• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

สบู่เลือด

สบู่เลือด สรรพคุณและประโยชน์ของต้นสบู่เลือด

ใบสบู่เลือด

สบู่เลือด

สบู่เลือด หรือ ว่านสบู่เลือด ชื่อวิทยาศาสตร์ Stephania pierrei Diels จัดอยู่ในวงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE)

สมุนไพรสบู่เลือด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า บัวเครือ (เพชรบูรณ์), บัวกือ(เชียงใหม่, เพชรบุรี), บัวบก (กาญจนบุรี, นครราชสีมา), เปล้าเลือดเครือ(ภาคเหนือ), โกฐหัวบัว (ภาคกลาง), พุ่งเหมาด้อย (เมี่ยน), เป็นต้น

ทำความเข้าใจกันก่อน ! : ต้นสบู่เลือดที่กล่าวถึงในบทความนี้ เป็นไม้คนละชนิดกันกับ "เปล้าเลือด" หรือ "บอระเพ็ดยางแดง" (Stephania venosa Spreng.) หรือที่มีชื่อเรียกเหมือนกันว่า "สบู่เลือด" ซึ่งทั้งสองชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกัน แต่เป็นไม้คนละชนิด นอกจากนี้ยังเป็นคนละชนิดกันกับต้น "สบู่แดง" (Jatropha gossypiifolia L.) ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE) เพียงแต่ว่ามีชื่อเรียกเหมือนกันว่า "สบู่เลือด"

ลักษณะของสบู่เลือด

  • ต้นสบู่เลือด จัดเป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่ม มีหัวขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน ลักษณะกลมแป้น เปลือกของหัวมีสีน้ำตาล ส่วนเนื้อในหัวมีสีขาวนวล มีรสชาติมันและเฝื่อนเล็กน้อย โดยลำต้นจะแทงขึ้นจากหัว โค้งงอลงสู่พื้นดิน เป็นไม้กึ่งเลื้อยทอดยาวได้ประมาณ 3-5 เมตร

สมุนไพรสบู่เลือด

สบู่เลือด

ใบสบู่เลือด มีใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปเกือบกลม หรือเป็นรูปกลมคล้ายใบบัว แต่จะมีขนาดเล็กกว่า ใบมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-6 เซนติเมตร บางครั้งมีติ่งหนามที่ปลาย เนื้อใบบางคล้ายกระดาษแต่แข็ง มีเส้นใบออกจากโคนใบเป็นรูปฝ่ามือ เส้นใบเป็นร่างแหค่อนข้างทั้งสองด้าน มีก้านใบติดอยู่ที่กลางแผ่น ก้านใบยาวประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร[

ต้นสบู่เลือดว่านสบู่เลือด

  • อกสบู่เลือด ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกตามซอกใบหรือง่ามใบ ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ก้านช่อดอกเรียวเล็ก ยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ดอกเป็นแบบแยกเพศ ดอกเพศผู้มีก้านดอกยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ดอกมีกลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ เป็นรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ มีสีเหลือง เนื้อกลีบนุ่ม มักมีขนาดไม่เท่ากัน กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้เชื่อมติดกัน ไม่มีก้านหรือติดบนก้าน ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร
  • ผลสบู่เลือด ผลเป็นแบบมีเมล็ดเดียวแข็ง มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือค่อนข้างเป็นรูปไข่กลับ มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ผนังของผลชั้นในจะมีรูเล็ก ๆ ตรงกลาง ด้านบนมีตุ่มเรียงกันเป็น 4 แถว โค้ง และมีทั้งหมดประมาณ 16-19 ตุ่ม

สรรพคุณสบู่เลือด

  1. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ด้วยการใช้หัวนำมาตากแห้งบดเป็นผง ใช้ผสมกับน้ำผึ้งเป็นยาลูกกลอนนำมารับประทาน (หัว)
  2. ช่วยทำให้เกิดกำลัง ช่วยบำรุงกำหนัด (หัว, ก้าน)
  3. ช่วยบำรุงธาตุไฟ (ใบ)
  4. หัวนำมารับประทาน ช่วยทำให้เจริญอาหารและแข็งแรง (หัว)
  5. เครือนำมาต้มใส่ไก่ร่วมกับว่านมหากาฬ ใช้รับประทานเป็นยาบำรุงเลือด (เครือ)
  6. ช่วยบำรุงเส้นประสาท (ราก)
  7. รากหรือหัวนำมาตำใช้พอกศีรษะ ช่วยแก้อาการปวดศีรษะได้ (ราก, หัว)
  8. รากหรือหัวสบู่เลือดช่วยแก้หืด (ราก, หัว)
  9. ช่วยแก้เสมหะเบื้องบน (หัว, ก้าน)หัวสบู่เลือด
  10. ต้นสบู่เลือดช่วยกระจายลม ขับลมที่แน่นในอกได้ (ต้น)
  11. ช่วยทำให้อุจจาระละเอียด (ดอก)
  12. ช่วยขับพยาธิในลำไส้ (เถา)
  13. ช่วยขับโลหิตระดูของสตรี (เถา)
  14. ช่วยแก้อาการตกเลือดของสตรี อาการมุตกิดระดูขาวหรือตกขาวได้อย่างชะงัด ด้วยการนำหัวมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ สัก 3 แว่น นำมาตำโขลกกับน้ำซาวข้าวหรือสุราให้ละเอียด แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มประมาณ 1 ถ้วยชา เช้า เย็น และก่อนนอน (หัว)
  15. ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (เหง้า)
  16. ใบนำมาใช้ใส่บาดแผลสดและเรื้อรัง (ใบ)
  17. ช่วยฆ่าเชื้อ รักษาโรคเรื้อน (ดอก)
  18. หัวกับก้านใบใช้รับประทานร่วมกับสุรา ช่วยทำให้เกิดอาการชา ผิวหนังอยู่ยงคงกระพัน ถูกเฆี่ยนหรือตีไม่เจ็บไม่แตก แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาแล้วจะเกิดอาการเจ็บภายหลัง นักเลงสมัยก่อนนิยมใช้กันนัก (หัว, ก้าน)
  19. หัวนำมาใช้ต้มดื่มช่วยแก้อาการปวดเมื่อยได้ (หัว)

 

ว่านน้ำ

ว่านน้ำ สรรพคุณและประโยชน์ของว่านน้ำ

ว่านน้ำ

ว่านน้ำ ชื่อสามัญ Calamus, Calamus Flargoot, Flag Root, Mytle Grass, Myrtle sedge, Sweet Flag, Sweetflag, Sweet Sedge,

ว่านน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Acorus calamus L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Acorus angustifolius Schott, Acorus aromaticus Gilib., Acorus calamus var. verus L., Acorus terrestris Spreng.) ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์ว่านน้ำ (ACORACEAE)

สมุนไพรว่านน้ำ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ว่านน้ำเล็ก ฮางคาวผา (เชียงใหม่), ตะไคร้น้ำ (เพชรบุรี), กะส้มชื่น คาเจี้ยงจี้ ผมผา ส้มชื่น ฮางคาวบ้าน ฮางคาวน้ำ (ภาคเหนือ), ทิสีปุตอ เหล่อโบ่สะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แป๊ะอะ (ม้ง),ช่านโฟ้ว (เมี่ยน), สำบู่ (ปะหล่อง), จะเคออ้ม ตะไคร้น้ำ (ขมุ). แปะเชียง (จีนแต้จิ๋ว), สุ่ยชังฝู ไป๋ชัง (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของว่านน้ำ

  • ต้นว่านน้ำ มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรป จัดเป็นพรรณไม้ขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 50-80 เซนติเมตร และมีเหง้าเจริญไปตามยาวขนานกับพื้นดิน เหง้าเป็นรูปทรงกระบอกค่อนข้างแบน ลักษณะเป็นข้อ ๆ มองเห็นชัด ผิวนอกเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลอมชมพู มีรากฝอยเป็นเส้นเล็กยาวติดอยู่ทั่วไป พันรุงรังไปตามข้อปล้องของเหง้า เนื้อภายในเป็นสีเนื้อแก่ มีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อนฉุนและขม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-10 มิลลิเมตร ขยายพันธุ์โดยวิธีการแยกหน่อ มักพบขึ้นเองตามบริเวณริมหนองน้ำ สระ บ่อ คูคลอง ในที่ที่มีน้ำท่วมขัง หรือที่ชื้นแฉะหรือแหล่งน้ำตื้น

ว่านน้ํา

ใบว่านน้ำ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันซ้ายขวาแบบทแยงกัน ใบแตกออกมาจากเหง้าเป็นเส้นตรงและยาว ลักษณะของใบเป็นรูปเรียวแหลม ปลายใบแหลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 80-110 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบ มองเห็นเส้นกลางใบได้ชัดเจน

ต้นว่านน้ำ

ใบว่านน้ำ

ดอกว่านน้ำ ออกดอกเป็นช่อ แทงออกมาจากเหง้า ลักษณะของดอกเป็นแท่งทรงกระบอก เป็นสีเหลืองออกเขียว ดอกมีขนาดประมาณ 0.7-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ซึ่งประกอบไปด้วยดอกย่อยเรียงตัวติดกันแน่น ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 6 กลีบ ลักษณะเป็นรูปกลม ปลายกลีบโค้งงอ มีกายใบห่อหุ้ม 1 ใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 50 เซนติเมตร และมีกาบใบหุ้ม ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ในช่อเดียวกัน เกสรเพศผู้มีประมาณ 6 อัน ก้านเกสรเพศเป็นสีขาว เป็นเส้นแบนยาว และมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ส่วนก้านเกสรเพศเมียมี 1 อัน มีรังไข่ลักษณะกลมยาวหรือเป็นรูปกรวย

ดอกว่านน้ำ

ผลว่านน้ำ ผลเป็นผลสดขนาดเล็ก ผลมี 2-3 เซลล์ ลักษณะคล้ายลูกข่างหรือปริซึม ปลายบนคล้ายพีรามิด ผลเมื่อสุกจะเป็นสีแดง ภายในมีเมล็ดจำนวนน้อย ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปรี

สรรพคุณของว่านน้ำ

  1. เหง้าว่านน้ำมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ยาหอม แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุน้ำ โดยใช้เหง้าแห้งประมาณ 1-3 กรัม นำมาชงกับน้ำร้อนดื่มก่อนอาหารเย็น ติดต่อกันจนกว่าธาตุจะปกติ (ราก,เหง้า)
  2. ใช้เป็นยาขมช่วยทำให้เจริญอาหาร โดยใช้เหง้าแห้งประมาณ 1-3 กรัม (ราก,เหง้า)
  3. ช่วยบำรุงหัวใจ (ราก)
  4. ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงประสาท หลอดลม (เหง้า)
  5. เหง้าใช้เป็นยาระงับประสาท สงบประสาท แก้อาการสะลึมสะลือ มึนงง รักษาอาการลืมง่าย ตกใจง่าย หรือมีอาการตื่นเต้นตกใจกลัวจนสั่น จิตใจปั่นป่วน ให้ใช้เหง้าว่านน้ำแห้ง 10 กรัม, เอี่ยงจี่ 10 กรัม, หกเหล้ง 10 กรัม, เหล่งกุก 10 กรัม, และกระดองส่วนท้องของเต่า 15 กรัม ใช้แบ่งกินครั้งละประมาณ 3-5 กรัม วันละ 3 เวลา (เหง้า)
  6. รากใช้เป็นยาแก้ Hysteria (โรคประสาทแบบฮีสทีเรีย) และ Neuralgia (อาการปวดตามเส้นประสาท) (ราก)
  7. ใบสดนำมาตำให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำใช้สุมหัวเด็ก จะช่วยรักษาอาการปวดศีรษะได้ (ใบ) ส่วนรากก็มีสรรพคุณแก้ปวดศีรษะได้เช่นกัน (ราก)
  8. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (ราก,เหง้า)
  9. เหง้ามีรสขมเผ็ด ใช้แก้โรคลม (เหง้า)
  10. ใช้รักษาอาการกระจกตาอักเสบ โดยใช้เหง้าแห้งนำมาใส่น้ำ ต้มให้เดือดโดยใช้ไฟอ่อน ๆ เสร็จแล้วเอากากออก เทมาปรับความเป็นกรดและด่าง ให้เป็นกลาง แล้วกรองให้ใส หรือจะใช้เหง้าที่แห้งใส่น้ำแล้วต้ม เทมาปรับความเป็นกรดและด่างให้เป็นกลางด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ แล้วกรองให้ใส นำมาบรรจุใส่ภาชนะ แล้วนำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่มีความดันสูง น้ำมาใช้เป็นยาหยอดตา หรือใช้ล้างตาวันละครั้ง (เหง้า)
  11. ใช้แก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้เหง้าแห้งนำไปบดให้เป็นผง แล้วนำมาใช้ทา (ราก,เหง้า)
  12. ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ด้วยการใช้เหง้าแห้งนำไปบดให้เป็นผง แล้วนำมาใช้ทา (เหง้า)
  13. เหง้านำมาต้มรวมกับขิงและไพลใช้กินเป็นยาแก้ไข้ (เหง้า)
  14. ใช้เป็นยาแก้ไข้มาลาเรียหรือไข้จับสั่น (ราก,เหง้า)
  15. ชาวอินเดียจะฉีดรากเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาเคี้ยวประมาณ 2-3 นาที เป็นยาแก้หวัดและเจ็บคอ (ราก)ส่วนชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน จะใช้ช่อดอกและยอดอ่อน นำมารับประทานสดเพื่อรักษาอาการหวัด (ยอดอ่อน,ดอก)
  16. ใช้รักษาอาการไอ ด้วยการใช้ชิ้นเล็ก ๆ ของว่านน้ำแห้ง นำมาอมเป็นยาแก้ไอ อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมระเหยเวลาหายใจอีกด้วย (ราก,เหง้า)
  17. รากมีสรรพคุณช่วยแก้หืด (ราก)
  18. เหง้ามีรสขมเผ็ด มีกลิ่นหอม เป็นยาร้อนเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อหัวใจ ปอด และม้าม ใช้เป็นช่วยขับเสมหะ ละลายเสมหะ แก้เสมหะอุดตันในทางเดินหายใจ (ราก,เหง้า)
  19. ผงจากรากหรือเหง้าถ้ากินมากกว่าครั้งละ 2 กรัม จะทำให้อาเจียน อาจนำมาใช้ประโยชน์ในกรณีที่ผู้ป่วยกินสารพิษเข้าไป และต้องการจับสารพิษออกจากทางเดินอาหารด้วยการทำให้อาเจียน (เหง้า)
  20. ช่วยแก้หลอดลมอักเสบ หรือหวัดลงคอ (ราก,เหง้า)
  21. รากใช้ฝนกับเหล้าทาหน้าอกเด็กเพื่อเป็นยาดูดพิษ แก้หลอดลม และปอดอักเสบ (ราก)
  22. ช่วยแก้ลมจุกแน่นในทรวงอก และแก้ลมที่อยู่ในท้องแต่อยู่นอกกระเพาะและลำไส้ (เหง้า)
  23. ใช้เป็นยาขับลมในท้อง แก้ลมขึ้น แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด อาหารไม่ย่อย ด้วยการใช้เหง้าประมาณ 3-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือใช้เข้ากับตำรายาอื่น ด้วยการใช้เหง้าว่านน้ำแห้ง 10 กรัม, หัวแห้วหมู 15 กรัม, เมล็ดแก่ของหัวผักกาดขาว 10 กรัม และซิ่งเข็ก 10กรัม นำมาผสมกันแล้วนำไปต้มเป็นยากิน (ราก,เหง้า) ส่วนชาวปะหล่องจะรากและเหง้า จิ้มกับเกลือใช้รับปะทานสดเพื่อรักษาอาการปวดท้อง หรือนำมาซอยบาง ๆ ตากแดดให้แห้ง บดเป็นผงใช้ร่วมกับปูเลย นำมากินแล้วดื่มน้ำตาม จะช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ (ราก,เหง้า)
  24. รากมีสรรพคุณเป็นยาระบาย (ราก)
  25. ช่วยแก้โรคกระเพาะอาหาร (เหง้า)
  26. ตำรายาไทยใช้เหง้าเป็นยาแก้ปวดท้อง ส่วนรากใช้รับประทานแต่น้อยเป็นยาแก้ปวดท้อง (ราก,เหง้า) แก้ลงท้อง (ท้องเดิน ท้องเสีย) (ราก)ส่วนตำรับยาแก้โรคลงท้องปวดท้องของเด็ก ให้ใช้รากนำมาเผาให้เป็นถ่าน ทำเป็นผงรับประทานมื้อละ 0.5-1.5 กรัม (ราก)
  27. ช่วยรักษาโรคบิด บิดในเด็ก (คือมูกเลือด) แก้ท้องเสีย ด้วยการใช้เหง้าแห้ง นำมาบดให้เป็นผง ใช้กินกับน้ำต้มสุก (ที่ทิ้งไว้จนเย็นแล้ว) วันละ 2 เวลา (ราก,เหง้า)
  28. ชาวม้งจะใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มผสมกับหญ้าปันยอด และหญ้างวงช้าง เป็นยาแก้ปวดท้องที่เกิดจากอาหารเป็นพิษ ส่วนชาวปะหล่องจะนำรากและเหง้ามาซอยบาง ๆ ตากแดดให้แห้ง บดเป็นผงใช้ร่วมกับปูเลย นำมากินแล้วดื่มน้ำตาม ก็เป็นยาแก้ปวดท้องจากอาหารเป็นพิษได้เช่นกัน (ราก,เหง้า,ทั้งต้น)
  29. ช่วยรักษาอาการลำไส้อักเสบ และโรคบิดแบคทีเรีย ด้วยการใช้รากสด นำมาหั่นให้เป็นแผ่น แล้วนำไปตากแห้ง บดให้เป็นผงและบรรจุแคปซูลประมาณ 0.3 กรัม ใช้กินกับน้ำอุ่น แต่ถ้าใช้ต้มกินจะมีอาการอึดอัดไม่สบายใจ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ระคายเคืองในกระเพาะอาหาร (ราก)
  30. ใช้เป็นยาขับพยาธิ ด้วยการใช้เหง้าแห้งประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือนำมาบดให้เป็นผงบรรจุในแคปซูลกิน (เหง้า)
  31. ช่วยขับปัสสาวะ (เหง้า)
  32. ช่วยขับระดูของสตรี (เหง้า)
  33. รากนำมาเผาให้เป็นถ่านใช้รับประทานเป็นยาถอนพิษสลอด โดยให้รับประทานมื้อละ 0.5-1.5 กรัม (ราก)
  34. ใช้รักษาแผลมีหนอง (เหง้า)
  35. เหง้าใช้ภายนอกเป็นยาแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ฝีหนอง (เหง้า) เหง้าใช้ผสมกับชุมเห็ดเทศ ใช้ทาแก้โรคผิวหนัง (เหง้า)[4]ส่วนรากก็มีสรรพคุณแก้โรคผิวหนังได้เช่นกัน (ราก)
  36. ใช้รักษาอาการอักเสบเรื้อรังอย่างได้ผล โดยใช้ผงจากรากประมาณ 0.3 กรัม นำมาบรรจุใส่ในแคปซูล ใช้กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2-3 เวลา หรือจะใช้ฉีดเข้ากล้าม จะเห็นผลดีกว่าแบบกิน และในระยะยาวถ้าใช้ยากินร่วมกับยาอื่น ๆ อีก จะได้ผลที่ดีกว่า แต่เมื่อกินยาเข้าไปแล้วจะมีอาการข้างเคียง คือ รู้สึกอึดอัด ไม่สบายใจ คลื่นไส้อาเจียน มีอาการระคายเคืองในกระเพาะอาหารและลำไส้ ท้องไส้ปั่นป่วน แต่เมื่อหยุดใช้ยา อาการเหล่านี้ก็จะหายไป (ราก)
  37. สำหรับเด็กที่เป็นผื่นคันตามซอกก้นและซอกขา ให้ใช้เหง้าแห้ง นำมาต้มเอาแต่น้ำอุ่น ๆ ใช้ชะล้างบริเวณที่เป็นผื่น (เหง้า)
  38. ใช้เป็นยาพอกแก้อาการปวดตามข้อและตามกล้ามเนื้อ แก้ข้อกระดูกหักแพลง (ราก,เหง้า) ส่วนใบก็ใช้เป็นยาพอกแก้ปวดกล้ามเนื้อและข้อได้เช่นกัน (ใบ)
  39. ชาวขมุจะใช้ทั้งต้นนำต้มดื่มแก้อาการปวดเมื่อย (ทั้งต้น)
  40. รากใช้เป็นยาแก้เส้นกระตุก (ราก) แก้ชัก (น้ำมันหอมระเหยจากต้น)
  41. ชาวเมี่ยนจะใช้ใบนำมาต้มกับน้ำให้สตรีหลังคลอดที่อยู่ไฟอาบ (ใบ)
  42. ตำรายาไทยแผนโบราณ ว่านน้ำจัดอยู่ใน "พิกัดจตุกาลธาตุ" ซึ่งเป็นตำรับยาที่ประกอบไปด้วยเหง้าว่านน้ำ รากแคแตร รากนมสวรรค์ และรากเจตมูลเพลิงแดง มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ แก้ไข้ แก้เสมหะ แก้ลม แก้โลหิตในท้อง แก้อาการจุกเสียด (เหง้า)
  43. ในตำรับ "ยาประสะกานพลู" จะมีส่วนประกอบของเหง้าว่านน้ำอยู่ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ในตำรับ มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง แก้อาการจุกเสียดแน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ (เหง้า)[4]
  44. ว่านน้ำยังประกฎอยู่ในตำรับ "ยาประสะไพล" (ยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา) ซึ่งมีเหง้าว่านน้ำเป็นส่วนประกอบร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ มีสรรพคุณช่วยแก้ระดูที่มาไม่สม่ำเสมอ หรือมาน้อยกว่าปกติ และช่วยขับน้ำคาวปลาในสตรีหลังการคลอดบุตร (เหง้า)

เหง้าว่านน้ำ

ประโยชน์ของว่านน้ำ

  1. ชาวเมี่ยนจะใช้ผลอ่อนนำมารับประทานร่วมกับลาบ
  2. ช่อดอกอ่อน ๆ จะมีรสหวาน เด็กชอบกิน ส่วนรากอ่อนเด็กในประเทศเนเธอร์แลนด์จะชอบนำมาเคี้ยวเล่นเป็นหมากฝรั่ง
  3. ชาวปะหล่องจะใช้รากนำมาเป่าคาถา แล้วนำไปถูกตัวผู้ที่โดนผีเข้า เพื่อไล่ผี และใช้เป็นยาประจำบ้านที่นิยมใช้กันทั่วไป
  4. เหง้าว่านน้ำสามารถนำมาใช้ไล่ยุงและแมลง ช่วยป้องกันแมลงมากัดกินข้าว และเสื้อผ้าได้ และยังนำมาบดให้เป็นผงใช้โรยรอบ ๆ ต้นไม้ที่ปลูก เพื่อเป็นยาฆ่าปลวกที่ผิวดินและป้องกันต้นไม้ สำหรับสูตรไล่ยุง ให้ใช้เหง้าสดนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ โขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 : 1 แล้วกรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ทาผิวหนัง ส่วนรากใช้เป็นยาเบื่อแมลงต่าง ๆ เช่น แมลงวัน
  5. เหง้าสดเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่นจะได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.17% สามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอางประเภทสบู่ ผงซักฟอก น้ำหอม ครีม และโลชั่นต่าง ๆ ได้
  6. มีบ้างที่นำว่านน้ำปลูกไว้เป็นไม้ประดับ

ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ สรรพคุณและประโยชน์ของว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ ชื่อสามัญ Aloe, Aloe vera, Aloin, Barbados, Jafferabad, Star cactus

ว่านหางจระเข้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Aloe vera (L.) Burm.f. จัดอยู่ในวงศ์ XANTHORRHOEACEAE และอยู่ในวงศ์ย่อย ASPHODELOIDEAE

สมุนไพรว่านหางจระเข้ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ), หางตะเข้ (ภาคกลาง) เป็นต้น

ต้นว่านหางจระเข้ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีความสูงประมาณ 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบหนาและยาว อวบน้ำ แผ่นใบมีสีเขียว มีจุดยาวสีขาวอ่อนออกเรียงเวียนรอบต้น โคนใบใหญ่ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก มีหนามแหลมเล็ก ๆ สีขาวอยู่ห่างกัน ข้างในใบเป็นวุ้นสีเขียวอ่อน ส่วนดอกว่านหางจระเข้ ออกดอกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ดอกมีสีแดงอมสีเหลือง ก้านช่อดอกยาว โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น เป็นรูปแตร ส่วนผลว่านหางจระเข้ เป็นผลแห้งคล้ายรูปกระสวย

ต้นว่านหางจระเข้

คำว่า "อะโล" (Aloe) มาจากภาษากรีกโบราณที่หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งเป็นคำที่แผลงมาจากคำว่า "Allal" ในภาษายิวที่มีความหมายว่าฝาดหรือขม เพราะเมื่อคนได้ยินคำนี้ก็จะนึกถึงว่านหางจระเข้นั่นเอง ว่านหางจระเข้ปกติแล้วเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนและภายหลังได้แพร่ขยายพันธุ์ไปสู่เอเชียและยุโรป จนทุกวันนี้ว่านหางจระเข้ก็เป็นที่นิยมของทั่วโลกไปแล้ว โดยว่านหางจระเข้จะมีมากมายกว่า 300 สายพันธุ์ ซึ่งมีตั้งแต่ขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตรไปจนถึงสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายเข็ม มีเนื้อหาและในเนื้อมีน้ำเมือกเหนียว

ดอกว่านหางจระเข้

เมื่อพูดถึง สมุนไพรว่านหางจระเข้ เรามักจะนึกถึงสรรพคุณในการรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลสด ช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน ใช้ทาเพื่อป้องรอยแผลเป็นมาตั้งแต่เด็ก ๆ ซึ่งสารที่สามารถใช้รักษาแผลดังกล่าวได้เป็นสาร Glycoprotein ที่มีชื่อว่า Aloctin A เป็น Anti-inflammatory ที่พบได้ในทุก ๆ ส่วนของว่านหางจระเข้ ซึ่งนอกจากสรรพคุณดังกล่าวแล้วยังมีประโยชน์ของว่านหางจระเข้อื่น ๆ อีกมากมาย ไปดูกันเลย...

รูปว่านหางจระเข้วุ้นว่านหางจระเข้
ใบว่านหางจระเข้

สรรพคุณของว่านหางจระเข้

  1. ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ด้วยการรับประทานเนื้อวุ้น หรือจะทำเป็นน้ำปั่นว่านหางจระเข้มาดื่มก็ได้ ก็จะช่วยบรรเทาอาการและป้องกันโรคเบาหวานได้
  2. ว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการตัดใบสดของว่านหางจระเข้แล้วทาปูนแดงด้านหนึ่ง แล้วเอาด้านที่ทาปูนปิดตรงขมับ จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ (ใบ)
  3. วุ้นว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยป้องกันและลดการเกิดแผลในกระเพาะขณะท้องว่าง ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารต่าง ๆ
  4. เนื้อว่านหางจระเข้สรรพคุณว่านหางจระเข้ช่วยแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ใบนำมาปอกเปลือกเอาแต่วุ้น นำมารับประทานวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ (เนื้อวุ้น)
  5. ใช้เป็นถ่าย ยาระบาย ที่เปลือกของว่านหางจระเข้จะมีน้ำยางสีเหลือง ในน้ำยางจะมีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) ที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย หากนำน้ำยางไปเคี่ยวให้น้ำระเหยออกแล้วทิ้งไว้ให้เย็น ก็จะได้สารสีน้ำตาลเกือบดำ หรือเรียกว่า "ยาดำ" ซึ่งยาดำนี้เองใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณที่ต้องการให้มีฤทธิ์เป็นยาระบายอยู่หลายตำรับ (ยางในใบ)
  6. ช่วยรักษาอาการท้องผูก ด้วยการกรีดเอายางจากว่านหางจระเข้มาเคี่ยวให้งวด ทิ้งไว้ให้เย็นจะได้ก้อนยาสีดำ (ยาดำ) แล้วตักมาใช้ประมาณช้อนชา เติมน้ำเดือด 1 ถ้วย แล้วคนจนละลาย โดยผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชาก่อนนอน แต่ถ้าเป็นเด็กให้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชาก่อนนอน
  7. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้เนื้อวุ้นจากใบเหลาให้เป็นปลายแหลมเล็กน้อย และนำไปแช่ตู้เย็นหรือน้ำแข็งจนเนื้อแข็ง แล้วนำไปใช้เหน็บในช่องทวารหนัก ควรหมั่นทำเป็นประจำวันละ 1-2 ครั้งจนกว่าจะหาย (เนื้อวุ่น)
  8. ช่วยแก้หนองใน (ราก, เหง้า)
  9. ช่วยแก้มุตกิดหรือระดูขาวของสตรี (ราก, เหง้า)
  10. ทั้งต้นของว่านหางจระเข้มีรสเย็น ใช้ดองกับสุรานำมาดื่มช่วยขับน้ำคาวปลาได้ (ทั้งต้น)
  11. ช่วยบรรเทาและแก้อาการปวดตามข้อ ด้วยการรับประทานเนื้อวุ้นครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้งเป็นประจำ จะช่วยทำให้อาการปวดดีขึ้น (วุ้นจากใบ)
  12. ใบว่านหางจระเข้มีรสเย็น นำมาตำผสมกับสุราใช้พอกรักษาฝีได้ (ใบ)
  13. ช่วยรักษาแผลสด แผลจากของมีคม แผลที่ริมฝีปาก แก้ฝี แก้ตะมอย ด้วยการใช้วุ้นจากใบนำมาแปะบริเวณแผลให้มิดชิดและใช้ผ้าปิดไว้ แล้วหยอดน้ำเมือกลงตรงแผลให้ชุ่มอยู่เสมอ หรือจะเตรียมเป็นขี้ผึ้งก็ได้ (วุ้นจากใบ)
  14. ช่วยรักษาแผลถลอกและแผลจากการถูกครูด (แผลพวกนี้จะเจ็บปวดมาก) ให้ใช้วุ้นว่านหางจระเข้นำมาทาแผลเบา ๆ ในวันแรกต้องทาบ่อย ๆ จะช่วยในการสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น และทำให้ไม่เจ็บแผลมาก (วุ้นจากใบ)
  15. ช่วยรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ช่วยดับพิษร้อนบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผล ด้วยการใช้วุ้นจากใบสดที่ล้างน้ำสะอาด แล้วฝานบาง ๆ นำมาทาหรือแปะไว้บริเวณแผลตลอดเวลา จะช่วยทำให้แผลหายเร็วมากขึ้นและอาจไม่เกิดรอยแผลเป็นด้วย (วุ้นจากใบ)
  16. ช่วยขจัดรอยแผลเป็น ทำให้แผลเป็นจางลง ป้องกันการเกิดรอยแผลเป็น (วุ้นจากใบ)
  17. ช่วยรักษาตาปลาและฮ่องกงฟุต ด้วยการใช้วุ้นจากใบที่ล้างสะอาดแล้ว นำมาปิดไว้บริเวณที่เป็นและหมั่นเปลี่ยนบ่อย ๆ จนกว่าจะดีขึ้น (วุ้นจากใบ)
  18. วุ้นจากใบใช้ทาเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด ด้วยการใช้วุ้นจากใบทาก่อนออกแดด หรือจะใช้ใบสดก็ได้ แต่ใบสดอาจทำให้ผิวหนังแห้ง เพราะใบมีฤทธิ์ฝาดสมาน ถ้าต้องการลดการทำให้ผิวแห้ง ก็อาจจะใช้ร่วมกับน้ำมันพืชหรืออาจเตรียมเป็นโลชั่นก็ได้ (วุ้นจากใบ)
  19. ช่วยรักษาอาการผิวหนังไหม้จากแสงแดด หรือไหม้เกรียมจากการฉายรังสี หรือแผลเรื้อรังจากการฉายรังสี โดยนำวุ้นของว่ายหางจระเข้มาทาผิวบ่อย ๆ ก็จะช่วยลดการอักเสบได้ แต่ถ้าไปนาน ๆระวังผิวแห้ง ควรผสมกับน้ำมันพืช เว้นแต่ว่าจะทำให้ผิวเปียกชุ่มอยู่ตลอดเวลา (วุ้นจากใบ)
  20. วุ้นจากใบใช้ทาเพื่อรักษาฝ้า (วุ้นจากใบ)
  21. ช่วยรักษาโรคเรื้อนกวาง (โรคสะเก็ดเงิน) ช่วยลดการตกสะเก็ดและลดอาการคันของโรคเรื้อนกวาง ทำให้แผลดูดีขึ้น (วุ้นจากใบ)

ประโยชน์ของว่านหางจระเข้

  1. น้ําว่านหางจระเข้ สามารถช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยชะลอความแก่ชรา และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้อีกด้วย
  2. ว่านหางจระเข้อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ รวมไปถึงกรดอะมิโนอีกหลายชนิดที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุทองแดง ธาตุแมงกานีส ธาตุซีลีเนียม ธาตุโครเมียม วิตามินเอ วิตามินซี วิตามิอี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 โคลีน และยังเป็นพืชเพียงไม่กี่ชนิดที่มีวิตามินบี 12 ด้วย
  3. ช่วยในการย่อยอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ ช่วยในการดีท็อกซ์ล้างสารพิษในร่างกาย ช่วยในการทำงานของระบบกระเพาะอาหาร และช่วยลดปริมาณของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้
  4. จากวารสารแพทย์อังกฤษตีพิมพ์ในปี 2000 (British medical journal) ระบุว่าสารสกัดจากว่านหางจระเข้สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมความดันโลหิตและเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต และอาจจะมีความเป็นไปได้ว่ามันสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย
  5. ช่วยป้องกันและแก้อาการเมารถเมาเรือ ด้วยการรับประทานเนื้อวุ้นว่านหางจระเข้หรือน้ําว่านหางจระเข้เย็น ๆ ก็จะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้
  1. การใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาเป็นประจำวันละ 2-4 ครั้ง จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง
  2. ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยทำให้ผิวพรรณเนียนนุ่ม ดูชุ่มชื้น แก้ปัญหาผิวแห้งกร้านตามหัวเข่า, ข้อศอก หรือส้นเท้าได้ เพียงแค่ใช้วุ้นจากใบว่านหางจระเข้แช่ในอ่างอาบน้ำ ในระหว่างอาบให้ใช้เนื้อวุ้นถูตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ต้องการ หากทำเป็นประจำก็จะช่วยทำให้ผิวพรรณของคุณเนียนนุ่มชื่นชื้นและเต่งตึงได้
  3. ช่วยเติมน้ำให้ผิว ทำให้ผิวหน้าและผิวกายชุ่มชื้น และป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย เพียงแค่ใช้วุ้นจากใบว่านหางจระเข้นำมาพอกให้ทั่วบริเวณใบหน้าหรือบริเวณผิวที่ต้องการ ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก จะช่วยทำให้ผิวพรรณชุ่มชื้นสดใสและดูเต่งตึงขึ้น
  4. ว่านหางจระเข้รักษาสิว ยับยั้งการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุของสิว ช่วยลดรอยดำจากสิว และช่วยลดความมันบนใบหน้า เพราะในใบว่างหางจระเข้จะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ (ไม่แนะให้ใช้กับสิวอักเสบ เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย)
  5. ช่วยรักษาจุดด่างดำตามผิวหนัง อันเนื่องมาจากแสงแดดหรือจากอายุที่มากขึ้น ด้วยการใช้วุ้นจากใบสดนำทาที่ผิววันละ 2 ครั้งหลังอาบน้ำ และต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจึงจะเห็นผล
  6. ช่วยป้องกันการเกิดฝ้า หากใช้ว่านหางจระเข้เป็นประจำก็จะช่วยป้องกันการเกิดฝ้าได้เป็นอย่างดี (ไม่ใช่การรักษาแต่เป็นการป้องกัน)
  7. วุ้นจากใบสดใช้ชโลมบนเส้นผม จะช่วยทำให้เส้นผมสลวย ผมดกเป็นเงางาม ช่วยป้องกันและขจัดรังแค ช่วยบำรุงต่อมที่รากผมให้มีสุขภาพดี และยังช่วยรักษาแผลบนหนังศีรษะได้อีกด้วย
  8. ในฟิลิปปินส์ ใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้ร่วมกับเนื้อในของเมล็ดสะบ้า ในการรักษาผมร่วงหรือหนังศีรษะล้าน
  9. ปัจจุบันได้มีการทดลองใช้วุ้นจากใบเพื่อรักษาคนไข้ที่เป็นแผลกดทับ (Bedsore)
  10. ช่วยลบท้องลายหลังคลอด ด้วยการใช้วุ้นของว่านหางจระเข้มาทาบริเวณท้องเป็นประจำทั้งในขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด
  11. ช่วยแก้เส้นเลือดดำขอดบริเวณขา ด้วยการใช้วุ้นว่านหางจระเข้มาทาบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอดเป็นประจำ
  12. สาร Aloctin A พบว่ามันสามารถช่วยรักษาโรคต่าง ๆ ได้หลายโรค เช่น โรคมะเร็ง ช่วยแก้อาการแพ้ รักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น
  13. ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หลายรูปแบบ ที่ผลิตมาจากว่านหางจระเข้ เช่น เครื่องสำอาง โลชัน สบู่ แชมพู ครีมบำรุงผิว ครีมทาใต้ตา ครีมรักษาฝ้า กระ จุดด่างดำ ครีมทาแผลสดแผลพุพอง เจลว่านหางจระเข้ เจลทรีตเมนต์บำรุงผิวหน้า ฯลฯ
  14. นอกจากนี้ว่านหางจระเข้ยังสามารถนำมาทำเป็นอาหารจำพวกของหวานได้อีกด้วย เช่น น้ำวุ้นลอยแก้ว วุ้นแช่อิ่ม นำมาปั่นทำเป็นน้ำว่านหางจระเข้ เป็นต้น

คำแนะนำในการใช้ว่านหางจระเข้

  • การเลือกใช้ใบจากต้นว่านหางจระเข้ควรเลือกต้นที่มีอายุมากกว่า 1 ขึ้นไป และให้เลือกใบล่างสุดเพราะจะอวบโตและมีวุ้นมากกว่าใบที่อยู่ด้านบน
  • เนื่องจากวุ้นของว่านหางจระเข้ไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรปอกโดยใช้เทคนิคปลอดเชื้อ Aseptic technique เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • การนำวุ้นมาใช้เพื่อรักษาแผลจำเป็นต้องล้างน้ำให้สะอาด เพื่อป้องกันน้ำยางจากเปลือกที่มีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้
  • ว่านหางจระเข้จะมีคุณภาพสูงสุดเมื่อตัดมาแล้วใช้ทันที และจะมีสรรพคุณทางยาที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
  • วุ้นของว่านหางจระเข้จะไม่คงตัวเท่าไหร่นัก ดังนั้นถ้าปอกแล้วจะเก็บไว้ได้เพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น
  • หากนำว่านหางจระเข้ไปแช่ในตู้เย็นจนเย็นก่อนการนำมาใช้ จะช่วยทำให้รู้สึกสดชื่นเย็นสบายมากยิ่งขึ้น
  • การใช้เพื่อใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงที่กำลังจะมีประจำเดือน รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวารด้วย
  • การใช้วุ้นจากใบเพื่อใช้เป็นยาทาภายนอก สำหรับบางรายแล้วอาจจะเกิดอาการแพ้ได้ (จากงานวิจัยพบว่าไม่ถึง 1%) โดยลักษณะของอาการแพ้หลังจากหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังเป็นผื่นแดงบาง ๆ หรืออาจมีอาการเจ็บแสบด้วย โดยอาการจะแสดงหลังจากทาไปแล้วประมาณ 2-3 นาที ถ้าคุณมีอาการแพ้หลังการใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ก็ให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด และเลิกใช้ทันที

ว่านช้างผสมโขลง

ว่านช้างผสมโขลง

 image
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Eulophia andamanensis Rchb.f.
ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น : ว่านหมูกลิ้ง, พญาเทครัว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กล้วยไม้ดิน ลำลูกกล้วยเป็นหัวรูปกลมรีอยู่ใต้ดิน เปลือกนอกสีเขียวเป็นกลีบซ้อนกัน หลายชั้นคล้ายหัวหอมใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม รูปแถบออกเรียงสลับรอบลำต้น ปลายใบแหลม โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้นไว้ไม่มีก้านใบดอกออกเป็นช่อจากหัวใต้ดิน ช่อดอกชูตั้งตรง ดอกย่อยสีน้ำตาลอมเขียว
สรรพคุณทางสมุนไพร
เป็นสมุนไพรรักษาฝี แก้ฝีหัวเดียว สำหรับสตรีที่เป็นฝีบริเวณเต้นนม ใช้รักษาได้ดี เป็นยาปลุกกำหนัดอย่างอ่อน
ประโยชน์ :    ด้านเมตตามหานิยม เข้าสมาคมได้ทุกแห่ง เกิดความดีมีชัยชนะทำค้าขายได้ลาภผลสมปรารถนา หากประสงค์จะให้เกิดเสน่ห์ทางชู้สาวให้เขียนชื่อผู้ที่เราหลงรักเรายิ่งนักแล (พระอาจารย์ท่านสาปแช่งไว้แรงนักหนา สำหรับผู้คิดมิชอบ ได้เขามาแล้วมิเลี้ยงดูจะมีอันเป็นไปทันตาเห็น) สรรพคุณทางยา หากตำให้ละเอียดผสมกับน้ำปูนใสหรือน้ำซาวข้าว พวกฝีหัวเดียวชะงัดยิ่งนัก ท่านหญิงที่เป็นฝีที่หัวนม จะสามารถใช้ว่านนี้ได้เป็นอย่าดี 
วิธีปลูก : แยกหน่อปลูก คล้าย ๆ กล้วยไม้สกุลหวาย โดยแยกหน่อท้ายสุดนำไปปลูก หากระถางดินขนาดใหญ่กว่าหัวว่านสักสามเท่านำทราย,ถ่าน, ใบไม้ผุ ,อิฐ หินละเอียดใส่ลงไปครึ่งกระถางแล้วนำหัวว่านวางลง โดยทรายรอบ ๆ หัวว่านพอตั้งอยู่ได้ระวังอย่าให้น้ำขังแฉะ วางไว้ในที่ร่มรำไรว่านจะงอกงามดี