• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

พะยอม

พะยอม สรรพคุณและประโยชน์ของต้นพะยอม

พะยอม

พะยอม ชื่อสามัญ Shorea, White meranti

พะยอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G.Don (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Shorea talura Roxb.) จัดอยู่ในวงศ์ยางนา (DIPTEROCARPACEAE)

 

สมุนไพรพะยอม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แดน (เลย), ยางหยวก (น่าน), กะยอม เชียง เซียว เซี่ย (เชียงใหม่), พะยอมทอง (ปราจีนบุรี สุราษฎร์ธานี), ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ), สุกรม (ภาคกลาง), คะยอม ขะยอม (อีสาน), ยอม (ภาคใต้), ขะยอม (ลาว), พะยอมแดง แคน พยอม เป็นต้น

ลักษณะของต้นพะยอม

  • ต้นพะยอม (ต้นพยอม) มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและเอเชีย เช่น ประเทศพม่า ลาว ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ มีความสูงประมาณ 15-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นอาจยาวถึง 300 เซนติเมตร เปลือกต้นมีสีน้ำตาลหรือสีเทาเข้ม แตกเป็นร่องตามยาวและเป็นสะเก็ดหนา ส่วนเนื้อไม้มีสีเหลืองถึงสีน้ำตาล ลักษณะของต้นเป็นทรงพุ่มกลมสวยงามมาก แตกกิ่งก้านจำนวนมาก ถ้าหากปลูกในที่โล่งแจ้งและไม่มีพรรณไม้ใหญ่ชนิดอื่นอยู่ใกล้ ๆ เป็นต้นไม้ที่สวยโดยธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องทำการตัดแต่งกิ่งแต่อย่างใด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง ซึ่งในปัจจุบันพันธุ์ไม้ชนิดนี้กำลังเริ่มลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ โดยสามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณแล้งและชื้น หรือป่าดิบแล้งทั่วไป ทุกภาคของประเทศที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 60-1,200 เมตร และดอกพะยอมยังเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ด้วย

ต้นพะยอม

ต้นพยอม

พยอม

  • ใบพะยอม ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน โคนใบสอบมน ปลายใบแหลม ขอบเรียบเป็นคลื่น ด้านหลังใบจะมีเส้นใบมองเห็นชัดเจน ใบมีความยาวประมาณ 12-18 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร

ใบพยอม

  • ดอกพะยอม (ดอกพยอม) ออกดอกเป็นช่อใหญ่ ออกดอกตามส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม ดอกมีกลีบ 3 กลีบ กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร โคนกลีบดอกติดกับก้านดอก มีลักษณะกลม ออกดอกพร้อมกันเกือบทั้งต้น โดยจะออกดอกในช่วยเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์

ดอกพยอม

ดอกพะยอม

  • ผลพะยอม ผลแห้งมีปีกแบบ Samara ลักษณะเป็นทรงไข่และกระสวย ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ซ่อนตัวอยู่ในกระพุ้ง โคนปีกมี 5 ปีก ประกอบด้วยปีกยาวรูปขอบขนาน 3 ปีก ยาวประมาณ 8 เซนติเมตร มีเส้นตามยาวของปีกประมาณ 10 เส้น และปีกสั้นมี 2 ปีก มีความยาวไม่เกิน 3 เซนติเมตร ในผลมีเมล็ดหนึ่งเมล็ด ออกผลในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม

ผลพะยอม

สรรพคุณของพะยอม

  1. พยอม สรรพคุณของดอกช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)
  2. สรรพคุณสมุนไพรพยอม ดอกใช้ผสมเป็นยาแก้ไข้ (ดอก)
  3. ดอกใช้ทำเป็นยาหอมไว้แก้ลม (ดอก)
  4. สรรพคุณต้นพยอมช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน (เปลือกต้น)
  5. เปลือกต้นใช้กินแทนหมาก ช่วยแก้ลำไส้อักเสบได้ (เปลือกต้น)
  6. เปลือกต้นมีสีสาร Tannin มาก สามารถใช้เป็นยาฝาดสมานแผลในลำไส้ได้ (เปลือกต้น)
  7. สรรพคุณพยอมช่วยสมานบาดแผล ชำระบาดแผล ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาฝนแล้วทาบริเวณบาดแผล

ประโยชน์ของพะยอม

  1. ดอกอ่อนสามารถนำมารับประทานสดได้ หรือจะนำมาลวกเป็นผักไว้จิ้มกินกับน้ำพริก ใช้ผัดกับไข่ ชุบไข่ทอด หรือจะนำมารับประทานเป็นน้ำซุปร้อน ๆ โดยนำมาแกงส้มก็ได้เช่นกัน โดยคุณค่าทางโภชนาการของดอกพะยอมในส่วนที่กินได้ต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต 7.2 กรัม, โปรตีน 4.4 กรัม, ไขมัน 1.1 กรัม, เส้นใย 2.8 กรัม, ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม, และธาตุแคลเซียม 46 มิลลิกรัม
  2. ไม้พะยอม มีสีเหลืองอ่อนถึงสีน้ำตาล สามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างทั่ว ๆไปได้ เช่น การทำเสาบ้าน ขื่อ รอด ตง พื้น ทำฝา เรือขุด เครื่องบนเสากระโดงเรือ แจว พาย กรรเชียง คราด ครก สาก ลูกหีบ กระเดื่อง ตัวถังรถ ซี่ล่อเกวียน กระเบื้องไม้ นำไปใช้ทำหมอนรถไฟ และนำมาใช้แทนไม้ตะเคียนทองเพราะมีลักษณะคล้าย ๆ กัน เป็นต้น
  3. ประโยชน์ของพะยอม เปลือกต้นสามารถใช้รับประทานกับใบพลูแทนหมากได้
  4. เปลือกต้นและเนื้อไม้นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในกระบอกไม้ไผ่ ไว้ใช้รองน้ำตาลสดจากต้นมะพร้าวและน้ำตาลจากต้นตาลโตนด
  5. เปลือกต้นหรือไม้ชิ้นเล็ก ๆ นำมาใช้ใส่เครื่องหมักดองเพื่อกันบูดกันเสียได้
  6. ชันที่ได้จากต้นพะยอมสามารถใช้ผสมกับน้ำมันทาไม้ ยาแนวเรือได้
  7. เปลือกต้นมีสารแทนนินชนิด Pyrogallol และ Catechol ในปริมาณสูง จึงนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง
  8. พะยอมเป็นต้นไม้ที่สามารถปลูกได้ดีในที่แล้ง ซึ่งอาจปลูกไว้เพื่อความสวยงามให้ร่มเงาตามบ้านเรือนก็ได้ และดอกยังมีความสวยงามมาก แต่จะออกดอกปีละครั้ง และออกดอกพร้อมกันทั้งต้นดูสวยงามมาก
  9. คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดที่ปลูกต้นพะยอมไว้ประจำบ้าน จะช่วยทำให้คนในบ้านมีนิสัยที่อ่อนน้อม เพราะคำว่าพะยอมมีความหมายว่า การยินยอม ตกลง ผ่อนผัน หรือประนีประนอมนั่นเอง และยังเชื่อว่าจะช่วยทำให้ไม่ขัดสนในเรื่องต่าง ๆ รวมไปถึงเรื่องเงินทองด้วย เพราะจะทำให้ผู้คนต่างให้ความเห็นใจนั่นเอง โดยการปลูกเพื่อเอาคุณนั้นให้ปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและควรปลูกในวันเสาร์

ฝ้ายแดง

ฝ้ายแดง สรรพคุณและประโยชน์ของต้นฝ้ายแดง

ฝ้ายแดง

ฝ้ายแดง

 

ฝ้ายแดง ชื่อสามัญ Ceylon cotton, Chinese cotton, Tree cotton

สมุนไพรฝ้ายแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gossypium arboreum L. จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)

ลักษณะของฝ้ายแดง

  • ต้นฝ้ายแดง จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกไปรอบต้นเป็นพุ่มโปร่ง มีกิ่งก้านที่แข็งแรง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีม่วงแดงหรือสีน้ำตาลแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดมาก ขึ้นได้ในดินอุดมทั่วไป ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อนและกึ่งร้อน แอฟริกา มักขึ้นบริเวณที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป

ต้นฝ้ายแดง

  • ใบฝ้ายแดง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปฝ่ามือ ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบมนเว้า ขอบใบเว้าลึกเป็นแฉก 3-7 แฉกคล้ายฝ่ามือ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร หลังใบเรียบ เส้นใบเป็นสีแดงแตกออก ก้านใบเป็นสีแดงเช่นเดียวกับเส้นใบ

ใบฝ้ายแดง

  • ดอกฝ้ายแดง ออกเป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกตามซอกใบใกล้บริเวณปลายกิ่ง ดอกเป็นสีแดงเข้มหรือสีเหลืองอ่อน ตรงกลางดอกเป็นสีม่วงแดงหรือสีม่วงดำประแต้มไปด้วยสีเหลือง ใบประดับ 3 ใบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ส่วนกลีบดอกบางมี 5 กลีบ วางเรียงเวียนซ้อนกัน ดูสวยงาม โคนกลีบดอกติดกัน เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นหลอดล้อมรอบเกสรเพศเมีย ปลายเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉก 5 แฉก

ดอกฝ้ายแดง

รูปดอกฝ้ายแดง

  • ผลฝ้ายแดง ผลมีลักษณะกลมเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม หัวท้ายแหลม ผิวผลลื่นสีเขียวอมแดง มีกลีบรองดอกหุ้มอยู่ พอแก่จะแตกออกเป็นปุยฝ้าย เมล็ดค่อนข้างกลมสีเขียว มีจำนวนมาก ปกคลุมไปด้วยขนยาวสีขาว

ผลฝ้ายแดง

เมล็ดฝ้ายแดง

สรรพคุณของฝ้ายแดง

  1. ใบสดมีรสเย็นเบื่อ ใช้ปรุงเป็นยากินแก้ไข้ ช่วยขับเหงื่อ (ใบสด) หรือใช้ใบผสมในตำรายาแก้ไข้ ลดความร้อน (ใบ)
  2. ใบสดใช้เป็นยาแก้พิษตานซางในเด็กได้ดี (ใบสด)
  3. เปลือกรากนำมาบดให้เป็นผงใช้ชงกับน้ำเดือดกินเป็นยาขับปัสสาวะ (เปลือกราก)
  4. ผงที่บดได้จากเปลือกรากใช้ชงดื่มเป็นยาช่วยบีบมดลูก ทำให้แท้ง และช่วยขับน้ำคาวปลาของสตรี (เปลือกราก)
  5. เมล็ดใช้เป็นยารักษาโรคหนองใน (เมล็ด)

ข้อควรระวัง : สตรีตั้งครรภ์ห้ามรับประทาน เพราะจะทำให้แท้งบุตรได้

ประโยชน์ของฝ้ายแดง

  • น้ำมันจากเมล็ดใช้ในการเตรียมสบู่และใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่น
  • ใช้ปลูกไว้ดูเล่น ปลูกกันตามบ้านและวัด หรือใช้ทำเป็นรั้วบ้าน

พลับป่า

 

บ่ากล้วยฤาษี(พลับป่า)

มะพลับ

ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros glandulosa Lace

วงศ์   EBENACEAE

ปางมะโอ เรียกว่า กล้วยฤาษี จันป่า บ่าก้วยฤาษี   ภาคกลาง เรียกว่า พลับป่า ภาคอีสาน เรียกว่า มะเขือเถื่อน  ภาคใต้  - 

บ่ากล้วยฤาษีเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรีหรือรูปขอบขนาน โคนใบและปลายใบแหลม แผ่นใบมีขนสาก ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ผลมีเนื้อหลายเมล็ด ทรงกลมแป้น มีขนคล้ายใยไหมปกคลุม เมื่อสุกสีเหลืองคล้ายลูกพลับ รสฝาด

สภาพนิเวศ : พบกระจายตามป่าดิบเขาทางภาคเหนือที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 750-1,500 เมตร

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ติดตา และต่อกิ่ง

สถานภาพในชุมชนปางมะโอ
การใช้ประโยชน์ : ผลสุกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม นำมากินเป็นผลไม้ แต่ไม่ค่อยนิยมเนื่องจากมีรสฝาด 
แหล่งที่พบ  :  พบในป่าดิบเขารอบชุมชน หรือในสวนเมี่ยง 

เกร็ดน่ารู้ : บ่ากล้วยฤาษีเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ใบต้มน้ำดื่ม ลดอาการหลอดเลือดแข็งตัว

ฝรั่งแดง

ฝรั่งแดง ไม้ดี มีประโยชน์ มากคุณค่า 

566000000144809

 

ฝรั่งแดง (RED GUAVA) ผลไม้มากคุณค่าสรรพคุณดี มีประโยชน์มากมาย เป็นทั้งผลไม้รสชาติดี และมีสรรพคุณทางโภชนะภัณฑ์สูง พร้อมคุณค่าทางสมุนไพรมากมาย ฝรั่งแดงมีมากมายหลายสายพันธุ์ ทั้งพันธุ์พื้นเมือง หรือฝรั่งขี้นกแดง พันธุ์ลูกผสม ไทย ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ หรือพันธุ์ผสมใหม่ๆอีกมากมาย ล้วนแต่เป็นฝรั่งแดงมีมีคุณประโยชน์ทั้งนั้น

ลักษณะของฝรั่งแดง ที่มีคุณค่าทางสมุนไพรมาก จะต้องแดงทั้งหมดทุกส่วน ใบสีแดงเข้มถึงม่วง ยอดอ่อนสีแดง ผลสีแดง เนื้อในสีแดง ในเรื่องความเชื่อถือว่าฝรั่งแดงเป็นไม้มงคล ใครมีไว้ในบ้าน เรือกสวน ไร่ นา จะทำให้เจริญรุ่งเรือง ร่ำรวย สุดเฮง ในเรื่องของประโยชน์ทางด้านโภชนาการ เป็นฝรั่งที่มีวิตามินต่างๆสูงมาก ให้คุณค่าทางโภชนาการและคุณค่าทางสมุนไพร มากมาย

            ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์ ผล ใบ ลำต้น และราก

301264

ประโยชน์จากฝรั่งแดง

          ฝรั่งแดงมีประโยชน์มากมาย จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่าสารสีแดงของฝรั่งแดง อุดมไปด้วย สาร “ไลโคฟิน” (Lycopene) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ประเภทแคโรทินอยด์ ที่มีฤทธิ์แรงมาก และสารแทนนิน (Tannin) สารสำคัญเหล่านี้ ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่มดลูก มะเร็งปอด และป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้มากถึง 20%

            สารสีแดง ในฝรั่งแดงยังเต็มไปด้วยวิตามินมากมาย อาทิ วิตามินเอ บี ซี และเค  นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุที่สำคัญเช่น โพแตสเซี่ยม โบร่อน เป็นต้น

            ประโยชน์อื่นๆ ที่พบในฝรั่งแดง นิยมนำส่วนต่างๆ ของฝรั่งแดงไปใช้เป็นส่วนผสมของตำรับยาสมุนไพร มากมายหลายตำรับ ทั้ง ใบ ราก ลำต้นหรือแก่น ผลอ่อนและผลแก่ เป็นตำรับยาที่ช่วยป้องกันการเกิดอันตรายจากอนุมูลอิสระ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงร่างกาย ชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ลดภาวะผิดปกติของเซลล์ได้ดี ช่วยป้องกันและบรรเทา อาการของโรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน มะเร็ง กระดูกพรุน ลดภาวการณ์เป็นหมันชาย ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคท้องผูก บำรุงผิวพรรณและช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ ได้เป็นอย่างดี

           20201211 131821

การใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของฝรั่งแดง

  1. ใบ มีน้ำมันหอมระเหย ที่สำคัญหลายชนิด เช่น Tannin , Caryophyllene cineol , Sesquiter penoids และ Triterpenoid compounds มีสรรพคุณทางยามากมายใช้แก้อาการ ท้องผูก ท้องเสีย(ที่ไม่ใช่โรคบิดหรืออหิวาตกโรค) ใช้เป็นยาห้ามเลือด บดหรือเคี้ยวใบใส่แผลสด ใช้ระงับกลิ่นปาก แก้เหงือกบวม แก้ปวดฟัน ปวดเล็บขบ ฯลฯ วิธีนำไปใช้ ต้มน้ำดื่ม บดหรือเคี้ยวให้ละเอียด สกัดเอาน้ำมันหอมระเหย ปั้นหรือคั้นเอาน้ำจากใบ
  2. ผลอ่อน มีวิตามินซี สูงมาก ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน เคี้ยวกินสด หรือปั่นคั้นเอาน้ำ แก้อาการท้องเสีย ท้องเดิน ระงับกลิ่นปาก บำรุงเหงือก บำรุงฟัน บำรุงผิวพรรณ
  3. ผลแก่หรือผลสุก มีสารเพคติน (Pectin) ช่วยละลายคอเลสเตอรอล ลดน้ำตาลในเลือดได้ดี เป็นยาระบายอ่อนๆ ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ดี
  4. ราก ใช้รากต้มน้ำดื่ม แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ฝี หนอง แผลพุพอง และแก้เลือดกำเดาไหล
  5. ลำต้นและแก่น ใช้ต้มน้ำดื่ม ลดความดัน ลดเบาหวาน อาการอักเสบจากช่องท้อง บำรุงร่างกาย