• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

ตีนเป็ดน้ำ

Image result for ตีนเป็ดน้ำ

 

ตีนเป็ดน้ำ

ชื่อสามัญ Pong pong

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cerbera odollam Gaertn. (คาร์เบอรา โอดอลลาม)

ชื่อวงศ์ ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)

ชื่อเรียกอื่นฯ  ตุม (กาญจนบุรี), พะเนียงน้ำ หรือ สั่งลา (กระบี่), มะตะกอ (มลายู-นราธิวาส) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กชนิดหนึ่ง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ มีลักษณะเป็นทรงพุ่มกลม ใบแน่น เป็นไม้ไม่ผลัดใบ มีน้ำยางสีขาว กลีบดอกมีความสวยงาม มีสีขาว เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่าย ขึ้นได้ดี ต้องการแดดและความชื้นสูง สูงเต็มที่ประมาณ 12 เมตร มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตอนใต้ของจีน พบจนถึงนิวแคลิโดเนีย มักขึ้นในป่าชายเลนหรือบริเวณที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณชายทะเล

ตีนเป็ดน้ำมีผลทรงกลม คล้ายผลส้ม มีสีเขียว แต่ทว่ามีพิษ รับประทานมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ อีกทั้งยางก็มีพิษ ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในการทำเป็นสารเคมีฆ่าเหาได้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ใบรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ กว้าง 2.4-8 เซนติเมตร ยาว 8.9-30 เซนติเมตร ปลายใบติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่ม ใบเกลี้ยง สีเขียวเข้มเป็นมัน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย

ดอก สีขาว กลางดอกมีสีเหลือง (ถ้าเป็นตีนเป็ดทรายกลางดอกมีสีชมพูหรือแดง) ออกเป็นช่อ แบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปากแตร ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 6-7 เซนติเมตร

ผล ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ทรงกลมหรือค่อนข้างกลมเป็นสองพูตื้นๆ สีเขียวอมม่วงถึงม่วงเข้ม กว้างประมาณ 6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7 เซนติเมตร (ผลขนาดใหญ่กว่าตีนเป็ดทราย) เมล็ดแข็งและเบา ลอยน้ำได้

 

 

 

 

 

ฝ้ายแดง

Image result for ฝ้ายแดง

 

 ฝ้ายแดง


ชื่อสามัญ
 Ceylon cotton, Chinese cotton, Tree cotton

ชื่อวิทยาศาสตร์  Gossypium arboreum L.

ชื่อวงศ์  MALVACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกไปรอบต้นเป็นพุ่มโปร่ง มีกิ่งก้านที่แข็งแรง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีม่วงแดงหรือสีน้ำตาลแดง เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดมาก ขึ้นได้ในดินอุดมทั่วไป ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อนและกึ่งร้อน แอฟริกา มักขึ้นบริเวณที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกตามซอกใบใกล้บริเวณปลายกิ่ง ดอกเป็นสีแดงเข้มหรือสีเหลืองอ่อน ตรงกลางดอกเป็นสีม่วงแดงหรือสีม่วงดำประแต้มไปด้วยสีเหลือง ใบประดับ 3 ใบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ส่วนกลีบดอกบางมี 5 กลีบ วางเรียงเวียนซ้อนกัน ดูสวยงาม โคนกลีบดอกติดกัน เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นหลอดล้อมรอบเกสรเพศเมีย ปลายเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉก 5 แฉก

ผล มีลักษณะกลมเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม หัวท้ายแหลม ผิวผลลื่นสีเขียวอมแดง มีกลีบรองดอกหุ้มอยู่ พอแก่จะแตกออกเป็นปุยฝ้าย เมล็ดค่อนข้างกลมสีเขียว มีจำนวนมาก ปกคลุมไปด้วยขนยาวสีขาว

ประโยชน์ทางยา ใบ ราก ลดความร้อนแก้ไข้ เมล็ดใช้รักษาโรคหนองใน รากทำให้ประจำเดือนปกติ ขับนํ้าคาวปลาในคนหลังคลอด บีบมดลูกทำให้แห้ง

 การขยายพันธุ์ ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

 

 

ราชพฤกษ์

Image result for ราชพฤกษ์

ราชพฤกษ์

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia fistula L.

ชื่อวงศ์ (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์(CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

ราชพฤกษ์ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กุเพยะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปูโย ปีอยู เปอโซ แมะหล่าอยู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ลักเกลือ ลักเคย (กะเหรี่ยง), ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ (ภาคกลาง), ลมแล้ง (ภาคเหนือ), ราชพฤกษ์ (ภาคใต้), คูน (ทั่วไปเรียกและมักจะเขียนผิดหรือสะกดผิดเป็น "ต้นคูณ" หรือ "คูณ") เป็นต้น

คำว่า "ราชพฤกษ์" มีความหมายว่า "ต้นไม้ของพระราชา" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของงานมหกรรมพืชสวนโลกซึ่งจัดขึ้นเพื่อฉลองในวโรกาสอันเป็นมหามงคลที่พระเจ้าอยู่หัวของเราทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

 ลำต้น สูงประมาณ 10-20  เมตร เปลือกต้นอ่อนมีลักษณะเรียบ สีเทาแกมเขียว ต้นที่มีอายุมากเปลือกแตกสะเก็ดเป็นสี่เหลี่ยม สีน้ำตาล ต้นเล็กแตกกิ่งในระดับล่าง เมื่อต้นใหญ่ลำต้นสูง แตกกิ่งมากบริเวณส่วนยอด

ใบ ออกเป็นช่อ ใบสีเขียวเป็นมัน ช่อหนึ่งยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร และมีใบย่อยเป็นไข่หรือรูปป้อม ๆ ประมาณ 3-6 คู่ ใบย่อยมีความกว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตร โคนใบมนและสอบไปทางปลายใบ เนื้อใบบางเกลี้ยง มีเส้นแขนงใบถี่และโค้งไปตามรูปใบ

ดอก ออกเป็นช่อ แทงออกตามกิ่งก้าน ช่อห้อยลงด้านล่าง ช่อดอกโปร่งยาวสีเหลือง ยาวประมาณ 20-40 ซม. แต่ละก้านดอกประกอบด้วยดอกจำนวนมาก แต่ละดอกมีก้านดอกสั้น ยาว 1-3 ซม. มีใบประดับใต้กลีบดอก กลีบดอกมีสีเหลืองประมาณ 5 กลีบ รูปรีหรือกลม ด้านในประกอบด้วยเกสร เพศผู้ 10 อัน มีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รังไข่รูปขอบขนาน มีขน อับเรณูยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ดอกจะออกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์

ผล มีลักษณะเป็นฝักยาว ทรงกลม ยาวได้มากถึง 60 ซม. ผิวฝักเกลี้ยง ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่มีสีน้ำตาล น้ำตาลดำ และดำ ตามอายุของฝัก เมล็ดมีลักษณะแบน รูปกลมรี สีน้ำตาลถึงดำ เรียงเป็นชั้นๆ มีผนังกั้นจำนวนมาก ฝักแก่จะยังติดห้อยที่ต้น และจะร่วงประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม

สตาร์แอปเปิ้ล

Image result for สตาร์แอปเปิ้ล

 

Image result for สตาร์แอปเปิ้ล

สตาร์แอปเปิ้ล

ชื่อวิทยาศาสตร์ Chrysophyllum cainito L.
ชื่อวงศ์ Sapotaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นรูปทรงร่ม เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องตามยาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ เป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ผิวใบมีขนละเอียดกระจายทั่ว หน้าใบเป็นสีเขียว หลังใบเป็นสีน้ำตาลแดง เวลามีใบดกจะให้ร่มเงาดีและน่าชมยิ่ง
ใบ 
ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 5 – 7 เซนติเมตร ยาว 12 – 15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ผิวใบมีขนอ่อนสีน้ำตาลปกคลุม
ดอก ออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ ดอกย่อยสีเขียวแกมเหลือง กลีบดอกและก้านดอกมีขนสีน้ำตาลปกคลุม น้ำยางสีขาว ออกดอกเดือนมิถุนายน – สิงหาคม
ผล กลมแป้น ผลอ่อนสีเขียวอมม่วง เมื่อสุกสีม่วงดำ มีกลิ่นหอม เมล็ดแบนสีดำเป็นมันวาว มี 1 – 5 เมล็ด ผลสุกสามารถนำไปรับประทานได้
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง