู

    • ผลมีรสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม ใช้รับประทานได้
    • เนื้อไม้ของต้นปรูมีความเหนียวและมีลายสวยงาม จึงนิยมนำมาใช้ทำพานท้ายปืน ด้ามเครื่องมือทางการเกษตร เครื่องกลึง เครื่องประกอบเกวียน งานแกะสลัก รวมไปถึงเครื่องเรือนต่าง