ชัยพฤกษ์ สรรพคุณและประโยชน์ของต้นชัยพฤกษ์
ชัยพฤกษ์ ชื่อสามัญ Javanese Cassia, Rainbow Shower, Pink and white shower, Common pink cassia
ชัยพฤกษ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia javanica L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cassia javanica subsp. javanica)ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า เป็นชนิด Cassia javanica subsp. nodosa (Roxb.) K.Larsen & S.S.Larsen จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)
สมุนไพรชัยพฤกษ์ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขี้เหล็กยะวา, เหล็กยะวา เป็นต้น
หมายเหตุ : ดอกชัยพฤกษ์ เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดชัยนาท และยังจัดเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยกรุงเทพอีกด้วย
ลักษณะของชัยพฤกษ์
- ต้นชัยพฤกษ์ จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 15-25 เมตร ทรงพุ่มเป็นรูปร่ม แผ่กว้าง ทรงพุ่มมีขนาดประมาณ 6-8 เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบเป็นสีน้ำตาล ต้นเล็กจะมีหนาม ส่วนต้นใหญ่จะมีรอยแผลปนหนามตามแนวขวาง[1] ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ชอบดินทรายและแสงแดดจัด มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซีย และแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบขึ้นตามป่าทุ่ง ป่าโปร่ง และปลูกเลี้ยงอยู่ทั่วไป
- ใบชัยพฤกษ์ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 7-12 คู่ ออกเรียงตรงข้ามกัน แกนกลางใบประกอบยาวได้ประมาณ 15-30 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบกลม ส่วนขอบใบเรียบ มีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวสด ผิวใบด้านล่างมีสีอ่อนกว่า และมีขนละเอียด เนื้อใบบางเกลี้ยงแต่ค่อนข้างเหนียว ก้านใบยาวประมาณ 1.5-4 เซนติเมตร ส่วนก้านใบย่อยมีขนาดสั้นมาก
- ดอกชัยพฤกษ์ ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด ก้านช่อดอกใหญ่และแข็ง ไม่แตกแขนง ช่อดอกตั้ง ยาวได้ประมาณ 5-16 เซนติเมตร ดอกเป็นสีชมพู ดอกย่อยเป็นรูปดอกหางนกยูงจำนวนมาก ดอกย่อยมีก้านดอกเรียว ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงดอกมี 4 กลีบ ลักษณะของกลีบเลี้ยงเป็นรูปไข่ ปลายแหลม สีแดงเข้มถึงสีแดงอมน้ำตาล ยาวประมาณ 7-10 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ มีขนาดกว้างประมาณ 7-8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร โคนกลีบคอดเป็นก้าน ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 9-10 อัน สีเหลือง 3 อัน มีลักษณะยาวโค้ง ดอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร รังไข่เรียว มีขนปกคลุมบาง ๆ ดอกเมื่อเริ่มบานจะเป็นสีชมพู แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม เมื่อดอกใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีขาว ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม
- ผลชัยพฤกษ์ ผลแห้ง ลักษณะเป็นฝักรูปทรงกระบอก ผิวฝักเรียบเกลี้ยงไม่มีขน ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร ฝักอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ฝักแก่จะไม่แตก ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 40-50 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมแบน มีสีน้ำตาลเป็นมัน จะติดผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม
สรรพคุณของชัยพฤกษ์
- ฝักมีรสหวานเอียน ใช้เป็นยาระบายพิษไข้ ใช้ถ่ายเสมหะ (ฝัก)
- ฝักมีสรรพคุณเป็นยาแก้ตานขโมย (ฝัก)
- เปลือกฝักและเมล็ด มีสรรพคุณทำให้อาเจียนและเป็นยาลดไข้ (เปลือกฝัก, เมล็ด)
- ฝักหรือเนื้อในฝักใช้เป็นยาแก้พรรดึกหรืออาการท้องผูก เป็นยาระบายที่ไม่ทำให้ปวดมวนในท้องหรือไซ้ท้อง จึงเหมาะใช้ในเด็ก สตรีมีครรภ์ และในผู้ป่วยเรื้อรัง (ฝัก)
- เนื้อในฝักใช้เป็นยาขับพยาธิ (เนื้อในฝัก)
- ใช้เป็นยาแก้ปวดข้อ (ฝัก)
- สรรพคุณของยาไทยโบราณกล่าวว่า ส่วนอื่น ๆ เสมอด้วยสรรพคุณของต้นราชพฤกษ์ (ต้นคูน)
ประโยชน์ของชัยพฤกษ์
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อชื่นชมความงามของดอก
- ต้นชัยพฤกษ์ จัดเป็นพรรณไม้มงคล เป็นต้นไม้แห่งชัยชนะ ชนะศัตรู ชนะอุปสรรคต่าง ๆ และชัยพฤกษ์ยังเป็นหนึ่งในเก้าไม้มงคลที่นำมาใช้ในพิธีวางศิลาฤกษ์และใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนอีกด้วย
- สำหรับชาวไทย ช่อชัยพฤกษ์ประดับเป็นมงคลหลายที่ เช่น บนอินทรธนูข้าราชการ ประดับประกอบดาวบนอินทรธนู และในหมวกของทหารและตำรวจทั้งหลาย
- นอกจากนี้ใบชัยพฤกษ์ยังใช้ประดิษฐ์เป็นพวงมาลัยสวมศีรษะ เพื่อเป็นเกียรติยศยิ่งใหญ่แก่กวีและนักดนตรีในสมัยโบราณอีกด้วย
-
ประโยชน์ของชัยพฤกษ์
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อชื่นชมความงามของดอก
- ต้นชัยพฤกษ์ จัดเป็นพรรณไม้มงคล เป็นต้นไม้แห่งชัยชนะ ชนะศัตรู ชนะอุปสรรคต่าง ๆ และชัยพฤกษ์ยังเป็นหนึ่งในเก้าไม้มงคลที่นำมาใช้ในพิธีวางศิลาฤกษ์และใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนอีกด้วย
- สำหรับชาวไทย ช่อชัยพฤกษ์ประดับเป็นมงคลหลายที่ เช่น บนอินทรธนูข้าราชการ ประดับประกอบดาวบนอินทรธนู และในหมวกของทหารและตำรวจทั้งหลาย
- นอกจากนี้ใบชัยพฤกษ์ยังใช้ประดิษฐ์เป็นพวงมาลัยสวมศีรษะ เพื่อเป็นเกียรติยศยิ่งใหญ่แก่กวีและนักดนตรีในสมัยโบราณอีกด้วย
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อชื่นชมความงามของดอก