• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

มะตูมนิ่ม

มะตูมนิ่มไร้หนาม

“มะตูมนิ่มไร้หนาม” เนื้อเข้าตำรับยาลูกแปลกแม่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์         เป็นไม้ยืนต้นสูง 10-15 เมตร ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี หรือรูปใบหอกปลายแหลม โคนมน ขอบหยัก ใบมีกลิ่นหอม ยอดอ่อนกินเป็นผักสดกับน้ำพริกได้ ในทางไสยศาสตร์ถือว่า ใบของมะตูมทุกชนิด ใช้ป้องกันเสนียดจัญไร ขับภูตผีปีศาจได้ ดอกเป็นสีขาวมีกลิ่นหอมแรงและหอมไกล ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด “ผล” รูปกลมรีคล้ายไข่ ผลอ่อนสีเขียว เปลือกแข็ง เมื่อผลสุกเป็นสีเหลือง และเปลือกผลจะอ่อนและนิ่มใช้นิ้วกดจะบุ๋มทันที ไม่เหมือนเปลือกผลมะตูมทั่วไป จึงถูกเรียกว่า “มะตูมนิ่ม” เนื้อในเป็นสีเหลือง มีเมล็ดจำนวนมาก รสชาติหวานหอมปนฝาดเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

มะตูมนิ่มไร้หนาม มีข้อแตกต่างจากต้นมะตูมทั่วไปคือ ลำต้นจะไม่มีหนามแหลมเท่านั้น ซึ่งมะตูมมีด้วยกัน 3 ชนิด คือ สายพันธุ์ทั่วไปคนส่วนใหญ่รู้จักดี ชนิดนี้เปลือกผลแข็ง ผลรูปกลมรีเหมือนไข่ ชนิดที่ 2 ผลรูปทรงคล้ายกับผลมะขวิด ผลมีขนาดเล็ก เปลือกผลแข็งและบาง ซึ่งชนิดนี้เรียกกันทั่วไปว่ามะตูมไข่ สุดท้ายผลรูปทรงจะเหมือนกับชนิดแรก แต่ผลจะมีขนาดใหญ่กว่าอย่างชัดเจน และที่สำคัญชนิดสุดท้ายนี้ เวลาผลแก่หรือผลสุกเปลือกผลจะนิ่มใช้นิ้วกดจะบุ๋มได้เรียกว่ามะตูมนิ่ม ทุกๆ สายพันธุ์ลำต้นจะมีหนามแหลม แต่ที่แนะนำในคอลัมน์วันนี้จะไม่มีหนามแหลมตลอดทั้งต้น จึงถูกตั้งชื่อว่า “มะตูมนิ่มไร้หนาม” ดังกล่าว ปัจจุบันมีการพัฒนาพันธุ์ด้วยการขยายพันธุ์ด้วยวิธีทาบกิ่งและเสียบยอด ทำให้ต้น “มะตูมนิ่มไร้หนาม” ปลูกแล้วต้นโตเร็ว ให้ผลผลิตหลังปลูกแค่ 3 ปีเท่านั้น มีดอกและติดผลดกเป็นธรรมชาติตามฤดูกาล เนื้อสุกเป็นสีเหลืองเข้ม รสชาติหวานหอมรับประทานอร่อยมาก ผลดิบฝานบางๆตากแห้งต้มกับน้ำใส่น้ำตาลเล็กน้อยมีกลิ่นหอม ทำเป็นน้ำมะตูมดื่มเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ช่วยให้เจริญอาหาร มีอายุยืนยาว ซึ่งเนื้อมะตูมแห้งมีราคาแพงและตลาดต้องการสูง

มะตูม

มะตูม สรรพคุณและประโยชน์ของมะตูม

มะตูม ชื่อสามัญ Beal

มะตูม ชื่อวิทยาศาสตร์ Aegle marmelos (L.) Corrêa จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE)

สมุนไพรมะตูม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะปิน (ภาคเหนือ), ตูม ตุ่มตัง กะทันตาเถร (ภาคใต้) เป็นต้น

มะตูมเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย เป็นพันธุ์ไม้มงคลประจำจังหวัดชัยนาทและยังถือว่าเป็นพันธุ์ไม้มงคลของศาสนาฮินดูที่นิยมปลูกในบ้านเราอีกด้วย โดยถือเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระศิวะ ส่วนบ้านเรานั้นมีความเชื่อว่าใบมะตูมสามารถนำมาใช้ป้องกันภูตผีปีศาจ เสนียดจัญไรได้ และมะตูมยังจัดว่าเป็นทั้งผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพและเป็นยาสมุนไพรที่เรารู้จักมาเนิ่นนาน เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยกินน้ำมะตูมกันมาบ้างแล้วล่ะ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงสรรพคุณของมะตูมหรือประโยชน์ของมะตูม งั้นเรามาดูกันดีกว่าจ้า...

สรรพคุณของมะตูม

มะตูม

  1. ผลแก่แต่ไม่สุกใช้รับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย รักษาธาตุ บำรุงธาตุไฟ
  2. ผลสุกสามารถนำมาใช้เป็นยาระบายได้
  3. ช่วยรักษาอาการท้องร่วง ท้องเดิน โรคลำไส้
  4. ใช้รักษาอาการท้องผูกเรื้อรังได้
  5. ใบสดนำมาคั้นเอาน้ำ ใช้แก้หวัด
  6. เปลือกรากและลำต้นจะช่วยแก้อาการไข้จับสั่น
  7. แก้ลม แก้มูกเลือด
  8. ช่วยรักษาอาการหลอดลมอักเสบ

ประโยชน์ของมะตูม

  1. ผลสามารถนำมารับประทานได้ทั้งแบบสดและแบบแห้ง
  2. สามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องดื่มได้ด้วยการนำผลมะตูมไปผสมกับมะขาม
  3. เมื่อกรองได้น้ำและนำมาเติมน้ำตาลจะได้เครื่องดื่มที่มีรสชาติคล้ายกับ "มะนาว"
  4. ใบอ่อนของมะตูมนำมารับประทานเป็นผักสลัดได้
  5. หรือจะนำใบอ่อนมาใช้กินกับน้ำพริกหรือลาบก็ได้
  6. ผลแก่แต่เปลือกยังนิ่ม เมื่อนำมาฝานสามารถนำมาทำเป็นมะตูมเชื่อมได้
  7. มะตูมใช้เป็นส่วนผสมของขนมหลายชนิด
  8. มะตูมสุกมีเนื้อเละสามารถนำมารับประทานเป็นผลไม้ได้

มะดูก

มะดูก สรรพคุณและประโยชน์ของต้นมะดูก

มะดูก

มะดูก ชื่อสามัญ Ivru wood

มะดูก ชื่อวิทยาศาสตร์ Siphonodon celastrineus Griff. จัดอยู่ในวงศ์กระทงลาย (CELASTRACEAE)

สมุนไพรมะดูก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ยายปลวก (สุราษฎร์ธานี), ไม้มะดูก (คนเมือง), บั๊กโค้ก (เขมร-สุรินทร์) เป็นต้น

ลักษณะของมะดูก

  • ต้นมะดูก จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 20-35 เมตร แตกกิ่งก้านทึบ เรือนยอดมีลักษณะกลมทึบ เปลือกต้นเป็นสีเทาอมดำแตกเป็นร่องตามยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพ ชอบดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี มีแสงแดดเต็มวัน เป็นพรรณไม้ที่มักพบขึ้นตามบริเวณป่าราบ ป่าโปร่งที่ค่อนข้างชื้น โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคกลางของประเทศไทย ที่ระดับความสูงไม่เกิน 800 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ต้นมะดูก

  • ใบมะดูก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปค่อนข้างรีหรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบแถบเข้าหากัน ส่วนขอบใบเป็นหยักหรือจักเป็นซี่ฟันตื้น ๆ จักห่างหรือแทบมองเห็นไม่ชัด ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3.5 นิ้ว และยาวประมาณ 1.5-9 นิ้ว แผ่นใบค่อนข้างหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม เส้นแขนงใบมีข้างละ 6-10 เส้น ก้านใบยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร ใบอ่อนเป็นสีเขียวแก่ เมื่อแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวมะกอกหรือสีเขียวอมเทา[1],[2],[5]

ใบมะดูก

  • ดอกมะดูก ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ มีประมาณ 2-3 ดอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกย่อยยาวประมาณ 5-11 มิลลิเมตร บางทีมีจุดสีน้ำตาลแดง ดอกเป็นสีขาวนวลหรือสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกเป็นรูปไข่หรือรูปรี มี 5 กลีบ ซ้อนทับกัน มีขนาดกว้างประมาณ 1.7-2.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2.2-3.5 มิลลิเมตร ปลายกลีบมน ส่วนกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นรูปไจหรือกึ่งกลม ค่อนข้างมน ยาวได้ประมาณ 1-2 มิลลิเมตร กลางดอกมีเกสรเชื่อมติดกับกลีบดอกข้างใน ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านเกสรเพศผู้แบน ยาวได้ประมาณ 1 มิลลิเมตร เชื่อมติดกันที่ครึ่งหนึ่งหรือใกล้ ๆ โคนดอก ออกดอกในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน[1],[2],[5]

ดอกมะดูก

  • ผลมะดูก ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมหรือรูปรี ผลมีขนาดกว้างประมาณ 1-2.5 นิ้ว และยาวประมาณ 1.5-3 นิ้ว ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกเต็มที่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง ภายในมีเมล็ดรูปไข่หลายเมล็ด เป็นผลในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์[1],[2],[5]

ผลมะดูก

เมล็ดมะดูก

ลูกมะดูก

สรรพคุณของมะดูก

  1. รากมีรสมันเมา ใช้รับประทานเป็นยาบำรุงกระดูก ดับพิษในกระดูก (ราก)
  2. ลำต้นมะดูก นำมาตากแห้งผสมกับลำต้นฮ่อสะพานควาย, ข้าวหลามดง, ตานเหลือง, มะตันขอ, ม้ากระทืบโรง, หัวยาข้าวเย็น, แก่นฝาง, โด่ไม่รู้ล้ม และเปลือกลำต้นนางพญาเสือโคร่ง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อย (ลำต้น)
  3. รากนำมาต้มผสมกับขันทองพยาบาท ใช้กินเป็นยารักษาโรคมะเร็ง (ราก)
  4. รากใช้กินเป็นยาแก้พิษฝีภายใน ฝีในตับ ฝีในปอด ฝีในกระดูก (ราก)
  5. รากใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน แก้ประดง น้ำเหลืองเสีย เข้าข้อออกดอก (ราก)
  6. ใช้เป็นยาแก้อาการปวดแสบปวดร้อน (ราก)
  7. รากใช้เป็นยาแก้เส้นเอ็นพิการ (ราก)
  8. รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดกระดูกและข้อ (ราก)

ประโยชน์ของมะดูก

  1. ผลมะดูกสุก ใช้รับประทานได้ มีรสหวานกลิ่นหอม
  2. มีใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปบ้าง

มะคำไก่

 

ะคำไก่

 

ต้นประคำไก่,ขายต้นประคำไก่,มะคำไก่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Drypetes roxburghii (Wall.) Hurasawa 
ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae 
ชื่อสามัญ : - 
ชื่ออื่น : มะคำไก่ มะคำดีไก่ (ภาคกลาง) หมากค้อ มักค้อ (ขอนแก่น) ,ปะอานก,ยาแก้,โอวนก(เหนือ),ทะขามกาย(ตะวันออก) 
ลักษณะ 
ประคำไก่เป็นไม้ต้น ต้นและกิ่งก้านสีขาวนวล กิ่งทอดห้อยลง 
ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปรี โคนใบเบี้ยว ใบหนา สีเขียว เป็นมัน 
ดอก เพศผู้และเมียอยู่ต่างต้นกัน 
ผล รูปทรงกลม สีขาวอมเทา สุกสีดำ 
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด 
สรรพคุณ 
ต้น - เป็นยาเย็น ขับปัสสาวะ เป็นยาระบายและกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ 
ใบ ผล และเมล็ด - กินเป็นยาลดไข้ แก้หวัด และแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย 
ราก - มีรสขมเบื่อเล็กน้อย แก้กระษัย แก้เส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ถ่ายฝีภายในทั้ง 5 หรือมะเร็ง แก้วัณโรค ขับปัสสวะ 
ใบ - มีรสขมเบื่อเล็กน้อย แก้ริดสีดวงทวาร แก้พิษฝีในกระดูก ปอด ตับ ม้าม กระเพาะ ลำไส้ แก้กระษัย ขับปัสสาวะ ตำพอกฝี ปรุงยาถ่ายพิษฝี ถ่ายเส้น ถ่ายกระษัย 
ยาทาพระเส้น ยาตำรับนี้ใช้ทาแก้โรคเส้นพิรุธ แก้ลมอัมพาต ลมปัฏฆาตกร่อน ตะคริว จับโปง เมื่อยขบ สำหรับส่วนผสมในตำรับยาก็คือ 
พริกไทย ข่า กระชาย หอม กระเทียม มหาหิงคุ์ ยาดำ ทั้ง 7 อย่างนี้ให้นำมาอย่างละ 1 ส่วน 
ตะไคร้หอม ใบขี้เหล็ก ใบตองแตก ใบมะขาม ใบเลี่ยน ทั้ง 5 อย่างนี้ให้นำมาอย่างละ 4 ส่วน 
นอกจากนี้ยังมี ใบมะคำไก่ 16 ส่วน 
นำส่วนผสมเหล่านี้มาตำให้ละเอียด แล้วนำมาห่อด้วยผ้าขาวบางคั้นเอาแต่น้ำมาทาบริเวณที่มีอาการเส้นตึง เป็นตะคริว หรือเมื่อขบ