• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

ว่านชักมดลูก

สรรพคุณและประโยชน์ของว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูก จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE) เป็นพืชที่มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดินและมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่สำหรับในประเทศไทย ว่านชักมดลูกที่พบได้ตามท้องตลาดจะมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ว่านชักมดลูกตัวเมีย (Curcuma comosa Roxb.) ซึ่งจะมีลักษณะของหัวกลมรีตามแนวตั้ง มีแขนงสั้น (ตามภาพแรก) และว่านชักมดลูกตัวผู้ (Curcuma latifolia Roscoe) จะมีลักษณะต่างจากตัวเมียตรงที่ หัวใต้ดินจะกลมแป้นมากกว่า และแขนงจะยาวมากกว่า (ตามภาพที่สอง) ทำให้การซื้อมาใช้บางครั้งอาจจะจำแนกลำบาก เพราะบางครั้งเมื่อนำมาเทียบกันทั้งตัวเมียและตัวผู้จะคล้ายกันมาก โดยจะปลูกมากในจังหวัดเลยและเพชรบูรณ์

ทั้งนี้ยังได้พบว่ามีพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับว่านชักมดลูกของไทยมาก และมีสรรพคุณทางยาที่คล้ายคลึงกัน โดยเป็นว่านชัดมดลูกที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma zanthorrhiza Roxb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Curcuma xanthorrhiza Roxb.)

สมุนไพรว่านชักมดลูก ตามสรรพคุณตำรายาไทยนั้น จะใช้ว่านชักมดลูกตัวเมียเป็นหลัก เพราะมีสรรพคุณรักษาอาการต่าง ๆ ของสตรี ไม่ว่าจะเป็นอาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ปวดท้องประจำเดือน ตกขาว เป็นต้น จากสรรพคุณดังกล่าวนักวิจัยก็ได้ตีความว่า ว่านชักมดลูกน่าจะมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน ซึ่งมีงานวิจัยพบว่าว่านชักมดลูกตัวเมียจะออกฤทธิ์ได้เป็นอย่างดีเพราะมีสารออกฤทธิ์ในกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ แม้จะมีโครงสร้างไม่เหมือนกับฮอร์โมนเอสโตรเจนก็ตาม และเรียกสารชนิดนี้ว่า ไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งวงการแพทย์ต่างก็ยอมรับว่าสารกลุ่มไฟโตเอสโตรเจนมีประสิทธิภาพในการรักษาสุขภาพต่าง ๆ ของสตรีวัยทองได้เป็นอย่างดี

ดังนั้นการเลือกว่านชักมดลูกมาเป็นวัตถุดิบให้ถูกต้องเพื่อใช้ทำยาสมุนไพรจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อสรรพคุณที่ต้องการ

สำหรับวิธีกินว่านชักมดลูกหัวสด ๆ ให้เอาหัวว่านชักมดลูกมาปอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำมาต้มน้ำดื่ม แต่ถ้าเป็นชนิดสำเร็จรูปก็ให้รับประทานตามที่ระบุไว้ข้างขวดได้เลย

ว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูก สรรพคุณ

ผลข้างเคียงของยาว่านชักมดลูก

  • มีอาการตกขาวมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยที่สุด แต่ก็มีคำแนะนำว่าสามารถรับประทานต่อไปได้เลย
  • มีอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ตัวร้อน มีอาการไอเหมือนจะเป็นไข้ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นได้สตรีที่ร่างไม่แข็งแรง และมีคำแนะนำว่าให้หยุดรับประทานสักพักจนกว่าอาการไข้จะหายไป แล้วให้รับประทานต่อในปริมาณที่ลดลงครึ่งหนึ่ง หรือสำหรับผู้ไม่ได้มีอาการไข้ให้เริ่มรับประทานในปริมาณน้อย ๆ ก่อน แล้วค่อยเพิ่มปริมาณในการรับประทานตามฉลากสมุนไพร
  • มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนังและตามลำตัว ซึ่งเป็นอาการที่พบได้น้อย มีคำแนะนำว่าถ้าหากอาการไม่รุนแรงมากจนเกินให้รับประทานต่อได้ แต่ถ้าผื่นมากก็ให้ลดปริมาณลงครึ่งหนึ่ง หากอาการดีขึ้นค่อยกลับมารับประทานในปริมาณที่กำหนด
  • มีอาการปวดหน้าอก ตึงหน้าอก หรือปวดมดลูก ช่องคลอด แนะนำว่าหากมีอาการดังกล่าวให้ลดปริมาณยาลงครึ่งหนึ่ง หลังจากอาการดีขึ้นค่อยรับประทานในปริมาณที่กำหนด
  • สำหรับสตรีวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน หลังจากรับประทานอาจจะมีประจำเดือนใหม่เกิดขึ้นได้ โดยคุณสามารถรับประทานต่อไปได้ ประจำเดือนก็จะค่อย ๆหมดไปเอง

สรรพคุณของยาว่านชักมดลูก

  1. ว่านชักมดลูกมีความปลอดภัยมากกว่า กวาวเครือขาว และยังช่วยให้ทำให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้น
  2. ว่านชักมดลูก ช่วยรักษาอาการมดลูกทรุดตัว หรือมดลูกต่ำไม่เข้าที่
  3. มีส่วนช่วยเสริมหรือขยายหน้าอก
  4. ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ขาวนวล และมีเลือดฝาด
  5. มีส่วนช่วยลดเลือนรอยเหี่ยวย่น ฝ้า และรอยดำ
  6. ช่วยแก้อารมณ์แปรปรวนต่าง ๆของสตรี เช่น อารมณ์ฉุนเฉียว จิตใจห่อเหี่ยว โกรธง่าย อ่อนไหวง่าย ให้หายไป
  7. ช่วยกระชับหน้าท้องที่หย่อนคล้อยหลังคลอดบุตร
  8. ช่วยกระชับช่องคลอดภายในของสตรี ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น
  9. ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากช่องคลอดหรือในมดลูก
  10. ช่วยทำให้ซีสต์หรือเนื้องอกภายในช่องคลอดฝ่อตัวลง
  11. ช่วยดับกลิ่นภายในช่องคลอดของสตรีให้ลดลงหรือหายไป
  12. ช่วยเพิ่มน้ำหล่อลื่นในช่องคลอดของสตรี
  13. ช่วยรักษาอาการหน่วงเสียวของมดลูกหรืออาการเจ็บท้องน้อยเป็นประจำให้ดีขึ้น
  14. ช่วยแก้ปัญหาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
  15. ช่วยรักษาอาการปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน หรืออาการปวดท้องอย่างรุนแรงให้มีอาการดีขึ้น
  16. ช่วยแก้อาการตกขาวในสตรี ทำให้อาการดีขึ้น
  17. ช่วยทำให้สตรีมีอารมณ์ทางเพศที่สมบูรณ์ ทำให้อารมณ์ทางเพศที่ขาดหายไปกลับมาเหมือนเดิม
  18. ว่านชักมดลูกมีสรรพคุณช่วยขับน้ำคาวปลา
  19. ช่วยแก้พิษอาหารไม่ย่อย
  20. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร
  21. ช่วยรักษาโรคไส้เลื่อน
  22. ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบในสตรีวัยทอง
  23. ช่วยดับกลิ่นปาก และกลิ่นตามตัว
  24. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและการอักเสบต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสื่อมและความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย
  25. ช่วยปกป้องเซลล์เรตินาของตาจากอนุมูลอิสระต่าง ๆ ช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อมของคนวัยทอง
  26. ช่วยป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน โดยช่วยป้องกันการสูญเสียแคลเซียม ช่วยรักษาความหนาแน่นของมวลกระดูก
  27. ช่วยรักษาซ่อมแซมระบบหลอดเลือดและหัวใจ
  28. ช่วยทำให้หลอดเลือดแข็งตัวมากขึ้น ช่วยป้องกันอาการเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขาดความยืดหยุ่น
  29. ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (P388 leukemic cell) ด้วยการไปทำลายดีเอ็นเอของเซลล์มะเร็ง
  30. ช่วยในการลำเลียงไขมันออกจากเนื้อเยื่อต่าง ๆ เข้าไปในตับและช่วยเสริมให้เกิดการขับคอเลสเตอรอลและกรดน้ำดีสู่ทางเดินอาหารและออกจากร่างกายพร้อมกับอุจจาระ
  31. ว่านชักมดลูกมีประโยชน์ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี และช่วยเสริมให้มีการหลั่งกรดน้ำดีมากยิ่งขึ้น จึงช่วยลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี
  32. มีฤทธิ์ปกป้องเซลล์ตับจากสารพิษคาร์บอนเตตระคลอไรด์ โดยไปช่วยกระตุ้นกลไกการล้างพิษและลดการสร้างสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกาย
  33. ช่วยปกป้องตับและไต
  34. มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลดีกับโรคในระบบประสาท
  35. นำมาเป็นส่วนผสมหลักในการผลิตยาสมุนไพรยี่ห้อต่าง ๆ ทั้งชนิดแคปซูล ชนิดผง เป็นต้น

 

 

 

ย่านางแดง

ย่านางแดง สรรพคุณและประโยชน์ของต้นย่านางแดง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ย่านางแดง

ย่านางแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia strychnifolia Craib. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)[1],[2]

สมุนไพรย่านางแดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สยาน (ตาก, ลำปาง), เครือขยัน(ภาคเหนือ), หญ้านางแดง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ขยันเถาขยันเป็นต้น

ลักษณะของย่านางแดง

  • ต้นย่านางแดง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น โดยมีความยาวประมาณ 5 เมตร เปลือกเถาเรียบ เถามีขนาดกลาง ๆ และมักแบนมีร่องตรงกลาง เปลือกเถาเป็นสีออกเทาน้ำตาล ส่วนเถาแก่มีลักษณะกลมและเป็นสีน้ำตาลแดง มีมือสำหรับการยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ๆ ปลายม้วนงอ ส่วนรากมีผิวขรุขระสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีรอยบากตามขวางเล็ก ๆ ทั่วไป ลักษณะของเนื้อไม้ภายในรากเป็นสีน้ำตาลแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการแยกหัว ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค โดยสามารถพบต้นย่านางแดงได้ตามป่าเบญจพรรณที่แห้งแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าแดง ป่าดิบเขา และตามที่โล่งแจ้ง

หญ้านางแดง

ต้นย่านางแดงเครือขยัน

ใบย่านางแดง มีใบดกและหนาทึบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลม หรือเว้าตื้นกึ่งเรียวแหลมถึงมีติ่งหนาม โคนใบมนเว้าตื้น ๆ หรือมีลักษณะกลมถึงรูปหัวใจตื้น ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-7 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร ผิวใบมันเป็นสีเขียวเข้ม ท้องใบและหลังใบเรียบเกลี้ยง มีเส้นแขนงใบประมาณ 3-5 เส้น ปลายเส้นใบโค้งจรดกัน ส่วนก้านใบยาวประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร และมีหูใบที่หลุดร่วงได้ง่าย

ใบหญ้านางแดงใบย่านางแดง

ดอกย่านางแดง ออกดอกเป็นช่อกระจะตามปลายกิ่ง มีรูปทรงเป็นรูปทรงกระบอกแคบ โค้งเล็กน้อย ปลายบานและห้อยลง มีความยาวประมาณ 15-100 เซนติเมตร ช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีแดงสดมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร มีขนสีขาวขึ้นปกคลุม ปลายกลีบดอกมีลักษณะมนแหลม ฐานรองดอกมีลักษณะเป็นรูประฆัง ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 3 ก้าน บ้างว่า 5 ก้าน ก้านเกสรเป็นสีแดงยื่นพ้นกลีบดอก ส่วนเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันอีก 7 ก้านมีความยาวไม่เท่ากัน ส่วนรังไข่มีความยาวประมาณ 0.7 เซนติเมตร มีขนสั้นขึ้นปกคลุม ก้านสั้น ส่วนก้านเกสรเพศเมียมีความยาวประมาณ 0.7 เซนติเมตร ยอดเกสรเพศเมียไม่ชัดเจน มีใบประดับเป็นรูปลิ่ม ติดทน มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร และกลีบเลี้ยงเป็นสีแดง 5 กลีบ ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก มีลักษณะของกลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย ยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร มีขนสั้นขึ้นปกคลุม สีชมพูอ่อนหรือสีแดง โดยจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม

ดอกหญ้านางแดงดอกย่านางแดง

  • ผลย่านางแดง ออกผลเป็นฝัก ฝักย่านางแดงมีลักษณะแบนเป็นรูปขอบขนาน ปลายฝักแหลม ส่วนโคนฝักเป็นมีลักษณะเป็นรูปหอก ฝักยาวประมาณ 15-16 เซนติเมตร เปลือกฝักแข็ง เมื่อแก่จะแตกอ้า ภายในฝักมีเมล็ดอยู่ประมาณ 8-9 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร

สรรพคุณของย่านางแดง

  1. เถาย่านางแดงช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เถา)
  2. ช่วยบำรุงหัวใจ แก้โรคหัวใจบวม (เถา)
  3. ช่วยดับพิษร้อนภายในร่างกาย (เถา)
  4. ช่วยแก้อาการท้องผูกไม่ถ่าย ด้วยการใช้ฝนกับน้ำหรือน้ำซาวข้าว หรือนำมาต้มกับน้ำดื่ม (เถา, ราก, ใบ)
  5. รากหรือเหง้าใช้เป็นยาแก้ไข้ ใช้กระทุ้งพิษไข้ ถอนพิษไข้และแก้ไข้ทั้งปวง โดยใช้เหง้านำมาฝนกับน้ำหรือน้ำซาวข้าว หรือจะต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาก็ได้ (ราก, เหง้า) ส่วนเถาใช้เป็นยาแก้ไข้พิษ แก้ไข้หมากไม้ ไข้กาฬ ไข้หัว ไข้สุกใส ไข้เซื่องซึม ไข้ป่าเรื้อรัง ไข้ทับระดู และไข้กลับไข้ซ้ำ (เถา)
  1. ใช้เป็นยาแก้พิษทั้งปวง แก้พิษเบื่อเมา พิษเบื่อเมาของเห็ด ถอนพิษยาเมา แก้เมาสุรา แก้ยาเบื่อ ยาสั่ง ถอนพิษผิดสำแดง โดยใช้เหง้านำมาฝนกับน้ำหรือน้ำซาวข้าว หรือจะต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาก็ได้ (เถา, ราก, เหง้า, ใบ)
  2. ช่วยล้างสารพิษหรือสารตกค้างจากยาฆ่าแมลงในร่างกาย หรือเกิดอาการแพ้ต่าง ๆ ด้วยการใช้ใบหรือเถานำมาต้มดื่มเป็นประจำหรือใช้กินแทนน้ำ ก็จะช่วยลดอาการดังกล่าวได้ (ใบ, เถา)
  3. ช่วยล้างสารพิษจากยาเสพติด ซึ่งหมอพื้นบ้านบางแห่งได้นำรากหรือเถามาฝนให้ผู้ป่วยที่กำลังเลิกยาเสพติดดื่ม เพื่อช่วยล้างพิษของยาเสพติดในร่างกาย (เถา, ราก)
  4. ช่วยขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง (เถา, ราก, ใบ)
  5. ลำต้นหรือรากใช้เข้าเป็นยาบำรุงโลหิตสำหรับสตรีหลังการคลอดบุตรขณะอยู่ไฟ จะช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น (ลำต้น, ราก)
  6. มีข้อมูลระบุว่าสมุนไพรย่านางแดงสามารถนำมาใช้เป็นยาฆ่าเชื้อราได้ (ใบย่านางแดงแคปซูล)
  7. ย่านางแดงมีสรรพคุณเหมือนกับย่านางเขียวหรือย่านางขาวทุกประการ แต่จะมีฤทธิ์ที่แรงกว่าและดีกว่า (โดยส่วนใหญ่สมุนไพรที่มีสีเข้มกว่าจะมีสารสำคัญที่มีคุณภาพมากกว่า)

ประโยชน์ของย่านางแดง

  • ยอดอ่อน ใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริกและลาบได้
  • นอกจากจะใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังใช้ปลูกเป็นไม้ประดับไว้เป็นไม้ประดับรั้วหรือปลูกไว้เป็นซุ้มหน้าบ้านได้อีกด้วย เนื่องจากมีใบที่เขียวสดและมีช่อดอกที่โดดเด่นสวยงาม
  • เปลือกนำมาลอกใช้ทำเป็นเชือก (ไม่ยืนยัน)

 

รัง

รัง สรรพคุณและประโยชน์ของต้นรัง

รัง

รัง ชื่อวิทยาศาสตร์ Pentacme siamensis (Miq.) Kurz (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Shorea siamensis Miq.) จัดอยู่ในวงศ์ยางนา (DIPTEROCARPACEAE)

สมุนไพรรัง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ลักป้าว (เชียงใหม่), เรียง เรียงพนม (สุรินทร์), เปา เปาดอกแดง (ภาคเหนือ), ฮัง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), รัง (ภาคกลาง), ไม้เปา (คนเมือง, ม้ง), แลบอง เป็นต้น

หมายเหตุ : ต้นรังที่กล่าวถึงในบทความนี้เป็นพันธุ์ไม้คนละชนิดกับต้นสาละ (Shorea robusta Gaertn.) และต้นเต็ง (Shorea obtusa Wall. ex Blume)

ลักษณะของต้นรัง

  • ต้นรัง จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง กิ่งก้านมักคดงอ เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง ต้นมีความสูงได้ประมาณ 10-25 เมตร เปลือกต้นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลอมเทา มีความแข็งและหนามาก แตกเป็นร่องลึกตามยาวของลำต้นคล้ายรอยไถ เปลือกต้นด้านในเป็นสีแดงออกน้ำตาล มีน้ำยางสีเหลืองอ่อนถึงสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด (เด็ดปีกก่อนนำเมล็ดไปเพาะ) มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พม่า ลาว เขมร และเวียดนาม ในประเทศไทยพบต้นรังได้มากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพบขึ้นอยู่ในภาคอื่น ๆ ด้วย ยกเว้นในภาคใต้ โดยมักขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเต็งรังผสมก่อและสน ตามเขาหินปูน ตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงที่ความสูงประมาณ 1,300 เมตร

ต้นรัง

รูปรัง

 

  • ใบรัง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้างถึงรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมหรือมน โคนใบเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ ขอบเป็นคลื่นขึ้นลง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-12.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-18 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบเกลี้ยง เนื้อใบบางคล้ายกระดาษถึงหนาคล้ายแผ่นหนัง แผ่นใบด้านล่างมีขนขึ้นประปราย เส้นแขนงใบมีข้างละ 10-16 เส้น เห็นได้ชัดเจนทางด้านล่าง ก้านใบเกลี้ยงยาวได้ประมาณ 2.5-3.5 มิลลิเมตร มีหูใบรูปไข่แกมรูปเคียว ขนาดกว้างประมาณ 7 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1.5-1.8 เซนติเมตร หลุดร่วงได้ง่าย ใบอ่อนแตกใหม่เป็นสีน้ำตาลแดง

ใบรัง

  • ดอกรัง ออกดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร โดยจะออกตามซอกใบเหนือรอยแผลใบหรือออกที่ปลายกิ่ง ดอกมักจะออกก่อนแตกใบอ่อน ดอกตูมมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรีขนาดใหญ่ มีขนาดกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ มีกลุ่มละ 5-20 ดอก มี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายบิดเป็นเกลียวคล้ายกังหัน ปลายกลีบโค้งไปด้านหลัง โคนกลีบเชื่อมกัน มีกลิ่นหอม ดอกหลุดร่วงได้ง่าย ส่วนกลีบเลี้ยงมีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปใบหอกกว้าง มีอยู่ 5 กลีบ ขนาดกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ปลายกลีบเลี้ยงเรียวแหลม โคนเชื่อมติดกัน ผิวด้านนอกมีขน กลีบดอกเป็นไข่หรือรูปรีกว้าง ปลายกลีบแหลม กลีบดอกมีขนาดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ผิวด้านนอกเกลี้ยงหรือมีขนขึ้นประปราย ด้านดอกย่อยมีผิวเกลี้ยง ยาวได้ประมาณ 0.7 เซนติเมตร เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ มีเกสรเพศผู้ 15 อัน แบ่งเป็นชั้นใน 5 อัน และชั้นนอก 10 อัน ก้านชูอับเรณูเป็นรูปแถบกว้าง อับเรณูเป็นรูปแถบ ที่ปลายมีรยางค์แหลม รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่เกลี้ยง มีอยู่ 3 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุล 2 เม็ด ส่วนก้านเกสรเพศเมียเป็นรูปเส้นด้าย ยอดเกสรเพศเมียเป็นพู 3 พู

ดอกรัง

ดอกฮัง

  • ผลรัง ผลเป็นแบบผลผนังชั้นในแข็ง ลักษณะเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร มีปีกที่พัฒนามาจากกลีบเลี้ยง 5 ปีก ลักษณะเป็นรูปช้อน มีเส้นตามยาวชัดเจน แบ่งเป็นปีกยาว 3 ปีก ปลายป้านเป็นรูปใบพาย มีขนาดกว้างประมาณ 4-9 เซนติเมตร และยาวได้ถึง 12 เซนติเมตร และปีกสั้นอีก 2 ปีก มีขนาดกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 6.5 เซนติเมตร มีเส้นตามยาวของปีกตั้งแต่ 7 เส้นขึ้นไป ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด จะออกดอกและเป็นผลในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน เมื่อออกดอกหลังใบร่วงแล้วจะพร้อมแตกใบใหม่[1]

ผลรัง

ลูกรัง

สรรพคุณของรัง

  • ชาวไทใหญ่ทางภาคเหนือของไทยจะใช้ใบรังนำมาต้มกับน้ำอาบเป็นยาแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (ใบ)
  • ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้เปลือกเป็นแก้โรคท้องร่วง และใช้ใบนำมาตำพอกรักษาแผลพุพอง (เปลือก, ใบ)

ประโยชน์ของรัง

  • ชันยางจากต้นรังใช้ผสมกับน้ำมันทาไม้หรือน้ำมันยาง ใช้สำหรับยาแนวเรือ ภาชนะที่ทำจากไม้ไผ่ หรือเครื่องจักสานต่าง ๆ
  • ประโยชน์หลักของต้นรังที่คนไทยรู้จักแพร่หลายมาตั้งแต่อดีตคือการนำไม้มาใช้ในงานการก่อสร้างบ้านเรือน เพราะไม้รังเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความแข็งแรงทนทานเป็นอันดับหนึ่งคู่กับไม้เต็ง จึงเหมาะสำหรับการนำไปใช้ในการก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรงทนทานมากเป็นพิเศษ เพราะไม้รังสามารถรับน้ำหนักมาก ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น คาน เสา รอด ตง พื้น พื้นชานเรือนที่อยู่กลางแจ้ง สะพาน ไม้หมอนรถไฟ เรือ ส่วนประกอบของยานพาหนะ เครื่องมือกสิกรรมต่าง ๆ และบางแห่งใช้ทำฟืน
  • คนไทยในอดีตถือว่าต้นรังเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ซึ่งตามตำรากล่าวไว้ว่า "คนเกิดปีมะเส็ง มิ่งขวัญอยู่ที่ต้นไผ่และต้นรัง"
  • คุณลักษณะอีกอย่างหนึ่งของต้นรัง คือ เป็นต้นไม้ที่มีความงดงามชนิดหนึ่ง เพราะนอกจากจะมีช่อดอกขนาดใหญ่สีเหลืองอ่อนออกเต็มต้นและให้กลิ่นหอมแล้ว ยามแตกใบอ่อนก็เป็นสีแดงทั้งต้น และเมื่อติดผลอ่อนก็จะมองเห็นปีกของผลอ่อนเป็นสีแดงเต็มต้นต่อไปอีกเช่นเดียวกัน

ม้ากระทืบโรง

 สรรพคุณและประโยชน์ของม้ากระทืบโรง 

 

ม้ากระทืบโรง ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus sarmentosa Buch.-Ham. ex Sm. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ficus reticulata (Miq.) Miq.) จัดอยู่ในวงศ์ MORACEAE

สมุนไพรม้ากระทืบโรง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ม้าคอกแตก คอกม้าแตก มันฤาษี กาโร (ระนอง), พญานอนหลับ (นครสวรรค์), มาดพรายโรง (โคราช), เดื่อเครือ (เชียงใหม่), บ่าบ่วย (คนเมือง), ม้าทะลายโรง (ภาคอีสาน) เป็นต้น

ม้ากระทืบโรง (บางครั้งมักสะกดผิดเป็น "ม้ากระทืบโลง")

ม้ากระทืบโรง คือ สมุนไพรชนิดหนึ่งที่เป็นไม้เถาเลื้อย มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย และมีสรรพคุณโดดเด่นนั่นก็คือการใช้เป็นยาบำรุงกำลังและบำรุงกำหนัด โดยมักนิยมนำมาดองกับเหล้าไว้ดื่ม หรือที่เรียกว่า ยาดองม้ากระทืบโรง

ลักษณะของม้ากระทืบโรง

  • ต้นม้ากระทืบโรง จัดเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เป็นไม้เถาขนาดใหญ่มักเลื้อยเกาะไปตามพรรณไม้ชนิดอื่น มีความสูงได้ถึง 25 เมตร เปลือกมีสีน้ำตาลและสาก มีปุ่มขึ้นคล้าย ๆ หนาม เนื้อไม้สีขาวและมีน้ำยางสีขาว เถามีรสเย็น ส่วนทั้งต้นจะมีรสขมเล็กน้อย มักพบเกาะเลื้อยอยู่ตามต้นไม้ขนาดใหญ่ในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตัดเถาม้ากระทืบโรงประมาณ 1 คืบแล้วนำมาปักชำ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

  • ใบม้ากระทืบโรง มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ลักษณะของใบคล้ายรูปหอก หรือรูปไข่ หรือเป็นรูปขอบขนานแกมวงรี ก้านใบและผิวใบด้านล่าง รวมไปถึงฐานรองดอกอ่อนจะมีขน ใบกว้างประมาณ 7-9 เซติเมตร และยาวประมาณ 12-18 เซนติเมตร

ใบม้ากระทืบโรง

  • ดอกม้ากระทืบโรง ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ที่ฐานรองดอกเป็นรูปทรงกลม
  • ผลม้ากระทืบโรง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม เปลือกผลสีเขียว ภายในผลเนื้อมีสีแดง
ม้ากระทืบโรงสมุนไพรผลม้ากระทืบโรง

สรรพคุณของม้ากระทืบโรง

  1. เถามีรสเย็นขื่น ใช้ดองกับสุราหรือใช้ต้มดื่มช่วยบำรุงกำลัง หรือจะใช้เถาม้ากระทืบโรงที่ตากแห้งแล้วนำมาเข้าเครื่องยาผสมกับเปลือกต้นนางพญาเสือโคร่ง ลำต้นฮ่อสะพายควาย ตานเหลือง มะตันขอ จะค่าน ข้าว แก่นฝาง หลามดง หัวยาข้าวเย็น ไม้มะดูก และโด่ไม่รู้ลืม นำมาต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายก็ได้เช่นกัน (เถา, ลำต้น, ทั้งต้น)
  2. ใช้ผสมกับลำต้นคุย นำมาต้มดื่มใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ต้น)
  3. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เถา, ทั้งต้น)
  4. ช่วยบำรุงร่างกาย (ต้น)ยาดองเหล้าม้ากระทืบโรง
  5. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ทั้งต้น)
  6. ช่วยบำรุงโลหิต ด้วยการใช้เถาต้มกับน้ำดื่มหรือใช้ดองกับเหล้าก็ได้ (เถา)
  7. ช่วยแก้เลือดเสีย เลือดค้าง ซูบซีด (ต้น)
  8. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (เนื้อไม้)
  9. ช่วยแก้อาการปวดฟัน (เถา)
  10. ช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยขับน้ำย่อย ช่วยทำให้อาหารมีรส (เถา)
  11. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ทั้งต้น)
  12. ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (เถา)
  13. ช่วยแก้ประดงลม (เถา)
  14. ช่วยแก้ประดงเลือดที่ทำให้เป็นจุดห้อเลือด เป็นเม็ดตุ่มตามผิวกาย (เถา)
  15. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดเอว เป็นต้น (เถา, เนื้อไม้)
  16. ประโยชน์ของม้ากระทืบโรง ใช้ทำเป็นยาดองม้ากระทืบโรง ซึ่งมีสรรพคุณช่วยบำรุงความกำหนัด (เถา, ทั้งต้น)