• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

มะม่วงแรด

 

มะม่วงแรด

Image result for มะม่วงแรด

ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera indica L.

ชื่อสามัญ: Mango

วงศ์: 
ANACARDIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เหมือนมะม่วงพันธุ์ไทยทั่วไป คือ เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน เนื้อใบหนา สีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด สีเหลืองอ่อน ดอกมีกลิ่นหอม “ผล” กลมรี ผลโตเต็มที่น้ำหนักเฉลี่ย 300 กรัมต่อผล ติดผลเป็นพวง 1-3 ผล ในแต่ละพวงจะมีผลลักษณะแปลกคือ ด้านหลังผลตรงกันข้ามกับโหนกผลด้านหน้ามีเนื้อผลงอกยาวออกมาคล้ายนอแรด จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะผลว่า “มะม่วงแรด” ติดผลปีละครั้งตามฤดูกาล ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

เป็นพันธุ์ไทยแท้ๆ ที่นิยมปลูกตามบ้านหรือปลูกเพื่อเก็บผลขายมาช้านานตั้งแต่รุ่นคุณปู่คุณทวด ส่วนใหญ่จะปลูกเพื่อรับประทานผลดิบ เพราะมีรสชาติหวานมันปนเปรี้ยวนิดๆเหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบรับประทานรสหวานจัด

 

เกาลัดไทย

เกาลัดไทย

Image result for เกาลัดไทย สรรพคุณ

เกาลัดไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Sterculia monosperma Vent

ชื่อวงศ์ STERCULIACEAE

ชื่อสามัญ Chestnut

ชื่ออื่น เกาลัด เกาลัดเทียม เกาลัดเมือง บ่าเกาลัด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ สูง 4-20 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอ่อน เรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กตามยาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ มักกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 5-15 ซม. ยาว 10-30 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบหนา มัน และเรียบหรือย่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 2-10 ซม.

ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง แบบแยกแขนง แตกแขนงย่อยจำนวนมาก ยาวได้ถึง 35 ซม. ดอกย่อยเล็ก สีชมพูอมเขียว กลีบเลี้ยงโคนติดกัน ปลายแผ่ออกเป็นรูปกรวย แยกเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกโค้งงุ้มและติดกันบริเวณปลายกลีบ ไม่มีกลีบดอก ผลแห้งแล้วแตก รูปกระสวย เปลือกผลหนาสีส้มถึงแดงเข้ม เมื่อแก่จะปริแยกออกจากกันด้านหนึ่ง เมล็ด 1-3 เมล็ด ผิวเกลี้ยง สีน้ำตาลแดงถึงดำ เนื้อในสีขาวหรือเหลืองอ่อน กินได้เมื่อทำให้สุกด้วยการต้มหรือคั่ว

Image result for เกาลัดไทย สรรพคุณ

 

การขยายพันธุ์ เพาะกล้าจากเมล็ด งอกได้ง่ายมากเนื่องจากไม่มีระยะพักตัว

ประโยชน์ 1. ปลูกเป็นไม้ประดับ ด้วยความสวยของ ใบ ดอก ผล เมล็ด และทรงพุ่ม

  1. นำเมล็ดไปต้มหรือคั่วให้สุกต้มรับประทานเป็นของขบเคี้ยวแบบเกาลัดจีน
  2. เนื้อไม้นำไปทำเฟอร์นิเจอร์ได้

การปลูกและบำรุงรักษา ต้องการแดดจัดจะให้ความเจริญเติบโตเต็มที่ หากได้แสงแดงน้อยหรือร่มรำไรจะเจริญเติบโตช้า ชอบพื้นที่ดินร่วนปนทราย หน้าดินลึก อินทรียวัตถุมาก น้ำและอากาศถ่ายเทสะดวก ความชื้นสูง แต่ไม่มีน้ำขัง ใส่อินทรียวัตถุสลับกับปุ๋ยเคมี ปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโต ตัดแต่งกิ่งที่เกะกะออกนอกทิศทางให้ได้ทรงพุ่มที่สวยงามหลังฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่หมดผลในฤดูฝนแล้ว

 “เกาลัดไทย” ไม่ได้เป็นไม้ไทย แต่ที่ได้ชื่อว่าเกาลัดไทยทั้งที่มาจากจีน ก็เป็นเพราะคำว่า เกาลัด หรือ เกาลัดจีน ที่คั่วขายที่เยาวราช ก็เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว บางแห่งก็เลยเรียกเกาลัดไทยว่า “เกาลัดเทียม” เพราะไม้ต้นนี้ไม่ใช่พวกเกาลัด(เกาลัค) อยู่คนละวงศ์กับเกาลัดที่คั่วขายกันในราคาแพง

            “เกาลัดไทย”เป็นพืชถิ่นเดิมของจีนตอนใต้ บริเวณกวางตุ้ง กวางสี ยูนนาน ไต้หวัน แล้วแพร่กระจายไปยังอินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น รวมทั้งไทย ผลเป็นผลแห้งแล้ว เปลือกเหนียวเหมือนหนังมีสีส้มหรือสีแดงหุ้มเมล็ดสีดำไว้ข้างใน เมื่อแก่จัดผลจะแตกด้านหนึ่งทำให้เห็นความสวยงามของเมล็ดสีดำตัดกับสีแดงของเปลือกผล เนื้อในเมล็ดสีเหลือง ต้มสุกแล้วเนื้อในเมล็ดจะเป็นสีเหลืองสด เมื่อนำเมล็ดไปต้มหรือคั่วให้สุกก็รับประทานได้ เนื้อไม้นำไปทำเฟอร์นิเจอร์ได้ เนื้อไม้มีเรซินมาก นำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมได้

มะม่วงแก้วขมิ้น

มะม่วงแก้วขมิ้น

Image result for มะม่วงแก้วขมิ้น

Image result for มะม่วงแก้วขมิ้น

 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera indica L.

ชื่อสามัญ: Mango

วงศ์: 
ANACARDIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เหมือนกับมะม่วงทั่วไป ต้นสูง 3-6 เมตร ใบแหลมยาว โคนมน ดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกมีกลิ่นหอม “ผล” มีรูปทรงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่อพบเห็นจะรู้ได้ทันทีว่าเป็นผล “มะม่วงแก้วขมิ้น” เมล็ดเล็กติดผลเป็นพวง 5-10 ผล ผลดกเต็มต้นตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และทาบกิ่ง

ถิ่นกำเนิด จาก ประเทศกัมพูชาหรือประเทศเขมร โดยชาวกัมพูชาหรือชาวเขมรเรียกว่า “ซะ–วาย–แก้ว–รำ เมดร” ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “มะม่วงแก้วขมิ้น” ถูกนำเข้ามาปลูกเพื่อเก็บผลและขยายพันธุ์ตอนกิ่งจำหน่ายในประเทศไทยนานกว่า 4-5 ปี แล้ว ปรากฏว่า ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อผลไป รับประทาน และซื้อกิ่งตอนไปปลูกอย่างแพร่หลาย เนื่องจาก เป็นมะม่วงที่ติดผลง่าย ติดผลดกตลอดทั้งปีโดยไม่ต้องใช้วิธีบังคับให้ติดผลนอกฤดูกาลเช่นมะม่วงสายพันธุ์อื่น จึงทำให้เกษตรกรผู้ปลูกเก็บผลขายมีผลขายได้ตลอดปี

ที่สำคัญ รสชาติผลดิบหรือแก่จัด เนื้อผลจะแน่นละเอียด กรอบมัน หวานปนเปรี้ยวเล็กน้อยมี 3 รสในผลเดียว ผู้รับประทานชื่นชอบมาก ถ้าสังเกตให้ดี จะพบว่า รถเข็นผลไม้ขาย ส่วนใหญ่มะม่วงดิบจะเป็น “มะม่วงแก้วขมิ้น” ทั้งสิ้น เนื้อสุกเป็นสีเหลืองเข้มเหมือนสีของขมิ้น รสชาติหวานไม่เละ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รับประทานอร่อยไม่แพ้เนื้อมะม่วงสุกพันธุ์อื่น แต่ไม่นิยมกินเนื้อสุก จะชอบกินผลดิบมากกว่า

ทองอุไร

ทองอุไร

Image result for ต้นทองอุไรข้อมูล

 

Image result for ต้นทองอุไรข้อมูล

 

 

ชื่อไทย : ทองอุไร
ชื่อท้องถิ่น : ดอกละคร(เชียงใหม่)/ พวงอุไร(กทม.)/ สร้อยทอง(กทม.,กลาง) 
ชื่อสามัญ : Yellow bell/ Yellow elder/ Trumpet vine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tecoma stans (L.) Kunth
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ลำต้น :

ไม้พุ่ม สูง 2-5 เมตร ไม่ผลัดใบ บางครั้งมีลักษณะเป็นพุ่มเรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน 

ใบ :

ประกอบแบบขนนก ปลายคี่ เรียงตรงข้ามกัน ใบย่อย 5-13 ใบ รูปใบหอกหรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-3 ซม. ยาว 3-8 ซม. ปลายใบแหลมโคนใบสอบ ใต้ใบมีขนละเอียด ขอบใบจักฟันเลื่อย

ดอก :

สีเหลือง ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะแยกแขนงที่ปลายกิ่ง กลีบดอกร่วงง่าย กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 3-4 ซม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ คล้ายรูปแตร

ผล :

เป็นฝักเกือบกลม ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 12-14 ซม. เมื่อแก่จะแตกออก เมล็ดแบน สีน้ำตาลอ่อน

ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก :   สิ้นสุดระยะติดดอก :  
เริ่มติดผล :   สิ้นสุดระยะติดผล :  
สภาพทางนิเวศวิทยา : นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิด อเมริกา เม็กซิโก ทางเหนือของอาร์เจนตินา และแถบหมู่เกาะอินดีสตะวันตก การกระจายพันธุ์ การใช้งานด้านภูมิทัศน์
การปลูกและการขยายพันธุ์ :  
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : ไม่ได้ระบุรายละเอียดการใช้ประโยชน์
แหล่งอ้างอิง : [1] วชิรพงศ์ หวลบุตตา. 2542. ไม้ต้นประดับ เล่ม 1-2. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.
ประเภทของการใช้ประโยชน์ : ไม่ได้ระบุประเภทการใช้ประโยชน์

ที่อยู่ :

 

Zone B : สวนไม้เสียบยอด
Zone B : สวนรัตติกาล